WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ดีแมคหายครับรบกวนช่วยด้วยเผื่อเพื่อนสมาชิกพบ

จาก ยุทธห้วยขวาง 588
IP:125.25.148.76

อังคารที่ , 23/6/2552
เวลา : 11:57

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       อีซูสุดีแมค ทะเบียน ศล3359 สีดำ หายตั้งแต่คืนวันที่ 22 มิย. 52
แม็คเบดเล่ขอบ 16 สีขาว + ยางBF บนหลังคาใส่ถาด ช่วงล่างใส่ชุดยกปีกนก AUTO 4 W.
เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ สมาชิกพบ ( หรืออาจแยกเอาอะไหล่มาขาย ) รบกวนด้วยนะครับ
น้องผมยังผ่อนไม่หมดเลย
ติดต่อผมได้ที่เบอร์นี้ครับ ยุทธ 089-1108158
ขอบคุณพื้นที่ของชาว TOOPER ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เสียใจด้วยครับถ้าเจอแล้วจะโทรบอกหายที่ไหนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

worawit_kk จาก worawittct206 58.136.34.8 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 13:39  IP : 58.136.34.8   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211124

คำตอบที่ 2
       ทรูเปอร์เคยตามได้ ดีแม็คก็ขอให้ตามได้เช่นกันครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 227 117.47.62.229 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 15:33  IP : 117.47.62.229   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211131

คำตอบที่ 3
       แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมครับ
หายจากซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 11 ห้วยขวางครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ยุทธห้วยขวาง 588 125.25.148.76 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 17:37  IP : 125.25.148.76   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211135

คำตอบที่ 4
       มีตำหนิที่สังเกตชัดไหมครับ

หรือภาพ ชัดๆกว่านี้ครับ

จะคอยสังเกตให้ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก สุดสยาม 117.47.122.19 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 21:33  IP : 117.47.122.19   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211139

คำตอบที่ 5
       ต้องขอโทษจริงๆ ครับน้องผมไม่ค่อยได้ถ่ายไว้ แต่จุดสังเกตอีกจุดคือ ท้ายรถด้านซ้ายและขวามีสติกเกอร์
AUTO 4 W. ติดอยู่ครับ ขอบคุณในน้ำใจอีกครั้งครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ยุทธห้วยขวาง 588 125.25.148.76 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 22:40  IP : 125.25.148.76   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211147

คำตอบที่ 6
       ขอให้ตามหาเจอเร็วๆครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก LAMP 58.9.139.177 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 22:51  IP : 58.9.139.177   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211148

คำตอบที่ 7
       ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยๆกันตามดูหน่อย

เสียใจด้วยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ตี๋ กทม. TCT.031 125.25.13.62 อังคาร, 23/6/2552 เวลา : 23:41  IP : 125.25.13.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211149

คำตอบที่ 8
       แจ้งข้อมูลและเบาะแสได้ที่ งานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ http://www.lostcar.police.go.th/officeract.php



การแจ้งข่าว (การแจ้งเหตุ)

เมื่อเจ้าของรถทราบว่ารถถูกโจรกรรมจะรีบแจ้งเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ท้องที่ นั้นทราบ การแจ้งเหตุของเจ้าของรถมีหลายรูปแบบ เช่น
การแจ้งเหตุโดยใช้โทรศัพท์
นับว่าเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว แต่ในขณะ เดียวกันก็อาจเป็นการแจ้งเหตุเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนได้เช่นกัน ดังนั้นการรับแจ้งทางโทรศัพท์ จึงควรมีการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งว่า ถูกต้อง เป็นความจริงหรือไม่ และการตรวจสอบควรจะมีความรวดเร็วและใช้เวลาน้อยที่สุด
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศูนย์วิทยุได้รับแจ้งเหตุ ให้สอบถาม และบันทึกข้อมูลดังนี้
ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้แจ้ง
ประเภทรถ ยี่ห้อ รุ่น สี หมายเลขทะเบียน เครื่องตกแต่ง และจุดที่สังเกตเห็นได้ง่าย (กรณี เลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ หากไม่สะดวกให้ตรวจสอบ ภายหลัง
เหตุเกิดที่ใด เวลาใด
พฤติการณ์ของเหตุโดยย่อ และเส้นทางหลบหนี(ถ้าทราบ)
หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับไปได้
ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจที่รับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ หรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุรีบเดินทางไปพบผู้แจ้งโดยเร็ว เมื่อพบผู้แจ้งแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจดังกล่าว ทำการตรวจสอบข้อมูล เบื้องต้น หากข้อมูลถูกต้อง เป็นความจริงก็แจ้งยืนยันให้ศูนย์วิทยุทราบ

เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่
เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะสอบถามและบันทึกข้อมูลตามข้อ 1.1 หากไม่มีข้อสงสัย อื่นใด จึงแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับรถที่ถูกโจรกรรมให้ศูนย์วิทยุทราบ และแนะนำให้เจ้าของรถ รีบไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจเพื่อแจ้งความร้องทุกข์ต่อไป
เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจ
ให้พนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งเหตุ รวบรวมและแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับรถที่ถูก โจรกรรมให้ศูนย์วิทยุทราบ เมื่อศูนย์วิทยุได้รับแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับรถที่ถูก โจรกรรม ซึ่งได้มีการตรวจสอบจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ให้รีบกระจายข่าวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงทราบ เพื่อออกสืบสวนค้นหาตามสถานที่ที่คนร้ายอาจนำรถไปหลบซ่อนไว้ เช่น อู่ซ่อม-ดัดแปลงรถ ลานจอดรถ ปั้มน้ำมัน และสกัดกั้นตรวจสังเกตตามเส้นทางที่คาดว่าคนร้ายจะใช้เป็นเส้นทาง หลบหนี

