ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องวิทยุบังคับ RC
 (18/10/2552)


สวัสดีครับ เวป RC นี้ จัดทำขึ้น เพื่อให้คนที่ชอบงานอดิเรก ทางนี้ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และเทคนิคต่างๆ ซึ่งกันและกัน โดยมีกลุ่ม SRC เป็นต้นคิดของการทำเวปนี้ขึ้นมา ซึ่งผมเองก็ไม่เคยเล่น RC เลย เพียงแค่นำบทความต่างๆ ที่ทางกลุ่ม SRC เขียนขึ้น มาลงในเวป เพื่อเผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับ RC ให้เพื่อนๆที่สนใจได้เรียนรู้กันครับ

ชมรมการบินผาดแผลงบังคับวิทยุไทย
Thai R.C. Aerobatics Club

 

กติกาแข่งขันกีฬา
การบินผาดแผลงขั้นพื้นฐานไทย
(Thai Basic Aerobatics Sporting Code)

การบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
คำอธิบายท่าบิน
แนวทางสำหรับกรรมการ


สงวนลิขสิทธิ์โดยผู้จัดทำ
1. ห้ามทำการคัดลอกใดๆเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
2. อนุญาตให้คัดลอกได้สำหรับใช้ในการแข่งขันหรือเพื่อการศึกษาอ้างอิงโดยผู้สนใจกีฬาเครื่องบินเล็ก

 

 

คำนำ
ในการแข่งขันกีฬาทุกประเภท มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้แข่งขันจะต้องรู้และเข้าใจกติกาของกีฬาประเภทนั้นอย่างดีพอสมควรในระดับหนึ่งเสียก่อน จึงจะสามารถทำการแข่งขันอย่างมีประสิทธิผลได้ กีฬาเครื่องบินเล็กบังคับด้วยวิทยุประเภทบินผาดแผลงก็เช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ของผู้จัดทำ ซึ่งได้คร่ำหวอด อยู่กับกีฬานี้มาประมาณยี่สิบปี ได้เห็นว่าจุดอ่อนของผู้เข้าแข่งขันของไทยเราก็คือ ความไม่สามารถที่จะทำ ความรู้ความเข้าใจ กับกติกาได้อย่างถ่องแท้ จึงทำให้เริ่มฝึกบินแบบค่อนข้างจะสะเปะสะปะ และไม่สามารถก้าวหน้าไปจนถึงจุดสูงสุดของศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองได้

กติกานี้กำหนดขึ้นโดยอิงกับกติกาสากลฉบับ เอฟ 3 เอ ของสมาพันธ์การบินระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ได้ตัดต่อเรียบเรียงให้ง่ายขึ้น เพื่อใช้สำหรับ การแข่งขันในระดับ พื้นฐานของไทย

เนื่องจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของกติกาการแข่งขันกีฬาการบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุฉบับนี้เขียนขึ้นสำหรับใช้กับการแข่งขันในระดับโลก จึงค่อนข้างอ่านเข้าใจได้ยาก เพราะเขียนไว้อย่างกระชับ ห้วนๆสั้นๆ แต่ละเอียดและรัดกุม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องตีความ และนำมาถกเถียงกัน ในระหว่างการแข่งขันหรือการตัดสิน ซึ่งผู้แปลก็ได้พยายามทำการแปล โดยรักษาเนื้อความและความหมาย ของต้นฉบับภาษาอังกฤษไว้ให้ใกล้เคียง มากที่สุดเพื่อประโยชน์อันเดียวกัน จึงอาจจะดูเหมือนว่าค่อนข้างที่จะอ่านเข้าใจได้ลำบากอยู่บ้าง แต่ก็ได้พยายามที่จะใช้ภาษาและถ้อยคำ ที่ผู้ที่ทำการบินเครื่องบินเล็กผาดแผลง จะสามารถเข้าใจได้ให้มากที่สุด ของแต่เพียงให้พยายามอ่านดูให้ดี อาจจะต้องอ่านซ้ำสักเที่ยวสองเที่ยว ก็จะเข้าใจได้โดยตลอด

