จาก แรดบิน IP:58.8.163.133
พฤหัสบดีที่ , 3/4/2551
เวลา : 11:46
อ่านแล้ว = 21567 ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
ศึกชิงแชมป์ออฟโรดภาคอีสาน สนามที่ 5
องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพร่วมกับชมรมเมืองช้างสุรินทร์ จัดการแข่งขันชิงแชมป์รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อรูปแบบออฟโรดภาคอีสาน สนามที่ 5 ซึ่งเป็นสนามสุดท้าย ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2551 ณ สนามวังทะลุ ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยการแข่งขันรถยนต์ออฟโรดภาคอีสานได้แข่งขันเก็บคะแนนสะสมมาแล้วจำนวน 4 สนาม ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี , ศรีสะเกษ , สกลนครและกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกีฬารถยนต์ออฟโรด และเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวตำบลกระโพ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถมาท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตของช้างอยู่ร่วมกับคน เหมือนๆกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรดธรรมดาๆอย่างเช่นสุนัข แมว วัวหรือควายตามคอกใต้ถุนบ้านหรือคอกข้างบ้านได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ปีกนก คานแข็ง และโอเพ่น มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้นจำนวน 33 ทีม ส่วนใหญ่เป็นทีมออฟโรดมาจากภาคอีสานหลายจังหวัด นอกจากนั้นมาจากภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างจากจังหวัดกระบี่ ได้แก่ทีมเกษตรพัฒนาโฟร์รันเนอร์ กระบี่ , ทีมMJ Auto service นครสวรรค์ , ทีมทุ่งหลวงออฟโรด ปทุมธานี , ทีมขอนแก่น 4x4 , ทีมขอนแก่นเทอร์โบ , ทีมK.con ขอนแก่น , ทีมบิ๊กบูมคาร์เซอร์วิส , ทีมMVดิโก้เธคยูนิคอร์นกาฬสินธุ์ , ทีมแหล่มเลยกาฬสินธุ์ออฟโรด , ทีมคนเมืองป่า4x4 อำนาจเจริญ , ทีมจิ้มจิ๊อุบลออฟโรด , ทีมเพื่อนอุบล 4WD , ทีมจิ้มจิ๊อู่พีพี ศรีสะเกษ , ทีมศรีสะเกษออฟโรด , ทีมฮ่มต้อคอมเพล็ก ส้มตำยายหวัง , ทีมคนท่องป่า4x4 สกลนคร , ทีมS.P.เมืองช้างออฟโรดกำนันแดง , ทีมเมืองช้างออฟโรดกำนันแดงและทีมเมืองช้างออฟโรด สุรินทร์
การแข่งขันประวัติศาสตร์ชิงแชมป์ออฟโรดอีสานหนแรกในการเก็บคะแนนสะสมสนามสุดท้ายที่วังทะลุ ได้รับเกียรติทำพิธีเปิดและปิดจากนายวัลลภ เรืองพรเจริญ นายอำเภอท่าตูม , นายสุริยะ ร่วมพัฒนา หรือกำนันแดง เลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย , นายปรีชา ร่วมพัฒนา นายกอบต.กระโพ และนายสมศักดิ์ ชินวงศากุล ประธานชมรมเมืองช้างออฟโรด สุรินทร์ รวมทั้งการสนับสนุนจากS.P.ประดับยนต์ , S.P.ซาวด์ , เทเลวิช สุรินทร์ , สุรินทร์ออโต้แก็ส , โตโยต้าสุรินทร์ ,อีซูซุบำรุงยนต์ และผู้ชนะเลิศคะแนนรวมสะสมทั้งหมด 5 สนาม ได้รับถ้วยชนะเลิศเกียรติยศแชมป์ออฟโรดภาคอีสาน นักสู้ออฟโรดผู้ยิ่งใหญ่แห่งภาคอีสาน จากคาราบาวแดง
นอกจากนี้ยังมีนักพากษ์ออฟโรดท้องถิ่นอาจารย์ไพบูลย์ เพ็ญสุริยา และนายวีระชัย สระแก้ว หรือดี.เจ.บังบัง มาเพิ่มสีสันต์ความมันส์ออฟโรด และมีนายปกภณ ปิติวรรณ นายภุชงค์ ปิติวรรณ จากชมรมคนท่องป่า4x4 สกลนคร เป็นนายสนาม ผู้ทำคะแนนและผู้ช่วยนายสนาม
การแข่งขันวันแรกเริ่มต้นเวลาประมาณ 12.30 น. รุ่นโอเพ่นและคานแข็งกำหนดเอาใว้ทั้งหมด 8 SS แข่งขันวันละ 4 SS รุ่นปีกนกกำหนดเอาใว้ทั้งหมด 6 SS สำหรับการแข่งขันวันแรกนั้น ในSSแรกทุกรุ่นทำการแข่งขันเดี่ยวปล่อยครั้งละคนและครั้งละรุ่น เส้นทางมีความยาวประมาณ 300 เมตร อุปสรรคเป็นสนามสร้างเลียนแบบธรรมชาติผสมเส้นทางธรรมชาติคล้ายท้องทุ่งนาเล็กน้อย ลักษณะคดโค้งไปมาเกือบตลอดเวลา เพื่อดักไม่ให้มีการใช้สปีดความเร็วได้ มีทั้งเนินสูง เนินต่ำ เนินขวางยาว เนินหลุมขวางยาวสลับข้าง ระนาบเอียงสลับ โค้งแคบๆบีบทางเล็ก และวิ่งวนเสาเล่นโดนัท ไม่มีบ่อน้ำโคลนหรือหินแข็งๆ หลังจากSSแรกแล้วเป็นการแข่งขันแบบปล่อยคู่ เส้นทางเกือบทั้งหมดจะคล้ายกับSSแรก แตกต่างเพียงต้องมาแข่งคู่กันเท่านั้น จึงสร้างความมันส์เร้าใจสมความตั้งใจอยากอดทนรอคอยตากแดดร้อนจัดให้กับผู้ชมที่มาดูการแข่งขันจำนวนมาก แต่ในวันแรกนี้มีปัญหาการแข่งขันเริ่มล่าช้าเกินไป ทำให้รุ่นปีกนกแข่งขันได้เพียง 2 SS รุ่นคานแข็งและรุ่นโอเพ่นแข่งขันได้เพียง 3 SS
การแข่งขันวันที่สองได้เริ่มต้นประมาณ 10.00 น. ใช้สนามเดิมที่มีอุปสรรคเดิมๆทั้งหมด มีเพียงแต่ช่วงSS6-7ได้เปลี่ยนเส้นทางมาเป็นแบบย้อนทิศสวนกลับบ้างเท่านั้น และถึงแม้นสนามแข่งขันหนนี้จะขาดหายความยากหฤโหดของน้ำและหิน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทำให้ความสนุกสนานความมันส์และเสน่ห์ของการแข่งออฟโรดหดหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงความมีน้ำใจส่งเสียงเจี้ยวจ๊าวเชียร์กันสนั่นลั่นก้องท้องทุ่งหรือการเข้าช่วยเหลือคู่แข่งเมื่อพลั้งพลาด ได้เป็นประวัติศาสตร์รวมน้ำใจสุดยอดความสำเร็จของนักบู๊ออฟโรดชาวอีสานที่ต้องจดจำกันไปอีกนาน
|