WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เรือดันสวะ
rajapakdi
จาก ราชภักดี
IP:171.4.200.236

อาทิตย์ที่ , 11/3/2555
เวลา : 05:50

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       น้าๆครับ ใครมีความรู้เรื่องเรือดันสวะ หรือเครื่องเรือหางกุด(ตามแนวพระราชดำริ)บ้างครับ
กำลังจะต้องหาเรือดันสวะ 20 ฟุต เครื่อง23 แรงม้าอยู่ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ได้มาแค่นี้ครับน้าราช

"เรือหางกุด" นวัตกรรมตามแนวพระราชดำริ
แล่นด้วยแรงดันน้ำ หมดปัญหาสวะติดใบพัด

เรือหางยาว เป็นพาหนะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองไทย แต่ข้อจำกัดของเรือหางยาวที่ต้องอาศัยเพลาถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังใบพัดเรือ ทำให้สูญเสียกำลังบางส่วน และขับเคลื่อนไม่คล่องตัว ต้องออกแรงในการบังคับเลี้ยวมาก ไม่ปลอดภัย และปัญหาการพันติดของกอสวะที่ใบพัดที่ติดอยู่ที่หาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริและพระราชอุปถัมภ์การวิจัยคิดค้น เครื่องเรือหางกุด

นายจารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ วิศวกรการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาต้นแบบเครื่องเรือหางกุด ตามแนวพระราชดำริ กล่าวถึงโครงการว่า ได้สร้างต้นแบบเครื่องเรือหางกุดขึ้นจากความทรงจำเบื้องต้นของนายสวงศ์ พวงมาลี ซึ่งเป็นผู้สร้างเครื่องยนต์ หางกุด ภายใต้การออกแบบและควบคุมของ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวิศวกรรม กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสบผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2509 ทว่าเนื่องจากทางกองวิศวกรรมมีภารกิจอื่นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือทำฝนเทียม ทำให้การพัฒนาเครื่องยนต์ หางกุด นี้ยุติลง มิได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ในเดือน เมษายน 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินการรื้อฟื้นการพัฒนาเครื่องยนต์หางกุดอีกครั้ง ทางมูลนิธิจึงได้ติดต่อประสานงานให้สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมดำเนินการสร้างต้นแบบดั้งเดิมขึ้นมา

เครื่องยนต์เรือหางกุดนี้ นายจารุวัฒน์ กล่าวว่า เป็นเครื่องยนต์ที่แก้ปัญหาเครื่องยนต์เรือหางยาว โดยการตัดหางยาวทิ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ เครื่องยนต์ หางกุด และเครื่องยนต์จะส่งกำลังไปหมุนใบพัดโดยตรง ไม่ต้องผ่านเพลา ทำให้ในทางทฤษฎีจะไม่มีการสูญเสียกำลังของเครื่องยนต์ไป อีกทั้งในการขับเคลื่อนจะปลอดภัยกว่าเรือหางยาว สามารถขับไปในที่ที่ตื้นเขินและมีเศษสวะได้ดี สามารถเลี้ยวโค้งได้ในวงแคบและกลับลำได้โดยหมุนเรือรอบตัวเอง และยังสามารถถอยหลังหรือหยุดเรือได้โดยกะทันหันโดยการเปลี่ยนทิศทางของน้ำ จึงสามารถใช้ขับเคลื่อนในคลองคดเคี้ยวได้สะดวกและคล่องแคล่วมากกว่าเรือหางยาวในปัจจุบัน

ตัวแบบของเครื่องยนต์ วิศวกรการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เล่าว่า เครื่องยนต์ทั่วไปเพลาจะอยู่ในแนวราบ สำหรับเครื่องยนต์หางกุดเพลาต้องอยู่ในแนวดิ่ง เครื่องเรือนี้ออกแบบโดยอาศัยหลักการขับดันของน้ำ โดยดูดน้ำจากด้านล่างขึ้นมาตรงๆ และขับดันน้ำออกสูงกว่าระดับท้องเรือ ต่างจากเครื่องของเรือหางยาวที่ไม่ได้สูบน้ำขึ้นมา แต่จะขับเคลื่อนเรือโดยอาศัยใบพัดขับน้ำออกไป ทำให้เครื่องยนต์ของเรือหางกุดสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้สำหรับบำบัดน้ำเสีย หรือใช้สำหรับสูบน้ำได้อีกด้วย

ขณะนี้เครื่องยนต์หางกุดดัดแปลงใช้ได้เฉพาะกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ขนาด 4 แรงม้าและ 6 แรงม้า แต่ปัจจุบันหาซื้อเครื่องสองจังหวะได้ยาก เพราะรถจักรยานยนต์หรือในเรือจะเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะเสียเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะต้องเติมน้ำมันเบนซินและน้ำมันหล่อลื่นแบบผสมรวมกัน ทำให้มีการเผาไหม้น้ำมันหล่อลื่นไปด้วย ผลที่ได้คือจะมีควันดำและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในงานวิจัยขั้นต่อไปคือการนำเครื่องยนต์ 4 จังหวะมาปรับใช้ ซึ่งต้องขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อนดำเนินการต่อไป นายจารุวัฒน์ กล่าว

ในด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ นายจารุวัฒน์ เล่าว่า เมื่อใช้ในการขับเคลื่อนเรือไฟเบอร์กลาสท้ายตัดขนาดความยาว 8 และ 10.5 ฟุต สำหรับเครื่องยนต์ 4 แรงม้าและ 6 แรงม้าตามลำดับ จะได้ความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 6 และ 7.5 กิโลเมตรตามลำดับ ซึ่งหากมองในแง่ของการใช้งานด้านเกษตรกรรมจะมีความเหมาะสม คือ อาจนำไปใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อการเกษตร หรือนำไปใช้สูบน้ำเพื่อการเกษตรก็ได้

สำหรับเครื่องเรือหางกุดนี้ สามารถนำมาใช้ได้กับเรือเกือบทุกชนิด หากมิใช่เรือที่เป็นแบบท้ายตัดก็สามารถดัดแปลงติดเครื่องยนต์ที่ด้านข้างของเรือได้ และเพื่อให้มีศักยภาพดีขึ้น ทางสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมเปิดเผยว่าจะมีการศึกษาเรื่องการเติมอากาศขณะขับเคลื่อนเรือเพื่อเป็นการบำบัดน้ำเสีย แต่ต้องขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อนดำเนินการต่อไป

เขียนบทความเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

ที่มา http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/archives/Feb_04/News/17020401.html



++++++++++++++++++++

คลิปวิดิโอ เรื่องเกี่ยวกับ เรือหางกุด จากรายการ

กบนอกกะลา ตอน ตามรอยเท้าพ่อ เรื่อง ยุ้งฉางจากการใช้หญ้าแฝก + เรือหางกุด

http://www.tvburabha.com/tvb/playoldprogram/programold_playflv.asp?flv_id=154&flv_program_id=2

ออกอากาศเมื่อวันที่ 11/12/52

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

+++++++++++++++++++++++


ที่มา

http://www.oknation.net/blog/songkhlafc88/2010/03/14/entry-1



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

โต๊ะคร๊าบ จาก โต๊ะคร๊าบ 125.24.228.37 อาทิตย์, 11/3/2555 เวลา : 14:04  IP : 125.24.228.37   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 15603

คำตอบที่ 2
       ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน..



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก "ไกรทอง"ครับผม 101.109.237.181 จันทร์, 12/3/2555 เวลา : 07:57  IP : 101.109.237.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 15613

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,22 พฤศจิกายน 2567 (Online 4655 คน)