จาก แรดบิน IP:58.8.155.191
พุธที่ , 29/12/2553
เวลา : 19:16
อ่านแล้ว = 11764 ครั้ง
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
TOYOTA OFF ROAD TRAINING : DRIVE THRU & SAVE
THE NATURE WITH HILUX VIGO 2010
ทักษะการขับรถออฟโรดขั้นพื้นฐาน
ปัจจุบันนี้แม้ว่ารถออฟโรดหรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จะได้รับความนิยมอย่างสูง แต่
ตรงกันข้ามมีคนอยู่มากที่ใช้รถประเภทนี้ไม่คุ้มค่า หรือสมราคาที่เสียเงินจ่ายซื้อรถไป
บางท่านไม่เคยได้ใช้เกียร์ 4WD เลยสักครั้งเดียวก็มี บางคนอาจจะซื้อตามค่านิยม และมี
อยู่มากที่ขับขี่ด้วยวิธีการผิดๆ จนทำให้รถเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
การขับรถออฟโรดที่แท้จริง เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างถูกวิธี
ผสมผสานกับการขับขี่ที่ถูกต้องปฎิบัติควบคู่กันไป จะทำให้เราใช้รถประเภทนี้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัว เราอาจจะคิดว่ายุ่งยากและซับซ้อน
แต่จริงๆ แล้ว การขับขี่รถที่ถูกวิธีจะทำให้ ไปให้ถึง กลับให้ได้ รถไม่เสียหาย คนปลอดภัย
ข้อควรปฏิบัติพื้นฐาน 7 ประการในการขับรถ 4WD
1. การจับพวงมาลัย
การจับพวงมาลัยถือเป็นอันดับแรกเมื่อเราก้าวเท้าขึ้นสู่รถ ต่างจากการจับพวงมาลัยของ
รถทางเรียบ การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องมือของเราต้องกำอยู่ภายนอกวงพวงมาลัย ห้ามสอดหรือ
นำมือลอดเข้าไปในพวงมาลัยโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วงที่จำเป็นต้องเลี้ยวในเส้นทางแบบออฟ
โรด หากล้อใดล้อหนึ่งตกลงไปในหลุม พวงมาลัยจะตีกลับอย่างแรง หากเราสอดมือเข้าไปจะได้รับ
บาดเจ็บทันทีถึงขั้นข้อมือหักได้
ไม่จำเป็นต้องกำพวงมาลัยแน่นถึงขนาดกับเกร็ง ควรเป็นแบบธรรมชาติไม่ฝืน จะทำให้
สามารถควบคุมพวงมาลัยได้ดีกว่า และไม่เกิดการสะท้านเมื่อรถเกิดการกระแทกหรือตกหลุม ทำ
ให้ควบคุมรถได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
2. การคาดเข็มขัดนิรภัย
เมื่ออยู่บนเส้นทางออฟโรด เพื่อความปลอดภัย หนทางข้างหน้าเราไม่สามารถคาดการณ์
ได้ว่า รถจะพลิก
คว่ำหรือประสบอุบัติเหตุเมื่อใด ให้คำนึงว่าเมื่ฮก้าวเท้าขึ้นไปนั่งบนรถ สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือคาด
เข็มขันนิรภัยทันที ยกเว้นกรณีเมื่อเราขับข้ามน้ำลึกหรือข้ามลำห้วยต่างๆ ที่เสี่ยงต่อรถพลิกคว่ำไป
ตามกระแสน้ำ
3. ลดกระจกมองข้างลง เมื่อต้องข้ามอุปสรรคหรืออยู่ในสถานการณ์คับขัน
การขับรถในเส้นทางแบบออฟโรดที่ดี เมื่อต้องขับผ่านอุปสรรคและปัญหาต่างๆ หรือใน
เส้นทางทุรกันดาร
ส่วนใหญ่จะต้องลดกระจกข้างลง โดยเฉพาะเมื่อถึงจุดที่ต้องวางตำแหน่งล้อ ซึ่งเราจำเป็นต้อง
ชะโงกหน้าออกมามองล้อหน้า-หลัง ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีขับข้ามสะพานซุง การขับที่ถูกวิธีไม่
ควรขับผ่านไปอย่างรวดเร็ว อาจทำให้รถตกสะพานได้ ควรชะโงกหน้าออกมาดูก่อนเพื่อให้แน่ใจ
แต่ไม่ควรชะโงกออกมามากเกินไป อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้เช่นกัน หากรถพลิกคว่ำหรือเกิดเบียด
กับต้นไม้ รวมทั้งหน้าผา เป็นต้น
อีกเหตุผลหนึ่งการขับรถในเส้นทางออฟโรด รถของเราจะเอียงซ้าย-ขวา ไปมา บางครั้งตก
หลุมอย่างแรงทำให้หัวกระแทกกระจกได้ และที่สำคัญการลดกระจกลงนั้น ทำให้สามารถได้ยิน
เสียงของผู้ที่ทำหน้าที่บอกไลน์ที่อยู่ภายนอกอีกด้วย
4. หลีกเลี่ยงการใส่ของเท้าแตะ
การใส่รองเท้าแตะ อาจทำให้การควบคุมรถไม่ได้ดีเท่าที่ควร เช่น ในสภาพฝนตก มีโคลน
เลอะยิ่งเมื่อขับผ่านน้ำ หรือเดินลงมาลุยโคลน แล้วกลับขึ้นไปขับต่อ การใส่รองเท้าแตะขับจะทำให้
ลื่น ส่งผลให้เท้าหลุดจากคันเร่ง คลัทช์ หรือเบรก หรือในช่วงฉุกละหุกจะเหยียบเบรกเท้าอาจลื่น
ไถลไปเหยียบคันเร่งแทนก็ได้
นอกจากนี้อาจไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก ในขณะที่เราอยู่ในป่า เท้าอาจเดินไปเหยียบหนามได้
รองเท้าที่ดีที่สุดในการใส่ขับรถออฟโรด ควรเป็นรองเท้าผ้าใบ รองเท้าหุ้มข้อ ที่มีพื้นหนาๆ เพื่อ
ความคล่องตัว
5. ปรับเบาะนั่งไม่ให้เอนเกินไป
การขับรถในเวลาปกติของคนเรา ยึดหลักสบายๆ คล่องตัวในเวลาขับขี่ ตรงกันข้ามกับ
การขับรถออฟโรด ที่ต้องปรับเบาะให้เดินหน้าและตั้งตรงกว่าปกติ โดยเฉพาะขับขึ้นทางชัน เพื่อ
เพิ่มทัศนวิสัยในการมองได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะมุมเงย มุมแคบ และมุมที่เราต้องการมองเห็น
ได้กว้างไกล หรือแม้แต่พื้นผิวเส้นทางที่อยู่ใกล้รถเพียงไม่กี่เมตร การปรับพนักพิงให้อยู่ในระดับ
พอดี จะทำให้สามารถมองเห็นลักษณะเส้นทางได้ดียิ่งขึ้น
6. เก็บของหรือสัมภาระที่เป็นอันตรายในรถให้เรียบร้อย
ของที่อันตรายในที่นี้ คือ ของมีคมและของแหลม เช่น มีด ไขควง คีม หรืออุปกรณ์ต่างๆ
เนื่องจากเวลาเข้าเส้นทางออฟโรดนั้น การให้ตัวของรถจะโยนไป-มา สิ่งของต่างๆ ที่กล่าวมาจะเริ่ม
กลิ้งไปกลิ้งมาอยู่ในรถ อาจจะตกมากระแทกผู้ขับหรือเกิดอันตรายได้ หากในรถของเรามีสิ่งของ
ต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเกิดอันตราย โดยเฉพาะของแหลมและของมีคม ขอให้เก็บให้เรียบร้อยในที่ที่
ปลอดภัย หรือใส่กล่องนำไปเก็บเอาไว้ท้ายรถจะดีกว่า
7. แต่งกายให้รัดกุมไม่รุ่มร่าม
ความรุ่มร่ามเป็นศัตรูตัวฉกาจอีกประการหนึ่งเช่นกัน ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง การ
แต่งกายให้รัดกุมนั้น ควรเป็นเสื้อผ้าที่ใส่สบายๆ เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ตก็ได้ กางเกงควรเป็นกางเกงขา
ยาวหรือขาสั้นก็ได้ไม่ว่ากันแต่ดูแล้วไม่รุ่มร่ามหรือรกรุงรัง ส่วนรองเท้านั้นก็อย่างที่กล่าวมาแล้วใน
ข้อที่ 4 เป็นรองเท้าหุ้มข้อหรือหุ้มส้นก็ได้
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงข้อปฎิบัติตัวพื้นฐาน ในการเตรียมตัวก่อนจะขับ
รถออฟโรดเท่านั้น ยังมีข้อปฎิบัติอีกมากมายที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่กล่าวมา
ทั้งหมดไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว เป็นวิธีปฎิบัติที่สืบทอดกันมาจนเป็นสากล และยึด
หลักความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
เกียร์ 2H 4H 4L
รถออฟโรดมีด้ามเกียร์อยู่ทั้งหมด 2 ชุดด้วยกัน ด้ามเกียร์หนึ่งเป็นเกียร์ขับเคลื่อนปกติ
ส่วนอีกด้ามหนึ่งเป็นเกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือที่เรียกกันว่า เกียร์ SLOW เกียร์นี้จะมีอักษรเขียนว่า
2H, 4H, N, 4L บนหัวเกียร์ (แต่ก็มีรถบางรุ่นที่เป็นปุ่มกดแทน) ไว้เลือกใช้ตามสถานการณ์ เราจะ
เรียกรถประเภทนี้ว่า 4 ล้อ PART TIME
เมื่อเราปรับตำแหน่งของเกียร์ SLOW ไปที่ N (Neutral) ชุดเกียร์จะไม่ทำการขับเคลื่อน
ใดๆ ทั้งสิ้น เปรียบเสมือนเกียร์ว่าง ไม่ว่าเราจะเข้าเกียร์ใดก็ตาม 1 2 3
รถก็จะไม่เคลื่อนตัว
ตำแหน่ง N นี้ ถ้าเป็นรถที่มีวินช์เพลา จะใช้เวลาปลดหรือปล่อยสลิง
เกียร์ 2H (2HIGH)
เป็นเกียร์ที่ถ่ายกำลังเครื่องยนต์ลงสู่ล้อหลักทั้ง 2 ล้อ (ส่วนใหญ่รถออฟโรดจะขับเคลื่อน
ล้อหลัง) จึงเปรียบเสมือนการขับเคลื่อน 2 ล้อธรรมดา สภาพที่เหมาะสำหรับถนนลาดยาง หรือ
ถนนทั่วๆ ไปที่ทำความเร็วได้
เกียร์ 4H (HIGH)
เป็นชุดเกียร์ที่ทำการขับเคลื่อนล้อทั้ง 4 ล้อ ในสภาพอัตราทดปกติ เส้นทางที่เราควรใช้
เกียร์ 4H คือ เส้นทางที่มีพื้นผิวลื่นและพื้นผิวล่างไม่แข็ง ทางลูกรัง เส้นทางที่เปียกชื้นจากฝนตก
หรือเส้นทางที่โค้งและคดเคี้ยวไป-มา รถจะยึดเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้น ระบบจะช่วยดึงและดัน
เนื่องจากรถทั้ง 4 ล้อ มีกำลังขับเท่ากัน การเข้าโค้งหรือยึดเกาะถนนจึงกระทำได้ดีกว่าการ
ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ สามารถใช้ความเร็วได้ตามปกติ ในรถรุ่นใหม่ๆ จะเป็นระบบ SHIFT ON
THE FLY สามารถเข้าเกียร์ 4H ได้โดยไม่ต้องจอดรถ ที่ความเร็วมาตรฐานอยู่ระหว่าง 60-80
กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นในบางรุ่น (สำหรับรถที่เป็น AUTO HUB หรือ ฮับออโต้ ส่วนใครที่
เป็นฮับ เมลนวล ก็คงต้องจอดรถลงมาปรับไว้ก่อน)
นอกจากนี้การใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ 4H บนเส้นทางภูเขาจะทำให้การสึกหรอของ
รถน้อยลง เพราะการถ่ายทอดกำลังจาก 2 ล้อ เป็น 4 ล้อ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้รอบเครื่องยนต์
สูงมากเมื่อเทียบกับ 2H รวมทั้งคลัทช์ก็ไม่เปลืองเช่นกัน การขับขี่ในช่วงที่เป็นทางราดหรือทางลง
สามารถใช้เกียร์ต่ำดึงรถได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องใช้เบรกช่วยมากนัก
แต่ระบบขับเคลื่อนแบบ 4H ก็มีข้อเสียเช่นกัน ชุดเฟืองเกียร์จะหมุนเพื่อขับล้อหน้า เมื่อล้อ
หน้าทำการขับเคลื่อนด้วย เฟืองลูกหน้าจะไม่ปล่อยให้ล้อหมุนฟรี ล้อที่อยู่ด้านในและด้านนอกจะ
ฝืนกัน เนื่องจากรัศมีไม่เท่ากัน ทำให้วงเลี้ยวของรถกว้างขึ้น ผู้ขับขี่คงต้องเผื่อไว้สักเล็กน้อย เมื่อ
ต้องการเลี้ยวหรือกลับรถในที่แคบๆ
ปัจจุบันมีรถอยู่หลายยี่ห้อที่ใช้ระบบเกียร์เป็นแบบ 4FULL TIME โดยเฉพาะรถประเภท
คอมแพ็ก SUV และรถ SUV ทั่วๆ ไป ระบบเกียร์ 4FULL TIME เป็นชุดเกียร์ที่ทำให้รถมีแรง
ขับเคลื่อนทั้งล้อหน้าและหลัง ในสภาพอัตราทดเกียร์ปกติ บางรุ่นอาจจะมีปุ่มปรับ ในขณะที่บาง
รุ่นอาจจะเป็นระบบอัตโนมัติ ถ่ายเทกำลังตามปัญหาและอุปสรรค เช่น ล้อหน้าวิ่งปกติ 40 ล้อหลัง
60 แต่เมื่อเจออุปสรรคจะถ่ายเทกำลังสู่ล้อหน้า 50 ล้อหลัง 50 เป็นต้น รถประเภทนี้ลุยได้ใน
วงจำกัดเท่านั้น แต่ก็เหมาะกับเส้นทางออฟโรดแบบเบาๆ หรือทางลื่น โค้งเยอะ ถนนลูกรังที่
ต้องการการยึดเกาะถนน สามารถทำความเร็วได้เต็มที่ เหมือนขับเคลื่อน 2 ล้อ ทั่วไป
อย่างไรก็ตามยังมีรถอีกหลายรุ่นที่มีเกียร์ 4FULL TIME อยู่ในชุดเดียวกันกับ 4PART
TIME
เกียร์ 4L (4LOW)
ถือเป็นเกียร์หลักที่สามารถพารถบุกตะลุยข้ามอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
เกียร์ 4L (4LOW) มีรายละเอียดปลีกย่อยที่เราต้องทำการศึกษาค่อนข้างมาก เพื่อให้สามารถใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่สำคัญ การใช้เกียร์4L (4LOW) จำต้องอาศัยความระมัดระวังอย่าง
สูงสุด เนื่องจากอัตราทดเกียร์และแรงบิดมหาศาลที่เพิ่มอีกเกือบเท่าตัว หากขับผิดวิธีอาจจะทำให้
รถเสียหายได้
ก่อนการปรับเกียร์ไปที่ 4L (4LOW) ทุกครั้ง ต้องหยุดรถให้สนิท และไม่ว่าจะเป็นระบบ
ขับเคลื่อนแบบ 4H หรือ 4L ควรตั้งพวงมาลัยให้ตรงทุกครั้ง เพื่อป้องกันการขบกันของเฟือง
ด้านหน้า หากตั้งพวงมาลัยไม่ตรงจังหวะที่เข้าเกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ อาจจะสร้างความเสียหาย
ให้กับเฟืองด้านหน้าได้ หากรถที่มีฮับล็อกก่อนเข้าเกียร์ก็ต้องลงไปบิดจากตำแหน่ง FREE มาที่
ตำแหน่ง LOCK ก่อน และต้องบิดให้สุด เนื่องจากเฟืองในดุมล้อจะจับกับเพลาขับเคลื่อนล้อหน้า
แบบ 100% หากเราบิดไม่สุด จะเกิดความเสียหาย เพลาอาจจะรูด ได้เช่นกัน ในกรณีที่ลืมบิด
HUB LOCK แม้จะใส่เกียร์เป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ แล้วก็ตาม รถจะขับเคลื่อนแค่ 2 ล้อ แต่สิ่งที่ได้ คือ
แรงบิด หรือ TORQUE ที่เพิ่มขึ้นเสมือนการขับเคลื่อน 4 ล้อตามปกติ
เมื่อเข้าเกียร์เสร็จให้สังเกตุว่าไฟขับเลื่อน 4 ล้อ ขึ้นโชว์ที่หน้าปัดของรถหรือยัง เมื่อมีการ
ปรับเกียร์ 4L (4LOW) ไปในตำแหน่ง จะสังเกตุเห็นได้ชัดว่า รอบเครื่องจะสูงขึ้นในความเร็วที่