การรายงาน
เมื่อ สน. หรือ สภ. ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถที่ถูกโจรกรรมแล้วให้รายงาน ไปยัง
ศปร.บก.น. หรือ ศปร.ภ.จว.
ศปร.บช.น. หรือ ศปร.ภ.
และ ศปร.ตร.
การตรวจสอบ
การตรวจสอบประกอบด้วย
1. การตรวจสอบเอกสาร
2. การตรวจสอบตัวรถ
3. การตรวจสอบประวัติ
1. การตรวจสอบเอกสาร เอกสารในที่นี้ หมายถึงเอกสารประจำรถที่ปรากฏหรือติดแสดงที่ตัวรถ ได้แก่ เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี(ป้ายวงกลม), แผ่นป้ายทะเบียน, สำเนาใบคู่มือจด ทะเบียน, เครื่องหมายประกันภัย, เลขตัวรถ, เลขเครื่องยนต์ และ รหัสลับประจำตัวรถ การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการตรวจสังเกตเปรียบเทียบหาข้อแตกต่าง ระหว่างเอกสารประจำรถที่ตรวจ กับเอกสารของทางราชการหรือบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้จัดทำขึ้น เพราะโดยปกติเอกสารที่ทางราชการหรือบริษัทผู้ผลิตจัดทำขึ้นนั้น จะมีลักษณะ เหมือนหรือคล้ายกัน และมีมาตราฐานเป็นแบบเดียวกัน กรณีที่มีการใช้เอกสารปลอม จึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากของทางราชการหรือบริษัทผู้ผลิตจัดทำขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสามารถใช้เป็นข้อสังเกต เพื่อหาข้อสงสัย เมื่อได้ข้อสงสัยแล้ว จะได้ทำการตรวจสอบโดยละเอียดเป็นลำดับต่อไป .-5-ท. ใช้สำหรับรถที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ส่วนแบบพิมพ์ ขส.บ.10 ท.-5 ใช้สำหรับรถที่จดทะเบียนตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นต้น ซึ่งกรมการขนส่งทาอกสารที่มีข้อสงสัยไปทำการตรวจพิสูจน์ จนได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน แน่นอน แล กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเป็นผู้มีประสบการณ์และมีความรู้ความชำนาญใน การตรวจเอกสารประจำรถเป็นอย่างดี สามารถตรวจคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าเอกสาร ที่ตรวจนั้น เป็นเอกสารที่มิใช่ของทางราชการจัดทำขึ้น และเชื่อว่าเป็นการกระทำผิด กฎหมาย ก็สามารถทำการตรวจยึดและจับกุมผู้ครอบครองรถได้ แต่ทั้งนี้ก่อนทำการตรวจยึด หรือ จับกุม ควรตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารอย่างอื่นประกอบการพิจารณาและ กระทำด้วยความ ระ มัดระวัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการตรวจสอบเอกสาร เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า เอกสารนั้น เป็นของทางราชการได้จัดทำขึ้นหรือไม่ ออกให้กับรถคันใด มีใครเป็น เจ้าของหรือ ผู้ครอบครอง เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ได้พยานหลักฐาน ที่จะใช้ในการดำเนินคดี กับผู้กระทำผิดหรือใช้ดำเนินการกับรถของกลางตามหน้าที่ราชการต่อไป การตรวจสอบเอกสารประกอบด้วยการตรวจสอบ
1. เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี (ป้ายวงกลม)
2. แผ่นป้ายทะเบียนรถ
3.สำเนาใบคู่มือจดทะเบียน
4. เครื่องหมายประกันภัย
5. เลขตัวรถ
6. เลขเครื่องยนต์
7. รหัสลับประจำตัวรถ
1.1 เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี (ป้ายวงกลม)
กรมการขนส่งทางบกได้จัดพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี (ป้าย วงกลม) และกำหนดสีที่ใช้พิมพ์กรอบของป้ายวงกลมไว้ 3 สี คือ สีเขียว สีแดง และสีน้ำเงิน (กรณีสีม่วงงดใช้ชั่วคราว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540) ใช้สำหรับรถ 3 ประเภทคือ
ก. รถยนต์ส่วนบุคคล หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และ รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
ข. รถยนต์สาธารณะ หมายถึง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด, รถยนต์ รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน, รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง, รถยนต์รับจ้างสามล้อ, รถยนต์บริการให้เช่า, รถยนต์บริการธุรกิจ และ รถยนต์บริการทัศนาจร
ค. รถจักรยานยนต์
และในแต่ละปี สีของป้ายวงกลมจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนใช้กับรถทั้งสามประเภท การตรวจสอบป้ายวงกลมมีแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.1.1 ตรวจว่าเป็นแผ่นป้ายวงกลมที่ทางกรมการขนส่งทางบก จัดพิมพ์ขึ้นหรือไม่
1.1.1.1 สีของแผ่นป้ายวงกลมที่กรมการขนส่งทางบกจัดพิมพ์ขึ้นจะมีสีที่ แตกต่างจากสีของแผ่นป้ายวงกลมที่คนร้ายจัดพิมพ์ขึ้นมา เพราะคุณสมบัติและคุณภาพ ของสีที่ใช้พิมพ์แตกต่างกัน
1.1.1.2 ตรวจรอยตำหนิที่ทางราชการจัดทำขึ้น เช่น แผ่นป้ายวงกลมของ รถยนต์ส่วนบุคคลจะมีรูปรถยนต์รูปเล็กๆสีดำที่กึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวา รถที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพฯจะมีตัวอักษรสีดำ "กทม." ถ้าเป็นรถที่จดทะเบียนต่างจังหวัด จะมีตัวอักษรสีดำ "ขส.บ." ที่บริเวณเลข พ.ศ.เป็นต้น ในแต่ละปีรอยตำหนิเหล่านี้ จะมีลักษณะและตำแหน่งเปลี่ยนไป
1.1.1.3 การปลอมโดยใช้เครื่องถ่ายเอกสารสี จะได้ป้ายวงกลมที่มีสีสรร ขนาด และรอยตำหนิเหมือนกับป้ายวงกลมของทางราชการ แต่มีข้อแตกต่างกันที่เส้น และตัวอักษร ที่พิมพ์ด้วยสีดำ ถ้าเป็นป้ายวงกลมของทางราชการ จะมีลายเส้นลึกเป็นร่อง สังเกตด้านหลัง จะเป็นสันนูนขึ้นมา ส่วนป้ายวงกลมปลอมจะราบเรียบ
1.1.1.4 เลขที่ประจำแผ่นป้ายวงกลมที่ทางราชการจัดทำขึ้นในปีเดียวกัน สี เดียวกัน เลขที่จะไม่ซ้ำกัน พิมพ์ด้วยสีดำ เส้นลึกเป็นร่องเท่ากัน ด้านหลังจะเป็นสันนูนขึ้น ถ้าเป็นตัวเลขที่คนร้ายทำขึ้น เป็นตัวเลขที่เกิดจากการตอกกระแทก ด้วยแท่นพิมพ์ยาง เส้นตัวเลขจึงไม่ลึกเป็นร่อง บางครั้งคนร้ายจะพิมพ์ตัวเลขลงบนแผ่นป้ายวงกลม แต่เลขที่ ที่คนร้ายจัดพิมพ์ขึ้นจะซ้ำกัน
1.1.1.5 นำแผ่นป้ายวงกลมของทางราชการไปตรวจเปรียบเทียบกับแผ่นป้าย วงกลมต้องสงสัย สังเกตความแตกต่างของตัวอักษร ตัวเลข ขนาด และช่องไฟ
1.1.1.6 สังเกตเกล็ดสีของกรอบป้ายวงกลมที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ในส่วน ของป้าย วงกลมที่เป็นกระดาษสีขาว เช่น ป้ายวงกลมนั้นมีกรอบเป็นสีเขียว ก็จะปรากฏเกล็ดสีเขียว ปรากฏอยู่ทั่วไปในช่องว่างที่เป็นกระดาษสีขาว เป็นต้น เกล็ดสีที่ปรากฏนี้ เกิดจากเทคนิคของ การพิมพ์ จะมีปรากฏให้เห็นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพของป้ายวงกลมนั้น ส่วนป้ายวงกลมปลอม จะไม่ปรากฏเกล็ดสีดังกล่าวมา แล้ว
1.1.2 เมื่อตรวจแล้วพบว่า แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นของทางราชการ ที่จัดพิมพ์ขึ้น ให้ตรวจว่ารายละเอียดในแผ่นป้ายวงกลมมีความถูกต้องชัดเจนหรือมีร่องรอย การแก้ไข หรือไม่
1.1.2.1 ลายมือชื่อของนายทะเบียนจังหวัด ต้องเป็นลายมือชื่อจริง
1.1.2.2 ตรวจว่าสีของแผ่นป้ายวงกลม ถูกต้องตามประเภทของรถที่ใช้ในปี พ.ศ. นั้นหรือไม่
1.1.2.3 ตรวจว่าป้ายวงกลมใช้แบบพิมพ์ถูกต้องตามจังหวัดที่ออกให้หรือไม่ เช่น แบบพิมพ์ ขส.บ.10 ท.-5-ท. ใช้สำหรับรถที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ส่วนแบบพิมพ์ ขส.บ.10 ท.-5 ใช้สำหรับรถที่จดทะเบียนตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นต้น ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้จัดพิมพ์ แบบพิมพ์กำกับไว้ที่ด้านหลังบรรทัดสุดท้าย
1.1.2.4 ตรวจว่ามีร่องรอยการแก้ไขหรือไม่ หากมีการแก้ไขจะต้อง มีลายมือชื่อของนายทะเบียนลงนามกำกับข้อความที่แก้ไขนั้น
1.1.2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ใช้เครื่องคอม-พิวเตอร์พิมพ์ หรือใช้ปากกาน้ำหมึกสีดำ (หมึกอินเดีย) บันทึกข้อความ ลงในป้ายวงกลม กรณีเป็นการเขียนด้วยปากกาจะมีผู้เขียน 2 คน คือ เจ้าหน้าที่ผู้บันทึก รายการลงในช่องเลขทะเบียนช่องวันสิ้นอายุ กับนายทะเบียน ซึ่งลงลายมือชื่อ ในส่วนล่างของป้ายวงกลม ดังนั้น สี ขนาด ความเข้มของเส้น ควรจะแตกต่างกัน
1.1.3 เมื่อตรวจแล้ว ปรากฏว่าเป็นแผ่นป้ายวงกลมของทางราชการ มีข้อความ ถูกต้องครบถ้วน และไม่มีร่องรอยการแก้ไข ให้ตรวจว่าแผ่นป้ายวงกลมดังกล่าว นายทะเบียนได้ออกให้กับรถ คันที่ติดแผ่นป้ายวงกลมนั้นหรือไม่ โดยนำข้อความในแผ่น ป้ายวงกลม เช่น หมายเลขทะเบียน นายทะเบีนยจังหวัด ไปตรวจหาความสัมพันธ์กับ แผ่นป้ายทะเบียนรถ, สำเนาใบคู่มือจดทะเบียน และเครื่องหมายประกันภัย
1.2 แผ่นป้ายทะเบียนรถ
1.2.1 ตรวจว่าเป็นแผ่นป้ายของทางราชการ โดยสังเกตจาก
1.2.1.1 ขนาดของแผ่นป้าย
1.2.1.2 แผ่นเนื้อโลหะ (อลูมิเนียม)
1.2.1.3 คุณภาพของสีและการสะท้อนแสงของสี
1.2.1.4 ลักษณะขนาดของตัวอักษรและตัวเลข
1.2.1.5 สัญญลักษณ์พรายน้ำรูปวงกลม ดวงตราประจำกรมการขนส่งทางบก เรียงเว้นระยะในแนวนอนปรากฏตามที่ว่างบนแผ่น จะสังเกตเห็นเมื่อมองทำมุมเอียงกับ แผ่นป้าย
1.2.1.6 ตัวอักษร "ขส" ในวงกลมเป็นรอยสันนูนปรากฏที่มุมล่างด้านซ้าย ของแผ่นป้าย
1.2.2 ตรวจว่ามีร่องรอยการแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใด หรือมีการตัดต่อแผ่นป้ายหรือไม่
1.2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์กับแผ่นป้ายวงกลม และใบคู่มือจดทะเบียนว่า ถูกต้องตรงกัน หรือไม่
1.2.4 ตรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ เจ้าของรถ เลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ มีหลักฐานการแจ้งหายไว้ที่ใดหรือไม่ โดยติดต่อไปที่ ศูนย์เฉลิมโลก (ศขส.) ศูนย์ทิวา (ทว.) หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
1.3 สำเนาใบคู่มือจดทะเบียน
1.3.1 ตรวจว่าสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนนั้นปลอมหรือไม่
1.3.1.1 สังเกตความเข้ม ขนาดของเส้นตามข้อความในรายการจดทะเบียน เจ้าของรถ ลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ และลายมือชื่อนายทะเบียน ควรจะแตกต่างกัน เพราะเกิดจากผู้เขียนเป็นคนละคนกันและใช้ปากกาไม่เหมือนกัน
1.3.1.2 สำเนาใบคู่มือฯ อาจมีการแก้ไขเลขทะเบียน เลขตัวรถ และเลข เครื่องยนต์ แล้วถ่ายเอกสารสำเนาซ้ำ ให้ตรวจสังเกตขนาดและลายเส้นของตัว อักษร ตัวเลข ตรวจเปรียบเทียบกับตัวอักษรตัวเลขอื่น ที่ปรากฏอยู่ในสำเนาฉบับนั้น
1.3.1.3 สังเกตที่กึ่งกลางด้านขวา (ของผู้ตรวจ) ระหว่างส่วนของรายการ จดทะเบียนกับส่วนของเจ้าของรถ จะปรากฏตัวเลขอารบิก 7 หลัก และจะมีเฉพาะส่วนบน ของตัวเลข เท่านั้น
1.3.1.4 สังเกตความเข้มขนาดของเส้น ตามข้อความในรายการเสียภาษี ลายมือชื่อของ เจ้าหน้าที่ผู้บันทึก เปรียบเทียบกับลายมือชื่อนายทะเบียน ควรจะแตกต่างกัน
1.3.1.5 การตรวจสำเนาใบคู่มือฯ ซึ่งถ่ายเอกสารย่ออัตราส่วน มีขนาดเล็กกว่า ต้นฉบับจริง ถือเป็นปัญหาทำให้การตรวจเปรียบเทียบตัวอักษร ตัวเลขที่ปรากฏในสำเนา ใบคู่มือฯ ทำได้ยากหรือไม่สามารถกระทำได้ จึงควรตรวจข้อมูลสำคัญ เช่น เลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เลขทะบียนเปรียบเทียบความถูกต้องกับป้ายวงกลม แผ่นป้ายทะเบียน และตัวรถ
1.3.1.6 หากมีการแก้ไขข้อความ จะต้องมีลายมือชื่อของนายทะเบียนลงนาม กำกับไว้
1.3.2 นำข้อมูลสำคัญที่ปรากฏในสำเนาใบคู่มือฯ เช่น เลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เลขทะเบียน ไปตรวจสัมพันธ์กับเครื่องหมายประกันภัย ป้ายวงกลม แผ่นป้ายทะเบียน ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่
3.3.3 สอบถามข้อมูลประวัติของรถจากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ นำมาตรวจสอบ กับข้อมูลที่ปรากฏ ในสำเนาใบคู่มือฯ ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ มีข้อพิรุธใดหรือไม่
1.4 เครื่องหมายประกันภัย
หมายถึง เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยจากรถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เครื่องหมายประกันภัยเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ มีอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการประกันภัยมอบหมายเป็นนายทะเบียน ส่งมอบเครื่องหมายให้กับบริษัทประกันภัย เมื่อบริษัทขายกรมธรรม์ประกันภัยให้เจ้าของรถ พนักงานหรือตัวแทนของบริษัทก็จะบันทึกข้อความลงในเครื่องหมายประกันภัย และมอบ เครื่องหมายประกันภัย พร้อมกรมธรรม์ฯ ให้เจ้าของรถ เพื่อนำไปติดแสดงที่รถ
1.4.1 ลักษณะของเครื่องหมายฯ
1.4.1.1. เป็นแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม ปรากฏข้อความที่สำคัญ คือ
ก. เลขที่กรมธรรม์ที่บริษัทประกันภัยออกให้
ข. ชื่อบริษัทผู้รับประกัน
ค. เลขทะเบียน ชื่อรถ เลขตัวรถที่ทำประกัน
ง. วันสิ้นสุดอายุการทำประกันภัย
จ. เลขที่ประจำเครื่องหมาย
ฉ. ลายมือชื่อนายทะเบียน
1.4.1.2 สีของเครื่องหมาย (กรอบและรูปดวงตราประจำกรมการประกันภัย) จะเปลี่ยนไปทุกปี โดยกรมการประกันภัยเป็นผู้กำหนด
1.4.1.3. ลายมือชื่อนายทะเบียน ตัวอักษรและตัวเลขพิมพ์ด้วยสีดำ
1.4.2 การตรวจสอบเครื่องหมายฯ
1.4.2.1. ตรวจว่าเป็นเครื่องหมายฯ ที่ทางราชการ กรมการประ กันภัย จัดพิมพ์ขึ้นหรือไม่
ก. สังเกตเลขที่ประจำเครื่องหมายฯ จะเป็นเลข 7 หลัก พิมพ์ด้วยสีดำ ลายเส้นลึกเป็นร่อง ด้านหลังเป็นสันนูนขึ้นมา
ข. สังเกตด้านขวาของเครื่องหมายฯ ขอบเครื่องหมายจะไม่เรียบ เนื่องจากถูกฉีกตามรอยปรุจากต้นขั้ว
ค. สังเกตสีของเครื่องหมายฯ ว่าถูกต้องตรงกับสีที่กรมการประกันภัย กำหนดให้ใช้ในปีนั้นหรือไม่
1.4.2.2 มีร่องรอยการแก้ไขหรือเขียนทับข้อความหรือไม่
1.4.2.3 เครื่องหมายประกันภัยที่ตรวจนั้น บริษัทผู้รับประกันออกให้กับรถ คันที่ติดแสดงเครื่องหมายหรือไม่
ก. นำข้อความสำคัญที่ปรากฏในเครื่องหมาย คือ เลขทะเบียนรถ ชื่อรถ เลขตัวรถ ตรวจสอบกับแผ่นป้ายวงกลม สำเนาใบคู่มือจดทะเบียน แผ่นป้ายทะเบียนรถ และเลขตัวรถที่ตัวรถ ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่
ข. นำเลขที่กรมธรรม์ เลขที่ประจำเครื่องหมาย ตรวจสอบกับบริษัท ผู้รับ ประกันภัยว่า เป็นผู้ออกเครื่องหมายฯ ให้กับรถคันที่ติดแสดงเครื่องหมายหรือไม่
ในทางปฏิบัติ กรมการประกันภัยยังมิได้ออกกฎระเบียบกำหนดรายละเอียด ใน การปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องหมายประกันภัยให้เป็นแบบอย่างเดียวกัน ทำให้เครื่องหมายไม่มี ความเป็นมาตรฐาน มีข้อบกพร่องหลายประการ ดังนี้
1. ผู้บันทึกข้อความลงในเครื่องหมายฯ คือ พนักงานหรือตัวแทนของบริษัท ประกันภัยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีระบบการควบคุมตรวจสอบและหลักประกันที่ดีพอ สามารถทุจริตบิดเบือนข้อความที่บันทึกลงในเครื่องหมายฯ ได้ง่าย
2. การบันทึกข้อความลงในเครื่องหมายฯ ใช้อุปกรณ์หลายชนิดไม่มีความแน่นอน เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด ปากกาชนิดต่าง ๆ เครื่องปั้มตรายางสีต่าง ๆ
3. คุณภาพของน้ำหมึกที่ใช้พิมพ์หรือเขียนไม่ดีพอ ไม่คงทนต่อแสงแดด ทำให้ข้อความในเครื่องหมายฯ เลือนลางหรือหายไป
4. เมื่อมีการพิมพ์หรือเขียนข้อความผิด ไม่มีกฎระเบียบกำหนดแนวทาง ไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร
5. การบันทึกข้อความลงในเครื่องหมายฯ ของพนักงานหรือตัวแทนของ บริษัท ไม่มีการตรวจสอบหลักฐานข้อความที่จะบันทึกว่าจริงหรือเท็จ เนื่องจากบันทึกโดยการ คัดลอกข้อความจากสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนเพียงอย่างเดียว
6. เมื่อเครื่องหมายฯ สูญหาย เจ้าของรถสามารถติดต่อขอให้สำนักงานคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถของจังหวัดใดก็ได้ ออกเครื่องหมายฯ แทนให้ โดยเจ้าของรถที่มีเจตนา ทุจริตแจ้งเท็จสามารถใช้เพียงสำเนาบันทึกประจำวันการแจ้งความเอกสารหายของเจ้า หน้าที่ ตำรวจเป็นหลักฐานในการติดต่อขอเครื่องหมายฯ แทนจากสำนักงานคุ้มครองฯ ในกรณี นี้กรมการประกันภัยไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายฯ แทนดังกล่าว ออกให้แทนเครื่องหมายฯ ฉบับใด เนื่องจากการติดต่อขอเครื่องหมายฯ แทนนั้น เจ้าของรถมิได้ระบุเลขที่ประจำเครื่องหมายฯ ที่สูญหาย
1.5 เลขตัวรถ เป็นชุดข้อความประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลขอารบิค มีความหมายตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ ดังนี้
ก. เป็นรถยี่ห้อ รุ่นใด
ข. ผลิตในประเทศใด เมื่อปี ค.ศ.ใด
ค. ใช้เครื่องยนต์ชนิดใด ระบบใด
ง. ลักษณะรถ เป็นรถตอนเดียวหรือสองตอน
1.5.1 การตรวจสอบเลขตัวรถ
1.5.1.1 ตรวจดูว่ามีร่องรอยการแก้ไขเลขตัวรถหรือไม่
ก. ตรวจดูชั้นสีบริเวณตำแหน่งเลขตัวรถ ว่าเป็นสีเดิมหรือมีการพ่นสี ทับสีเดิมหรือไม่ หากเป็นสีเดิม ลักษณะสีค่อนข้างด้าน ไม่มัน วาว แต่ถ้ามีการพ่นสีทับสีเดิม ลักษณะสีจะมันวาว
ข. พื้นผิวห้องเครื่องยนต์จะเรียบตามรอยปั๊มจากโรงงาน ถ้าแก้ไข ทำขึ้นใหม่ จะเป็นคลื่น ไม่เรียบ (กรณี ตำแหน่งเลขตัวรถอยู่ที่กระจังหลัง เครื่องยนต์)
ค. ตรวจว่าเนื้อโลหะบริเวณตำแหน่งเลขตัวรถมีร่องรอยการเจียระไน หรือมีการตอกเลขซ้ำหรือไม่ ให้ตรวจทุกตัวเนื่องจากบางครั้งมีการแก้ไขเฉพาะบางตัว
ง. สังเกต ขนาด ลักษณะความโค้งมนของเส้นของตัวอักษรและตัวเลข แม้จะไม่ใช่ตัวอักษรหรือตัวเลข เดียวกัน แต่ลักษณะของตัวอักษรหรือตัวเลข จะมีลายเส้น เป็นศิลปแบบเดียวกัน หากมีการแก้ไขเฉพาะบางตัว จะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่าง ของลายเส้นได้
1.5.1.2 ตรวจเปรียบเทียบลักษณะของเลขตัวรถ ถ้าเป็นรถยี่ห้อและรุ่น เดียวกัน จะเหมือนกัน
1.5.1.3 ตำแหน่งที่พบเลขตัวรถ ถ้าเป็นรถยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน จะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันเสมอ
1.5.1.4 ตรวจว่าเลขตัวรถที่ปรากฏ ตรงกับยี่ห้อและรุ่นของรถคันดังกล่าว หรือไม่
1.5.1.5 กรณีตำแหน่งเลขตัวรถอยู่ที่กระจังหลัง (แผงหลัง) เครื่องยนต์ส่วนบน หากมีการเปลี่ยนกระจังหลังส่วนบนที่มีเลขตัวรถตอกไว้ ให้สังเกตรอยเชื่อมโลหะ ของกระจังหลังส่วนบนกับส่วนล่าง ซึ่งโดยปกติ กระจังหลังสองส่วนนี้จะแยกจากกัน ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข รอยเชื่อมโลหะจะมีลักษณะเป็นจุดๆ เว้นระยะห่างกัน แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโดยช่างตามอู่ซ่อมรถทั่วไป รอยเชื่อมโลหะจะเป็นแนวตะเข็บยาว
1.5.1.6 ตรวจว่าเลขตัวรถที่ปรากฏอยู่นั้น ถูกต้องตรงกับเอกสารประจำรถ หรือไม่ เช่น สำเนาใบคู่มือจดทะเบียน เครื่องหมายประกันภัย
1.6 เลขเครื่องยนต์ เป็นชุดข้อความประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข อารบิค มีความหมายเช่นเดียวกับเลขตัวรถ และมีความสัมพันธ์กัน
1.6.1 การตรวจสอบเลขเครื่องยนต์
1.6.1.1 ตรวจว่ามีร่องรอยการแก้ไขเลขเครื่องยนต์หรือไม่
ก. เนื้อโลหะบริเวณตำแหน่งเลขเครื่องยนต์มีร่องรอยการเจียระไน หรือ มีการตอกเลขซ้ำ หรือไม่ ให้ตรวจทุกตัว เนื่องจากบางครั้งมีการแก้ไขเฉพาะบางตัว
ข. ตรวจเปรียบเทียบลักษณะของตัวอักษรและตัวเลข ถ้าเป็นรถยี่ห้อ และรุ่นเดียวกันจะเหมือนกัน
ค. ตำแหน่งที่พบเลขเครื่องยนต์ ถ้าเป็นรถยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันเสมอ
ง. ตรวจสังเกตความลึก ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวอักษร ตัวเลข เปรียบเทียบกับ เลขเครื่องยนต์ ของรถยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน หากเลขเครื่องยนต์ถูกตอก ด้วยเครื่อง ตัวเลขจะมีความความลึกเท่าๆกันและเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าตอกเลขด้วยมือ ความลึกของตัวเลขจะไม่เท่ากันและไม่เรียบร้อย
จ. ตรวจว่าเลขเครื่องยนต์ที่ปรากฏอยู่นั้น ถูกต้องตรงกับเลขเครื่องยนต์ ในสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนหรือไม่
ฉ. ตรวจว่าเลขเครื่องยนต์ เลขตัวรถ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เช่น รถกะบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นไมตี้เอ็กซ์ มีเลขตัวรถ แอลเอ็น 90-(เลข 7 หลัก) จะประกอบ ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีเลขเครื่องยนต์ 2 แอล-(เลข 7 หลัก) การตรวจสังเกตเลขตัวรถ และเลขเครื่องยนต์ เพื่อให้ทราบว่า เลขตัวรถและ เลขเครื่องยนต์ของรถคันที่ตรวจนั้น ถูกต้องและเป็นเลขที่บริษัท หรือโรงงานผู้ผลิต จัดทำขึ้นหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับชุดข้อความของเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ว่ามีความหมายว่าอย่างไร จัดทำขึ้นโดยใช้วิธีใด และจะต้องมี ประสบการณ์จากการตรวจสัมผัส เลขตัวรถและเครื่องยนต์ ของรถที่ถูกต้องแท้จริงว่า เป็นอย่างไรจึงจะทำให้การตรวจมีประสิทธิภาพ สามารถแยกได้ว่า รถคันใดมีหมายเลข ถูกต้อง คันใดมีหมายเลขไม่ถูกต้อง
