WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


แล่นใบหลังสวน Kindness Boomerang
tum siwkae
จาก ตุ้ม สี่แคว
IP:27.145.210.158

พฤหัสบดีที่ , 9/2/2560
เวลา : 16:50

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       แล่นใบหลังสวน สัมผัสต้นมะพร้าวและทะเล มาดูเมฆ ดูลม ชมคลื่น แล่นใบ และเพื่อนเก่า กับ my destiny ของผม


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://tumsikwae.blogspot.com/2017/02/sailing-langsuan.html




 แก้ไขเมื่อ : 17/2/2560 11:48:38

 แก้ไขเมื่อ : 17/4/2560 11:57:51






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  

คำตอบที่ 31
       ความสัมพันธ์ น้ำ- ลม/อากาศ -เมฆ- ฝน

การกลายเป็นไอ (Vaporization) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ
การกลายเป็นไอของน้ำ ไอน้ำ เป็นน้ำในสถานะก๊าซ ไอน้ำเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมองไม่เห็น

เมื่อมหาสมุทรหรือน้ำบนโลกได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ โมเลกุลของน้ำที่ผิวด้านบนจะดูดซับความร้อน (ความร้อนแฝง) นั้นไว้และเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น บางโมเลกุลจะสั่นสะเทือนด้วยความถี่มากพอที่จะทำให้สามารถชนะแรงยึดเหนี่ยวทางเคมีระหว่างน้ำด้วยกันได้และหลุดออกมาเป็นไอน้ำระเหยลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

ลมเกิดจาก
จากอากาศในบริเวณอากาศที่ร้อน หรือ บริเวณความกดอากาศต่ำ (L - Low pressure) จะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่า หรือ ความกดอากาศสูง (H - High Pressure) จะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ อากาศในลมก็มีไอน้ำเป็นส่วนประกอบด้วย

เมฆ คือ ละอองน้ำเล็กๆ หรือเกล็ดน้ำแข็ง เกิดจาก การควบแน่นของไอน้ำในอากาศเมื่อลอยขึ้นที่สุง ซึ่งเกิดจากเมื่อไอน้ำเจอกับอากาศเย็นในที่สูงจะมีการคายความร้อนแฝงในตัวเกิดการจับตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ละอองน้ำในก้อนเมฆ (Cloud droplet) ที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กมากเพียง 0.02 มิลลิเมตร ละอองน้ำขนาดเล็กจะตกลงอย่างช้าๆ ด้วยแรงต้านของอากาศ และระเหยกลับเป็นไอน้ำ (ก๊าซ) เมื่ออยู่ใต้ระดับควบแน่นลงมา ไม่ทันตกถึงพื้นโลก การควบแน่นของไอน้ำยังจำเป็นจะต้องมี“พื้นผิว” ให้หยดน้ำ (Droplet) เกาะตัว ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออุณหภูมิของอากาศบนพื้นผิวลดต่ำกว่าจุดน้ำค้าง ไอน้ำในอากาศจะควบแน่นเป็นหยดน้ำเล็กๆ เกาะบนใบไม้ใบหญ้าเหนือพื้นดิน บนอากาศก็เช่นกัน ไอน้ำต้องการอนุภาคเล็กๆ ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศเป็น “แกนควบแน่น” (Condensation nuclei) แกนควบแน่นเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ (Hygroscopic) ดังเช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ หรืออนุภาคเกลือ ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.0002 มิลลิเมตร หากปราศจากแกนควบแน่นแล้ว ไอน้ำบริสุทธิ์ไม่สามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้ ถึงแม้จะมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 100% ก็ตาม


อากาศชื้นจะมีไอน้ำมาก จะมีความกดอากาศต่ำ อากาศแห้งจะมีความกดอากาศสูง ฉะนั้นบริเวณกลุ่มเมฆฝนจะมีความกดอากาศต่ำ
ก่อนฝนตกในกลุ่มเมฆจะมีการคายพลังงานความร้อนจากการที่ละอองน้ำเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็งก่อน จึงทำให้อากาศร้อนอบอ้าว
ตอนฝนตกเกล็ดน้ำแข็งจะหลอมเหลวเป็นน้ำ จะมีการดูดความร้อนอากาศจึงเย็นสบาย