เท่ากัน แสดงว่าเครื่องยนต์พร้อมจะถ่ายทอดแรงบิดเพิ่มมากขึ้นลงสู่สี่ล้อ หากใส่เกียร์ 1 ใน
ตำแหน่งเกียร์ปกติ รถจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้โดยไม่ต้องแตะคันเร่ง หรือ เรียกว่า WALKING
SPEED เป็นเพราะแรงบิดมหาศาลของเครื่องยนต์นั่นเอง
สำหรับเกียร์ 4L (4LOW) นั้น เหมาะสำหรับเส้นทางที่ทุรกันดารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น
หล่มโคลน ร่องลึก ทางชัน การปีนหิน ข้ามน้ำ เป็นต้น เราสามารถใช้ได้ตั้งแต่เกียร์ 1-5 ขับได้ตาม
รอบเครื่อง ความเร็วไม่ควรเกิน 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง การใช้เกียร์ 4L (4LOW) ก็เพื่อต้องการแรงบิด
หรือ TORQUE ไม่ใช่ความเร็ว สิ่งที่ผู้ขับขี่พึงจำไว้อีกประการหนึ่งก็คือ ห้ามเลี้ยงคลัทช์ โดย
เด็ดขาด เนื่องจากแรงบิดมหาศาล จะทำให้คลัทช์ไหม้ หรือสปริงคลัทช์หัก ใช้คลัทช์เฉพาะการ
เปลี่ยนเกียร์เท่านั้น และอาจจะเลี้ยงได้เช่นกันขณะที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ
สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ ห้ามออกรถกระชากอย่างรุนแรงหรือกระโจนเด็ดขาด เพราะจะ
ส่งผลให้เกิดความเสียหายให้กับ คลัทช์ เกียร์ เฟืองท้าย เพลาขับ เป็นต้น
WALKING SPEED
คำว่า WALKING SPEED เป็นคำศัพย์ที่เรียกขานกันในรถโตโยต้า แต่ผู้คนส่วนใหญ่มัก
ใช้เรียกกับรถทั่วๆ ไป เราอาจจะเรียกว่า SPEED WALKING ก็ได้ เราสามารถใช้เกียร์ SLOW 1
หรือแม้แต่ เกียร์ 2 (สำหรับรถที่มีอัตราทดเฟืองท้ายหรือเกียร์มากๆ ) รถจะเคลื่อนตัวไปเอง โดยเรา
ไม่ต้องแตะคันเร่ง แม้ว่าจะเป็นเนินชันหรือทางที่ขรุขระโดยเครื่องยนต์ไม่ดับ
WALKING SPEED สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การลงทางชัน
ที่ลื่น หากเราเหยียบเบรกรถอาจจะลื่นจนขวางลำได้ การใช้เกียร์ 4L (4LOW) 1 ค่อยๆ ปล่อยให้รถ
เคลื่อนตัวลงมา จะทำให้เกิดความปลอดภัยและควบคุมรถได้ง่าย เนื่องจากเครื่องยนต์ยนต์และ
เกียร์จะทำการดึงรถให้ช้ากว่าปกติ การลงนี้เราอาจจะเรียกว่า ENGINE BRAKE หรือการดึงรถ
ด้วยเครื่องยนต์
HUB LOCK หรือ FREE LOCK
HUB LOCK หรือ FREE LOCK หรือ ดุมล้อ แล้วแต่จะเรียกกัน ติดตั้งอยู่ที่บริเวณล้อ
ด้านหน้าทั้งสองด้าน มีทั้ง AUTO HUB ที่ติดมากับรถตั้งแต่ออกจากโรงงาน และเมลนวล ฮับ ที่เรา
มาทำการเปลี่ยนใหม่ หน้าที่ของ HUB LOCK ก็คือ เวลาเราเปลี่ยนเกียร์จากขับเคลื่อน 2WD มา
เป็น 4WD เฟืองก็จะขบเกาะกัน ทำงานรับและถ่ายทอดกำลังขับเคลื่อนจากเพลาขับ ชุดเกียร์ ผ่าน
มายังข้อต่อต่างๆ ปกติรถออฟโรดส่วนใหญ่จะมี HUB LOCK ที่เป็นระบบ AUTO ติดมาจาก
โรงงานแล้วก็จริง แต่เพลาที่ด้านหน้าก็ยังคงหมุนตามอยู่แม้จะไม่เต็มร้อยก็ตาม ทำให้เกิดการสึกห
ร่อ หรือหลวมคอนของเพลาข้างหรือดุมล้อได้ง่าย รวมทั้งการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า
ปกติ และเกิดอาการหน่วงที่บริเวณด้านหน้า (แทบไม่รู้สึกถ้าไม่สังเกตุ หรือเปลี่ยนใส่ HUB LOCK
แบบเมลนวลลงไปแทน)
การใส่ HUB LOCK จะช่วยให้ล้อด้านหน้า หมุนฟรีแบบอิสระ 100% ทำให้ลดการ
สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และลดการสึกหร่อของดุมที่ล้อหน้าเพิ่มขึ้น
ยาง A/T และยาง M/T
ยางที่นิยมใช้ในวงการออฟโรด มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ
ALL-TERRAIN ยางที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานบนท้องถนนเป็นส่วนใหญ่ ดอกยางหยาบ
ปานกลาง แต่มีบั้งค่อนข้างละเอียด ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานแบบลุยหนักๆ โดยเฉพาะทาง
โคลน เนื่องจากการสลัดดินหรือโคลนทำได้ไม่ดี เหมาะสำหรับใช้ทางทั่วๆ ไปมากกว่า
ยาง MUD-TERRAIN หรือ เรียกกันว่ายาง MUD อาจจะแบ่งเป็นยาง MUD ทั่วๆ ไป กับ
ยางมีบั้ง เช่น ยาง SIMEX ยาง SILVER STONE เป็นต้น ยางชนิดนี้การเกาะถนนทางเรียบหรือใช้
งานทั่วๆ ไป เป็นรองยาง ALL TERRAIN เนื่องจากมีบั้งหนา ดอกยางหยาบ แต่สลัดโคลนได้ดีใน
ขณะที่หมุนล้อ เหมาะสำหรับการใช้ในเส้นทางที่ทุรกันดาร
สิ่งที่มีส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของลมยาง ผู้ขับขี่ต้องเติมลมยางให้เหมาะสม
ยาง ALL -TERRAIN ทางปกติอาจจะอยูที่ 26-30 ปอนด์/ตร.นิ้ว (ด้านหน้าควรมากกวา่ ด้านหลัง)
ถ้าเป็นยาง MUD-TERRAIN อาจจะลดเหลือ 22-20 ปอนด์/ตร.นิ้ว หรือ 10 กว่าปอนด์/ตร.นิ้ว
(สำหรับยางบั้งหนา) ขึ้นอยู่กับสภาพของเส้นทาง ไม่ควรเติมลมยางอ่อนเกินไป เนื่องจากยาง
อาจจะหลุดขอบได้ (ในกรณีที่ไม่มียางใน) แต่ก็ไม่ควรแข็งจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อระบบช่วง
ล่างรวมทั้งลูกปืนล้ออาจจะสึกหร่อมากกว่าปกติ
เทคนิคการขับในสภาพเส้นทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรคต่างๆ
การขับรถบนเส้นทางที่ขรุขระ
เส้นทางที่ขรุขระนี้ มีทั้งระดับง่ายและยาก ตั้งแต่สภาพทางลูกรังธรรมดาไปจนถึง
หลุมบ่อและโขดหิน รวมทั้งเส้นทางที่ใช้หัดขับหรือเทรนนิ่ง และการแข่งขันออฟโรดทั่วๆ
ไป
รถออฟโรดที่ดีนั้น ระบบช่วงล่างจะต้องมีการซับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี และมี
ความสำคัญต่อการขับขี่ที่ปลอดภัย หากช่วงล่างมีความแข็งกระด้างเกินไป การซับแรงก็จะด้อยลง
อาจส่งผลให้รถเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เนื่องจากช่วงยุบและยืดไม่ดีพอ ช่วงล่างที่ดีต้องสามารถยืดล้อ
ให้สัมผัสพื้นได้มาก รวมทั้งยุบตัวและยันไม่ให้รถเกิดอาการวูบจนเสียการควบคุม
ในเรื่องของยางก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ยางที่ดีควรเป็นดอกหยาบแบบ MUD-TERRAIN
จะช่วยในการเกาะพื้นผิวขรุขระได้ดีกว่ายางที่มีดอกละเอียด ทั้งนี้ต้องเติมลมยางให้เหมาะสมด้วย
เราสามารถเติมลมยางให้อ่อนกว่าการใช้งานในสภาพปกติ ขึ้นอยู่กับขนาดของยางและน้ำหนักตัว
รถ
เมื่อเราขับรถออกนอกเส้นทางที่ราดยาง สิ่งที่จะได้พบก็คือทางลูกรัง ทางดิน ทางหินลอย
ที่ไม่ยากเท่าใดนักแต่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แนะนำว่า ให้ใช้เกียร์ 4H เพื่อช่วยให้รถเกาะถนนได้
ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังใช้ความเร็วได้ตามปกติ แต่สิ่งที่ควรระวังในการขับบนถนนลูกรังก็คือ ห้ามการ
แตะเบรกโดยกะทันหันและการหักเลี้ยวอย่างรุนแรง(การกระชากพวงมาลัยรถ) เพราะทำให้รถเสีย
การทรงตัวและเกิดอุบัติเหตุได้
เมื่อพบกับสภาพเส้นทางลูกรังที่เป็นลอนคลื่น ควรลดความเร็วลง เพราะรถอาจจะเกาะ
ถนนไม่ดีนัก โดยเฉพาะหากว่าเราใช้ความเร็วสูง ประกอบกับช่วงล่างและลมยางแข็งเกินไป ก็จะ
ทำให้เกิดอาการร่อนมากขึ้นทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ตามที่ต้องการ
สิ่งที่จะช่วยสร้างเสริมประสบการณ์เพื่อให้เกิดทักษะดีที่สุด คือ การหัดฝึกในสนามเทรน
นิ่งหรือสนามทดสอบ อุปสรรคที่จำลองขึ้นไม่ต่างจากเส้นทางจริง ฝึกให้เราได้เรียนรู้หลายๆ ด้าน
เช่น การใช้รอบเครื่องยนต์ให้มีความสัมพันธ์กับเกียร์ หรือจะเป็นอุปสรรคลูกระนาดท่อนไม้และดิน
อุปสรรคยางรถยนต์ที่นำมากองไว้บนเส้นทาง รวมถึงเนินสลับ ที่ด้านหนึ่งจะเป็นเนินดินส่วนอีก
ด้านหนึ่งจะขุดเป็นหลุมสลับกันไป เพื่อให้เกิดการบิดตัว จะเห็นว่าอุปสรรคที่กล่าวมานี้ ผู้ขับจะไม่
สามารถใช้ความเร็วได้ ควรขับอย่างมีจังหวะจะโคน เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสม ซึ่ง WALKING
SPEED (เกียร์1L) จะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง
เส้นทางลูกระนาด
ทางลูกระนาดนี้ มีหลายอย่าง เช่น ขับผ่านรากไม้ และโขดหินที่มีขนาดปานกลาง ควร
เปลี่ยนมาใช้เกียร์ 1L ควบคุมรถให้ไต่ข้ามไปแบบช้าๆ รักษารอบเครื่องให้ต่ำไม่ควรเกิน 1,000
รอบ/นาที ไม่จำเป็นต้องกดคันเร่งจนสุดหรือห้ามกดคันเร่งแช่ ควรกดคันเร่งให้เป็นจังหวะ เพียงแค่
สามารถไต่ข้ามลูกระนาดแต่ละลูกก็เพียงพอ วิธีการง่ายๆ แตะคันเร่งแล้วปล่อย เมื่อล้อขึ้นถึงยอด
เนินระนาด พร้อมกับถอนคันเร่งทันทีปล่อยให้ล้อตกลงมาเอง ก่อนจะเร่งส่งเล็กน้อยเมื่อถึง
ด้านล่าง ระวังอย่าให้เกิดการกระแทกกับลูกระนาดลูกต่อไปอย่างรุนแรง อาจจะใช้เบรกช่วยได้ใน
บางจังหวะ ทำซ้ำขั้นตอนทั้งหมดนี้ แล้วจะพบว่าการขับข้ามลูกระนาดนั้นไม่ได้อยากเย็นอะไรนัก
สิ่งที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการดคันเร่งแช่ เพราะรถจะกระโจนอย่างรุนแรงเสียการควบคุม
อีกประการหากว่าพื้นผิวเส้นทางเป็นดินโคลน การปั่นล้อฟรีเท่ากับเป็นการขุดหลุมฝังตัวเองไปใน
ตัว
เนินสลับ
เนินสลับ เป็นอุปสรรคที่ต้องอาศัยการควบคุมพวงมาลัยและการใช้รอบเครื่องยนต์เป็น
หลัก การขับผ่านเนินสลับ สิ่งที่เด่นชัดที่สุด ก็คือ อาการสะบัดไปมาของหน้ายางในขณะที่ล้อข้าง
หนึ่งกำลังปีนเนินและล้อข้างหนึ่งตกอยู่ในหลุม ช่วงล่างจะมีอาการยืดและยุบไขว้กันเป็นเส้นทแยง
มุมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หากมีการฝืนพวงมาลัยมากเกินไป ล้อด้านที่ปีนเนินจะงัดเอาตัวรถให้
มีอาการคล้ายกับไม้กระดก ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ตามทฤษฎีแล้วเราจะขับอย่างไรก็
ได้ให้ล้อแตะพื้นและมีน้ำหนักกด 3 จุด ชุดขับเคลื่อนจะสามารถถ่ายทอดกำลังเครื่องยนต์ลงสู่พื้น
พอที่จะทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ แต่เมื่อเกิดอาการงัดอย่างรุนแรง สิ่งที่ต้องกระทำ คือ การแก้ทิศทาง
พวงมาลัยโดยหักล้อไปในทิศทางลงเนิน น้ำหนักรถจะเอียงกลับไปกดด้านที่อยู่ต่ำกว่า พร้อมกับ
กดคันเร่งเบาๆ รถก็จะสามารถขยับไปได้ หากยังไม่สามารถเคลื่อนรถได้ ให้ถอยหลังเล็กน้อย
ประคองพวงมาลัยให้ปีนเนินน้อยที่สุด แล้วกดคันเร่งเดินหน้าก็จะทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้
ข้อสำคัญคือห้ามใช้ความเร็วแบบพรวดพราด เพราะช่วงล่างของรถอาจจะดีดตัวอย่างแรง
เป็นผลให้รถเกิดพลิกคว่ำได้
สภาพเส้นทางที่มีลักษณะคล้ายกับอุปสรรคเนินสลับในสนามฝกึ หัด บางที่บางแหง่ จะมี
ระดับของความขรุขระสูงสุดเหมือนเส้นทางออฟโรดจริงๆ เช่น การขับผ่านก้อนหินขนาดใหญ่ใน
ลำธาร หรือโขดหินบนเส้นทางภูเขา ช่วงล่างของรถจะทำงานหนักมากเป็นพิเศษ หากว่าเราใช้
ความเร็วสูงเกินไปอาจจะเป็นการทำลายช่วงล่างของรถโดยไม่ตั้งใจ ควรใช้ WALKING SPEED
เพื่อให้ได้แรงบิดสูงสุด พร้อมทั้งเร่งส่งเพียงเบาๆ ในบางจังหวะ โดยที่รอบเครื่องยนต์ไม่สูงเกินไป
อย่ากำพวงมาลัย จนแน่นควรใช้แรงบีบปานกลางกำเฉพาะวงนอก เพราะพวงมาลัยรถอาจจะตีมือ
ได้ทุกเมื่อ สาเหตุจากการที่ก้อนหินกลิ้งหรือแตก จนทำให้ล้อตกลงอย่างแรง เกิดอาการสะบัดและ
ส่งแรงกระแทกผ่านไปยังคันชักคันส่ง อาจทำลายลูกหมากให้ขาดได้ในครั้งเดียว พวงมาลัยจะตี
กลับอย่างแรง ดังนั้นเมื่อผ่านโขดหินที่มีขนาดใหญ่จึงควรบังคับให้เหยียบก้อนหินเต็มหน้ายาง
เพราะรถอาจเกิดลื่นไถลตกจากก้อนหิน รวมถึงยางอาจจะหลุดขอบได้
หากว่ารถเกิดแขวนใต้ท้อง ไม่ควรดิ้นเพื่อให้รถหลุด เพราะเป็นการทำลายช่วงล่างรถของ
เราไปในตัว ควรตรวจสอบดูให้ละเอียดเสียก่อน หากว่าเพลากลางพาดก้อนหินอยู่แล้วกระชากรถ
ออกไป น้ำหนักรถที่กดเพลากลางอยู่จะทำให้เพลาขาดได้ ควรนำก้อนหินมาวางรองล้อแล้วค่อยๆ
ไต่ขึ้นไปช้าๆ จะทำให้ผ่านไปได้
วิธีการขับข้ามก้อนหินขนาดใหญ่ หากว่าเราไม่แน่ใจว่าใต้ท้องของรถสูงพอที่จะคร่อมไป
ได้ ก็ให้เปลี่ยนเป็นการวางตำแหน่งล้อให้ปีนไปเลยจะปลอดภัยกว่า และไม่ควรลืมที่จะลดกระจก
ข้างลงให้สุด เพราะตัวรถจะสะบัดอย่างรุนแรงจนผู้ขับถูกเหวี่ยงไป-มา อาจจะทำให้ศีรษะฟาด
กระจกได้
การขับรถบนพื้นเอียง