หวังว่ากติกานี้จะได้มีส่วนช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของเพื่อนนักบินที่สนใจการบินผาดแผลงแบบสากล กับช่วยจูงใจและเป็นฐาน ให้เพื่อนๆสามารถ ทำการบินผาดแผลง ได้อย่างสวยงามถูกต้องตามแบบมาตรฐานสากล และสามารถพัฒนาระดับฝีมือในการบิน ให้ก้าวหน้าต่อไปจนถึงขั้นที่สามารถ เข้าร่วมและมีชัยชนะในการแข่งขันการบินผาดแผลงประเภทนี้ในระดับนานาชาติได้ในที่สุด

ฉายศักดิ์ แสง-ชูโต และ สุรศักดิ์ บำเพ็ญบุณย์
ผู้จัดทำ
เมษายน 2545


การบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ

1. ข้อบังคับทางเทคนิคสำหรับการแข่งขันเครื่องบินเล็กบังคับด้วยวิทยุ


1. เครื่องบินเล็กผาดแผลงคิดเครื่อง(5.1)*

1.1.คำนิยามของเครื่องบินเล็กผาดแผลงติดเครื่องบินบังคับด้วยวิทยุ(5.1.1)
คือเครื่องบินเล็กที่ไม่ใช่เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งทำท่าบินในอากาศโดยพื้นที่ (แผ่น) บังคับสำหรับกำหนดการวางตัวของเครื่องบิน ทิศทางและความสูง โดยนักบินซึ่งอยู่บนพื้นดินผ่านทางวิทยุบังคับ

1.2. คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องบินเล็กผาดแผลงติดเครื่อง(5.1.2)
กางปีก          ไม่จำกัด (เอฟ 2 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
ความยาว      ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
น้ำหนัก        ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 5 กิโลกรัม โดยไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง)

ข้อจำกัดด้านเครื่องยนต์ : ใช้เครื่องยนต์ใดก็ได้ที่เหมาะสม ยกเว้นเครื่องเครื่องที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ก๊าซ หรือก๊าซเหลว เครื่องที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกจำกัดแรงดันไฟฟ้าไม่ให้เกิน 42 โวลต์สำหรับวงจรขับเคลื่อน

ระดับความดังเสียง ไม่เกิน 94 dB (A) ที่ระยะวัด 3 เมตรจากศูนย์กลางของตัวเครื่องบิน โดยเครื่องบินวางอยู่บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดในสถานแข่งขัน โดยวัดเมื่อเครื่องทำงานเต็มที่ในแนว 90 องศาด้านขวาใต้ลมของเส้นแนวบิน ไปโครโฟนจะอยู่สูง 30 เซนติเมตรจากพื้น จะต้องไม่มีสิ่งที่สะท้อนเสียงอยู่ในระยะใกล้กว่า 3 เมตรจากเครื่องบินหรือไมโครโฟน การวัดเสียงจะทำก่อนการบินทุกๆเที่ยว ถ้าไม่มีพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดก็อาจทำการวัดเสียงบนพื้นดินเปล่าหรือบนพื้นหญ้าสั้นๆ ซึ่งในกรณีนี้ความดังของเสียงต้องไม่เกิน 92 dB (A)

ในกรณีที่เครื่องยินไม่ผ่านการวัดเสียง จะไม่มีการบอกให้นักบินและ/หรือทีมของนักบินหรือกรรมการผู้ตัดสินทราบ แต่เครื่องบินกับเครื่องส่งวิทยุจะถูกยึดเก็บรักษาไว้โดยกรรมการผู้ควบคุมสนามทันทีหลังจบเที่ยวบิน ไม่อนุญาตให้ทำการใดๆเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับเครื่องบิน (ยกเว้นการเติมน้ำมัน) และหากเครื่องบินยังไม่ผ่านการทดสอบใหม่นี้ คะแนนของเที่ยวบินที่จบลงก่อนหน้านี้จะเท่ากับศูนย์