การเกิดฝนโดยธรรมชาติ จะเกิดจากที่มีกลุ่มอากาศยกตัวอย่างรุนแรง หยดน้ำเหล่านี้สามารถรวมตัวกันและชนกันภายในก้อนเมฆ และรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ประมาณ 0.05 มิลลิเมตร ถ้าหยดน้ำรวมตัวกันมีขนาด 2 มิลลิเมตร มันจะมีน้ำหนักมากกว่าแรงพยุงของอากาศ และตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกสู่พื้นดินกลายเป็นฝน

ลักษณะก่อนฝนตก อากาศที่มีความชื้นสูง และไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือ อากาศไม่มีเสถียรภาพแบบมีเงื่อนไข (Conditional Instability) และมีแรงยกทำให้อากาศลอยตัวขึ้น เช่น แรงที่เกิดจากการพาความร้อนแนวดิ่ง แนวปะทะอากาศชนิดใดชนิดหนึ่ง แนวเทือกเขา แนวลมพัดสอบเข้าหากัน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 20:58  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31436

คำตอบที่ 32
       ทำไมผมต้องพูดเรื่องฝนตกให้มาก และขั้นตอนของการเกิดฝนตกให้ละเอียด

เพราะ ฝน คือ ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วมภาคใต้ไง ถ้าฝนไม่ตกน้ำก็ไม่ท่วม หรือถ้าตกแล้วตกไม่หนักตกแบบธรรมดาน้ำก็ไม่ท่วมอีก


มาดูการเกิดฝนตกในเมฆคิวมูโลนิมบัสกัน

 แก้ไขเมื่อ : 17/2/2560 11:49:41





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 21:13  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31437

คำตอบที่ 33
       ตอนนี้ประเทศเราเสียหายไป 1-4 หมื่นล้านจากน้ำท่วม และต้องใช้เงินอีก 1 แสนล้านในการแก้ปัญหา

ผมก็รอฟังๆ ว่าจะมีใครหรือด๊อกเตอร์ท่านไหน พูดหรือคิดแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยใช้เทคโนโลยี่เข้าช่วยหรือเปล่า ... ไม่มีเลย

ผมก็เลยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง "การดัดแปลงปรับแก้สภาพภูมิอากาศ"

ในปี ค.ศ. 1946 มีนักวิทยาศาสตว์ ชาวอเมริกา Vincent Schaefer วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ ทำงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก เมืองสกิเนกทาดี รัฐนิวยอร์ก โดยการเติมซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) และทำให้อนุภาคของไอน้ำจับตัวกันกลายเป็นน้ำแข็ง และลงสู่พื้นดิน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 21:49  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31438

คำตอบที่ 34
       จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันทุกคนก็ใช้ เครื่องปรับแก้สภาพอากาศกันทุกคน

เครื่องปรับแก้สภาพอากาศที่เห็นอยู่ในบ้าน ได้แก่ แอร์ , ตู้เย็น

เครื่องปรับแก้สภาพอากาศที่อยู่ในรถ ได้แก่ แอร์ร้อน แอร์เย็นในรถ

หลักการการดูดและคายความร้อน มันใช้หลักการเหมือนการเปลี่ยนสถานะของน้ำ จากของเหลว เป็นไอ จนกระทั่งกลับมาเป็นน้ำเหมือนเดิม เหมือนขั้นตอนของการเกิดฝนตก

 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 21:56:51





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 21:56  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31439

คำตอบที่ 35
       ประเทศจีน : ใช้การดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ ตอน กีฬาโอลิมปิก ปี 2008 เพื่อห้ามไม่ให้มีฝนตกในวันเปิดงาน และยังได้มีการดัดแปลงปรับแก้สภาพภูมิอากาศในเขตทิเบตเพื่อลดความแห้งแล้ง

ประเทศอินเดีย : ปี 1993-94 ได้มีการดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ รัฐทมิฬนาฑู เนื่องจากภัยแล้งที่รุนแรง

ประเทศอินโดนีเซีย : ปี 2013 ใด้มีการใช้เทคโนโลยี่ดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ ที่ กรุงจาการ์ตา เพื่อลดความเสี่ยงน้ำท่วม ตามการคาดหมายจากภาวะน้ำท่วมหนัก