ข้อควรปฎิบัติเมื่อเจออุปสรรคพื้นเอียงนั้น อันดับแรกควรลดกระจกข้างลงให้สุด เพื่อ
ป้องกันการกระแทกกับศีรษะ เก็บของมีคม เพื่อไม่ให้กลิ้งไปกลิ้งมา ซึ่งอาจเป็นอันตรายหรือทำให้
บาดเจ็บได้ และต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อเป็นการป้องกัน หากรถเกิดการพลิกคว่ำ
ธรรมชาติของเส้นทางแบบออฟโรด ล้วนแต่ทำให้รถเอียงไป-มา ขณะขับผ่าน จะเอียงมาก
หรือน้อยขึ้นอยู่กับองศาของระนาบพื้นผิว อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ประกอบกับความเอียง ทำให้มีความ
ยากง่ายแตกต่างกันในการขับ ไม่ว่าจะเป็นความแห้งหรือเปียกของพื้นผิว หรือแม้แต่ความลาดชัน
ทั้งขึ้นและลง รวมทั้งอุปสรรคอื่นๆ เช่น พื้นเอียงที่มีรากไม้ โขดหิน หลุม บ่อต่างๆ ที่มีอันตรายมาก
หน่อย เช่น พื้นเอียงที่มีหลุมขนาดใหญห่ รือเหวอยู่ข้างๆ และพื้นเอียงใต้น้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้
ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามทั้งสิ้น
การขับผ่านพื้นเอียง ให้เลือกใช้เกียร์ 1-4 LOW โดยใช้ WALKING SPEED และรักษา
ความเร็วให้คงที่เพื่อป้องกันการปั่นฟรีของล้อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการขุดผิวเส้นทาง หรือเกิด
อาการขวางลำของตัวรถ จนเป็นอุปสรรคในการควบคุมรถ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักของรถจะกดลงเพียง
ด้านเดียว
รถออฟโรดที่มีเฟืองท้ายแบบลิมิเต็ด สลิป (LIMITED SLIP) ล็อกไรท์ (LOCK RIGHT)
แอร์ล็อกเกอร์ (AIR LOCKER ) หรือระบบล็อกเฟืองทา้ ยแบบอื่นๆ ก็จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของ
ล้อปั่นฟรีบนพื้นเอียงได้ดี แต่ในทางตรงข้ามหากขับแบบกระชากรุนแรง ก็จะทำให้เกิดความ
เสียหายแก่เฟืองท้ายและเพลาขับได้ เพราะระนาบพื้นเอียงนั้นล้อด้านที่อยู่ต่ำจะรับน้ำหนักกดสูง
ยิ่งเป็นรถขนาดใหญ่แรงกดก็เพิ่มขึ้นเป็นตันๆ ล้อด้านที่อยู่สูงกว่าอาจรับน้ำหนักไม่กี่ร้อยกิโลกรัม
ยิ่งพื้นเอียงมีองศามากเท่าไหร่ ก็ทำให้อัตราส่วนของการกระจายน้ำหนักแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
การออกรถกระชากจะเกิดการงัดกันระหว่างล้อซ้ายและล้อขวา ทำให้เกิดความเสียหายแก่รถได้
การประคองพวงมาลัยให้ขนานไปกับเส้นทางเอียง เป็นสิ่งที่ต้องกระทำอีกประการหนึ่ง
เพราะระนาบเอียงจะทำให้ตัวรถถูกเทไปตามแรงดึงดูดของโลก มีผลให้ผู้ขับขี่รู้สึกว่ารถกำลังจะลื่น
ไถลออกนอกเส้นทาง 80-90 % ของผู้ขับทั้งมือใหม่และมือเก่า จะหักพวงมาลัยสวนไปในทิศ
ทางด้านที่อยู่สูงกว่าโดยอัตโนมัติ เพราะคิดว่าสามารถดึงรถให้กลับเข้าสู่เส้นทางหรือไม่ก็ขับขึ้นไป
เลย นับเป็นข้อปฏิบัติที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะนอกจากรถจะไม่สามารถขึ้นระนาบเอียงได้แล้ว ด้าน
ท้ายของรถจะแฉลบตกลงตามแรงดึงดูดของโลก ทำให้รถเกิดอาการขวางลำและพลิกคว่ำได้
การขับไปอย่างช้าๆ ด้วยความเร็วคงที่ ประคองพวงมาลัยให้ตรง หรือขนานไปกับระนาบ
พื้นเอียง ไม่ว่าจะเป็นโค้งซ้ายหรือโค้งขวา เป็นพื้นฐานการขับบนพื้นเอียงที่ถูกต้อง หากไม่แน่ใจว่า
ระนาบเอียงมีความปลอดภัยพอที่จะขับผ่านไปได้ ควรหยุดรถพร้อมกับหักพวงมาลัยไปในทิศทาง
ลงจนสุด หน้ายางจะเป็นตัวค้ำยันไม่ให้รถพลิกคว่ำ แล้วค่อยหาวิธีแก้ต่อไป
ข้อควรระวังในกรณีที่ขับระนาบเอียงที่เป็นทางโค้ง โดยเฉพาะลักษณะที่เอียงออกนอกโค้ง
หากใช้ความเร็วจะทำให้ท้ายปัดและพลิกคว่ำได้ง่าย เพราะแรงหนีศูนย์กลางจะทำให้น้ำหนักของ
รถถูกเหวี่ยงออกนอกโค้ง ในขณะเดียวกันถ้าเป็นระนาบเอียงเข้าด้านในโค้งก็จะมีปัญหาคนละ
แบบ เนื่องจากน้ำหนักรถที่กดล้อด้านที่ต่ำกว่า จะทำให้เกิดการขุด โดยเฉพาะการเดินทางที่เป็น
ขบวน 5-6 คันขึ้นไป พื้นผิวด้านในจะลึกมากขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้รถคันหลังๆ เอียงมากจนเกิด
อันตราย จึงควรหาท่อนไม้หรือก้อนหินมาอุดร่องล้อไว้ก่อนที่จะขับผ่าน เพื่อเป็นการช่วยลดความ
เอียงของตัวรถ จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
การขับรถขึ้นลง เนินชัน
บรรดามือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ ในการขับบนเส้นทางออฟโรด ควรระมัดระวังให้
มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเนินที่มีอันตราย เช่น มีเหวอยู่ข้างๆ หรือกรณีฝนตก พื้นผิวทางลื่น หรือ
เป็นเนินที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงมาก การควบคุมรถจะเป็นปัญหาและอันตรายมากขึ้นถ้าเป็นช่วง
ของการขับลงเนิน โดยเฉพาะพื้นผิวเปียกลื่นนั้น การใช้เบรกนอกจากไม่สามารถหยุดรถได้แล้ว
ยังทำให้เสียการควบคุมรถอีกด้วย เพราะรถจะถูกแรงดึงดูดโลก ฉุดลงเนิน ล้อรถอาจจะหยุดหมุน
แต่ตัวรถจะมีการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้น นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายที่จะตามมา
โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพเส้นทางเปียกลื่น การควรคุมรถก็จะยากขึ้นด้วย เพราะรถจะไม่
ไปตามทิศทางของพวงมาลัย ยิ่งถ้าตกใจเหยียบเบรกเข้าไปอีก อาจจะเกิดการขวางลำและตกเหว
ได้
ควรฝึกให้เกิดความชำนาญ จนเป็นอัตโนมัติ โดยฝึกกับเนินดินแห้งๆ ธรรมดา หรือ
ทดลองขับในสนามฝึกหัดขับรถ 4 X 4 ทั่วๆ ไป แล้วจึงพัฒนาไปสู่เนินเปียกลื่น ก่อนที่จะไปถึงเรื่อง
ทักษะการขับขึ้นเนินอย่างถูกต้อง เราควรทราบถึงข้อปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งคือ การปรับ
เบาะให้ตั้งตรงกวา่ ปกติ เพื่อทัศนะวิสัยที่ดีกวา่ เพราะขณะขับขึ้นเนิน เราจะเห็นเส้นทางในมุม
เงยเท่านั้น สาเหตุเพราะน้ำหนักตัวจะกดให้หลังติดเบาะ เมื่อขับขึ้นถึงยอดเนิน ก็จะยังไม่สามารถ
เห็นว่า เส้นทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จนกว่าหน้ารถจะปรับเข้าสู่ระนาบปกติของเส้นทาง ถ้า
ไม่ใช่เส้นทางตรงๆ เป็นโค้งซ้ายหรือโค้งขวา มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้
การขับขึ้นเนินชัน ควรใช้ WALKING SPEED เกียร์ 4L เป็นหลัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นผิว
(เปียกแห้ง ) องศา (ชันมากน้อย) และระยะทาง (ยาว- สั้น)ของเนิน ผู้ขับขี่จะต้องรู้สึกถึงกำลัง
เครื่องของรถว่าพอหรือไม่ ควบคุมคันเร่งให้พอที่จะไต่ขึ้นถึงยอดเนิน และทันทีที่ถอนเท้า
WALKING SPEED ก็จะทำหน้าที่ดึงรถโดยอัตโนมัติ หากเป็นเนินชันยาว การใช้ WALKING
SPEED อาจไม่พอที่จะทำให้รถขึ้นได้ ควรเปลี่ยนเกียร์มาใช้เป็นเกียร์ 2 ที่ 4L สาเหตุที่เลือกใช้เกียร์
2-4 L ก็เพราะเป็นเกียร์ที่ยังมีแรงบิด (TORQUE ) ที่สูงพอเพียง และความเร็ว ที่จัดกว่าเกียร์ 1-4L
ทำให้ล้อสามารถหมุนได้เร็วกว่า จากนั้นเร่งส่งตั้งแต่ตีนเนิน เมื่อถึงจุดสูงสุดบนยอดเนิน ให้ถอน
คันเร่งทันที อย่าให้เกิดการกระโจนลอยในอากาศ เพราะอาจจะเสียการควบคุมได้
ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์กลางเนิน เพราะถ้ารอบเครื่องตกก็จะไม่สามารถขับขึ้นต่อไปได้ และ
อาจเกิดอันตรายหากรถไหลกลับหลัง เพราะจะไม่สามารถเบรกให้หยุดได้ หากรอบเครื่องยนต์ไม่
พอ อาจจะดับกลางเนิน ปล่อยให้คาเกียร์ไว้ พร้อมกับเหยียบเบรกก่อนที่รถจะไหลกลับ และดึง
เบรกมือ ควรทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่า รถจะหยุดอยู่ที่เดิม แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ให้ถอยรถลงมาตีนเนิน พร้อมกับทำการเร่งส่งใหม่ วิธีการนี้จะอันตรายในช่วงการถอย
เพราะบางคนปล่อยรถให้ไหลกลับหลังด้วยเกียร์ว่าง หรือเหยียบคลัตช์และเบรก บางคนปล่อยให้
รถไหลลงมาทั้งๆ ที่เครื่องยนต์ยังดับอยู่เบรกก็ไม่ทำงาน พวงมาลัยก็ล็อก ถือว่าอันตรายมากหาก
ว่าสองข้างทางนั้นเป็นหุบเหว อีกวิธีหนึ่งที่มักกปฏิบัติกันผิดๆ คือ เร่งส่งขึ้นไปแล้วค้างอยู่กลางเนิน
เจ้าของรถต้องค่อยๆ ปล่อยรถลงมาด้วยวิธีการเหยียบคลัตช์ โดยยังคาอยู่ที่เกียร์ 1ในตำแหน่ง 4L
พร้อมกับเร่งส่งสวนทางเพื่อชะลอความเร็วหรือช่วยเบรกไปในตัว วิธีนี้ปัญหาที่จะตามมาคือ
เครื่องยนต์อาจจะตีกลับได้ กลายเป็นเรื่องใหญ่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เมื่อรถหยุดกลางเนินนิ่งสนิทดีแล้ว ให้ปลดเกียร์ว่าง พร้อมกับสตาร์ทเครื่องยนต์ เข้าเกียร์
ถอยหลัง พร้อมปลดเบรกมือ เหลือแต่การเหยียบคลัตช์และเบรก จากนั้นค่อยๆ ถอนเท้าทั้งสอง
ข้าง จนรถเริ่มขยับถอย ให้ถอนเท้าออกทันทีเกียร์ถอยหลังจะทำหน้าที่ดึงไม่ให้รถไหล โดยไม่ต้อง
เหยียบเบรก ถ้ารู้สึกไม่ปลอดภัย ก็สามารถเหยียบเบรกประคองได้ แต่ห้ามกดจนล้อล็อก และห้าม
เหยียบคลัตช์อีก จนกว่าจะลงถึงตีนเนิน
อีกวิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหารถดับคาเนิน ก็คือ การบิดกุญแจสตาร์ททั้งที่เกียร์ยังคาอยู่ (
START IN GEAR ) แต่ควรเป็นเกียร์ 1-4L และตำแหน่งตัวรถต้องไม่ดับห่างจากยอดเนินมากนัก
วิธีนี้จะช่วยดึงรถให้ขยับทีละน้อย ถ้าเครื่องยนต์ติด ให้เร่งเครื่องต่อไปเลย แต่ถ้าเครื่องยนต์สตาร์ท
ไม่ติด ก็ไม่เป็นไรใช้วิธีสตาร์ทซ้ำไปเรื่อยๆ
ในการขับขึ้นเนินชันที่มีอันตรายนั้น หากมีร่องล้ออยู่ วิธีการขับที่ถูกต้องคือบังคับให้ล้อทั้ง
4 ลงไปอยู่ในร่องเพื่อให้ล้อมีเกาะยึดและไม่มีทางที่จะเกิดการลื่นไถลจนเสียการทรงตัว เป็นเหตุให้
รถตกเหว การขับคร่อมร่องล้อในบางจุดที่มีสามารถร่องอาจทำให้ล้อคู่หน้าและคู่หลังตกลงไปใน
ร่องคนละคู่ ทำให้เกิดขวางลำขณะกำลังขึ้นเนิน หากไม่มีการสะดุดก็สามารถปีนออกจากร่องได้
จึงไม่ทำให้รถเกิดการพุ่งลงเหว แสดงให้เห็นว่าร่องล้อนั้นมีประโยชน์ จึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะ
พยายามขับคร่อมร่อง
หากว่าร่องล้อที่มีความลึกมาก ล้อตกลงไปก็จะทำให้ไม่สามารถขึ้นได้แน่ๆ จำเป็นต้องขับ
คร่อมจริงๆ ขอให้สังเกตว่า พื้นผิวบริเวณนั้นแห้งเป็นดินแข็งหรือเปียกชื้น จนถึงขั้นเป็นโคลน
เพราะหากเป็นพื้นผิวแห้งๆ ก็ สามารถขับคร่อมไปได้ แต่ถ้าหากมีความลื่นก็อาจทำให้เกิดปัญหา
ตามมาได้ วิธีการแก้ไขก็คือถมร่องด้วยหิน ท่อนไม้ และปรับแต่งเส้นทาง โดยการใช้จอบและเสียม
ขุดบริเวณที่ติดอกออก
อย่างไรก็ตามการใช้ WALKING SPEED อาจดึงรถได้ดีเกินไปในช่วงขาลง จะมีอาการ
คล้ายกับการใช้เบรกในการขับลงไม่สัมพันธ์กับองศาของเนินรถก็จะเกิดอาการขวางลำได้เช่นกัน
ควรเปลี่ยนจากการใช้เกียร์ 1 4L เป็น 2 4L อาการล้อล็อกก็จะหายไป หรือเลือกวิธีปฎิบัติ 2 แบบ
ในการขับ คือ การเหยียบคลัตช์เพื่อลดการดึงของเกียร์ ทำให้ไม่เกิดอาการขวางลำอีกและเมื่อรถ
ปรับเข้าเส้นทางดีแล้วให้ถอนคลัตช์ทันที อีกวิธีหนึ่งที่ปลอดภัยกว่า นั่นคือการกดคันเร่งเพื่อฉุดให้
รถตั้งลำตรง การตบคันเร่งเพียงเล็กน้อยจะสามารถแก้อาการขวางลำได้
การขับข้ามอุปสรรคโคลน
การขับลุยโคลน จัดเป็น สถานีบังคับ ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นในสนามฝึกหัดหรือ
การขับขี่ในเส้นทางจริง ตลอดจนการแข่งขันออฟโรดแทบทุกรายการ ย่อมหนีไม่พ้น
โคลนที่ว่านี้
ทางที่เป็นโคลนนั้น จะพบอยู่เสมอหากว่าเดินทางเข้าป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน
เส้นทางที่เป็นดินจะมีลักษณะเปียกลื่นแบบดินหนังหมู จนถึงเละเป็นทะเลโคลนหรือดินมันปู
กลายเป็นอุปสรรคปัญหาให้การเดินทางที่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ วิธีแก้ไขพื้นฐานก็คือ เราต้อง
เรียนรู้และฝึกขับในโคลนจนเกิดความชำนาญ เพื่อเป็นการถนอมรถไม่ให้เกิดปัญหาและสร้าง
ภาระให้กับผู้ร่วมเดินทางคันอื่นๆ ไปด้วยในตัว
ประการแรกถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ การเลือกใช้ยางที่เหมาะสม ควรเป็นยางที่มี
ดอกยางหยาบ ที่เรียกกันว่า ยาง MUD TERRAIN ซึ่งออกแบบให้มีการสลัดดินโคลนได้ดี ถูก
ออกแบบให้จิกพื้นผิวได้ดีกว่ายาง ALL TERRAIN อีกประการหนึ่งก็คือ เรื่องของลมยาง ในการขับ
ผ่านโคลนลมยางไม่ควรแข็งจนเกินไป ควรลดลมยางให้อ่อนลง เป็นการเพิ่มหน้าสัมผัสของยาง
เนื่องจากแก้มยางจะยุบตัวหรือแบนลงเล็กน้อย ในขณะที่แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้น
บนพื้นผิวโคลนที่มีความนุ่มปานกลาง ควรเลือกใช้ WALKING SPEED เพราะจะมีแรงบิด
สูง ทำให้ล้อไม่ปั่นฟรี และไม่ขุดฝังตัวเอง หรือไม่เกิดอาการลื่นไถลออกนอกลู่นอกทาง การควบคุม
รถก็ง่ายขึ้น หากเกิดความรู้สึกว่ารถไม่เคลื่อนที่ สามารถกดคันเร่งช่วยเบาๆ หรือเร่งแบบปั๊มเป็น
จังหวะ เพื่อช่วยให้ได้แรงเสียดทานที่พอดีซ้ำหลายๆ ครั้ง จะช่วยให้รถผ่านไปได้แบบสบายๆ
สำหรับพื้นผิวที่เป็นโคลนเละมากๆ การใช้ WALKING SPEED บางครั้งรถก็ไม่สามารถ
เคลื่อนตัวไปได้ ควรเปลี่ยนเป็นการใช้เกียร์ 2 (4L) จะทำให้ความเร็วของล้อเพิ่มมากขึ้น โดยค่อยๆ
บังคับรถลงในบ่อโคลนหรือร่องแล้วจึงเร่งส่ง ไม่ต้องถอนหรือปั๊มคันเร่ง เพราะการถอนคันเร่งอาจ
ทำให้เสียจังหวะ หรือรอบเครื่องยนต์ตก และห้ามกระโจนลงบ่อโคลนหรือแม้แต่บ่อน้ำโดยแรง
เพราะน้ำหรือโคลนจะกระจายเต็มหน้ากระจังรถ ผลที่ตามมาคือโคลนหรือน้ำผสมโคลนจะฉาบรัง
ผึ้งหม้อน้ำทำให้เกิดการอุดตันจนหม้อน้ำไม่สามารถระบายความร้อนได้ ตลอดจนใบพัดหม้อน้ำ
อาจจะแตกและพาลไปตีชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ รวมทั้งอาจจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟ
เนื่องจากน้ำกระเด็นเข้าไปในห้องเครื่องยนต์ และที่สำคัญแต่เราไม่รู้ว่าในบ่อโคลนเหล่านั้นมีอะไร
อยู่บ้าง อาจจะเป็นหิน ท่อนไม้ หรือฯลฯ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ช่วงล่างหรือระบบต่างๆ ได้
เมื่อขับไปแล้วเริ่มรู้สึกหนืดคล้ายจะติด ให้ส่ายพวงมาลัยซ้าย-ขวา เพื่อให้ล้อเกิดการเกาะ
พื้นผิวดินใหม่ ก็อาจทำให้รถเคลื่อนที่ต่อไปได้ เพราะถ้าวางตำแหน่งล้อไว้ที่เดิมก็มีแต่จะจมลง แต่
ถ้าปั่นไปแล้วเกิดการจมหรือแขวนใต้ท้องให้ถอนคันเร่งทันที มิฉะนั้นล้อจะขุดจนฝังตัวเอง
เมื่อลองวิธีที่ผ่านมาแล้วรถยังไม่สามารถผ่านบ่อโคลนไปได้ ก็ให้ใช้วิธีสุดท้าย คือ ใช้วินช์ดี
ที่สุด แต่ในกรณีที่ติดมากๆ วินช์ไม่ขึ้นหรือเสี่ยงต่อสายสลิงขาด ควรใช้รอกทดหรือสแน็ชบล็อกทด
เพิ่มกำลังของวินช์เป็นสองเท่าตัว (DOUBLE LINES) เพื่อป้องกันไม่ให้สลิงตัด
การขับในอุปสรรคที่เป็น ทราย
ทราย เป็นอุปสรรคชนิดเดียวที่เหมาะสมกับการใช้ดอกยางละเอียด (DESERT
DULLER) เนื่องจากพื้นผิวสัมผัสจะช่วยกระจายน้ำหนักเต็มหน้ายาง ในขณะเกิดการหมุน
ของล้อ ดอกยางจะไม่ขุดเหมือนยาง MUD TERRIAN ทำให้รถไม่จมเมื่อแล่นผ่านไป
การขับรถบนพื้นทรายที่ร่วนซุย ต้องการยางที่มีหน้าสัมผัสกว้าง และห้ามโยกหรือส่าย
พวงมาลัยไป-มา เหมือนการขับข้ามบ่อโคลนหรือทางที่เป็นเลน เพราะเป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง ยิ่ง
ถ้ากดคันเร่งเข้าไปอีก รถก็จะจมจนแขวนท้องติดทรายอยู่อย่างนั้น ในทางปฏิบัติควรปล่อยลมยาง
เพิ่มผิวสัมผัสให้มากขึ้น และเคลื่อนที่โดยการใช้ WALKING SPEED เท่านั้น หากว่ากดคันเร่งมาก
เกินไปอาจจะทำให้ยางหลุดขอบได้
เมื่อรถเคลื่อนตัวจนสามารถทำความเร็วได้ ก็สามารถเปลี่ยนเกียร์ 2-3 ได้ตามรอบ
เครื่องยนต์ (ยกเว้นในน้ำ) หากสัมผัสได้ถึงความหนืด ให้ลดเกียร์ลงพร้อมกับถอนคันเร่ง รักษารอบ
เครื่องให้คงที่ หลีกเลี่ยงการเลี้ยวในมุมแคบๆ เพราะด้านข้างของแก้มยางจะต้านกับทราย ทำให้ไม่
สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ในขณะที่ล้อหลังกำลังหมุน ทำให้รถจมทรายได้ง่าย และห้ามเหยียบเบรก
อย่างรุนแรง เพราะทำให้น้ำหนักรถกดลงบนพื้นทรายอย่างแรง จนเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำได้
เนื่องจากทรายจะจับล้อหน้าไว้ให้หยุดอย่างกะทันหัน พร้อมกับน้ำหนักรถทั้งคันยังดันรถอยู่ จึงทำ
เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
การขับรถในพื้นทรายที่ร่วนซุยมากๆ นั้น การออกรถไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง ต้องทำ
ด้วยความนุ่มนวล ผู้ที่ขาดประสบการณ์มักจะกลัวรถติดหล่มจึงออกตัวอย่างแรง ยิ่งรู้สึกว่าจะจมก็
จะยิ่งกดคันเร่งมากขึ้น และเมื่อรถจมใต้ท้องติดพื้นทรายแล้ว ห้ามพยายามเร่งต่อควรแก้ไขด้วยวิธี
อื่น เพราะเพลากลางซึ่งถูกน้ำหนักรถกดอัดแน่นกับพื้นทรายอาจจะขาดได้
ถ้าเดินทางเป็นขบวนหรือคาราวาน ควรหลีกเลี่ยงการขับลงไปในร่องล้อเดิม ซึ่งคันหน้าขับ
ผ่านไปแล้ว เพราะรถอาจจะเกิดแขวนใต้ท้องได้ง่าย เพราะการขับซ้ำร่องเดิมจะมีช่องว่างระหว่าง
พื้นทรายกับใต้ท้องรถน้อยลง ยกเว้นการขับข้ามน้ำที่มีกระแส น้ำจะพัดเอาทรายมากลบรอยเดิม
จึงไม่ต้องเปลี่ยนร่องใหม่หรือไลน์ใหม่ เพราะอาจเจอกับปัญหาอื่นๆ ได้ เช่น ก้อนหินกระแทกช่วง
ล่าง ตกหลุมขนาดใหญ่ใต้น้ำที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ ฯลฯ
ธรรมชาติของทรายจะมีความแน่นเพิ่มขึ้น เมื่อมีน้ำเข้ามาเป็นตัวประสาน ตรงกันข้ามกับ
ดินที่จะนิ่มลงเนื่องจากน้ำจะซึมและละลายดินให้เหลว ดังนั้นการแกปั้ญหาบนพื้นทราย คือต้องนำ
น้ำมาราดเพื่อให้เม็ดทรายจับตัวกัน แต่ข้อแม้อยู่ที่ว่ารถของท่านยังไม่ทันติดหล่มทราย แต่ถ้าติด
หล่มทรายจนจม การราดน้ำก็ไม่ช่วยอะไรมากนัก จึงควรขุดเอาทรายออกให้มากที่สุดเสียก่อน
เมื่อรถจมทรายแล้วหากยังสามารถลดลมยางได้อีก ให้ลดลมเพื่อเพิ่มหน้าสัมผัสและแรง
เสียดทานให้มากขึ้น แล้วจึงขุดทรายออกให้ล้อทั้ง 4 กลับมาตั้งอยู่บนพื้นทรายใหม่โดยเฉพาะ
บริเวณใต้ท้องรถ หากช่วงล่างหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของของท้องรถมีการแปะหรือจมอยู่ในทรายให้
ขุดออกเพื่อไม่ให้เกิดแรงด้าน หลังจากนั้นจึงนำน้ำมาราดบนทรายบริเวณล้อรถ ถ้ามีไม้กระดาน
หรือแผ่นไม้อัดให้นำมาปูเพื่อให้ล้อเหยียบก็จะช่วยได้เยอะ หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เคลื่อนรถออกไป
ด้วยการใช้ WALKING SPEED
การใช้วินช์ (WINCH) ดึงรถขึ้นมาจากหล่มทรายนั้น รถที่ทำการดึงหรือให้การช่วยเหลือ
จะต้องมีหลักยึดที่มั่นคง โดยการตรึงรถไว้กับต้นไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่บริเวณนั้น เพื่อป้องกัน
ไม่ให้รถเคลื่อนที่เข้าหาคันที่จมอยู่ เพราะเมื่อใดที่รถเคลื่อนตัวเข้าหากันอาจจะติดหล่มทรายตายคู่
ก็ได้ ทั้งนี้เพราะรถที่จมอยู่จะถูกทรายต้านเอาไว้ทำให้น้ำหนักที่วินช์จะต้องดึงรถมีมากกว่าปกติ จึง
ควรใช้รอกทดเพื่อเพิ่มกำลังของวินช์ โดยที่รถทั้ง 2 คันไม่ควรเร่งช่วยเพราะจะทำให้รถจมมาก
ยิ่งขึ้น (รถคันที่ติดอาจจะใช้ WALKING SPEED ช่วยก็ได้)
หากใช้การกระตุกด้วย เชือกกระตุก ให้ช่วยได้ 2-3 ครั้ง โดยรถคันที่จมเร่งช่วยด้วย ถ้า
ไม่สามารถกระตุกขึ้นมาได้ให้ใช้วิธีอื่นแทน ห้ามใช้เชือกธรรมดาลาก เพราะจะทำให้รถคันที่ให้
ความช่วยเหลือเกิดเสียหายและติดหล่มทรายได้
การขับข้ามน้ำ
การขับข้ามน้ำในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ห้วย ลำธาร บึง แม้กระทั่งแม่น้ำ จะต้องทำการ
สำรวจความลึก พื้นผิวใต้น้ำ และกระแสน้ำทุกครั้งว่าเป็นอย่างไร มีโขดหิน หลุม อยู่บริเวณใดบ้าง
รวมทั้งสภาพพื้นผิวใต้น้ำที่มีลักษณะเป็นดิน ทราย หรือ กรวด ดังนั้นจึงต้องเดินลุยน้ำเท่านั้น จึงจะ
ทราบถึงสภาพเส้นทางที่เราขับลงไป และต้องเดินสำรวจตลอดเส้นทางจนถึงฝั่งตรงกันข้าม ไม่ใช่
ขับข้ามไปเพียงครึ่งเดียวแล้วรถติดอยู่กลางน้ำ
น้ำที่มีกระแสไหล อาจทำให้สภาพพื้นผิวใต้น้ำเปลี่ยนได้ตลอดเวลา จึงไม่ควรไว้ใจใน
เส้นทางที่เคยขับผ่านมาหลายครั้งแล้ว เพราะทรายหรือกรวดอาจถูกน้ำพัดจนทำให้เกิดหลุมขนาด
ใหญ่ หากมีจุดใดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ให้ไปยืนประจำการจุดนั้นๆ เพื่อให้ผู้ขับสังเกตเห็น หรือ
ใช้ไม้ปักเพื่อเป็นสัญลักษณ์ก็ได้
ถ้าระดับน้ำลึกมากจนอาจเป็นอันตราย ถึงแม้จะไม่มีกระแสน้ำก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะข้ามไป
โดยเฉพาะรถที่ไม่มีสนอร์เกิ้ล( SNORKEL) ระดับที่ไอดีจะอยู่สูงประมาณไฟหน้ารถ ดังนั้นถ้าน้ำลึก
จนมิดยางก็ไม่ควรขับลงไป วิธีการที่ชาวบา้ นใช้แก้ปัญหา ก็คือ การใชผ้ ้าพลาสติกปดิ กระจังหนา้
รถ โดยใช้ฝากระโปรงหนีบไว้จะช่วยดันน้ำให้ออกข้างรถได้สักระยะหนึ่ง แต่ถ้ามีการติดตั้งสนอร์
เกิ้ล ก็ไม่ควรให้ระดับน้ำลึกเกินหน้าอก
เมื่อตัดสินใจจะข้ามน้ำที่มีระดับลึกถึงกระบะ(รถปิกอัพ) ให้ผูกโยงสัมภาระทั้งหมดติดกับ
ตัวรถเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำพัดไป หรือถ้ามีตาข่ายคลุมทับก็เป็นการดี เพราะมีสัมภาระหลายอย่างที่
ลอยน้ำได้ เช่น ยางอะไหล่ ลังทหาร เครื่องครัว หรือเครื่องนอน เป็นต้น
ถ้าน้ำมีกระแสแรงให้ใช้การโยงสายสลิงรถคันที่ลงน้ำไว้กับรถคันหลัง ที่สำคัญรถคันหลัง
จะต้องมีหลักที่ดีกว่าโดยอาจจะโยงไว้กับต้นไม้ที่มีความแข็งแรงหรือกับรถอีกคันหนึ่งก็ได้ เพื่อให้
น้ำหนักโดยรวมมากกว่ารถคันที่ขับลงน้ำ และต้องผ่อนสายสลิงออกช้าๆ ตามไป อย่าให้สายตึง
เพราะจะเป็นการฉุดรถคันหน้าไว้ ทำให้ล้อปั่นฟรีจนจมได้ และรถคันที่จะขับลงน้ำทุกคันต้องไม่ลืม
ที่จะสาวสลิงออกมาพันไว้กับกันชนหน้าเตรียมไว้ เผื่อกรณีฉุกเฉินจะสามารถดึงออกและใช้ดึงรถ
ขึ้นจากน้ำได้โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
เมื่อพร้อมจะลงน้ำห้ามคาดเข็มขัดนิรภัย และลดกระจกหน้าลงให้สุด ปลดล็อกประตูทุก
บาน เพื่อป้องกันการลัดวงจรของกระแสไฟฟ้า ในกรณีฉุกเฉินรถอาจจะจมน้ำถึงในระดับที่เป็น
อันตราย ผู้ที่อยู่ในรถจะสามารถมุดออกมาได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งสะดวกต่อผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ
อีกด้วย
เกียร์ที่เหมาะในการขับข้ามน้ำที่สุด คือ เกียร์ 1 (4L) เพราะสามารถใช้ WALKING
SPEED ได้และเป็นเกียร์ที่ทำให้เครื่องยนต์ดับยาก หากเกิดเครื่องยนต์ดับจะทำให้น้ำเข้าสู่
เครื่องยนต์ได้ โดยผ่านทางท่อไอเสียและอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเครื่องยนต์พังได้ ดังนั้นการใช้
WALKING SPEED จึงเป็นการป้องกันการดับของเครื่องยนต์ได้ดีกว่าการใช้เกียร์อื่น หากว่ารถ
ทำท่าจะจมน้ำแน่ๆ ให้กดคันเร่งพร้อมกับดับเครื่องยนต์ทันที ห้ามปล่อยให้เครื่องยนต์ดับเอง
เพราะเครื่องยนต์อาจเกิดความเสียหายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ภายหลังจากที่เครื่องยนต์ดับ ห้าม
ไม่ให้สตาร์ทซ้ำอีกจนกว่าจะกู้รถขึ้นมาบนฝั่ง พร้อมกับตรวจเช็คระบบเครื่องยนต์ หากน้ำมันเครื่อง
มีสีเปลี่ยนไปโดยมีสีคล้ายกาแฟเย็น แสดงว่ามีน้ำเข้าไปผสม ให้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
และทำการไล่น้ำออกจากระบบเครื่องยนต์เสียก่อน
ถ้ากระแสน้ำไหลแรง การขับข้ามในแนวตัดตรง จะทำให้รถถูกน้ำดันไม่สามารถควบคุมรถ
ได้ ควรขับตัดเป็นมุมทะแยง 45 องศา กับกระแสน้ำ โดยขับไปครึ่งทางแล้วปล่อยให้กระแสน้ำพัด
ให้รถกลับสู่ทิศทางเดิมจนถึงฝั่งตรงข้าม หากขับตัดมากเกินไปกระแสน้ำจะพัดท้ายรถให้ไปตามน้ำ
ทำให้ตัวรถเกิดการขวางลำ และไม่สามารถบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ หากขับตัด
กระแสน้ำน้อยเกินไป จะทำให้ด้านข้างของตัวถังรถต้านน้ำอาจเกิดการลอยของตัวรถจนล้อไม่
สัมผัสกับพื้นผิวใต้น้ำ ก็จะไม่สามารถควบคุมรถได้เช่นกัน