การแข่งขันจะถูกหยุดพักเมื่อมีการตรวจวัดเสียง แต่ผู้เข้าแข่งขันจะถูกหยุดพักไม่เกิน 30 วินาทีสำหรับการตรวจวัด

อุปกรณ์วิทยุจะต้องเป็นประเภท open-loop (นั่นคือ ต้องไม่มี feedback ทางอีเลคโทรนิคจากเครื่องบินกลับลงมาสู่พื้นดิน) ห้ามใช้ระบบนักบินอัตโนมัติ (auto pilot) ซึ่งใช้แรงเฉื่อย หรือ แรงโน้มถ่วง หรือการใช้พื้นแผ่นดินเป็นตำแหน่งอ้างอิงทุกชนิด ห้ามใช้ระบบการเรียงลำดับการบังคับแบบอัตโนมัติ (แบบฟรีโปรแกรม) หรืออุปกรณ์ตั้งเวลาบังคับอัตโนมัติ

ตัวอย่าง : ที่อนุญาตให้ใช้
1. อุปกรณ์เปลึ่ยนแปลงอัตราการบังคับ ซึ่งปิดเปิดสวิทช์โดยนักบิน
2. ปุ่มหรือคันโยกบังคับใดๆ ซึ่งเริ่มและหยุดโดยนักบิน
3. สวิทช์ที่ปิดเปิดด้วยมือเพื่อเชื่อมโยงหน้าที่การบังคับ

ตัวอย่าง : ที่ไม่อนุญาตให้ใช้
1. ปุ่มสำหรับพลิกตัวโดยฉับพลัน/สแน็ป ซึ่งมีการบังคับช่วงเวลาทำงานอัตโนมัติ
2. อุปกรณ์ซึ่งตั้งโปรแกรมสำหรับการส่งอนุกรมคำสั่งอย่างอัตโนมัติ
3. นักบินอัตโนมัติ (auto pilot) สำหรับการแก้การเอียงของปีก
4. ระบบเปลี่ยนมุม pitch ของใบพัดซึ่งมีการตั้งเวลาอัตโนมัติ
5. ระบบการรับคำสั่งด้วยเสียงใดๆ
6. ระบบซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยอัตโนมัติจากการวิเคราะห์ลักษณะการบินแต่ละเที่ยว

1.3. คำนิยามและจำนวนผู้ช่วย (5.1.3)
ผู้ช่วยอาจเป็นผู้จัดการทีม ผู้เข้าแข่ง หรือผู้สนับสนุนที่ได้ลงทะเบียนเป็นทางการอนุญาตให้นักบินแต่ละคนมีผู้ช่วยได้ 1 คนในระหว่างเที่ยวบิน อาจมีผู้ช่วยได้ถึง 2 คนในช่วงสตาร์ทเครื่อง ผู้ช่วยคนที่สองอาจช่วยวางเครื่องบินสำหรับการบินขึ้นและเก็บเครื่องบินหลังการบินลง

1.4. จำนวนเที่ยวบิน(5.1.4)
ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิทำการบินได้ในจำนวนเที่ยวบินที่เท่ากันทั้งในระหว่างรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศ โดยจะนับเฉพาะเที่ยวบินที่บินได้ครบถ้วน

1.5. นิยามของการพยายามบิน(5.1.5)
เมื่อนักบินได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นจะถือว่าเป็นการพยายามบินหนึ่งครั้ง
หมายเหตุ : ถ้าไม่สามารถติดเครื่องได้ภายในเวลาสามนาที ผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นต้องยอมเปลี่ยนที่ให้เป็นผู้แข่งขันถัดไป ถ้าเครื่องหยุดลงหลังเริ่มการบินขึ้น แต่ก่อนที่เครื่องจะพ้นจากพื้น อาจเริ่มทำการสตาร์ทเครื่องได้ใหม่ภายในเวลาสามนาที