ประเทศคูเวต : ได้ใช้เทคโนโลยี่ดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ เพื่อโต้ตอบภัยแล้ง

ประเทศรัสเซีย : ได้ใช้เทคโนโลยี่ดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ เพื่อกันการแพร่กระจายสารกัมตภาพรังสี ที่เกิดจากโรงงานนิวเคลีย์ระเบิด

ประเทศสหรัฐอเมริกา : ได้ใช้เทคโนโลยี่ดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ ในการที่จะเปลี่ยนพายุเฮอริเคน ให้กลายเป็นพายุดีเปรสชั่น (ยังไม่ได้ผลชัดเจน หรือข้อสรุปว่าทำได้ เนื่องจากพายุเฮอร์ริเคน มีกำลังมากเกินไป)

 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 23:31:01

 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 23:47:54

 แก้ไขเมื่อ : 14/2/2560 14:23:28





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 22:22  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31440

คำตอบที่ 36
       ในปี 1950 หรือประมาณ 67 ปีที่ผ่านมา

ได้มีความพยายามที่จะ ดัดแปลงปรับแก้สภาพอากาศ โดยใช้วิธีโปรยเกลือทะเลในอากาศ เพื่อจับความชื้นและน้ำแข็งแห้งเพื่อจัดเมฆให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ

โครงการใช้เวลา 10 ปี ในการทดลองและปรับแต่งแก้ไข จนโครงการสามารถใช้งานได้จริง

และได้ยื่นจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ Weather Modification By Royal Rainmaking Technology ต่อสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2546

และได้ถูกรับรองในเวลาต่อมา : http://pintzandpartners.com/files/Thaiking-EP.pdf


 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 22:47:20





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 22:45  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31441

คำตอบที่ 37
       ประเทศเราโชคดีมาก เราไม่ต้องไปซื้อสิทธิบัตร หรือเทคโนโลยี่ในราคาแพงจากต่างประเทศ

เพราะเทคโนโลยี่ การดัดแปลงแก้ไขภูมิอากาศ เราคิดไว้ 67 ปี และจดสิทธิบัตรไว้แล้ว สามารถนำมาใช้ได้เลย

วิธีการคือ เราสามารถทำให้ฝนตกหนัก และตกนานได้ด้วยเทคโนโลยี่ตัวนี้ โดยทำให้ฝนใปตกในทะเลกลางอ่าวไทย ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถคำนวนสภาพอากาศล่วงหน้าได้แม่นยำ 7 วัน

ถ้าเรารู้ว่าฝนจะตกหนักมาก ต่อให้ฝน 100 ปี หรือ ฝน 1000 ปี ก็ตาม ให้ทำการดึงไอน้ำในอากาศไปทิ้งในอ่าวไทยให้มากที่สุดด้วยวิธีการนี้ โดยทำให้ฝนตกหนักกลางทะเล ด้วยวิธีนี้ทำให้เราเลือกที่จะ ดัดแปลงแก้ไขสภาพภูมิอากาศ จะให้ฝนตกมาก ฝนตกน้อยที่ภาคใต้ได้




วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548

“สิทธิบัตรนี้….เราคิดเอง…..คนไทยทำเอง…..เป็นของคนไทย…..มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัว…..ทำฝนนี้ทำสำหรับชาวบ้าน…..สำหรับประชาชน…..ไม่ใช่ทำสำหรับพระเจ้าอยู่หัว"


 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 23:34:17





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 22:58  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31442

คำตอบที่ 38
       มิใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด

ขั้นตอนการทำ



 แก้ไขเมื่อ : 12/2/2560 23:11:28





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:04  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31443

คำตอบที่ 39
       ขั้นตอนที่ 1





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:07  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31444

คำตอบที่ 40
       ขั้นตอนที่ 2





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:12  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31445

คำตอบที่ 41
       ขั้นตอนที่ 3





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:14  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31446

คำตอบที่ 42
       ขั้นตอนที่ 4





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:16  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31447

คำตอบที่ 43
       ขั้นตอนที่ 5





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:18  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31448

คำตอบที่ 44
       ขั้นตอนที่ 6





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:20  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31449