ก่อนที่จะขับข้ามน้ำที่มีกระแสไหลแรง ควรเตรียมพร้อมโดยให้รถคันที่อยู่บนฝั่งโยง
สายสลิงวินช์ไว้กับคันที่จะขับลงน้ำ และยึดตัวเองไว้กับหลักที่มั่นคงบนฝั่ง สังเกตอาการของรถคัน
ที่ขับลงน้ำว่าสามารถควบคุมรถได้หรือไม่ หากมีอาการสูญเสียการควบคุมและถูกน้ำพัดไป ให้รถ
คันที่อยู่บนฝั่งผ่อนสายสลิงตามไปจนหยุดนิ่งก่อน แล้วจึงค่อยๆ ดึงเข้า หลีกเลี่ยงการดึงกระชาก
อย่างแรง จนสายสลิงขาด ขณะดึงสายสลิงเข้าให้สังเกตรถคันที่อยู่ในน้ำว่าจมมากขึ้นหรือไม่ หรือ
อาจติดโขดหินได้ก็ควรหยุดการดึงเข้า เพราะสายสลิงอาจขาดได้ แล้วจึงหาวิธีแก้ไขแบบอื่นแทน
ห้ามปลดตะขอของสายสลิงอออกเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำพัดไป
ในระหว่างขับอยู่กลางน้ำ ควรรักษาทั้งรอบเครื่องและความเร็วให้คงที่ ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์
เพราะเครื่องยนต์อาจสะดุดหรืออาจทำให้เสียจังหวะ ไม่ควรขับโดยกระโจนลงน้ำหรือเร่งเครื่อง
อย่างแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ด้านหน้าของรถต้านน้ำ เพราะจะทำให้รถลอยหรือจม การควบคุมรถก็
จะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะน้ำอาจจะดันให้หม้อน้ำกระแทกกับใบพัดจนเสียหาย
ขณะขับอยู่ในน้ำรถอาจมีอาการเหมือนคลัตช์ลื่น (เพราะน้ำเข้า) จะทำให้เกียร์เข้ายาก
ดังนั้นหากไม่ควรเปลี่ยนเกียร์โดยไม่จำเป็น เพราะการใช้ WALKING SPEED เป็นวิธีที่ปลอดภัย
ที่สุดแล้ว
เมื่อเสร็จสิ้นการข้ามน้ำ สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติ ก็คือ การไล่น้ำออกจากผ้าเบรก โดย
การทำการเบรกย้ำหลายๆ ครั้ง จนสามารถหยุดรถได้ตามปกติและไม่มีเสียงดังครืดๆ อีก
ความร้อนจะทำให้น้ำระเหยออกจากผ้าเบรกจนหมด หากยังไม่ได้ไล่น้ำออกจากผ้าเบรก
ควรหลีกเลี่ยงการดึงเบรกมือทิ้งไว้นานๆ โดยเฉพาะทิ้งข้ามคืน เพราะผ้าเบรกจะบวมจน
จับจานเบรกแน่น ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนรถได้
หากมีเวลามากพอหรือภายหลังจากทริปที่มีการลุยน้ำ ควรตรวจเช็คระบบเบรก ตรวจเช็ค
น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเฟืองท้าย น้ำมันเกียร์ทันที และเฟืองต่างๆ เหตุเพราะน้ำมันจะ
สูญเสียคุณสมบัติในการหล่อลื่น จนไม่มีชิ้นฟิล์มที่ฉาบคลือบโลหะ จึงทำให้เสียดสีกันและเกิด
ความเสียหายได้ ควรทำการไล่น้ำออกจากหัวฉีดควบคู่กันไปด้วย เพื่อไล่น้ำให้ออกไปจากระบบ
เครื่องยนต์ทั้งหมด รวมทั้งการตรวจเช็คระบบไฟทั้งหมด และอัดจาระบีเพลากลาง กากบาท และ
ลูกหมากต่างๆ เพื่อไล่น้ำที่ขังอยู่ และเพื่อเป็นการหล่อลื่น
สัญญาณมือ
การใช้สัญญาณมือนั้น ถือเป็นการสื่อสารกับผู้ขับที่ดีที่สุด เพื่อกำหนดวิธีการขับทั้ง
ตำแหน่ง และทิศทางของล้อทั้งสี่ ผู้ที่ทำหน้าที่บอกไลน์จะทำหน้าที่เป็นดวงตาแทนผู้ขับ โดยไม่ทำ
ให้ผู้ขับเกิดความสับสน สามารถบอกไลน์ได้จากตำแหน่งหน้า-หลัง ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง เมื่อ
เปรียบเทียบกับการใช้คำพูดในการสื่อสาร จะพบว่ามีความสับสนค่อนข้างมาก การใช้สัญญาณ
มือ จึงเท่ากับเป็นการตัดความสับสนที่เกิดจากการสื่อสารออกไป ข้อดีของการใช้สัญญาณมืออีก
ประการหนึ่ง คือ มีความเป็นสากลสามารถใช้สื่อสารกับทุกชาติทุกภาษาได้ชัดเจน
ผู้ให้สัญญาณมือจะมีหน้าที่บอกไลน์ ที่ดีที่สุดแก่ผู้ขับ ดังนั้นควรเลือกยืนในตำแหน่งที่
ตนเองสามารถมองเห็นล้อทั้ง 4 เสน้ ของรถคันที่กำลังเคลื่อนที่ผา่ นอุปสรรค โดยจะเป็นตำแหน่งที่
ผู้ขับขี่อยู่บนรถจะสามารถสังเกตเห็นมือของผู้บอกไลน์ได้อย่างชัดเจน และต้องเป็นตำแหน่งที่มี
ความปลอดภัย ไม่ล่อแหลมต่ออันตราย หากเกิดการผิดพลาด เช่น ห้ามยืนในบริเวณที่รถอาจเกิด
การพลิกคว่ำมาใส่ หรือรถอาจจะพุ่งชนได้
ผู้ให้สัญญาณมือจะต้องมั่นใจในการอ่านไลน์เสียก่อน จึงจะตัดสินใจเคลื่อนรถได้ มิฉะนั้น
อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะในอุปสรรคที่มีอันตราย หากผู้ให้สัญญาณมือไม่มั่นใจ
จะต้องหยุดรถ ห้ามปล่อยให้รถเคลื่อนที่ แล้วจึงพิจารณาใหม่ว่าควรทำอย่างไรโดยไม่ต้องรีบร้อน
การให้สัญญาณมือนั้น จะต้องบอกไลน์ทีละคัน ห้ามรถคันอื่นขับตามมา เพราะจะทำให้
สับสนในการสื่อสารได้ หากจำเป็นต้องควบคุมรถมากกว่า 1 คัน โดยผู้บอกไลน์ต้องระลึกไว้เสมอ
ว่า จะมีรถที่เคลื่อนที่ตามคำสั่งของผู้ให้สัญญาณมือในแต่ละอุปสรรคเพียงคันเดียวเท่านั้น
ผู้บอกไลน์จะต้องมีเพียงคนเดียวเท่านั้น ผู้อื่นที่อยู่รอบๆ ไม่ควรส่งเสียงโวยวายหรือ
พยายามช่วยบอกไลน์ จนผู้ขับไม่รู้จะฟังใครดี หากจำเป็นต้องมีผู้บอกไลน์มากกว่า 1 คน เช่นใน
อุปสรรคที่มีจุดอับสายตา ก็อาจให้ผู้บอกไลน์อีกคนยืนรับกันเป็นทอดๆ แล้วปฏิบัติเช่นเดิม ส่วนข้อ
ควรปฏิบัติของผู้ขับที่ดีนั้น ก็คือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บอกไลน์เพียงคนเดียว และไม่ควร
พยายามที่จะดูไลน์เอง เพราะผู้ขับจะมองเห็นเฉพาะล้อด้านที่ตนเองนั่งขับอยู่ ไม่สามารถมองเห็น
ได้ทั้ง 4 ล้อ การตัดสินใจเองอาจทำให้เกิดการผิดพลาดและเสียเวลา ผู้ขับที่มีประสบการณ์ จะไม่
ทำอะไรเลยนอกจากบังคับรถตามที่ผู้บอกไลน์สั่งเท่านั่น
หากไม่แน่ใจในคำสั่งของผู้บอกไลน์ ผู้ขับจะต้องหยุดรถให้นิ่งสนิททันที แล้วส่งสัญญาณ
ด้วยการบีบแตร หรือกระพริบไฟหน้ารถ เพื่อให้ผู้ส่งสัญญาณทราบว่าตนไม่แน่ใจในคำสั่งที่ได้รับ
หรือมีเหตุอื่นๆ ที่ต้องแก้ไข อย่าเคลื่อนรถไปโดยไม่แน่ใจ หรือไม่สามารถสังเกตุเห็นสัญญาณมือได้
ชัดเจน
การใช้สัญญาณมือเพื่อบอกไลน์ จะมีประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่ของการสื่อสารที่เราสามารถ
เดินทางร่วมกับชาวต่างชาติหรือคนหูหนวกและในแง่ของความปลอดภัยเป็นสิ่งที่เป็นสากกลอย่าง
ยิ่ง ไม่เฉพาะบนเส้นทางออฟโรดเท่านั้นที่จะสามารถใช้สัญญาณมือ บนสภาพเส้นทางปกติก็
สามารถใช้สัญญาณมือได้ เช่น การใช้สัญญาณมือของตำรวจจราจรในการควบคุมรถบนท้องถนน
หรือการให้สัญญาณมือของรปภตามที่จอดรถของศูนย์การค้าต่างๆ
ก่อนที่จะมีคำสั่งให้ผู้ขับทำการเคลื่อนรถ ผู้บอกไลน์ต้องให้สัญญาณด้วยการยกนิ้วโป้ง
เพื่อตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับ หากผู้ขับยังไม่พร้อมที่จะขับเคลื่อนรถ หรือผู้บอกไลน์อยู่ใน
ตำแหน่งที่ไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน ก็ไม่ต้องยกนิ้วตอบ หากทุกอย่างพร้อมก็ให้ยกนิ้วตอบ
โดยชูมือออกไปนอกรถ แล้วจึงเคลื่อนรถตามคำสั่งของผู้บอกไลน์ต่อไป
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการบอกไลน์ในเวลากลางคืน ที่ผู้ขับขี่จะต้องเปิดไฟหรี่หน้ารถ เพื่อ
สามารถมองเห็นสัญญาณมือ หากเป็นไฟใหญ่ ผู้บอกไลน์ที่ยืนอยู่หน้ารถจะไม่สามารถมองเห็นล้อ
รถได้ เนื่องจากแสงไฟเข้าตา พร้อมกันนั้นผู้บอกไลน์จะต้องถือไฟฉายเพื่อส่องล้อทั้ง 4 และให้
สัญญาณ โดยใช้มือข้างเดียว แต่ควรเพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากทัศนวิสัยไม่ดี
การเตรียมความพร้อมในการเดินทางในรูปแบบออฟโรด และการใช้รถออฟโรด
ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแล้ว ยังช่วยเพิ่มความ
ปลอดภัยในการขับขี่และสามารถใช้พื้นฐานการขับเพื่อแก้ปัญหาเมื่อจำเป็น อย่างไรก็
ตามต้องอาศัยความชำนาญที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ท่านจะได้รับ
การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ
วินช์
ประโยชน์ของวินช์เพื่อใช้ดึงรถออกจากอุปสรรคต่างๆ เช่น การจมโคลน รถตกเหว หรือ
แม้แต่การพลิกคว่ำ ฯลฯ วินช์ยังเป็นประโยชน์กับรถคันอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ ขณะที่รถอยู่
ในอุปสรรค วินช์จะเข้ามามีบทบาทในการดึงรถให้ออกจากอุปสรรค ปกติวินช์ มี 3 ชนิด โดยแบ่ง
ตามวิธีการใช้งานได้แก่
1. วินช์เพลา ซึ่งอาศัยกำลังของเครื่องยนต์ส่งผ่านเกียร์ผ่านไปหมุนเพลาจึงสามารถ
ควบคุมการดึงได้ด้วยเกียร์
2. วินช์ไฮดรอลิก จะใช้ปั้มเพาเวอร์พวงมาลัย เป็นตัวอัดน้ำมันแรงดันสูงในการทำงาน
แตรถส่วนใหญ่ในบ้านเราเป็นรถญีปุ่น ชึ่งปั้มเพาเวอร์พวงมาลัยมีแรงดันไม่พอ จึงไม่
สามารถใช้วินช์ชนิดนี้ได้ เลยไม่เป็นที่นิยม
3. วินช์ไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน โดยใช้รีโมทควบคุม เป็นวินช์ที่ได้รับการนิยมสูงสุด
เพราะสะดวกในการติดตั้ง
ในการเลือกซื้อวินช์ไฟฟ้า ควรเลือกวินช์ที่มีกำลังในการดึงสูงกว่าน้ำหนักรถ เพราะเมื่อใช้
งานจริง การดึงรถที่จมโคลนในแนวนอนนั้น โคลนจะจับใต้ท้องรถ ทำให้วินช์ต้องออกแรงมากกว่า
น้ำหนักรถ อาจเพิ่มเป็น 2-3 เท่าตัว และควรใช้รอกทดร่วมด้วยเพื่อเพิ่มกำลังให้วินช์เป็น 2 เท่า
โดยใช้วิธีการโยงสายสลิงมาที่รถ การใช้วินช์ที่มีกำลังมากจะช่วยลดการสึกหรอ และมีอายุการใช้
งานที่นานกว่า
สิ่งที่ไม่ควรลืมอีกประการก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับวินช์ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ประกอบด้วย
1. ถุงมือหนัง เพื่อป้องกันมือไม่ให้สายสลิงบาด
2. สายคล้องต้นไม้ ช่วยป้องกันเปลือกของต้นไม้ที่ถูกใช้เป็นหลักวินช์ และเพื่อไม่ให้
ตะขอของสายเกี่ยวกันเอง ซึ่งทำให้สายสลิงหัก งอ หรือขาดได้
3. ตัวยู มีลักษณะคล้ายตัวยู ใช้สำหรับจุดเชื่อมต่างๆ ของสายสลิงที่ใช้ดึง และเพื่อให้
ตะขอวินช์เกาะได้
4. สายต่อ เพื่อเพิ่มความยาว ในกรณีที่สายยาวไม่พอ อาจมีลักษณะเป็นผ้า หรือ
ลวดสลิง ควรมีความยาว 5-10 เมตร
5. กระสอบ หรือ ผ้าพลาสติกคลุมสลิง ใช้พาดสายสลิงเวลาใช้งาน เพื่อป้องกันอันตราย
เวลาสายสลิงขาด
6. รอกทด ใช้เพื่อเปลียนทิศทางในการดึง และ เพื่อเพิ่มกำลังวินช์ โดยใช้สายสลิงโยง 2
เส้น
7. สายรีโมท ใช้ควบคุมการทำงานของวินช์
สำหรับการใช้วินช์อย่างถูกวิธีนั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด มีดังนี้
1. ห้ามแตะต้องสายสลิงด้วยมือเปล่า เพื่อไม่ให้สายสลิงที่แตกบาดมือได้ จึงต้องสวมถุ
มมือทุกครั้งที่ต้องจับสายสลิงวินช์
2. ห้ามใช้ตะขอวินช์เกี่ยวตัวเองเมื่อคล้องหลัก เพราะจะทำให้สายสลิงเสียหาย ต้อง
คล้องต้นไม้เท่านั้น
3. เมื่อต่อสายสลิงแป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้กระสอบเต็มใบพาดสายสลิง หากสายขาด
กระสอบจะทำให้สายฟาดอย่างแรงและไร้ทิศทาง
4. ห้ามก้าวข้าม หรือแตะต้องสายสลิงวินช์ขณะใช้งาน ถ้าจำดป็นต้องหย่อนสายสลิ
งลงก่อน และพยายามให้อยู่ห่างมากที่สุดเพื่อความปลอดภัย
5. เมื่อใช้วินช์เสร็จแล้ว ให้เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมด เพื่อพร้อมใช้ในคราวต่อไป
ข้อปฏิบัติอื่นๆ เช่น ห้ามยืนหลังเหล็กที่ใช้ดึงวินช์ ถือว่าเป็นจุดตายหลายทีเดียว เพราะ
ในขณที่ดึงวินช์
จนสายตึงเต็มที่ สายคล้องต้นไม้ซึ่งเป็นผ้าจะยืดออกจนสุด ทำหน้าที่คล้ายหนังสติ๊กที่มีกระสุนคือ
ตะขอวินช์ หาก
สายสลิงขาดสายคล้องต้นไม้จะยิงตะขอให้พุ่งไปบริเวณหลักที่ใช้วินช์ ซึ่งจะเป็นอันตรายมากต่อผู้
ที่ยืนอยู่ในแนวเดียวกับสายสลิง ขณะทำการวินช์หากสายคล้องต้นไม้ขาดตะขอวินช์จะพุ่งกลับมา
ที่รถ ดังนั้นการใช้วินช์ดึงรถในแนวตรงๆ ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อป้องกันตะขอพุ่งกลับมาที่รถ
ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนในรถได้
ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญในการใช้วินช์ มีหลายประการ เช่น ในการสาวสายสลิงออก ห้ามดึง
ออกจนสุด หากความยาวของสลิงไม่พอ ควรต่อสายสลิงหรือเชือก หากไม่ต่อสาย เมื่อดึงรถ ปลาย