1.6. จำนวนการพยายามบิน(5.1.6)
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถทำการพยายามบินได้หนึ่งครั้งสำหรับเที่ยวบินเป็นทางการหนึ่งเที่ยว
หมายเหตุ : ผู้อำนวยการแข่งขันอาจพิจารณาให้ทำการพยายามบินซ้ำได้หากว่าไม่สามารถทำการสตาร์ทเครื่องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเหตุที่นอกเหนือจากอาณัติของนักบิน (เช่น ในกรณีที่วิทยุถูกรบกวน) ในทำนองเดียวกันหากเที่ยวบินถูกรบกวนโดยนอกเหนือจากอาณัติของนักบิน ผู้เข้าแข่งขันก็อาจได้รับอนุญาตให้บินใหม่ และจะให้คะแนนตั้งแต่ท่าบินที่เริ่มถูกรบกวนเป็นต้นไปเท่านั้น

1.7. นิยามเที่ยวบินเป็นทางการ(5.1.7)
ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร การพยายามบินหนึ่งครั้งจะถือเป็นหนึ่งเที่ยวบินเป็นทางการ

1.8. การให้คะแนน(5.1.8)
ท่าบินแต่ละท่าจะได้รับคะแนนเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งอยู่ระหว่าง 10 และ 0 จากกรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนแต่ละคน คะแนนนี้จะถูกคูณด้วยสัมประสิทธิ์(ค่า k - ผู้แปล) ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของท่าบิน ท่าบินใดซึ่งบินได้ไม่จบจะได้คะแนน 0 ท่าบินจะต้องบินให้กรรมการเห็นชัดเจน ถ้ากรรมการมีความจำเป็นที่ไม่สามารถติดตามท่าบินได้ตลอดทั้งท่า กรรมการผู้นั้นควรลงคะแนนเป็น Not Observed (N.O.) ในกรณีนี้คะแนนของกรรมการผู้นี้สำหรับท่านี้จะเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของกรรมการคนอื่นๆ ท่าบินตรงกลางควรบินตรงกลางของพื้นที่ทำการบิน ในขณะที่ท่าเลี้ยวกลับทิศทางไม่ควรหลุดเกินเส้นที่ทำมุม 60 องศาทางด้านซ้ายและขวาของจุดกลาง ความสูงต้องไม่เกิน 60 องศา นอกจากนี้ท่าบินควรบินอยู่ในแนวเส้นแนวบินซึ่งอยู่ที่ระยะห่างประมาณ 150 เมตรด้านหน้าของนักบิน การละเมิดกฎนี้จะเป็นสาเหตุให้กรรมการแต่ละคนลดคะแนนที่ให้ลง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการละเมิด พื้นที่ทำการบินจะแสดงอย่างชัดเจนด้วยเสาสีขาว ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร ซึ่งจะถูกปักไว้ตรงกลางเสาควรติดธงหรือริบบิ้นที่สีตัดกันเพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นควรให้มีเส้นสีขาวหรือสีอื่นที่เห็นได้ชัด ยาวอย่างน้อย 50 เมตรลากออกจากตำแหน่งของนักบินออกไปในแนว 60 องศา ทั้งซ้ายและขวาเพื่อแสดงจุดกลางและเส้นแนวขอบของพื้นที่การบิน จะต้องไม่มีเสียงหรือสัญญาณใดๆที่จะแสดงให้รู้ถึงการละเมิดพื้นที่ทำการบิน

กรรมการจะนั่งอยู่ในระยะไม่เกิน 10 เมตรและไม่น้อยกว่า 7 เมตร ด้านหลังของตำแหน่งนักบิน (จุดตัดของเส้น 60 องศา) และอยู่ภายในบริเวณที่อยู่ภายในเส้นมุม 60 องศาที่ต่อออกไปด้านหลังของนักบิน

เมื่อเที่ยวบินแต่ละเที่ยวสิ้นสุดลง กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาว่าระดับเสียงของเครื่องบินดังเกินไปหรือไม่ หากกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเสียงดังเกินไป คะแนนของกรรมการแต่ละคนสำหรับเที่ยวบินนั้นจะถูกตัดลง 10 คะแนน