คำตอบที่ 45
       เตรียมนางแมว เรียกฝนได้เลย ตกชัวร์

และกบก็ร้องว่า "ฝนตก ฝนตก ฝนตก"





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อาทิตย์, 12/2/2560 เวลา : 23:24  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31450

คำตอบที่ 46
       Weather Modification Technology เทคโนโลยี่การดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศ

ได้มีการจากการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการ สัมฤทธิ์ผลตามขั้นตอนกรรมวิธีและเทคนิคการทำฝนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาตามลำดับ ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติการค้นคว้าทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2512 จนถึงการปฏิบัติการสาธิตแก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2515
และ คิดค้นสรุปได้เป็น

เทคโนโลยีการดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศในแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ (Basic Technology) และบัญญัติคำให้ง่ายต่อความเข้าใจและการสื่อสารเป็น 3 ขั้นตอน คือ

-ก่อกวน
-เลี้ยงอ้วน
-โจมตี

โดยเฉพาะเทคนิคการโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลอย่างแม่นยำ และเพิ่มปริมาณฝนตกให้สูงขึ้น โดยใช้วิธีเทคนิคการโจมตีแบบแซนด์วิช (Sandwich) และ ซุเปอร์แซนวิช (Super Sandwich) และเป็นเทคโนโลยีการดัดแปลงแก้ไข้สภาพภูมิอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว อังคาร, 14/2/2560 เวลา : 06:54  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31465

คำตอบที่ 47
       การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศ (Weather Modification) บรรลุผลในชั้นตอนการวิจัยตามพระราชประสงค์แล้วในปี พ.ศ. 2516 ทรงมีพระราชกระแสว่าการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุดต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าสืบไป ฉะนั้น ต่อจาก พ.ศ. 2516 นอกจะทรงเอาพระทัยใส่ติดตามผลการปฏิบัติการอย่างใกล้ชิดแล้วยังพระราชทานข้อแนะนำทางเทคนิคในการประยุกต์เทคโนโลยีการดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศให้สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ระบบนิเวศน์ ภูมิอากาศ และฤดูกาลที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการ เช่น

-เทคนิคการงัดเมฆให้พ้นจากยอดเขาและชักนำให้ฝนตกลงสู่พื้นที่ราบใต้ลม

-เทคนิคการใช้น้ำแข็งแห้งลดฐานเมฆให้ต่ำลงและชักนำให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายหลังผลอย่างแม่นยำด้วยปริมาณฝนตกสูงขึ้น

-เทคนิคในการชะลอให้กลุ่มเมฆเคลื่อนตัวพ้นพื้นที่เป้าหมายหวังผลช้าลงเพื่อให้ปริมาณฝนตกเพิ่มสูงขึ้น

-เทคนิคการขยายอาณาเขตฝนตกสวนทิศทางลม เทคนิคการจูงหรือย้ายเมฆฝนให้พ้นพื้นที่ที่ไม่ต้องการฝนไปยังพื้นที่ต้องการฝน

-เทคนิคการใช้สารฝนหลวงสูตรสลับ

-เทคนิคชักจูงเมฆภูเขาที่แผ่เป็นพืดปกคลุมหุบเขาของอ่างเก็บน้ำให้เกิดฝนลงสูอ่างเก็บน้ำ

-เทคนิคการแหวกเมฆนำร่องด้วยเครื่องบินปีกตรึงและตามด้วยเครื่องบินปีกหมุน

-เทคนิคการทำลายลูกเห็บโดยเทคโนโลยีดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศ

-เทคนิคการทำลายเมฆหมอกด้วยเทคโนโลยีดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศ

-เทคนิคการดับไฟป่า

-เทคนิคการทำลายหมอกอันเนื่องมาจากไฟป่า

-เทคนิคการยับยั้งความรุนแรงหรือป้องกันไม่ให้เกิดพายุลูกเห็บ

จากพื้นฐานเทคโนโลยี่การดัดแปลงแก้ไขสภาพภูมิอากาศ ที่พัฒนามาทั้งหมด สามารถมาพัฒนาต่อยอดได้

แนวโน้มสภาพแวดล้อมภูมิอากาศโลกไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิม มีแต่จะแย่ลงๆ หรือ หนักขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นแบบนี้กับทุกๆ ประเทศในโลก
ประเทศที่สามารถควบคุมสภาพอากาศได้อย่างสมบูรณ์ อย่างน้อยที่เห็นประโยชน์ชัดเจนคือ ลดความเสียหายขั้นต่ำในระดับหมื่นล้าน จนมากถึงระดับแสนล้าน

และหากประเทศไทยแสดงการแก้ไขดัดแปลงสภาพอากาศ เป็นที่สำเร็จให้โลกเห็น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ ประเทศเราจะเป็นประเทศผู้นำในการดัดแปลงแก้ไขสภาพภูมิอากาศโลกทันที และยังสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจากสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วได้

 แก้ไขเมื่อ : 14/2/2560 14:36:09

 แก้ไขเมื่อ : 15/2/2560 11:28:20





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว 171.97.75.242 อังคาร, 14/2/2560 เวลา : 07:12  IP : 171.97.75.242   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31466

คำตอบที่ 48
       การดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศที่ภาคใต้ จะมีผลดีคือ

-ลดปริมาณน้ำฝนที่ตกบนแผ่นดิน สามารถคุมปริมาณน้ำฝน จะให้ฝนตกมาก ตกน้อย หรือตกแบบปรกติได้

-สลายพลังกระแสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยธรรมชาติ ทำให้คลื่นลมลดลง

-ลดการกัดเซาะชายฝั่งในเขตที่มีการกัดเซาะรุนแรง เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช

-ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมาก ในการสร้างสิ่งก่อสร้างจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะสิ่งก่อสร้างทั้งหมดไม่สามารถแก้ไข ปัญหาฝน 1000 ปีได้ ท่วมอยู่ดี

-สิทธิบัตร Weather Modification Technology จะเป็นสิ่งที่ขายได้ มีราคาแพง เพราะลดความเสียหายได้ ขั้นต่ำระดับหมื่นล้าน

-ทำให้กองทัพกลับมาเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยี่ ได้เอาเรือรบ เครื่องบินรบ มาใช้ประโยชน์จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจ ลดความสูญเสีย

-กรมอุตุนิยมวิทยา ต้องจัดทำรายงานอากาศวันละ 2 ครั้ง เพราะถ้าจัดทำวันละ 1 ครั้งข้อมูลจะไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง เพราะหลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประเมินว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก นักดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศจะเริ่มทำงาน

คำพยากรณ์เช้า

" ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นซัดแรงบริเวรชายฝั่ง และในพื้นที่เสี่ยงภัยขอให้เฝ้าระวังดินโคลนถล่ม และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างยังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 3-4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในระยะไว้ด้วย"

คำพยากรณ์บ่าย

"ได้มีการแก้ไขสภาพอากาศจาก นักดัดแปลงแก้ไขสภาพอากาศ ประกาศ จะมีฝนตกหนักในอ่าวไทย โดยมีคลื่นลม 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระวังลมกรรโชกในบริเวณที่มีฝนตก ชายฝั่งมีคลื่นเล็กน้อย เรือเล็กสามารถออกจากฝั่งปลอดภัยได้ไม่เกิน 20 ไมล์ทะเล ชายฝั่งนครศรีธรรมราช มีลมแรงมีคลื่นเล็กน้อย"

-การบินเกษตร จะเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์เฝ้าระวังและแก้ไขภัยพิบัติแห่งชาติ"



สักพักก็ได้ยินเสียง
"น้าตุ้มๆ ตื่นได้แล้ว" น้าเอี้ยงเรียกให้ตื่น "เดี๋ยวกลับบ้านมึด ต้องเดินทางอีกไกล"

ผมนี่ฝันเป็นตุเป็นตะ เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต แอบหลับริมทะเลไปงีบเดียวเอง

จบแล้วครับ ทริปหลังสวนของผม



 แก้ไขเมื่อ : 14/2/2560 8:03:52

 แก้ไขเมื่อ : 14/2/2560 9:34:35

 แก้ไขเมื่อ : 14/2/2560 17:57:52



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tum siwkae จาก ตุ้ม สี่แคว 171.97.75.242 อังคาร, 14/2/2560 เวลา : 07:54  IP : 171.97.75.242   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31467

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,21 พฤศจิกายน 2567 (Online 3477 คน)