1.7 รหัสลับประจำตัวรถ เป็นชุดข้อความประกอบด้วย ตัวอักษรภาษา อังกฤษ และตัวเลขอารบิค ซึ่งบริษัทผู้ผลิตได้จัดทำขึ้น โดยจะตอกซุกซ่อนไว้ตามชิ้นส่วนสำคัญ ของรถ เช่น ตัวรถ หัวเก๋ง กระบะรถ เป็นต้น และมีความหมายสามารถระบุได้ว่าเป็น ตัวถังหรือชิ้นส่วนของรถที่มีเลขตัวรถที่แท้จริงเป็นหมายเลขใด และได้ประกอบใช้กับ เครื่องยนต์หมายเลขใด สำหรับรถที่ผลิตหรือประกอบในประเทศไทย ส่วนมากจะมีหรัสลับประจำรถ ส่วนรถที่นำเข้าหรือประกอบชิ้นส่วนจากต่างประเทศไม่มีระบบรหัสลับประจำรถ การตรวจสอบรหัสลับประจำตัวรถเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว จะต้องส่งรถหรือ ชิ้นส่วนสำคัญของรถไปขอรับการตรวจที่บริษัท หรือโรงงานผู้ผลิตเท่านั้น
2. การตรวจสอบตัวรถ
เป็นการตรวจสังเกตอุปกรณ์ ร่องรอยและสภาพทั่วไปของรถ ซึ่งรถที่ถูกโจรกรรม มักจะปรากฏร่องรอยหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. ยวงกุญแจประตูรถ ฝากระโปรงท้ายรถ และฝาถังน้ำมันรถ หลุดหลวม ไม่ติดแน่นหรือไม่มี สาเหตุจากคนร้ายใช้คีมดึงยวงกุญแจออกไปเพื่อศึกษา และทำ ลูกกุญแจขึ้นใหม่ แล้วนำลูกกุญแจดังกล่าวไปทำการโจรกรรมรถ
2. รูกุญแจประตูรถ รูกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ มีรอยเยิน รูกุญแจกว้างขึ้น กว่าปกติ สาเหตุจากคนร้ายใช้เหล็กที่มีความแข็งเป็นพิเศษ ลักษณะคล้ายลูกกุญแจ (เหล็กปีกเครื่องบิน) เสียบเข้าไปในรูกุญแจ บิดหมุนทำลายกลไกในกุญแจจนสามารถ เปิดประตูรถและสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ และเมื่อกลไกในกุญแจถูกทำลายแล้ว คนร้ายสามารถที่จะนำลูกกุญแจอื่นๆ มาใช้ได้เช่นกัน
3. รอบยวงกุญแจประตูรถชนิดกลม มีรอยบุบและสีเป็นรอยขูดขีด สาเหตุจาก คนร้ายใช้คีมกดที่ข้างยวงกุญแจ แล้วจับดึงยวงกุญแจออกมา จากนั้นจะหมุน โยกยวงกุญแจเพื่อปลดล็อกประตูรถ
4. ลูกกุญแจที่ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ เป็นชนิดใด และยี่ห้อรถที่ ปรากฏบนลูกกุญแจเป็นยี่ห้อเดียวกันกับรถที่ตรวจหรือไม่
5. ลูกกุญแจที่ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ กุญแจฝาถังน้ำมัน กุญแจประตู และกุญแจฝากระโปรงท้ายรถ จะใช้ลูกกุญแจดอกเดียวกัน ให้ทำการตรวจสอบ โดยนำลูกกุญแจที่ใช้ สตาร์ทเครื่องยนต์ มาไขเปิดปิดประตูรถ ฝากระโปรงท้ายรถ หรือฝาถังน้ำมัน หากใช้กันไม่ได้ ถือเป็นข้อสงสัยที่จะต้องตรวจสอบรถโดยละเอียดต่อไป
6. ตรวจสังเกตอุปกรณ์ภายในรถยนต์ เช่น วิทยุ-เทป เครื่องเสียง ลำโพง เครื่องปรับอากาศ จะถูกถอดออกไป เพราะเมื่อคนร้ายลักรถไปแล้ว จะถอดอุปกรณ์เหล่านี้ เก็บไว้ขายในภายหลัง
7. สังเกตความไม่สัมพันธ์กันของสภาพรถ เช่น รถที่มีการตกแต่งให้ต่ำลงหรือ สูงขึ้น โดยปกติเจ้าของรถจะใช้ล้อรถและยางที่มีคุณภาพดีและราคาแพง เมื่อคนร้าย โจรกรรมรถไปแล้ว คนร้ายจะถอดล้อรถและยางไปเก็บไว้เพื่อขายในภายหลัง แล้วนำล้อรถ และยางคุณภาพต่ำ ราคาถูกมาใส่ไว้แทน
8. สังเกตความไม่สัมพันธ์กันของสภาพรถและสีรถ เช่น รถที่มีสภาพใหม่ และเป็นรถที่มิได้เกิดอุบัติเหตุ แต่มีการพ่นหรือทำสีใหม่ เป็นต้น การตรวจว่าสีเดิม ของรถเป็นสีอะไร ให้ตรวจจากสีใต้ขอบยางของกระจกกันลมหน้าและหลัง หรือภายใน ห้องเครื่องยนต์
9. ร่องรอยการประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ เช่น รถกระบะที่ติดตั้งหลัง คาไว้ บนกระบะท้าย จะปรากฏรูอยู่ที่ขอบกระบะด้านบน รูดังกล่าวเป็นรูสำหรับใส่ตะปู เกลียว ติดยึดหลังคาไว้กับตัวรถ เมื่อคนร้ายโจรกรรมรถไปได้ คนร้ายอาจจะถอดหลังคาออก เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะรถ
10. ตรวจสังเกตอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมรถว่าถูกทำลายหรือไม่ เช่น สายไฟที่ต่อกับสัญญาณกันขโมยถูกตัดหรือไม่ กุญแจล็อกเกียร์ถูกทำลายหรือไม่
11. ถอดวัสดุที่หุ้มพวงมาลัยรถออก เพื่อตรวจว่าพวงมาลัยรถมีร่องรอย ถูกตัดออกหรือไม่ สาเหตุจากคนร้ายใช้เลื่อยตัดพวงมาลัยแล้วง้างพวงมาลัยออก เพื่อปลดอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมรถ
12. ตรวจสังเกตว่าคันเหยียบห้ามล้อ คันเหยียบคลัช อยู่ในสภาพปกติหรือไม่ เพราะบางครั้งคนร้ายจะใช้เลื่อยตัดคันเหล็กดังกล่าว หรืออาจใช้แม่แรงสอดและดัน คันเหล็กให้เคลื่อนตัวสูงขึ้นเพื่อปลดอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรม
13. ตรวจสังเกตอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมรถ ถูกทำลายทิ้งอยู่ในรถ คันดังกล่าวหรือไม่
14. ตรวจสังเกตรถที่มีการติดสติ๊กเกอร์ของสถาบันตำรวจ ทหาร นักข่าว หนังสือพิมพ์ หรือมูลนิธิต่างๆ ที่บริเวณกระจกกันลมหน้า-หลัง รวมถึงการติดตั้ง เสาวิทยุให้ดูคล้ายรถของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่ออำพรางและ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเกิดความเกรงใจ
3. การสอบถามข้อมูลประวัติของรถจากเจ้าของรถเพื่อที่จะนำมาพิจารณาว่า ตรงกับสภาพข้อเท็จจริงของรถหรือไม่
3.1 วันเดือนปี ที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพความเสียหายเป็นอย่างไร หากมีภาพถ่าย สภาพรถหลังเกิดเหตุ ให้ดูภาพประกอบด้วย
3.2 การซ่อมแซมรถ จัดซ่อมที่อู่ใด มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนใดบ้างและ ซ่อมแซมส่วนใด อย่างไร
3.3 มีทำสีหรือเปลี่ยนสีเป็นสีอะไร เมื่อใด