ถ้ากรรมการเห็นว่าการทำการบินเป็นไปในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย กรรมการอาจสั่งให้นักบินนำเครื่องบินลงสู่พื้น คะแนนซึ่งกรรมการแต่ละคนตัดสินให้จะถูกแสดงให้เห็นโดยทั่วกันภายหลังจากที่รอบบินแต่ละรอบสิ้นสุดลง

1.9. การจัดลำดับผู้ชนะ(5.1.9)
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะทำการบินคนละสามเที่ยวบิน โดยจะนับเอาเที่ยวที่ได้คะแนนดีที่สุดสองเที่ยวเพื่อจัดลำดับชนะเลิศ

1.10. การเตรียมการตัดสินให้คะแนน(5.1.10)
ก่อนการแข่งขันจะต้องมีการประชุมชี้แจขงให้กับกรรมการ ตามด้วยเที่ยวบินฝึกฝนสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันนอกจากนั้นจะต้องมีการบินเที่ยวบิน อุ่นเครื่องสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันก่อนที่จะเริ่มเที่ยวบินแข่งขันเที่ยวแรก

1.11. การจัดการแข่งขันเครื่องบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ(5.1.11)
การจัดลำดับการบินสำหรับการบินจะทำโดยการจับฉลาก ยกเว้นแต่ว่าจะไม่ให้ผู้ใช้ความถี่เดียวกันบินถัดต่อจากกัน

สำหรับเที่ยวบินที่สอง สาม จะเริ่มต้นจากลำดับที่ 1/3 และ 2/3 ตามลำดับลงมา

ในระหว่างเที่ยวบิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับกรรมการผู้ตัดสินและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยการการบิน (Flight Line Director)

ต้องเรียกตัวผู้แข่งขันล่วงหน้า 5 นาที ก่อนที่จะให้ผู้แข่งขันเข้ามาใช้บริเวณสตาร์ทเครื่อง

ถ้าความถี่ของผู้แข่งขันไม่มีการใช้อยู่ ผู้แข่งขันจะได้รับมอบเครื่องส่งเมื่อเข้าไปในบริเวณสตาร์ทเครื่องแล้ว เพื่อจะได้ทำการตรวจเช็ควิทยุ ถ้ามีการรบกวนทางด้านความถี่วิทยุ ผู้แข่งขันจะต้องได้รับอนุญาตให้มีเวลาตรวจเช็ควิทยุอีกไม่เกิน 1 นาทีก่อนที่จะเริ่มเวลา 3 นาทีสำหรับสตาร์ทเครื่อง ผู้ควบคุมเวลาจะแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบเมื่อหมดเวลาหนึ่งนาทีและเริ่มทำการวัดเวลาสตาร์ทเครื่อง 3 นาที่ทันที

1.12. การทำท่าบิน(5.1.12)
จะต้องทำการบินท่าต่างๆตามลำดับที่กำหนดไว้โดยไม่มีการรบกวน ผู้แข่งขันสามารถทำท่าบินแต่ละท่าได้เพียงหนึ่งครั้งในระหว่างเที่ยวบิน นักบินมีเวลาสามนาทีสำหรับสตาร์ทเครื่องและสิบนาทีที่จะทำการบินให้จบ โดยจะเริ่มนับเวลาสามนาทีและสิบนาทีเมื่อผู้แข่งขันได้รับอนุญาตให้สตาร์ทเครื่อง เครื่องบินจะต้องวิ่งขึ้นและลงโดยไม่มีการช่วยใดๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีการพุ่งเครื่องบิน ถ้ามีชิ้นส่วนใดๆของเครื่องบินหลุดจากตัวเครื่องในระหว่างเที่ยวบิน การให้คะแนนจะยุติลง ณ จุดนั้น และต้องนำเครื่องลงสู่พื้นทันที

เที่ยวบินจะจบลงเมื่อทำการลงสู่พื้นเสร็จสิ้น การให้คะแนนจะยุติลงเมื่อครบเวลาสิบนาทีที่จำกัดไว้


1.13. ตารางท่าบินผาดแผลงขั้นพื้นฐานไทย(Thai Basic Aerobatic Maneuvers Schedule)

