คำตอบที่ 61
อ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับคุณ or ? เพราะตามลักษณะของหน่วยงานของทางราชการ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีศุลกากร, ตรวจคนเข้าเมือง และฯลฯ เมื่อเปิดจุดข้ามแดนหรือจุดผ่อนปรนฯ ต้องผ่านมติ ครม. แล้วทีนี้ลองเช็คเข้าไป"เกาะหลีเป๊ะ"ไม่ได้อยู่ในจุดฯที่ผมพูดถึงข้างต้น
สภาพการเข้า-ออกราชอาณาจักรฯ ตามขั้นตอน ต้องมีเอกสารของทางราชการออกให้ คือพาสปอร์ตหรือใบผ่านแดนชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ตม.ตรวจประทับลงตรา ทั้งขาเข้าและขาออก
ฉะนั้นที่เกาะหลีเป๊ะ จะมีเจ้าหน้าที่คนไหนไปตั้งหน่วยงานเพื่อประทับตรานักท่องเที่ยวที่นั่น เพราะบริษักทเกชนไม่สามารถทำได้?
ส่วนฟากของลังกาลี จะต้องทำพิธีการเข้าออกระหว่างแดนที่ท่าเรือเมืองกัวเท่านั้น (หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรมาเลเซียประจำจุดที่นั่น)
ตามความหมาย คือ บริษัท สตูลปากบารา สปี้ดโบ้ท คลับ จำกัด ออกจากอ่าวบันดาหยา เกาะหลีเป๊ะ เข้าเทียบท่าที่ ท่าเรือ Telaga harbour ของเกาะลังกาวี อยากทราบว่าท่าเรือดังกล่าวเป็นท่าเดียวกับที่เราจะใช้เดินทางกลับท่าเรือตำมะลังหรือเปล่า ใช่ครับ!
ผมก็เลยงง... ตอนออกจากประเทศไทยจะเอาหนังสือเดินทางหรือใบผ่านแดนฯของเราไปแจ้งประทับลงตราขาออกกับเจ้าหน้าที่ฯที่ไหน? หากไม่ไปที่ด่านฯท่าเรือตำมะลัง
ข้อความเอกสารทางราชการ
2.2 การค้าผ่านแดน
เป็นการค้าที่ผู้นำเข้ามาเลเซียซื้อสินค้าจาก ผู้ส่งออกไทยและขนส่งสินค้าผ่านไปสิงคโปร์ ซึ่งไทยและมาเลเซียได้ลงนามความตกลงขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนโดยทางถนนจาก ประเทศไทยผ่านมาเลเซียไปสิงคโปร์เมื่อปี 2522 ขณะนี้มีผู้ที่ได้รับอนุญาตจากทั้งสองฝ่ายให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งฯ จำนวน 3 ราย คือ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) , Consortium และบริษัทใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ขณะนี้มาเลเซียไม่ได้ตอบรับ (แทนองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ซึ่งยกเลิกเมื่อ 1 ม.ค.2542)) โดยมาเลเซียจะอนุญาตให้ขนส่งสินค้าเน่าเสียทุกประเภทผ่านมาเลเซียไปสิงคโปร์ได้ 30,000 เมตริกตันต่อปี หากเกินโควต้าที่กำหนด ฝ่ายมาเลเซียจะเรียกเก็บภาษี ล่าสุดในปี 2546 มีประชุมคณะกรรมการร่วมถาวรไทย-มาเลเยว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปสิงคโปร์ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2546 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าของเรื่องและจัดทำร่างความตกลงสินค้าผ่านแดนไทย-มาเลเซียฉบับใหม่ เพื่อให้มาเลเซียสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไทยไปยังพม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนไทยสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์โดยไม่จำกัดปริมาณ และได้ส่งร่างความตกลงดังกล่าวเสนอให้มาเลเซียพิจารณาแล้ว
3. ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า
การจัดจำหน่ายและการกระจายตัวของสินค้าไทย ในมาเลเซียตามด่านศุลกากรในจังหวัดต่างๆ เช่น ยางพารา, สัตว์น้ำ, อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป, ผักสด, ผลไม้, ปลาป่น, สินค้าเบ็ดเตล็ด, ขนสัตว์, รถยนต์, เครื่องอิเลคทรอนิคส์, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, สายเคเบิ้ล, อิฐ และไม้แปรรูป ฯลฯ มีการส่งออกทางรถยนต์ และรถไฟ
- ด่านศุลกากรสะเดา ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
