จาก tct 212 บรรจง IP:161.200.255.162
เสาร์ที่ , 13/10/2550
เวลา : 22:31
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
บทสรุปของ Gasohol จากสถาบันและบริษัทน้ำมัน
แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล * หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้มาเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิลพิเศษไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95
แก๊สโซฮอล์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนประองค์สวนจิตรลดาได้ศึกษากระบวนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย และนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซิน ผลิตเป็นน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยโครงการส่วนพระองค์ได้เริ่มผลผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
แก๊สโซฮอล์ กับประโยชน์ที่จะได้รับ
นอกจากราคาแก๊สโซฮอล์จะถูกกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดา ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำมันและเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมันไปได้มากแล้ว แก๊สโซฮอล์ยังช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสียและมลพิษในอากาศ เพราะสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนมอนนอกไซด์ลงได้ถึง 30% ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แก๊สโซฮอล์สามารถเติมได้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นตามที่ผู้ผลิตแนะนำโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์ และสามารถเติมผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในถังได้เลยไม่ต้องรอให้น้ำมันหมดถังก่อน และหากไม่มีจุดเติมแก๊สโซฮอล์ก็สามารถเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินทั่วไปได้ทันทีเช่นกัน เพราะแม้ว่าสารเติมแต่งค่าออกเทนที่กำหนดให้มีในการเติมน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 โดยทั่วไปนั้น จะเติม MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) แต่สำหรับแก๊สโซฮอล์ที่จะใช้ Ethyl Alcohol 99.5% ทดแทนในปริมาณ 10% แต่คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์ยังคงเหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ การผลิตแก๊สโซฮอล์ยังถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ได้ทั้งหมด ช่วยลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาท
เอทานอล คือ แอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชหรือผลิตผลทางการเกษตร สามารถใชเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงเพื่อทดแทนน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล เมื่อผสมกับน้ำมันเบนซินเป็น แก๊สโซฮอล์ ผสมน้ำมัน ดีเซลเป็น ดีโอฮอล์ ใช้แก๊สโซฮอล์เพื่อชาติ เป็นพลังงานทดแทน ผลิตจากพืชเกษตรในประเทศ ใช้แทนสารเพิ่มออกเทนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประหยัดเงินตราต่างประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาท ต่อปี ประหยัดการใช้น้ำมันที่มีอยู่จำกัด โดยการนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดการใช้น้ำมันของประเทศลงได้ประมาณ 10% หรือเดือนละ 25 ล้านลิตร เกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการผลิตเอทานอลที่ได้จากพืชเกษตร ลดมลพิษทางอากาศ โดยลดไฮโดรคาร์บอน และคาร์บอนมอนนอกไซด์ ลงได้ 20-25 % ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ก่อให้เกิดสภาวะ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (GREEN HOUSE EFFECT) รวมทั้งลดควันดำ ลดสารอะโรเมติกส์ และลดสารเบนซีน ช่วยกระจายการลงทุน การจ้างงานสู่ชนบทใช้แก๊สโซฮอล์เพื่อคุณได้ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในราคาที่ประหยัดลง 1.50 บาทต่อลิตร ช่วยให้เครื่องยนต์เผาไหม้สะอาด สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนร่วมชาติให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น ได้ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลถึงชีวิตตนเอง ลูกหลาน และเพื่อนร่วมชาติ
ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเติมแก๊สโซฮอล์ 95
เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน
1. คุณสมบัติของแอลกอฮอล์ คือระเหยเร็ว ทำให้เกิดหยดน้ำในถัง อาจทำให้ถังน้ำมันเกิดสนิมและผุเร็วกว่าที่ควรจะเป็น อาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ควรเติมแก๊สโซฮอล์ 95 สลับกับเบนซิน 95 เนื่องจากในแก๊สโซฮอล์ไม่มีสารหล่อลื่นบ่าวาวล์เหมือนในเบนซิน 95 จึงทำให้เกิดการสึกหรอที่บ่าวาวล์มากขึ้น
3. จากการใช้งานจริงอัตราการเร่งลดลงในช่วง 0 100 กม./ชม. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเบนซิน 95 จึงเป็นเหตุให้ต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เกิดการสึกหรอเร็วขึ้น
4. การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทยางที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
|