TB-01 ลำดับการบินขึ้น (Take-Off Sequence)
K=1
TB-02 วงตั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัส (Square Loop)
K=3
TB-03 ครึ่งคิวบันเอทกลับทาง (Half Reversed Cuban8)
K=2
TB-04 พลิกตัวสองรอบ (Two-turn Roll)
K=3
TB-05 กลับตัวแบบสตอลเทอร์น (Stall Turn)
K=2
TB-06 วงกลมตั้งในสองวง (Two Inside Loops)
K=3
TB-07 อิมเมลแมน (Immelmann)
K=2
TB-08 วงกลมตั้งนอกสองวง (Two Outside Loops)
K=3
TB-09 สปลิท-เอส (Split-S)
K=2
TB-10 วงตั้งสามเหลี่ยม (Triangle Loop)
K=3
TB-11 ฮัมทีบัมพ์ (Humpty Bump)
K=2
TB-12 บินในแนวระดับหงายท้อง (Inverted Flight)
K=2
TB-13 ครึ่งวงตั้งวงสี่เหลี่ยมพลิกตัวครึ่งรอบ(Half Square Loop with Half Roll)
K=2
TB-14 ใบไม้ร่วงสองรอบ (Two-Turn Spin)
K=3
TB-15 ลำดับการบินลง (Landing Sequence)
K=1
 
Total k=34


 

 

บทผนวก ก. (5A)
คำอธิบายท่าบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทย

(5A.1.13) การตัดสินให้คะแนนท่าบินทุกท่าจะยึดตามเส้นแนวบิน และจะเริ่มและจบท่าโดยเส้นตรงในแนวระดับในลักษณะบินปรกติหรือหงายท้อง ท่าบินตรงกลางจะเริ่มและจบในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ท่าบินกลับทิศทางจะจบลงด้วยทิศทาง 180 องศา กลับจากขาเข้า ระดับของขาเข้าและขาออกของท่าบินตรงกลางสมควรจะอยู่ในระดับความสูงเดียวกัน ยอมให้มีการปรับระดับตำแหน่งความสูงได้ในท่าบินกลับทิศทาง

ท่าบินทุกท่าที่มีวงกลมตั้งหรือส่วนของวงกลมมากกว่าหนึ่งจะต้องให้เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตั้งและส่วนของวงกลมมีขนาดเท่ากัน และในกรณีของวงกลมตั้งหลายวงจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในทำนองเดียวกันท่าบินที่มีการพลิกตัวมากกว่าหนึ่งครั้งจะต้องมีอัตราการพลิกตัวที่เท่ากัน และหากกำหนดให้มีการชะงัก เวลาของการชะงักต้องเท่ากัน การพลิกตัวต่อเนื่องในแนวระดับจะต้องอยู่ในระดับความสูงและทิศทางเดียวกัน

เท่าบินทุกท่าที่มีการพลิกตัว, พลิกตัวบางส่วน หรือพลิกตัวฉับพลันหรือท่าผสมของที่กล่าวมา จะต้องมีเส้นตรงที่ยาวเท่ากันปรากฏอยู่ก่อนและหลังการพลิกตัวหรือท่าผสม ยาเว้นในกรณีของกลุ่มท่าอิมเมลแมน (Immelman) หรือท่าสปลิท-เอส (Split S) สำหรับท่าการพลิกตัวฉับพลันที่เป็นการพลิกตัวฉับพลัน (หรือพลิกตัวเป็นแบบคว้าน) จะได้คะแนนศูนย์ ท่าใบไม้ร่วง/สปินที่เป็นการดำแบบคว้านลงหรือเริ่มต้นด้วยการพลิกตัวฉับพลันจะได้คะแนนศูนย์

การละเมิดใดๆจากที่กล่าวข้างบนจะเป็นเหตุให้มีการลดคะแนนเพิ่มเติมจากการละเมิดที่กล่าวไว้ในข้อสังเกตสำหรับกรรมการสำหรับท่าบินแต่ละท่า และการลดคะแนนตามที่กล่าวไว้ในแนวทางสำหรับกรรมการ ให้สังเกตว่ารายการเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมไปหมดทุกกรณี



คำอธิบายท่าบินผาดแผลงขั้นพื้นฐานไทย (Thai Basic Aerobatic Maneuvers)


TB-01 ลำดับการบินขึ้น (Take-Off Sequence)

บินขึ้นจากจุดที่กำหนด หลังจากแนวบินตรงทวนลม เลี้ยว 90 องศาที่บริเวณเส้นแนวบินตามลม ไปที่จุดขอบบริเวณ เลี้ยว 180 องศา หรือเลี้ยว 90 องศา ตามด้วยอีก 270 องศาในทางตรงกันข้าม เพื่อกลับเข้าเส้นแนวบินทวนลม
หมายเหตุ :-
- ไม่ทำตามลำดับ คะแนนศูนย์
- เครื่องบินผ่านด้านหลังกรรมการ คะแนนศูนย์

TB-02 วงตั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัส (Square Loop)
จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง ดึง 90 องศาเข้าแนวบินระดับหงายท้อง ดึง 90 องศาลงในแนวดิ่ง ดึง 90 องศาเข้าเส้นแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- ความยาวของแต่ละขาต้องเท่ากัน
- ส่วนของวงกลมที่ทั้งสี่มุมต้องมีรัศมีเท่ากัน
- ขาเข้าและขาออกต้องอยู่ในระดับและเส้นแนวบินเดียวกัน

TB-03 ครึ่งคิวบันเอทกลับทาง (Half Reversed Cuban 8)
จากแนวบินระดับ ดึงขึ้น 45 องศา พลิกตัวครึ่งรอบ ทำวงกลมตั้งใน 5/8วง ออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- พลิกตัวตรงกลางเส้นแนวบินตรงขาขึ้น
- 5/8 วงกลมตั้งในมีรัศมีคงที่

TB-04 พลิกตัวสองรอบ (Two-turn Roll)
จากแนวบินระดับ พลิกตัวสองรอบ
หมายเหตุ :-
- อัตราการพลิกตัวเร็วเท่ากัน
- การพลิกตัวอยู่ในแนวระดับ
- เข้าและออกจากท่าระดับเดียวกัน

TB-05 กลับตัวแบบสตอลเทอร์น (Stall Turn)

จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง ที่จุดยอดกลับตัวแบบสตอลเทอร์น ในทิศทางใดก็ได้ ลงมาในแนวดิ่ง ดึงเข้าสู่แนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- รัศมีการกลับตัวไม่เกิน ?ของกางปีก
- ส่วนของวงกลมขาขึ้นและขาลงมีรัศมีเท่ากัน
- ถ้าเครื่องบินคว่ำหรือหงายตัวตกลงมา คะแนนศูนย์

TB-06 วงกลมตั้งในสองวง (Two Inside Loops)

จากแนวบินระดับ ดึงเข้าสู่วงกลมตั้งในสองวง ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- วงกลมทั้งสองวงทับกัน
- จุดที่ออกจากท่าต้องอยู่ในตำแหน่งและระดับเดียวกันกับจุดที่เข้าท่า

TB-07 อืมเมลแมน (Immelmann)

จากแนวบินระดับ ดึงเข้าสู่ครึ่งวงกลมตั้งใน ที่ยอดวงพลิกตัวครึ่งรอบ ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- การพลิกตัวต้องทำทันทีหลังจบครึ่งวงกลมตั้งใน โดยไม่มีการชะงัก

TB-08 วงกลมตั้งนอกสองวง (Two Outside Loops)

จากแนวบินระดับ ดันเข้าสู่วงกลมตั้งนอกสองวง ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- ดู TB-06

TB-09 สปลิท-เอส (Split-S)

จากแนวบินระดับ พลิกตัวครึ่งรอบแล้วดึงเข้าสู่ครึ่งวงกลมตั้งใน ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- ต้องดึงเข้าครึ่งวงกลมตั้งในทันทีหลังพลิกตัว

TB-10 วงกลมตั้งสามเหลี่ยม (Triangle Loop)

จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวเส้นบิน 45 องศา แล้วดึง 135 องศา เข้าสู่แนวบินระดับหงายท้อง ดึง 135 องศา เข้าสู่แนวขาลง ดึง 45 องศา ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- จุดที่ออกจากท่าต้องอยู่ในตำแหน่งและระดับเดียวกันกับจุดที่เข้าท่า

TB-11 ฮัมทีบัมพ์ (Humpty Bump)

จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง พลิกตัวครึ่งรอบทำครึ่งวงกลมตั้งใน ลงมาในแนวดิ่งแล้วดึงออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- ส่วนของวงกลม ต้องมีรัศมีเท่ากัน
- ครึ่งวงกลมตั้งในควรมีรัศมีไม่แคบจนเกินไป เครื่องบินต้องไม่คล้ายกับหล่นลงมา
- พลิกตัวที่กึ่งกลางเส้นแนวดิ่งขาขึ้น

TB-12 บินในแนวระดับหงายท้อง (Inverted Flight)

จากแนวบินระดับ พลิกตัวครึ่งรอบ บินในแนวระดับหงายท้อง พลิกตัวครึ่งรอบออกจากท่า
หมายเหตุ :-
- ทิศทางและระดับต้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นแนวบิน

TB-13 ครึ่งวงตั้งสี่เหลี่ยมพลิกตัวครึ่งรอบ (Half Square Loop with Half Roll)

จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง พลิกตัวครึ่งรอบดัน 90 องศา ออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- ส่วนของวงกลมต้องมีรัศมีเท่ากัน
- พลิกตัวที่กึ่งกลางเส้นแนวดิ่งขาขึ้น

TB-14 ใบไม้ร่วงสองรอบ (Two-Turn Spin)

จากเส้นแนวบินระดับ ลดความเร็วจนเครื่องบินสตอล เข้าสู่การหมุนตัวแบบใบไม้ร่วงสองรอบ แล้วลงมาในแนวดิ่ง ดึง 90 องศา ออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- เครื่องบินต้องสตอลเพื่อเข้าท่าและต้องอยู่ในอาการสตอลในระหว่างหมุนตัวลง
- หมุนตัวเป็นแบบคว้าน (spiral) ลงมา คะแนนศูนย์
- หมุนตัวเกินหรือขาดไปมากกว่าครึ่งรอบ ถูกลดคะแนนอย่างรุนแรง
- เส้นลงแนวดิ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของท่าบิน

TB-15 ลำดับการบินลง (Landing Sequence)

จากแนวบินระดับ เลี้ยว 180 องศาเข้าสู่แนวบินตามลม แล้วเลี้ยว 90 องศา เลี้ยวอีก 90 องศา แล้วลดระดับลงสู่พื้นในบริเวณพื้นที่
ลงที่กำหนด
หมายเหตุ :-
- เครื่องบินไม่ทำตามลำดับการบินลง ศูนย์คะแนน
- ถ้าขาล้อใดเกิดพับขึ้นเมื่อถึงพื้น ศูนย์คะแนน
- ถ้าเครื่องบินลงถึงพื้นนอกบริเวณพื้นที่ลง ศูนย์คะแนน บริเวณพื้นที่ลงกำหนดโดยวงกลมรัศมี 50 เมตร หรือเส้นตรงซึ่งอยู่ห่างกัน 100 เมตร โดยที่ทางวิ่งขึ้นกว้างอย่างน้อย 10 เมตร


หน้าแรก | สมัครสมาชิก | LOGIN | LOGOUT | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับลิขสิทธิ์เครื่องหมาย WeekendHobby | ข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บ | ติดต่อโฆษณา | ตลาดนัดซื้อขาย
แจ้งปัญหา ขอคำปรึกษาการใช้ website หรือติดต่อประสานงานกิจกรรมทุก Hobby :::>>>Email:::>>> webmaster@WeekendHobby.Com หรือ ติดต่อเรา(Contact Us)
Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,20 มิถุนายน 2567 (Online 936 คน)