- ด่านศุลกากรสงขลา จังหวัดสงขลา
- ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ในจังหวัดนราธิวาส
- ด่านศุลกากรตากใบ ในจังหวัดนราธิวาส
- ด่านศุลกากรนราธิวาส ในจังหวัดนราธิวาส
- ด่านศุลกากรเบตง ในจังหวัดยะลา
- ด่านศุลกากรวังประจัน ในจังหวัดสตูล
- ด่านศุลกากรสตูล ในจังหวัดสตูล
- ด่านศุลกากรปัตตานี ในจังหวัดปัตตานี
นอกจากนี้ยังมีการส่งออกทางด่านศุลกากร ท่าอากาศยานด้วย
4. ด่านการค้าและเส้นทาง
4.1 จังหวัดที่มีการค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย
ประเทศไทยมีแนวชายแดนติดต่อกับมาเลเซีย เป็นระยะทางยาวประมาณ 647 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดตอค้าขายกับประเทศมาเลเซีย รวม 5 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดสงขลา
2. จังหวัดนราธิวาส
3. จังหวัดยะลา
4. จังหวัดสตูล
5. จังหวัดปัตตานี (ไม่มีชายแดนติดต่อกับต่างประเทศ)
4.2 ด่านศุลกากรที่ควบคุมดูแลการค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย
ปัจจุบันไทยมีด่านศุลกากรที่ควบคุม ดูแลการค้าชายแดนไทย กับประเทศมาเลเซียจำนวน 11 ด่าน ได้แก่
1. ด่านศุลกากรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
2. ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
3. ด่านศุลกากรสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
4. ด่านศุลกากรนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
5. ด่านศุลกากรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
6. ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
7. ด่านศุลกากรเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
8. ด่านศุลกากรสูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
9. ด่านศุลกากรปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล
10. ด่านศุลกากรวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
11. ด่านศุลกรกรปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
(หมายเหตุ : ไม่รวมด่านศุลกากรท่าอากาศยาน)
5. จุดผ่านแดนไทย-มาเลเซีย
จุดผ่านแดนด้านไทย-มาเลเซีย เป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า การสัญจรไปมาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีจำนวน 7 จุด ข้อมูล ณ มิถุนายน 2547 ดังนี้
ลำดับที่
จังหวัด
พื้นที่ของไทย
พื้นที่ของมาเลซีย
เวลา
เปิด-ปิด
หมายเหตุ
1 สงขลา ด่าน ตม.สะเดา อ.สะเดา ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดาห์ 05.00-23.00 น.ทุกวัน -
2 สงขลา
-ด่าน ตม.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา
-ด่าน ตม.ท่าอากาศยานหาดใหญ่
-ด่าน ตม.ท่าเรือสงขลา
ด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส
05.00-21.00 น.ทุกวัน
08.00-18.00 น.
08.30-16.30 น. -
3 นราธิวาส ด่าน ตม.สุไหงโกลก อ.สุไหงโกลก ด่านรัฐตูปันยัง รัฐกลันตัน 05.00-21.00 น. -
4 นราธิวาส ด่าน ตม.ตากใบ อ.ตากใบ (ท่าเรือ) ด่านเป็งกาลันกูโบ รัฐกลันตัน 05.00-18.00 น. -
5 ยะลา ด่าน ตม.เบตง อ.เบตง ด่านบูกิตบือราปิต รัฐเคดาห์ 05.00-18.00 น. -
6 สตูล ด่าน ตม.สตูล(ท่าเรือ) อ.เมือง -ท่าเรือกัวลาเปอร์ลิส รัฐเปอร์ลิส
-ท่าเรืเทลกา อีกวา ลังกาวี รัฐเคดาห์
-ท่าเรือเจตตีกัว ลังกาวี รัฐเคดาห์ 08.30-16.30 น.
-
7 สตูล ด่าน ตม.วังประจัน อ.ควนโดน ด่านวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส 05.00-18.00 น. -
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย