WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


กฎหมายจราจรที่ควรทราบ
nom
จาก นม ระห่ำ
IP:58.137.184.101

จันทร์ที่ , 25/4/2554
เวลา : 15:24

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 1 การใช้รถ หมวด 1 ลักษณะของรถที่ใช้ทาง

ลักษณะ 1
การใช้รถ

หมวด 1
ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง

มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ
อนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ

รถที่ใช้ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจัดให้มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ครบถ้วนตามกฎหมายว่า
ด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง
และใช้การได้ดี

สภาพของรถที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยตามวรรคหนึ่งและวิธีการทดสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผ่นป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมาย
ว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ

มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจแลเห็นทางพอแก่ความปลอดภัยมาใช้ในทาง เดินรถเพื่อประโยชน์แห่ง
มาตรานี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ใน ทางเดินรถได้ โดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เกิดเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถมาใช้ในทางเดินรถ

มาตรา 10 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยางมาใช้ในทางเดินรถ เว้นแต่เป็นรถที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นรถที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

มาตรา 10 ทวิ(1) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมี หรือเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้ในทางเดินรถ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 1 หมวด 2 การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ หมวด 3 การบรรทุก


หมวด 2
การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ

มาตรา 11 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายใน
ระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา 12 รถแต่ละชนิดที่ใช้ในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณโดย
เฉพาะดังต่อไปนี้
(1) เสียงแตร สำหรับรถยนตร์หรือรถจักรยานยนตร์ และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าหกสิบเมตร
(2) เสียงระฆัง สำหรับรถม้า และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
(3) เสียงกระดิ่ง สำหรับรถจักรยาน และให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
ส่วนรถอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น ผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราช
กิจจานุเบกษา

มาตรา 13 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน
เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร หรือเสียงสัญญาณอย่าง
อื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้รถฉุกเฉิน รถในราชการทหารหรือตำรวจหรือรถอื่นใช้ไฟสัญญาณวับวาบหรือใช้
เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณหรือ
เสียงสัญญาณรวมทั้งกำหนดเครื่องหมายที่แสดงถึง
ลักษณะของรถดังกล่าวด้วยก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 14 การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาว
หรือซ้ำเกินควรไม่ได้

การใช้เสียงสัญญาณของรถหรือการกำหนดเงื่อนไขในการใช้เสียงสัญญาณในเขตหรือท้องที่ใด ให้อธิบดีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 15 รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ขณะที่อยู่ในทางเดินรถ และในเวลาต้องเปิดไฟตามมาตรา
11 หรือมาตรา 61 ผู้ขับขี่ต้องจุดไฟสัญญาณแสงแดง หรือในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุด
ของสิ่งที่บรรทุกนั้น โดยจุดไฟสัญญาณหรือติดธงไว้ให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบ เมตร

ไฟสัญญาณแสงแดงหรือธงสีแดงตามวรรคหนึ่ง จะใช้ชนิด ลักษณะหรือจำนวนเท่าใด ให้อธิบดีกำหนดโดย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 16 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟในอุณหภูมิยี่สิบเอ็ดองศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น
หรือที่บรรทุกก๊าซไวไฟต้องปฏิบัติตามมาตรา 15 และมาตรา 56 แต่ไฟสัญญาณที่ใช้นั้นต้องมิใช่เป็นชนิดที่
ใช้เชื้อเพลิง

มาตรา 17 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถที่ใช้บรรทุกวัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่นใด ต้องจัดให้มีป้ายแสดงถึงวัตถุ
ที่บรรทุกและเครื่องดับเพลิง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการป้องกันอันตราย
ลักษณะและวิธีการติดป้ายแสดงถึงวัตถุที่บรรทุกและเครื่องดับเพลิงตลอดจน เงื่อนไขในการป้องกันอันตราย ให้
เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด 3
การบรรทุก

มาตรา 18 รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสารจะใช้บรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของชนิดหรือ
ประเภทใด ในลักษณะใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 19 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของนอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อเจ้าของรถร้องขอเจ้าพนักงานจราจรจะผ่อนผันโดยอนุญาตเป็นหนังสือเป็นการ
ชั่วคราวเฉพาะรายก็ได้

มาตรา 20 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่
บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้
ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

nom จาก นม ระห่ำ 58.137.184.101 จันทร์, 25/4/2554 เวลา : 15:25  IP : 58.137.184.101   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5131

คำตอบที่ 2
       พรบ.จราจรทางบก ลักษณะ 8 การลากรถหรือการจูงรถ ลักษณะ 9 อุบัติเหตุ

ลักษณะ 8
การลากรถหรือการจูงรถ

มาตรา 77 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถทุกชนิดลากรถหรือจูงรถอื่นไปในทางเกินหนึ่งคัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก อธิบดีวิธีลากรถหรือจูงรถ และการมีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในการลากรถหรือจูงรถให้กำหนดในกฎกระทรวง

ลักษณะ 9
อุบัติเหตุ

มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะ เป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตาม สมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่ อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วยในกรณีที่ผู้ขับ ขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนีไป หรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับ ขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับ แต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้น
เป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

nom จาก นม ระห่ำ 58.137.184.101 จันทร์, 25/4/2554 เวลา : 15:29  IP : 58.137.184.101   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5132

คำตอบที่ 3
       การเปิดไฟตัดหมอกได้ต้องมีเหตุตามกฎหมายจึงจะทำการเปิดได้ การเปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อนั้นส่วนมากผู้ใช้รถใช้ถนนจะไม่รู้ว่าผิด กฎหมาย ซึ่งกรณีดังกล่าวมีคำตอบและหลักกฎหมาย ดังนี้
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ม.11 ในเวลามีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบ เมตร ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2522 )
ข้อ 2 รถยนต์ต้องมีโคมไฟหน้ารถและโคมไฟท้ายรถและมีรายการดังต่อไปนี้
(1) โคมไฟหน้ารถมี 3 ประเภท คือ
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ
(ค) โคมไฟเล็ก
โคมไฟแสงพุ่งไกล โคมไฟแสงพุ่งต่ำและโคมไฟเล็ก จะรวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้
รถคันใดจะมีโคมไฟหน้ารถเพื่อใช้ตัดหมอกก็ได้ โดยให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง อยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
(3ทวิ) ในกรณีที่รถมีโคมไฟเพื่อใช้ตัดหมอก จะเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่านมีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมามาในระยะของแสงไฟ
โทษ ม.148 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.11 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
คำอธิบาย
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ( แก้ไขเพิ่มเติม ) รถคันใดจะมีโคมไฟตัดหมอกหรือไม่ก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับ ( มีก็ได้ไม่มีก็ได้ ) ถ้าหากมีหรือทำการติดตั้งให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง (อยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา )
เมื่อมีการติดไฟตัดหมอกแล้ว หากจะเปิดไฟได้ก็ต่อเมื่อทางหรือถนนที่ขับรถผ่านนั้นมีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค หรืออันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟตัดหมอก ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

nom จาก นม ระห่ำ 58.137.184.101 จันทร์, 25/4/2554 เวลา : 15:38  IP : 58.137.184.101   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5133

คำตอบที่ 4
       อ่านมากปวดหัว





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

parkorn จาก ภากร เรือไม้ 110.168.103.47 จันทร์, 25/4/2554 เวลา : 22:10  IP : 110.168.103.47   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5139

คำตอบที่ 5
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

nom จาก นม ระห่ำ 58.137.184.101 อังคาร, 26/4/2554 เวลา : 08:24  IP : 58.137.184.101   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5193

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพุธ,4 ธันวาคม 2567 (Online 8286 คน)