สุดของสายสลิงที่ยึดกับแกนวินช์ด้วยน็อตจะหลุดออกทำให้เกิดความยุ่งยากในหารเสียบสายกลับ
เข้าไป หากมีปัญหาสายสลิงหลุดออกจริงๆ ก็อาจใช้วิธีผูกสายสลิงกับแกนวินช์ แล้วค่อยๆ กรอ
วินช์ให้หมุนช้าๆ สายสลิงจะค่อยๆรัดตัวเอง เมื่อมีแรงดึงมากขึ้นจนแน่นพอที่จะดึงรถได้ แต่ทุกครั้ง
เมื่อคลายออก สายสลิงก็จะหลุดอีก ต้องทำซ้ำแบบเดิม ทางที่ดีให้สาวสายสลิงออกมาให้มากที่สุด
ได้เพียงแค่เหลือสายที่พันรอบแกนวินช์ไว้ 1 ชั้น เพียงเท่านี้ก็จะหลีกเลี่ยงสายหลุดออกจากแกน
วินช์ได้
ขณะที่กดรีโมตวินช์ไฟฟ้า ไม่ควรกดรีโมตแช่ค้างไว้ขณะทำการดึงรถ เพราะจะทำให้วินช์มี
ความสึกหรอสูง เนื่องจากความร้อนจะสะสมภายในวินช์ เมื่อถึงจุดหนึ่งวินช์จะตัดการทำงานโดย
อัตโนมัติ เราอาจใช้น้ำราดบริเวณมอเตอร์เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ วินช์ก็จะทำงานต่อไปได้อีก
หากสายสลิงฟูหรือพันกันแน่นก็สามารถแก้ไขได้ 2 วิธี วิธีแรก คือ การควบคุมให้วินช์หมุน
เอาจุดที่สายสลิงเกิดปัญหามาด้านหน้า แล้วใช้วธีเกี่ยวสายตะขอหน้ารถ เพื่อล็อคสายไม่ให้ขยับ
บังคับรีโมต ให้วินช์หมุนในทิศทางกลับกันกับแนวที่สายสลิงถูกรัด สายสลลิงที่ถูกหนีบอยู่จะ
ค่อยๆ ฉีกตัวออกมาเอง อีกวิธีหนึ่งคือ ปลดสายสลิงให้ฟรี นำตะขอไปเกาะไว้กับหลักที่มั่นคง แล้ว
ขับรถถอยหลังช้าๆ สายสลิงจะหลุดออกมาจากปมได้เช่นกัน
การให้ความช่วยเหลือรถคนอื่น ห้ามใช้ตะขอวินช์ของรถทั้งสองเกี่ยวดึงกันเพื่อช่วยดึง
เพราะหากรถ เกิดติดจนไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ วินช์ตัวที่มีกำลังมากกว่าจะดึงเอาสายสลิงของ
วินช์ที่มีกำลังน้อยกว่า ให้ย้อนกลับออกมา ทำให้เกิดความเสียหาย วิธีที่ถูกต้องในการดึงคือ ใช้
สายสลิงเกาะกับรถอีกคันหนึ่ง ต่างฝ่ายตา่ งชว่ ยกันดึงได้ไม่มีปัญหา
การใช้วินช์ทุกครั้งต้องใช้รอกทด โดยโยงสายสลิงมาเกาะกับตัวเอง ( DOUBLE LINES)
เพื่อทำการดึงโดยใช้สายสลิงสองเส้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงของวินช์ได้เป็น 2 เท่าตัว
หรือใช้รอกทดในกรณีที่ติดมากจริงๆ ก็ยังดีกว่าไม่ใช้อะไรเลย เป็นการยืดอายุการใช้งานให้แก่วิ
นช์ของท่าน
นอกจากนี้รอกทดยังใช้เปลี่ยนทิศทางในการดึง เช่น กรณีที่ดึงรถขณะอยู่บนทางโค้ง ซึ่งไม่
สามารถดึงในทิศทางตรงได้ การใช้รอกทดเกี่ยวกับ ต้นไม้บริเวณมุมโค้ง จะทำให้สามรถเปลี่ยน
แนวดึงให้เหมาะสมได้ หรือใช้ในกรณีอื่นๆ
เมื่อใช้วินช์เสร็จ ควรทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำ เพื่อให้เศษดินหลุดออกหมด เพราะจะ
ทำให้สายสลิงเกิดสนิมได้ ควรปล่อยให้แห้ง แล้วจึงม้วนสายสลิงเก็บเรียให้เป็นระเบียบ พร้อมที่จะ
ใช้งานในครั้งต่อๆ ไป หรือใช้น้ำมันชโลม ก็สามารถป้องกันสนิมได้อีกทางหนึ่งด้วย
รูปแบบการใช้วินช์ในอุปสรรคต่างๆ
รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นบนเส้นทางออฟโรดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ จะ
แตกต่างกันก็คือสภาพภูมิประเทศ จะเป็นตัวกำหนดวิธีการให้ความช่วยเหลือ แต่โดยพื้นฐานใน
การให้ความช่วยเหลือ เกือบจะเรียกว่าเป็นสูตรตายตัวเพื่อความปลอดภัยและประหยัดเวลา
คล้ายๆ กัน ลองไปดูว่าปัญหาต่างๆ ในเส้นทางนั้น การใช้วินช์มีประโยชน์อย่างไร
เส้นทางออฟโรดที่มีพื้นผิวเป็นปักโคลน อาจก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
ได้ เพราะสภาพผิวที่อ่อนนุ่ม อาจทำให้เป็นบ่อโคลนเล็กๆ กลายเป็นหลุมขนาดใหญ่ได้ ภายหลัง
การเดินทางผ่านไปได้ 4-5 คัน ถ้ามีการใช้วินช์ดึงรถ พร้อมกับช่วยเร่งเครื่องยนต์ จะทำให้เส้นทาง
เสียหายมากขึ้น ลักษณะดังกล่าวจะทำใหเ้ กิดหลุมเปน็ มุมฉาก บริเวณรอยต่อของพื้นผิวที่แข็งกับ
บ่อโคลน จะส่งผลให้รถคันหลังไม่สามารถใช้วินช์ดึงขึ้นได้ เพราะช่วงล่างจะยุบตัว ทำให้กันชน
หน้ากดลงกับพื้น องศาของสายสลิงจะไม่สามารถดึงรถขึ้นได้
การแก้ปัญหาลักษณะนี้ สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนมุมในการดึงสายสลิงให้ต่ำลง โดย
การใช้รอกทดโยงกับสายสลิงกับมาหิ้วบริเวณใต้ท้องรถ ( อาจเป็นคานหน้าหรือช่วงล่าง) นอกจาก
จะทำให้มุมของการดึงอยู่ในแนวที่ถูกต้องแล้วยังทำให้วินช์มีกำลังในการดึงเพิ่มขึ้น 2 เท่า เพราะ
ใช้สายสลิง 2 เส้นในการดึงเพียงเท่านี้ก็สามารถดึงรถขึ้นได้
กรณีที่พบบ่อยบนเส้นทางภูเขาสาเหตุจากการที่ผู้ขับพลั้งเผลอจนเป็นเหตุให้รถเกือบตก
เหว โดยอยู่ในสภาพที่เกาะอยู่บนไหล่ทางครึ่งคัน อีกครึ่งหนึ่งอยู่ในเหว หากผู้ขับขี่พยายามเร่ง
เครื่องยนต์พร้อมกับหักพวงมาลัยขึ้น เพราะคิดว่าจะบังคับรถให้ขึ้นมาบนถนนได้ เป็นการตัดสินใจ
ที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะแรงดึงดูดของโลกจะทำให้ท้ายตกลงโดยไม่สามารถนำรถขึ้นได้ รถอาจพลิก
คว่ำลงเหว วิธีแก้ไขที่ถูกต้องก็คือ ผู้ขับจะต้องหยุดรถให้สนิททันทีที่รู้ว่ารถตนได้ตกไปไหล่ทางแล้ว
ครึ่งคัน จากนั้นให้ที่จะให้ความช่วยเหลือขับขึ้นไปอยู่ด้านหน้าและด้านหลังอย่างละคัน โดยให้อยู่
ในตำแหน่งเยื้องกับรถคันที่จะทำการกู้ แล้วใช้สายสลิงวินช์ของรถคันที่ตกไหล่ทางเกาะกับรถคัน
หน้าและใช้สายสลิงวินช์ของรถคันหลังเกาะรถคันที่ตกไหล่ทาง
จากนั้นอีกไม่เกิน 5 นาที รถคันที่ตกไหล่ทางก็จะกลับขึ้นมาอยู่บนถนนดังเดิมโดยใช้วินช์ดึง
รถ ให้เคลื่อนไปข้างหน้าช้าๆ หักพวงมาลัยขึ้น ห้ามเร่งเครื่องยนต์ เพราะจะทำให้รถแฉลบออกเป็น
อุปสรรคต่อการดึงรถ และ อาจดึงเอารถที่ให้ความช่วยเหลือลงเหว ท่านไม่ต้องกลัวท้ายลงจะตก
ลง เพราะมีสายวินช์ของรถคันหลังเกาะอยู่ ให้ดึงวินช์เพื่อให้รถเดินหน้า พร้อกับคลายสายสลิงของ
รถคันหลังออกช้าๆ ให้สัมพันธ์กันจนรถสามารถขึ้นมาอยู่บนถนนก็เป็นอันเสร็จพิธี
การขับรถออฟโรดบนเส้นทางภูเขา อาจเกิดอุบัติเหตุรถตกเขาได้ การให้ความช่วยเหลือ
ควรเริ่ม ด้วยการปรับให้รถคันที่ตกเหวอยู่ในสภาพที่พร้อมจะถูกดึงขึ้น เช่น หากรถอยู่ในสภาพ
หงายท้อง ให้พลิกรถกลับเสียก่อน อย่าให้ขวางลำ จากนั้นก็ห้รถคันที่จะให้ความช่วยเหลือ ยิ่งมี
จำนวนรถมากเท่าใด ก็จะได้กำลังในการดึงของวินช์มากเท่านั้น
ควรจัดรูปแบบการดึงให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยการหันหน้ารถทุกคันที่จะให้การ
ช่วยเหลือ เข้าหาด้านที่เป็นภูเขา จากนั้นโยงสายสลิงไปยังหลัก ซึ่งมักจะเป็นต้นไม้บริเวณนั้นแล้ว
ใช้รอกทดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของสายสลิงกลับไปเกาะกับรถคันที่อยู่ในเหววิธีการเช่นนี้ทำให้รถที่ให้
ความช่วยเหลือไม่ถูกดึงลงเหวไปด้วย
หากไม่สามารถกลับรถได้ ให้รถคันที่จะให้ความช่วยเหลือทุกคันหันหน้ารถเข้าหารถคันที่
ตกเหวตรงๆโดยใช้สายสลิงเกาะท้ายรถไว้กับต้นไม้เพื่อเป็นหลักที่มั่นคง พร้อมกับใช้ก้อนหินรองล้อ
เพื่อไม่ให้รถเคลื่อนที่ จากนั้นใช้สายสลิงวินช์เกาะกับรถคันที่อยู่ในเหวควรใช้รอกทดเพื่อกำลังวินช์
ด้วย
ขณะทำการดึงไม่ควรปล่อยให้สายสลิงวินช์คันใดคันหนึ่งหย่อน และไม่ควรดึงรถที่ตกเหว
ขึ้นแบบม้วนเดียวจบ ควรสังเกตอาการของรถคันที่ถูกดึงว่ามีการงัดหรือขัดกับสิ่งใดหรือไม่ การดึง
ขึ้นช้าๆ จะทำให้สามารถแก้ไข ได้ทันท่วงที
HI-LIFT-JACK
HI-LIFT-JACK เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเดินทางแบบออฟโรด ซึ่งรถ
ออฟโรดทุกคันควรมีติดรถได้ เพราะสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น
การใช้ยกรถแทนแม่แรง ใช้เพื่อดึงแทนวินช์ และใช้เป็นตัวจับแบบก้ามปูสำหรับงาน
ก่อสร้าง ฯลฯ
JACK สามารถใช้สำหรับการดึงรถแทน WINCH ได้ ในกรณีที่ WINCH ขัดข้อง
โดยการปรับ ตัวคล้องบริเวณส่วนปลายให้เป็นแนวตรง ขนานกับตัว JACK โยงกับหลักที่มั่นคง
เช่น ต้นไม้ใหญ่ แล้วจึงใช้โซ่หรือเชือกลากเกาะกับตัวรถที่จะลากโยงเข้ากับตัวยกของ JACK
(บริเวณส่วนที่เป็นชุดยก) แล้วโยกด้าม JACK เพื่อลากจูงแทน WINCH รถจะค่อยๆ เคลื่อนที่
(หัวคล้องของ JACK จะรับน้ำหนักได้ 5,020 ปอนด์ (2,273 กก.)
หากดึงน้ำหนักที่มากเกินกว่านี้จะทำให้เกิดอันตรายได้
ส่วนการใช้ JACK แทนแม่แรงในการยกรถออฟโรด
เพื่อเปลี่ยนยางหรือทำการซ่อมแซมช่วงล่างนั้น
จะเห็นว่าJACKมีความสามารถในการยกได้สูงมากกว่าการใช้แม่แรงซึ่งมีความสูงที่จำกัดและอาจ
ไม่พอที่จะยก
ให้ล้อออกจากพื้นได้เนื่องจากรถออฟโรดมีการติดตั้งระบบช่วงล่างที่มีความสูงและมีความยืดหยุ่น
กว่า
ระบบช่วงล่างโดยทั่วไปทำให้สามารถยึดล้อได้มากถึงแม้จะใช้แม่แรงจนสูงสุดก็ไม่สามารถทำให้ล้
อออกจากพื้นได้แต่การใช้JACKสามารถยกรถได้สูงเท่าที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกรถในส
ภาพภูมิประเทศที่เป็นร่องลึกหรือเลนโคลนซึ่งไม่สามารถใช้แม่แรงได้อย่างไรก็ตามผู้ใช้ควรศึกษาคู่
มือการใช้โดยละเอียดเพื่อการใช้งานอย่างถูกวิธี และมีความปลอดภัยสูงสุด
ก่อนที่จะทำการยกรถต้องแน่ใจว่า JACK ตั้งอยู่บนฐานที่มีความมั่นคง แห้งและราบเรียบ
ดังนั้น จึงควรปูพื้นด้วยแผ่นไม้หนา หรือรองฐาน JACK
ด้วยก้อนหินที่แบนและกว้างพอที่จะไม่จมขณะทำการ
ออกรถ โดยเฉพาะพื้นผิวที่ขรุขระอ่อนนุ่มหรือเป็นโคลน ซึ่งพบได้บนเส้นทางแบบออฟโรด
และต้องไม่ลืม
ที่จะรองล้อรถให้หยุดสนิท ขณะทำการยก
เพราะสภาพเส้นทางที่เป็นเนินเอียง,ร่องลึกอาจทำให้รถลื่นไถล และตกจาก JACK
และเป็นอันตรายได้
การเลือกตำแหน่งในการใช้ JACK ยกรถ
ควรเป็นตำแหน่งที่ใกล้กับด้านที่ต้องการยกให้มากที่สุด แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็อาจใช้การยึด
JACK กับกันชนที่ถูกออกแบบให้มีเบ้าเสียบโดยเฉพาะ หรือมีเหลี่ยมที่สามารถใช้ JACK
เกาะได้อย่างมั่นคง ห้ามเกาะยึด JACK กับส่วนโค้งของกันชน เพราะรถจะลื่นตกลงจาก JACK ได้
หากจำเป็นต้องยกในตำแหน่งดังกล่าวจริงๆ ให้ใช้อุปกรณ์พิเศษ
เป็นตัวหิ้วกันชนเพื่อใช้ยกรถโดยเฉพาะ
การยกรถโดยใช้ JACK ให้ล้อลอยจากพื้นเพื่อทำการถอดล้อ
ไม่ควรให้ล้อรถลอยจากพื้นเกิน 2 นิ้ว (5 ซม.) เพื่อความมั่นคงสูงสุด หากยกรถสูงเกินไปจะทำให้
JACK เอียง และเสียสมดุลย์ได้ง่าย (ควร สังเกตตลอดการยกรถต้องระมัดระวังใช้ JACK
ตั้งตรงตลอดเวลา เพราะ JACK จะมีความแข็งแรง สูงสุดในการรับน้ำหนักในแนวตรงเท่านั้น หาก
JACK เริ่มเอียงหรือตัวรถมีการขยับ ให้หยุดทันที แล้วหาจุดอื่นที่มั่นคงกว่านี้ในการยก
ห้ามต่อด้ามโยกให้ยาวขึ้น เพื่อผ่อนแรงในการโยก เพราะจะทำให้ JACK ล้มได้
ควรโยกโดยใช้มือ ทั้งสองข้าง และยืนในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากการฟาดกลับของด้ามโยก
รวมทั้งในแนวที่ JACK จะล้มใส่ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการยืนในแนวตรงกับ JACK
ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่อันตราย
เมื่อโยก JACK เพื่อยกรถจนได้ความสูงในระดับที่ต้องการ
ให้พับด้ามโยกให้แนบสนิทกับตัว
JACKล็อกให้มั่นคงเพื่อป้องกันการสะดุดกับด้ามโยกและไม่เกะกะต่อการทำงานห้ามลอดใต้ท้องร
ถโดย
ไม่ได้ใช้ขาหยั่งหรือไม่ได้ใช้ก้อนหินรองเพราะหากJACKล้มขณะที่มีคนอยู่ใต้ท้องรถก็จะเกิดอันตรา
ยถึงแก่ชีวิตได้ ไม่ควรประมาทและระมัดระวังตลอดการใช้งาน
เมื่อเสร็จภารกิจในการยกรถ ห้ามผลักรถออกจาก JACK เพราะ JACK
อาจจะฟาดรถหรือคนได้ ให้ปลดล็อค และโยกรถลงต้องแน่ใจว่าไม่มีใครอยู่ใต้ท้องรถ
พร้อมกับเคลื่อนย้ายก้อนหิน หรือขาหยั่ง ที่ใช้รองรถออกด้วย
ข้อมูลที่สำคัญบางประการเพื่อความปลอดภัยในการใช้ JACK
JACK สามารถรับน้ำหนักในการยกได้ 4,660 ปอนด์ (2,273 กก.) ที่ความสูงไม่เกิน 48
นิ้ว (121 ซม.) ในการทดสอบ JACK สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 7,000 ปอนด์ (3,175 กก.)