ตัวอย่างตำแหน่งเลขตัวรถ
ลำดับ ตำแหน่งเลขตัวรถ ชนิดรถ
1 กระจังหน้าตอนนอก เบนซ์, นิสสัน
2 กระจังหน้าตอนในหลังเครื่องยนต์ รถญี่ปุ่นเกือบทุกรุ่น, เบนซ์, อัลฟ่า,บีเอ็มดับบลิว, ฮุนได
3 คัสซีหน้าขวา มาสด้า, โตโยต้า, ฟอร์ด
4 คัสซีหน้าซ้าย มาสด้า, โตโยต้า, ฟอร์ด, นิสสัน
5 ปีกนกหน้าขวา โตโยต้า
ยุทธวิธีตำรวจ
ประกอบด้วย
1. การตรวจค้น
2. การจับกุม
3. การใช้อาวุธ
4. การควบคุมและการใช้เครื่องพันธนาการ
1 การตรวจค้น คือ การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ได้ใช้อำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่ ตามกฎหมายในการตรวจสอบ ค้นหา หรือยึดสิ่งของซึ่งจะใช้เป็นพยานหลักฐาน ความสำคัญของการตรวจค้น
1. เพื่อพบและยึดสิ่งของที่ใช้หรือจะใช้ในการกระทำผิด
2. เพื่อพบและยึดสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด
3. เพื่อพบและยึดสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยผิดกฎหมาย
4. เพื่อพบผู้กระทำผิด และจะได้นำมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
5. เพื่อให้เกิดผลในการป้องปรามการกระทำผิด
หลักของการตรวจค้นบุคคล
1. ต้องหาข้อมูลข่าวสารของบุคคลที่จะตรวจค้นให้ได้มากที่สุด
2. แสดงตัว
3. แสดงความบริสุทธิ์ก่อนและหลังการตรวจค้น
4. มีพยานขณะทำการตรวจค้น
5. การตรวจค้นบุคคลในที่สาธารณะต้องไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ ประชาชน
6. การตรวจค้นบุคคลต้องปฏิบัติด้วยความละมุนละม่อม
7. การตรวจค้นบุคคลในที่สาธารณะต้องทำในที่ที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ผู้ถูก ตรวจค้นได้รับความอับอาย และต้องไม่กระทำในลักษณะประจานผู้กระทำผิด
8. ผู้ตรวจค้นต้องมีความพร้อมในการตรวจค้น
9. ต้องอยู่ในความไม่ประมาท และยึดหลักยุทธวิธีโดยเคร่งครัด
หลักของการตรวจค้นยานพาหนะ
1. ให้ยึดหลักของกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขในระเบียบการตำรวจ เกี่ยวกับคดีว่าด้วยการค้น
2. ให้ยึดหลักความปลอดภัย และให้เกิดความได้เปรียบในการควบคุม สถานการณ์ โดยให้ผู้อยู่ในยานพาหนะออกจากยานพาหนะนั้นก่อน แล้วจึงค้นภายใน ยานพาหนะ เพื่อหาสิ่งผิดกฎหมาย หรือวัตถุพยานโดยละเอียด
3. การตรวจค้นรถยนต์ ควรจะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อย 2 คน หรือแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดตรวจค้น และชุดคุ้มกัน โดยพยายามอย่าให้ตำรวจทั้ง 2 ชุดอยู่ในแนวทางปืน อาจจะทำให้กระสุนปืนถูกตำรวจฝ่ายเดียวกัน สำหรับผู้คุ้มกัน ให้พิจารณาใช้ท่าในการถืออาวุธให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์ล่อแหลม ควรถืออาวุธในท่าเตรียมยิง
2. การจับกุม คือ การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือราษฎร์ใช้อำนาจตาม กฎหมายจับบุคคลผู้กระทำผิดหรือสงสัยว่ากระทำผิดทางอาญา หรือจับตามหมายจับ เพื่อนำผู้ถูกจับไปดำนเนการตามกฎหมาย ความสำคัญของการจับกุม
1. เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดี
2. เพื่อให้ผู้กระทำผิด หรือผู้ที่กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว และไม่กล้ากระทำผิด กฎหมาย
3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้รู้ถึงยุทธวิธีในการจับกุม และสามารถ นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
หลักของการจับกุม
1. เป็นการป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดหลบหนีหรือต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าหน้า ที่ตำรวจ
2. เป็นมาตราการหนึ่งในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนทั่วไป
3. เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมต้องรู้ข้อมูลพื้นฐาน และพฤติกรรมของคนร้ายที่กระทำความ ผิดให้มากที่สุด
4. ในการดำเนินการจับกุมเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม จะต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นให้ ทราบว่าเขาจะต้องถูกจับและสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของเจ้าพนักงานตำรวจ
3. การใช้อาวุธ
ในการใช้อาวุธนั้น ต้องระลึกอยู่เสมอว่า "ใช้เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายทำอันตราย แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือผู้อื่น และพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น" เมื่อคนร้ายวิ่งหนีหรือขัดขืน ห้ามใช้อาวุธปืนยิงคนร้าย เว้นแต่คนร้ายยิงต่อสู้หรือจะทำร้ายเจ้าหน้าที่ตรวจหรือผู้อื่น ด้วยวิธีการที่รุนแรงเท่านั้น
4. การควบคุมและการใช้เครื่องพันธนาการ
การควบคุม หมายถึง การควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ซึ่งในที่นี้จะมุ่งเน้นเฉพาะการควบคุมโดยใช้เครื่องพันธนาการ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ ก่อนที่จะนำผู้ต้องหาส่ง พนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ความสำคัญของการควบคุม
1. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมหลบหนี
2. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมก่อความวุ่นวาย ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
3. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
4. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมฉวยโอกาสกระทำความผิดอื่นอีกในระหว่างที่อยู่ใน ความควบคุม
5. เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในระหว่างนำผู้ถูกจับกุมเดินทาง
หลักของการควบคุมละการใช้เครื่องพันธนาการ
1. กรณีมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องพันธนาการให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1.1 คดีที่มีอัตราโทษหนักผู้ถูกควบคุมน่าจะหลบหนีมากกว่าคดีอัตราโทษน้อย
1.2 สถานที่ควบคุม เช่น ในที่เปลี่ยวผู้ถูกควบคุมมีโอกาสหลบหนีหรือทำร้าย เจ้าหน้าที่ได้
1.3 กิริยาความประพฤติของผู้ถูกควบคุม เช่น เคยเป็นคนพาล เคยหลบหนี การควบคุม มีพิรุธว่าจะหลบหนี หรือจะทำร้ายเจ้าพนักงาน
1.4 บุคคลที่ควรจะให้เกียรติ (จะใช้เครื่องพันธนาการเมื่อเป็นความผิด อุกฉกรรจ์ หรือขัดขืนหรือจะหลบหนีเท่านั้น) ได้แก่
1.4.1 ข้าราชการที่รับราชการมีหลักฐานมั่นคง
1.4.2 พระภิกษุ สามเณร นักพรตต่างๆ
1.4.3 ทหารสวมเครื่องแบบ
1.4.4 ชาวต่างประเทศชั้นผู้ดี หรือแขกรับเชิญของรัฐบาล
1.4.5 พ่อค้า คหบดี ซึ่งมีชื่อเสียง มีหลักฐานการทำมาหากินโดยสุจริต
1.4.6 ห้ามใช้เครื่องพันธนาการกับ หญิง คนชรา เด็ก คนพิการ และ คนเจ็บป่วย ซึ่งไม่สามารถจะหลบหนีได้ด้วยกำลังตนเอง ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี จะใช้ เครื่องพันธนาการได้ เมื่อกระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกเกิน 10 ปี ส่วนเยาวชนอายุ 14 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี ให้อนุโลมเช่นเดียวกัน เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี เว้นแต่กระทำ ความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ ตอนใช้เครื่องพันธนาการให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน
2. การสวมกุญแจมือให้ใช้วิธีกดห่วงกุญแจมือเข้ากับข้อมือของผู้ถูกควบคุม ซึ่งต้อง ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป
3. ก่อนใส่เครื่องพันธนาการ เจ้าหน้าที่ต้องเก็บอาวุธปืนของตนเข้าซองปืนทุกครั้ง
4. การควบคุมบนยานพาหนะ ผู้ควบคุมต้องมองเห็นเครื่องพันธนาการได้ ต้อง ไม่ให้ผู้ถูกควบคุมนั่งชิดลำตัวเจ้าหน้าที่ด้านที่พกอาวุธและ ห้ามให้ผู้ถูกควบคุมนั่งตรงด้าน หลังผู้ขับขี่ยานพาหนะ เพื่อป้องกันผู้ถูกควบคุมทำร้ายผู้ขับขี่ เว้นรถจักรยานยนต์
การใส่กุญแจมือ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรให้ห่วงกุญแจมือรัดอยู่บริเวณข้อต่อ ระหว่างกระดูกแขนกับฝ่ามือ เพื่อไม่ให้ห่วงกุญแจมือเลื่อน หรือหลุดจากข้อมือได้ง่าย
การตรวจยึดรถ
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจยึดรถ ไม่ว่ากรณีใด จะต้องคำนึงด้วยว่ามี กฎหมายให้อำนาจที่จะยึดไว้เป็นรถของกลางได้เพียงใด หรือไม่ ซึ่งตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตรวจยึดรถ (สิ่งของ) ไว้เป็นรถของกลาง โดยจะต้องมีเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. เป็นรถที่ได้มาโดยการกระทำผิด
2. เป็นรถที่มีไว้เป็นความผิด
3. เป็นรถที่จะใช้หรือได้ใช้ในการกระทำผิด
4. เป็นรถซึ่งจะใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน
5. ตรวจยึดรถตามคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลในกรณีที่จะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว
นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายบางฉบับให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจยึดรถ ไว้เป็นรถของกลาง เช่น พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้อำนาจตำรวจ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรมีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่กระทำผิดไว้ได้ ตาม มาตรา 59 (ใช้เครื่องมือล็อกล้อและเคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้), มาตรา 78 (ชนแล้วหนี)
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดรถของกลางไว้แล้ว ให้ผู้ยึดหรือผู้จับกุมรีบนำรถดังกล่าว ส่งพนักงานสอบสวนโดยด่วน ข้อพึงระวังในการปฏิบัติ
1. ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม คำนึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ และกรมตำรวจ
2. หมั่นศึกษาหาความรู้ กฎหมาย ระเบียบ แผน คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อมิให้เกิด ความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
3. ต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วยความจริงใจ เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ
4. ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งเด็ดขาด แต่สุภาพนุ่มนวล เห็นอกเห็นใจ และ มีเมตตา
5. ใช้งานประชาสัมพันธ์ ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติ
งาน ในทุกภารกิจ โดยเฉพาะองค์กรชุมชน หรือมวลชนทุกรูปแบบที่จัดตั้งไว้แล้วเช่น ลส.ชบ., อพป., ทสปช., กนช. ฯลฯ ต้องชักจูงให้มาช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการรักษาความ สงบเรียบร้อย
6. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับตั้งแต่ ผบ.หมู่, หน.ชป., หน.จุดตรวจ/จุดสกัด, ผบ.มว., ผบ.ร้อย/สว. ฯลฯ ต้องมีภาวะผู้นำสูง ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งดีงามเป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้ บังคับบัญชา พบการกระทำผิดต้องตักเตือน ว่ากล่าวลงโทษลงทัณฑ์ ตามโทษานุโทษ
7. การตรวจค้น การตรวจสอบหลักฐาน หรือการซักถามปากคำที่จุดตรวจ จุดสกัด หรือ ณ ที่อื่นใด ควรกระทำด้วยความรวดเร็ว เพื่อมิให้ประชาชนเสียเวลาโดยไม่จำเป็น หรือด้วยเหตุผลที่ไม่สมควร
8. ระมัดระวังในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ อย่าให้กระทบกระเทือน
หน่วย ราชการอื่น สถาบัน และบุคคล โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์สดทาง
วิทยุ โทรทัศน์ หรือ หนังสือพิมพ์ ต้องระมัดระวังเป็นผิเศษ
9. ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับฝ่าย ปกครองและทหาร
10. การตรวจยึดรถ จะต้องกระทำภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้
11. กรณีการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่นโทรศัพท์ วิทยุรับ-ส่ง ในการรับ-ส่งข้อมูลของรถที่ตองการตรวจสอบ จะต้องใช้ความระมัดระวังเพราะอาจเกิดความผิดพลาด ทำให้ข้อมูลที่ได้รับหรือส่ง คลาดเคลื่อนไปได้ และเมื่อได้รับข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบแล้ว อย่ายึดถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะพิจารณา ใช้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น และนำข้อมูลที่ได้จากเอกสารหลักฐานที่น่า เชื่อถืออย่างอื่น มาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนตัดสินใจที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะข้อมูลที่ถูกต้องและใช้เป็นพยานหลักฐานได้นั้น ต้องเป็นหนังสือของหน่วยงานที่ รับผิดชอบ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Godzila จาก Manit 116.58.231.242 พุธ, 24/6/2552 เวลา : 12:03  IP : 116.58.231.242   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211169