ความสามารถในการรับน้ำหนักของ JACK จะลดลงเมื่อยกน้ำหนักสูงขึ้นจนถึงระดับความสูง 60
นิ้ว (5 ฟุต) JACK จะสามารถรับน้ำหนักได้ 2,660 ปอนด์ (1,209 กก.)
หากรับน้ำหนักมากเกินกำหนด สลักที่ติดตั้งในชุดยกของ JACK จะหัก (7,000 ปอนด์ หรือ 3,175
กก.) ชุดยกจะรูดลง และอาจเกิดอันตรายได้
การซ่อมแซมห้ามเปลี่ยนสลักที่มีความสามารถรับน้ำหนักได้เกินกำหนดเพราะจะทำความ
เสียหายแก่ JACK และเป็นตัวอันตรายร้ายแรง ดังนั้นหากต้องการยกน้ำหนักที่มากกว่ากำหนด
ให้ใช้ JACK มากกว่า 2
ตัวแล้วยกพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักได้มากกว่าและมีความปลอดภัย
การดูแลเอาใจใส่หลังจากการใช้งานจะช่วยยืดอายุการใช้งานของJACKโดยเฉพาะบริเว
ณชุดยกของ JACK ซึ่งประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกัน เช่น สปริง, สลัก, ตัวดีด
(CLIMBING PIN) ชิ้นส่วนเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน หากเกิดการติดขัดชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
ก็จะไม่สามารถใช้งานได ้
การออกแบบชุดยกของJACKไม่ได้มีความซับซ้อนJACKเพียงแต่ต้องการการดูแลทำความสะอาด
ภายหลังการใช้งาน เพราะดินโคลนที่เกาะสปริง และชิ้นส่วนต่างๆ
จะทำให้การทำงานติดขัดเมื่อดิน แข็งตัว และก่อให้เกิดสนิมในภายหลังได้
จึงควรทำความสะอาดภายหลังการใช้งานทันทีหากชิ้นส่วนของ JACK
ติดขัดให้ใช้ลมแรงดันสูงเป่า น้ำอัดฉีดหรือแปรงแข็งทำความสะอาดจากนั้นใช้น้ำยากัดสนิม
หรือน้ำกัดสนิม ฉีดทำความสะอาด JACK แล้วจึงชะโลมสารหล่อลื่น เช่น น้ำมันหล่อลื่น จาระบี
สเปรย์ซิลลิโคน (SILLICON) หรือเทพลอน(TEFLON)เพื่อให้JACK
พร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไปการเก็บ JACK เมื่อไม่ได้ใช้งานในที่แห้งเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
จะช่วยยืดอายุการใช้งาน และป้องกันการติดขัดของชุดยก
ไม่ควรวางJACKทิ้งไว้กลางแจ้งจะทำให้JACKเกิดสนิมได้ง่ายและต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบJACK
ก่อนใช้งานทุกครั้โดยโยกด้ามJACKเพื่อให้ชุดยกขยับขึ้นทีละช่องซึ่งจะได้ยินเสียงคลิ๊กแล้วปลดฟรี
ให้ชุดยกตกลงโดยปลดสลักล็อกจนแน่ใจแล้วจึงใช้งานตามต้องการ
การใช้ HI LIFT JACK ของชาวออฟโรดส่วนใหญ่จะทำการยกรถเพื่อทำการเปลี่ยนยางเส้น
ที่มีปัญหา หรือเพื่อทำการตรวจเช็คช่วงล่างบนสภาพเส้นทางออฟโรดที่ไม่สามารถใช้แม่แรงยกได้
ดังนั้น HI DIFT JACK จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ควรติดรถไว้และควรดูแลให้อยู่ในสภาพที่ใช้งาน
ถ้าจะดี รถออฟโรดของท่านควรติดกันชน และบันไดข้างรถที่มีความแข็งแรง หรือเบ้าเสียบ HI
DIFT JACK เพื่อความสะดวกในการใช้งานสามารถยกรถได้ทุกจุดรอบคัน
แต่ในบางกรณีรถของท่านอาจเกิดปัญหาต้องทำการเปลี่ยนยางในตำแหน่งที่ไม่สามารถ
ใช้ HI LIFT JACK ได้ เช่น อาจประสบปัญหาบนเส้นทางที่แคบจนไม่สามารถโยกจับได้ หรือไม่
สามารถวาง HI LIFT JACK บนตำแหน่งที่มีความมั่นคงซึ่งอาจเกิดอันตราย หรือ HI LIFT
JACK ของท่านเสียหายม่สามารถใช้งานได้ก็ไม่ต้องตกใจ พราะเราสามารถยกล้อข้างที่มีปัญหา
ได้ด้วยวิธีอื่นได้โดยอาศัยภูมิประเทศรอบๆ และใช้อุปกรณ์อื่นที่ติดรถให้เป็นประโยชน์
ภูมิประเทศในธรรมชาติที่มีเนิน และ หลุม บนเส้นทางออฟโรดจะเป็นประโยชน์ในการยก
ล้อด้านใดด้านหนึ่ง (ที่มีปัญหา) ให้ลอยพ้นพื้นดินได้ โดยท่านต้องเข้าใจโครงสร้างของออฟโรด
ด้วยการบิดตัวจนล้อด้านใดด้านหนึ่งยกลอยขึ้นนั้นจะเป็นเส้นทแยงมุมกับล้อด้านที่ต่ำกว่าคล้ายๆ
กับการขับผ่านอุปสรรค หลุมสลับในสนามฝึกหัดที่รถจะมีอาการคล้ายไม้กระดกนั่นเอง จึงสามารถ
ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้จริง ขณะเดินทางบนเส้นทางออฟโรด
หากท่านไม่สามารถใช้ HI LIFT JACK ยกได้ ท่านควรมองหาหลุมขนาดใหญ่พอที่ล้อจะลง
ไปได้ และจนสามารถกระดกล้อด้านตรงข้าม (ทแยงมุม) ลอยขึ้นในอากาศจากนั้นก็บังคับรถให้ล้อ
ด้านตรงข้ามที่ต้องการยกลงไปในหลุมด้วยความนุ่มนวลหากขับลงหลุมด้วยความรุนแรง รถของ
ท่านอาจพลิกคว่ำได้ แทนที่จะยกล้อเดียวกลายเป็นยก 4 ล้อซึ่งเกินความจำเป็น เมื่อล้อด้านที่
ต้องการยกลอยสูงจากพื้นแล้ว ควรคาเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง
4L (เกียร์ 1,2 ) พร้อมกับดึงเบรกมือและรองล้อให้รถหยุดสนิทเพื่อความปลอดภัยแล้วจึงทำการ
เปลี่ยนยาง
หากสภาพภูมิประเทศรอบๆ ตัวไม่มีหลุม ก็อาจใช้เนินแทนได้ หรือหากเป็นเส้นทางที่มี
ภูเขาอยู่ข้างรถ ท่านก็สามารถบังคับล้อปีนขึ้นเนิน อาจหักพวงมาลัยเพื่อให้องศาของเนินช่วยงัดให้
ล้อลอยง่ายขึ้นซึ่งในกรณีของการยกล้อโดยใช้เนินจะกลับการใช้หลุมเพราะตำแหน่งของล้อด้านที่
จะยกขึ้นนั้น จะเป็นด้านเดียวกับเนิน เช่น การบังคับให้ล้อหน้าขวาขึ้นเนิน ล้อหลังขวาจะเป็นด้าน
ที่ถูกยกขึ้น จึงควรเพิ่มความระมัดระวังหากภูมิประเทศด้านซ้ายเป็นเหว จึงไม่ควรประมาท พร้อม
กับปฏิบัติเหมือนเดิม เพื่อให้รถหยุดอยู่กับที่จึงจะทำการเปลี่ยนยางหรือซ่อมแซมช่วงล่าง
บางครั้งสภาพภูมิประเทศรอบๆ อาจราบเรียบ ไม่มีเนินหรือหลุมตามธรรมชาติก็ต้องออก
แรงหน่อย โดยการขุดหลุมขนาดใหญ่ที่ล้อจะลงไปได้ ความลึกอย่างน้อยก็ประมาณครึ่งวงล้อ
จากนั้นก็ให้นำลังทหาร (ซึ่งน่าจะมีติดรถอยู่) มาวางในตำแหน่งข้างหลุม แล้วจึงขยับรถให้ล้อที่จะ
ทำการเปลี่ยนยางลงในหลุม ลังทหารจะค้ำเฟืองท้ายล้อหลัง หรือ ปีกนก ( ล้อหน้า ) ไว้ทำให้ล้อ
ลอยในอากาศเพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนยางได้แล้ว
จะเห็นว่าสภาพประเทศรอบๆตัวท่านสามารถใช้ประโยชน์ในการยกให้ล้อลอยจากพื้นดิน
ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหลุม เนิน หรือโขดหิน แล้วแต่ว่ารถของท่านเกิดปัญหาบนพื้นที่แบบใด จะว่า
ไปแล้วการขับออฟโรดให้ล้อติดพื้นทั้ง 4 ล้อยังยากกว่าเลยครับ เพราะฉะนั้นหากไม่มี HI LIFT
JACK ก็ไม่ต้องตกใจ ให้สังเกตรอบๆตัวว่าเหลี่ยมไหนสามารถยกล้อให้ลอยขึ้นได้ แต่ที่สำคัญเมื่อ
ลอยแล้วรถจะต้องจอดนิ่งสนิท ไม่มีการขยับได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ใตท้ อ้ งรถน่ะครับ
อย่างไรก็ตาม HI LIFT JACK จะมีประโยชน์มากกว่านั้นอีก เพราะสามารถยกลอยได้ ทั้ง 2
ล้อ กรณีที่ต้องการซ่อมเฟืองท้าย สามารถยกบริเวณกึ่งกลางกันชนหลัง (ที่ถูกออกแบบให้มีความ
แข็งแรง) เพื่อให้ล้อหลังลอยทั้ง 2 ล้อทำให้เพลาขับหลังสามารถหมุนได้อิสระทั้งเส้น และไม่ลืมที่
จะรองเพลาเฟืองท้ายด้วยขาหยั่ง หรือสิ่งอื่นที่มีความมั่นคง เพราะ HI LIFT JACK อาจล้มได้
ตลอดเวลา
สมอบก
สมอกบก เป็นอุปกรณ์อีกชนิดสำหรับคนเที่ยวป่า ที่ควรมีติดรถเอาไว้ทุกครั้งเมื่อ
เข้าป่า เพื่อเป็นตัวช่วยยามฉุกเฉินในวลาที่จำเป็น เช่นเวลาเดินทางผ่านภูมิประเทศที่ไม่มี
ต้นไม้ใหญ่ หรือหลักที่มั่นคงตามธรรมชาติ หากว่ารถของท่านติดหล่ม ก็ยังมีสมอบกเพื่อ
ใช้เป็นหลักในการดึงวินช ์ ซึ่งมักจะเปน็ รถนำขบวน เพราะเป็นรถคันแรกที่ต้องบุกเบิก
เส้นทาง ส่วนคันถัดไปสามารถใช้วินช์เกาะกับรถคันหน้า เพื่อเป็นหลักโดยไม่ต้องใช้สมอ
บกอีก
สมอบกถูกออกแบบให้มีการใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพียงท่านเลือกทำเลที่เหมาะสม เช่น
พื้นผิวที่เป็นดินเหนียว ไม่แห้งหรือร่วนซุย และไม่เหลวเละจนเป็นโคลน ก็สามารถวางสมอบกโดย
กดแผ่นเหล็ก(คล้ายกับจอบ) ให้ฝังลึดลงไปในดิน แล้วจึงใช้สายสลิงของวินช์มาเกาะกับห่วงของ
สมอบกต้องไม่ลืมที่จะใช้กระสอบคลุมสายสลิงทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย จากนั้นก็ดึงรถได้
ในขณะที่ทำการดึงรถอยูนั่้น สมอบกอาจจะมีการเคลื่อนที่ เปน็ เหตุใหห้ ลุดออกจากดินที่
เกาะอยู่ ดังนั้นก่อนที่จะใช้วินช์ดึงควรขึ้นไปเหยียบ เพื่อให้สมอบกฝังลึกลงไปในดิน แล้วจึงทำการ
ดึงรถ เมื่อสมอบกหยุดนิ่งแล้วให้ผู้ที่เหยียบสมอบกอยู่นั้น ถอยห่างออกมาบริเวณที่ปลอดภัย แล้ว
จึงทำการดึงรถต่อจนเสร็จ
องศาของแผ่นเหล็กถูกออกแบบให้มีความเหมาะสมในการฝังตัวเอง เมื่อมีแรงดึงใน
แนวนอน หากดึงรถในแนวอื่น จะทำให้สมอบกหลุดออก จนอาจเกิดความเสียหายและเป็น
อันตรายได้ ดังนั้นจึงควรใช้สมอบกอย่างระมัดระวังและรอบคอบ
ท่านสามารถใช้ชะแลง หรือเหล็กข้ออ้อยแทนสมอบกได้ โดยนำไปขัดไว้กับก้อนหินขนาด
ใหญ่ หรือการตอกลงในดินที่ค่อนข้างแข็ง ทำมุม 45 องศา ตรงกันข้ามกับแนวที่จะดึงรถ แล้วใช้
สายสลิงเกาะที่จุดต่ำสุดของแท่งเหล็กเพื่อทำการดึงรถ
หากไม่มีชะแลงหรือสมอบกติดรถไปด้วย ถ้าต้องการดึงรถให้ออกจากอุปสรรคต่างๆ คง
ต้องออกแรงกันหน่อย โดยการขุดดินเพื่อฝังท่อนไม้ขนาดพอสมควร หรือแจ็ค (HI-LIFT JACK) ใน
แนวขวางหน้ารถ เพื่อใช้เป็นหลักเกาะสายสลิงวินช์ในการดึง ขณะที่ทำการดึงต้องมั่นใจว่าท่อนไม้
สามารถรองรับน้ำหนักของรถได้ และมีความมั่นคงไม่กลิ้งออกนอกหลุม นอกจากนี้ท่านยัง
สามารถใช้การขุดดินเพื่อฝังยางอะไหล่ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงพอที่จะรับการดึงรถขึ้น
จากอุปสรรคได้ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
นอกจากวิธีการฝังของต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักในการดึงวินช์แล้ว ท่านยังสามารถขุดดินให้
เป็นวงกลมขนาดใหญ่ โดยโกยดินรอบๆ วงกลมออก เพื่อให้มีลักษณะคล้ายลำต้นของต้นไม้ใหญ่
ให้มีความสูงจากพื้นดินกว้างกว่าสายคล้องต้นไม้เล็กน้อย แล้วใช้สายคล้องต้นไม้โอบรอบวงกลม
ของดินที่ขุดไว้ หลังจากนั้นนำสายสลิงวินช์เกาะกับสายคล้องต้นไม้ แล้วจึงดึงรถขึ้นจากอุปสรรค
ถ้าอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ ก็ให้สังเกตุดูว่ามีกอไผ่หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถใช้สาย
คล้องต้นไม้นำไปคล้องกับก่อไผ่ แล้วดึงรถให้หลุดออกจากอุปสรรคก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้พืช
ล้มลุกบางชนิด เช่น กอกล้วย หรือพุ่มไม้ขนาดใหญ่ก็อาจจะใช้ได้เหมือนกัน
วิธีการสุดท้ายที่สามารถนำรถขึ้นมาจากอุปกสรรคได้ ก็คือ การขุดเอาที่ใต้ท้องรถแขวนอยู่
ออกให้หมด ซึ่งเป็นวิธีที่เหนื่อยที่สุด เพราะถ้าจุดเดียวอาจจะพอขุดไหว แต่ถ้าติด 3-4 ครั้ง ก็แทบ
จะหมดแรงที่จะเดินทางต่อไป อย่างไรก็ตาม จอบและเสียม เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดรถเอาไว้ทุกครั้ง
เพราะเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินมันจะช่วยท่านได้
บางครั้งต้นไม้หรือหลักที่จะใช้วินช์รถอยู่ไกลมาก จำต้องต่อสายสลิงกันหลายทอด และ
ต้องไม่ลืมว่าการดึงสายสลิงของวินช์ออกจากแกน(โรลเลอร์) จนสุด อาจจะทำให้สายสลิงหลุดออก
จากแกนได้ ควรเหลือสายสลิงพันไว้รอบแกนหนึ่งชั้น แล้วจึงต่อสายพ่วง ถ้าหากเรามีสายสลิง
สำรองที่ยาวขนาด 20-30 เมตร ก็ควรนำติดรถไปด้วยทุกครั้ง เพราะถ้าสายสลิงยาวเรายังสามารถ
ทำให้สั้นลงได้ แต่ถ้าสายสั้นมันจะไม่สามารถใช้งานได้เลย ท่านผู้อ่านลองนึกดูว่า ถ้าต่อสายจนสุด
แล้วยังยาวไม่พอ เหลืออยู่เพียงไม่กี่เมตรก็จะถึงหลักที่จะใช้วินช์รถ ปรากฏว่าไม่สามารถทำอะไร
ได้เลย ถึงเวลานั้นจะรู้สึกเจ็บใจตัวเอง ที่ไม่ได้ติดสายสลิงเส้นเก่งมาด้วย นั่นอาจจะทำให้เรา
เสียเวลาเข้าไปอีกด้วย
ในการเดินทางเข้าป่าหรือเส้นทางทุรกันดาร ไม่ควรขับรถไปตามลำพังคนเดียว ควรมีรถ
คันอื่นร่วมเดินทางไปด้วย เพราะถ้ารถเกิดปัญหาจะได้ช่วยกันได้ ไม่ควรขับตามกันลงไปใน
อุปสรรค ทิ้งระยะกันสักนิดแล้วให้รถคันหน้าเดินทางข้ามไปก่อน เพราะถ้ารถเกิดติดจะได้เป็นหลัก
ในการดึงรถคันที่ติดกลับขึ้นมาได้
การแก้ปัญหาเมื่อไม่มีหลักที่จะใช้วินช์ดึงรถ สามารถแก้ไขได้หลายวิธี โดยดัดแปลงให้
เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งท่านอาจต้องใช้วิธีอื่นๆ อีก หากไม่มีสมอบก เพื่อจะ
นำรถออกจากอุปสรรค โดยการใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดที่มีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ บน
เส้นทาง ด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพื่อให้เดินทางถึงจุดหมาย
ปลายทางโดยสวัสดิภาพ
การดูแลรักษารถ TOYOTA HILUX VIGO 4X4 ด้วยตนเอง
1. ตรวจเช็คน้ำมันเครื่องให้สม่ำเสมอ
ควรตรวจเช็คอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 3,000-
5,000 กิโลเมตร สำหรับน้ำมันเกรดธรรมดาทั่วไป หรือถ้าใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูง อาจยืด
ระยะเปลี่ยนถ่ายออกไปเป็น 10,000 กิโลเมตร และต้องเปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องพร้อมไปด้วย
และอย่าลืมนำกรองอากาศมาทำความสะอาดด้วยการนำลมมาเป่า ก่อนทำการวัดน้ำมันเครื่อง
ควรทำการอุ่นเครื่องยนต์ให้ถึงอุณหภูมิทำงานที่เหมาะสม โดยจอดรถในแนวระนาบกับพื้น
ค่าน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมของเครื่องยนต์ TOYOTA ก็คือ SAE 5W-30 ตามมาตรฐาน
API SERVICE ดังนั้นในเครื่องยนต์ดีเซลควรใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีมาตรฐาน API-CF-4 โดย
เครื่องยนต์จุน้ำมันหล่อลื่นอยู่ที่ 6.9 ลิตร ขณะที่เครื่องยนต์เบนซินมีความจุน้ำมันหล่อลื่นอยู่ที่ 5.6
ลิตร 20W-50 และ 15W-40 (รวมในกรองน้ำมันเครื่อง) เปลี่ยนถ่ายแล้วจะทราบได้อย่างไรว่า
น้ำมันเครื่องเกินหรือพร่อง วิธีสังเกตง่ายๆ ก็ที่ปลายก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่น จะมีระดับต่ำสุด
และระดับสูงสุด ช่องว่างระหว่างตำแหน่งต่ำสุดถึงสูงสุดนั้น เครื่องยนต์ดีเซลอยู่ที่ปริมาณ 1.6 ลิตร
และเครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร
2. การดูแลระบบเบรก
ระบบเบรก ทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถ จานเบรกหน้าขนาด 15 นิ้ว (ในรุ่นเก่า) และ
16 นิ้ว (TOYOTA HILUX VIGO ใหม่) ระบบเบรก Super LSPV (Load Sensing Proportioning
Valve) ทำงานควบคู่กับเบรก ABS ระบบป้องกันล้อล็อกขณะเบรกโดยอัตโนมัติ จากการตรวจจับ
ของเซ็นเซอร์จากล้อทั้ง 4 ล้อ ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์อย่างไรก็ตามอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์พวกนี้ เป็นสิ่งที่ช่วยเซฟตี้ชีวิตของท่านได้ดีระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากขับขี่ด้วยความ
ประมาท อุบัติเหตุก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
น้ำมันเบรกควรตรวจเช็คอยู่สม่ำเสมอ ไม่ควรเกิน 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน และ
เมื่อครบ 80,000 กิโลเมตร ควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกใหม่ทุกครั้ง ค่าน้ำมันเบรกที่ควร
เลือกใช้เป็นชนิด SAE JI703 หรือ FMVSS No.116 DOT3 หรือสูงกว่าที่ DOT4
3. ตั้งค่าวาล์วและใช้หัวเทียนให้ถูกต้อง
การตรวจเช็ควาล์วนี้ หากพบว่าระยะช่องว่างของวาล์วไม่เหมาะสม ควรปรับตั้งใหม่ ทุกๆ
20,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี (การวัดระยะห่างของวาล์วควรทำเมื่อเครื่องยนต์เย็น) สำหรับ
เครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน 2TR - FE ที่ใช้ระบบ Hydraulic Valve เครื่องยนต์จะตั้ง
วาล์วอัตโนมัติ แต่ในเรื่องของหัวเทียนก็ควรเปลี่ยนทุกๆ 20,000 กิโลเมตร สำหรับหัวเทียนตามส
เป็กเดิมเป็นของ DENSO รหัส K20HR - U11 ระยะห่างเคี่ยวหัวเทียน 1.1 มม. ส่วนถ้าเป็น
เครื่องยนต์ดีเซล ระยะห่างของวาล์วขณะเครื่องเย็นจะต้องอยู่ที่ ไอดี 0.20 0.30 มิลลิเมตร
(0.008 0.012 นิ้ว) และไอเสียอยู่ที่ 0.35 0.45 มิลลิเมตร (0.014 0.018 นิ้ว)
4. ระบบถ่ายทอดกำลัง
ชุดคลัตช์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ โดยอาศัยความฝืดของแผ่นคลัตช์กด
กับแผ่นคลัตช์ และ Fly Wheel ก่อนจะถ่ายทอดกำลังลงสู่ล้อ จุดสำคัญที่เราต้องดูแลอยู่ที่น้ำมัน
คลัตช์ ควรทำการตรวจสอบระดับน้ำมันให้อยู่ในระดับใช้งานได้ตามปกติ อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
หรือ 10,000 กิโลเมตร สำหรับน้ำมันมาตรฐานของคลัตช์นั้น ใช้เกรด SAEJ1730 FMVSS No.116
DOT3
น้ำมันเกียร์ สำหรับเกียร์ธรรมดา นอกจากต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอๆ แล้ว ควรเปลี่ยน
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 48 เดือน น้ำมันเกียร์ที่ควรใช้ คือ เกรด API GL-4 หรือ GL-5 ค่า
ความหนืดที่แนะนำ SAE 75W-90 ความจุในการเติม 2.2 ลิตร ส่วนเกียร์อัตโนมัติควรเปลี่ยนทุกๆ
40,000 กิโลเมตร เช่นกัน โดยใช้น้ำมันชนิดที่ทาง TOYOTA กำหนด ได้แก่ T-IV (ATF JWS3309
หรือ NWS6500) ความจุที่เติม 2.0 ลิตร น้ำมันเกียร์ทรานสเฟอร์ก็เช่นกัน ควรเปลี่ยนทุก 40,000
กิโลเมตร ใช้เกรด API GL-5 ค่าความหนืด SAE 75W-90 ความจุน้ำมัน 1 ลิตร
น้ำมันเฟืองท้าย ควรตรวจเช็คทุก 20,000 กิโลเมตร และควรเปลี่ยนทุก 40,000
กิโลเมตร อันนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากไปลุยน้ำลุยโคลนมา กลับมาควรทำการตรวจเช็คทันที
หากพบว่ามีสีขาวเป็นสีครีมหรือกาแฟ ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้ เปลี่ยนทันที น้ำมันเฟืองท้าย
ด้านหน้านั้น ควรใช้เกรด API GL-4 หรือ GL-5 ค่าความหนืด SAE 75W-90 มีความจุขนาด 1.5
ลิตร และด้านหลังนั้น ค่าความหนืด SAE 90 ขนาดความจุ 3.0 ลิตร ส่วนในรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อนั้น
ค่าความจุของน้ำมันเฟืองท้ายจะอยู่ที่ 2.9 ลิตร ควรใช้น้ำมันแบบไฮปอยด์ เกรด API GL-5
5. การตรวจเช็คแบตเตอรี่
การดูแลและรักษาแบตเตอรี่ดีๆ จะสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปอีก สิ่งที่ควรทำ
การตรวจเช็คให้เป็นนิสัย อย่างแรกก็คือ ของเหลวหรือน้ำกลั่นในแบตเตอรี่อยู่สม่ำเสมอ ทุกสัปดาห์
ได้ยิ่งดี เนื่องจากปริมาณของเหลวจะลดลงไปเรื่อยๆ มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ การเติม
น้ำกลั่นควรเติมในปริมาณที่พอเหมาะ ถ้าเติมมากไปปริมาณของเหลวในแบตเตอรี่ก็จะระเหย
ออกมาภายนอกจนกลายเป็นขี้เกลือจับตามขั้วแบตเตอรี่ ดังนั้นควรทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่
อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง วิธีทำความสะอาดก็ใช้น้ำอุ่นราดลงไป แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาด เท่านี้
เจ้าขี้เกลือดังกล่าวนี้ก็จะหายไป
6. หม้อน้ำและระบบระบบหล่อเย็น
ส่วนใหญ่เปิดฝาเห็นน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักเต็มก็เป็นอันใช้ได้ จริงๆ แล้วควร ตรวจ
สภาพท่อยางหม้อน้ำ (Radiator Hoses) ถังน้ำสำรอง (Cool Reserve Tank) และฝาหม้อน้ำ
(Radiator Cap) ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะฝาหม้อน้ำคงต้องตรวจเช็คทุก 1,500-2,000 กิโลเมตร
หรือ 1 เดือน เพราะต้องอยู่กับความร้อนตลอดเวลา โอกาส แตก กรอบ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
การล้างหม้อน้ำและเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นก็เหมือนกัน ทำการตรวจเช็คอย่างน้อย ทุก
20,000 กิโลเมตร แต่จริงๆ แล้วตามสเป็กโรงงานที่ให้มานั้น เปลี่ยนน้ำยาหม้อน้ำช่วง 180,000
กิโลเมตร หลังจากนั้นเปลี่ยนทุกๆ 60,000 กิโลเมตร โดยหม้อน้ำของรถรุ่นนี้มีความจุ 8.1-9.8 ลิตร
(ในรุ่นเกียร์ออโตเมติกปริมาณน้ำ 11.1 ลิตร) ส่วนการเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นนั้น ควรใส่น้ำยา Coolant
ที่มีส่วนผสมของเอธิลีน-ไกลคอล แต่ต้องปราศจากสารซิลิกา สารประกอบไนโตรเจน กรดไนตรัส
และกรดโบริค จะช่วยยืดอายุการใช้งานและทำให้ระบบหล่อเย็นทำงานเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีองค์ประกอบต่างๆ ในเรื่องของระบบระบายความร้อนที่ไม่
ควรมองข้าม เช่น ปั๊มน้ำ วาล์วนํ้า พัดลมระบายความร้อน เปน็ ต้น ควรตรวจสอบควบคู่กันไปด้วย
7. หมั่นเป่ากรองอากาศ ให้ถูกต้องและถูกวิธี
กรองอากาศควรนำมาเป่าฝุ่นทำความสะอาด หรือทุก 5,000 กิโลเมตร หรืออย่างน้อย 3
เดือน หรือหากวิ่งในเส้นทางที่ฝุ่นเยอะๆ เมื่อกลับออกมาควรรีบเป่าทันที วิธีการเป่าลมที่ถูกวิธี ควร
เป่าย้อนทางที่เครื่องยนต์ดูดเข้ามา เพื่อที่จะไล่ฝุ่นออกได้มากที่สุด เพราะการเป่าโดยใช้ทิศทาง
เดียวกับการดูดอากาศของเครื่องยนต์ ยิ่งทำให้ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกฝังและอุดอยู่ในกรองอากาศแน่น
ยิ่งขึ้น ทำให้อายุการใช้งานของกรองอากาศสั้นลง ควรเปลี่ยนกรองอากาศทุกๆ 30,000 กิโลเมตร
แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้รถด้วย
8. เครื่องปรับอากาศ
ระบบของแอร์ภายในเครื่องยนต์จะไม่ค่อยเกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่าใดนัก แต่ถ้ามีปัญหาขึ้น
มาแล้วเป็นเรื่องครับ เพราะอากาศในบ้านเรานั้นร้อนเหลือกำลัง ดังนั้นวิธีง่ายๆ สำหรับผู้ใช้รถ
ทั่วไป คือ หมั่นสังเกตและตรวจสอบรอยรั่วต่างๆ ควรกระทำทุกๆ 3 เดือน ส่วนสายพานต่างๆ ก็
ควรมีการปรับตั้งอยู่เสมอๆ และทุก 40,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนสายพานแอร์ใหม่
ส่วนการขับขี่ที่เปิดแอร์ตลอดเวลานั้น ก่อนถึงจุดหมายเล็กน้อย ควรปิดระบบแอร์ (A/C)
ให้เหลือเพียงลมเป่าเพื่อไล่ความเย็นที่ค้างอยู่ วิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วย
ลดกลิ่นอับเนื่องจากความชื้นที่สะสมอีกด้วย
9. ไฟบนหน้ามาตรวัด บอกอะไรเราบ้าง
ตำแหน่งไฟบนหน้ามาตรวัดนั้น จะขึ้นโชว์เมื่อเราบิดสวิตช์เพื่อสตาร์ทรถไปที่ ON และจะ
ดับเมื่อเครื่องยนต์ติด ลองมาดูว่าไฟแต่ละตัวบอกอะไรบ้าง
1. ไฟเตือนระบบเบรก หากไฟนี้ขึ้นโชว์หลังสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วไฟไม่ดับ ให้นำรถเข้า
ศูนย์บริการ 2. ไฟเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัยด้านคนขับแล้วสัญญานจะดับลง
3. ไฟเตือนการประจุไฟแบตเตอรี่บกพร่อง ให้จอดรถ แล้วทำการตรวจเช็ค
4. ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ หากปรากฏขึ้นระหว่างขับขี่ให้รีบจอดรถ และตรวจเช็ค
5. ไฟแสดงสถานะระบบควบคุมเครื่องยนต์บกพร่อง ให้รีบนำรถเข้าศูนย์บริการ
6. ไฟเตือนระดับน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ เติมเชื้อเพลิงโดยด่วน ไฟเตือนจะดับลงเมื่อน้ำมัน
เชื้อเพลิงพ้นระยะที่สัญญานจับได้
7. ไฟเตือนป้องกันเบรกล็อก (เบรกมือ) ถ้าปลดเบรกมือแล้วไฟยังติดอยู่ ให้รีบจอดรถแล้ว
ติดต่อศูนย์บริการโตโยต้า
8. ไฟเตือนประตูเปิด- ปิดประตูทุกบานให้แน่น
9. ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย SRS ถ้าปรากฏหลังสตาร์ทเครื่องยนต์ให้รีบนำรถเข้า
ศูนย์บริการ
10. ไฟเตือนเปลี่ยนสายพานไทมิ่ง นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนตามระยะ
11. ไฟบอกระดับน้ำมันเชื้อเพลิง บอกระดับตามปริมาณเชื้อเพลิงที่อยู่ในถัง ณ ขณะนั้น
12. ไฟบอกสถานะการทำงานของระบบควบคุมการลื่นไถล หากมีการใช้งานใน HILUX
VIGO รุ่นล่าสุด สัญญานนี้จะดับลง
13. ไฟเตือนการเปิดใช้ระบบส่องสว่างของรถมีการเปิดใช้งานในขณะนั้น
หมายเหตุ เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารออฟโรด ห้ามนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับ
อนุญาติ
|