คำตอบที่ 9
       ขอบคุณมากครับพี่สำหรับข้อมูล



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ยุทธห้วยขวาง 588 125.25.148.76 พุธ, 24/6/2552 เวลา : 13:03  IP : 125.25.148.76   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211172

คำตอบที่ 10
       คุณยุทธห้วยขวาง

1.แจ้งความ สน.ท้องที่เกิดเหตุ(น่าจะเป็น สน.ห้วยขวาง) ขอสำเนาประจำวัน เลขคดี เก็บไว้ด้วย
2.แจ้งประกันฯ
3.ย้อนเวลาไปในวันเกิดเหตุ คิดว่ารถหายเวลาไหน ให้ไปดูที่เกิดเหตุในเวลาเดียวกัน สังเกตุสภาพแวดล้อมต่างๆ กำหนดวงกลมรัศมีเท่าไหร่ก็ได้ แล้วสอบถามทุกคนที่คุณพบในวงกลมนั้น อาจเป็นบ้านเรือนประชาชน ร้านค้า ร้านอาหาร คิว จยย. รถตู้ แท็กซี่ แม้แต่คนรอรถประจำทาง ฯลฯ ที่สำคัญคุณต้องไปเวลาเดียวกันกับ เวลาที่คิดว่ารถหาย คุณอาจได้พยานที่เห็นเหตุการณ์ พยานอาจจำลักษณะ ตำหนิรูปพรรณ จำนวนคนร้าย ยานพาหนะที่คนร้ายใช้ ได้
4.ตรวจสอบบ้านเรือน ร้านค้า บริษัท โรงงาน ร้านสะดวกซื้อ ปั๊มน้ำมัน โดยเฉพาะบริเวณทางแยกทั้งหลายบริเวณนั้น ว่ามีที่ไหนติดตั้งทีวีวงจรปิดบ้าง ที่ไหนมีติดตั้งไว้ให้ขอย้อนดูในวัน-เวลาที่รถหาย อาจมีบันทึกไว้ อันนี้อย่าช้านะครับตามปกติทั่วไปเค้าจะเก็บไว้นานที่สุดประมาณไม่เกิน 1 เดือน อย่างเร็วก็ 7 วันครับ
5.จากข้อ 3 และ 4 ถ้าได้พยานและมีข้อมูล หรือทีวีวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ไว้ได้ ตำรวจอาชีพที่มีวิญญาณตำรวจตามได้แน่นอน(สารบบฐานข้อมูลกลุ่มคนร้ายที่มีพฤติการณ์ลักรถ) อยู่ที่ว่าจะตามให้รึปล่าว นี่ก็จะปรับโครงสร้างหัวโต ปิรามิดกลับหัวกันอีกแล้ว เฮ้อออออออ
6.ผมเข้ามาพบกระทู้วันนี้ ถ้ายังติดตามอยู่ก็เริ่มจากข้อ 1 ตามลำดับได้เลย ขอให้โชคดีครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Mc. 125.24.40.12 ศุกร์, 3/7/2552 เวลา : 00:41  IP : 125.24.40.12   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211546

คำตอบที่ 11
       ยุทธของขอดูจากกล้องแถวๆนั้นด้วยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก หนุ่ย 125.25.29.233 ศุกร์, 3/7/2552 เวลา : 19:18  IP : 125.25.29.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211572

คำตอบที่ 12
       ขอให้ได้รถคืนเร็ว ๆ ครับ
จะคอยช่วยสังเกตุอืกแรงครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก โรจน์ TCT459 124.122.11.253 ศุกร์, 3/7/2552 เวลา : 20:59  IP : 124.122.11.253   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211575

คำตอบที่ 13
       ขอบคุณพี่ๆทุกท่านครับ ตอนนี้ก็ทำหลายทางอยู่ครับ
แต่ก็ยังไม่มีแววเลยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ยุทธห้วยขวาง 588 125.25.136.43 อาทิตย์, 5/7/2552 เวลา : 01:14  IP : 125.25.136.43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 211586

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,18 ตุลาคม 2567 (Online 3266 คน)