จาก 227 IP:117.47.71.100
พฤหัสบดีที่ , 29/5/2551
เวลา : 08:47
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
สำหรับรถยนต์ : ทุกยี่ห้อ
โดยปกติ ความนุ่มนวลกับความสามารถในการแบบน้ำหนักมากๆ มักจะไม่ค่อยไปด้วยกันนัก เนื่องจากว่าถ้าปรับช่วงล่างให้นิ่มนวล เวลาบรรทุกของหนักๆ (หรือแม้แต่น้ำหนักตัวรถเอง) รถก็จะโยนตัวมากทำให้ทรงตัวยาก แถมพาลจะทำให้โช๊คแตกอีกต่างหาก แต่ถ้าปรับช่วงล่างให้แข็งเรื่องแบกของก็หายห่วง แต่ความนุ่มมันก็หายไปเหมือนกัน... จะปรับความนุ่ม-แข็งแต่ละครั้งก็หมายถึงการรื้อช่วงล่างกันยกใหญ่กันทีเดียว... ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้จะหมดไปหากคุณเปลี่ยมมาใช้ช่วงล่างแบบถุงลมโป่งพองนี้....
ระบบช่วงล่างแบบถุงลมนี้ ก็เลยเป็นระบบรองรับแรงกระแทกที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อก่อนระบบนี้มักจะอยู่ในรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างรถเมย์ไฮโซ หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสบ้านเราก็ใช้ ลองสังเกตุดู ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของมันในแง่ของการปรับการรับน้ำหนักมากๆ ได้ดี และสามารถสร้างความนุ่มนวลในการขับขี่ก็ได้ ด้วยเหตุนี้ สมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งชั้นหรูเลิศ รถ SUV ขนาดใหญ่ หรือรถตู้ไฮโซๆ ต่างก็หันมาใช้ช่วงล่างแบบนี้กัน เพราะนับวันอุปกรณ์ไฮเทคมากมายกับน้ำหนักที่หนักขึ้น ทุกที แต่รถหรู... ยังไงก็ต้องนิ่ม เพราะเดี๋ยวป๋าๆ จะช้ำในซะหมด... งั้นก็มาดูว่ามันเป็นยังไงกันเลยดีกว่า
เท้าความกันซักกะนิด
แล้วที่ว่าถุงลมโป่งพองเนี๊ย... มันอยู่ตรงไหนของช่วงล่างน๊ะ... อันนี้ต้องเอามาเทียบกับระบบช่วงล่างแบบเดิมๆ ท่าจะดี โดยทั่วๆ ไปช่วงล่างมักจะมีอุปกรณ์ในการรับแรง กระแทกอยู่ 2 อย่างคู่กัน นั่นก็คือ
1. ตัวรับแรงกระแทก ซึ่งมักจะใช้เหล็กมาทำเป็นขดสปริง หรืออาจทำเป็นเหล็กแท่งแบบแหนบหรือทอร์ชั่นบาร์
2. ตัวดูดซับแล้วกระจายแรง ที่มักจะทำเป็นแท่งน้ำมันมีวาล์ววิ่งขึ้น-ลงอยู่ข้างใน ทำให้หนืดๆ ที่เค้าเรียกกันว่า แดมเปอร์ ช๊อคแอ๊บซอร์บเบอร์หรือโช๊คอัพนั่นเอง
แข็ง-นิ่ม-สูง-ต่ำ ก็ทำได้ทั้งซ้ายขวา
สำหรับช่วงล่างแบบถุงลมนี้ มันจะทำหน้าที่แทนตัวรับแรงกระแทกอย่างสปริงนั่นเอง (แต่ในบางระบบอาจใช้งานร่วมกัน) เรามาเปรียบเทียบกับการใช้สปริงในระบบช่วงล่าง แบบทั่วๆ ไปกันก่อนดีกว่า
สปริงแข็ง = อัดลมในถุงลมมาก = ช่วงล่างแข็ง = รับน้ำหนักได้มาก
สปริงอ่อน = อัดลมในถุงลมอ่อน = ช่วงล่างนิ่ม = ขับขี่ได้นุ่มนวล
ยกสปริงให้สูง = อัดลมให้ถุงลมยืดตัว = ยกรถให้สูงขึ้น = ลุยได้มากขึ้น
ใส่สปริงให้ต่ำ = เอาลมออก = โหลดรถให้ต่ำลง = ลดการต้านลมเวลาวิ่ง หรือ ขึ้น-ลงรถได้สะดวกขึ้น
หรืออาจใช้ในการช่วยสร้างความสมดุลให้ตัวรถก็ได้ ซึ่งช่วงล่างแบบปกติไม่สามารถทำได้ เช่น ในกรณีที่บรรทุกของหนักมากๆ ทำให้หน้ายก ก็สามารถอัดลมเข้าไปในถุงลมเฉพาะด้านหลัง เพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้นโดยไม่ยุบลงไปก็ได้ หรือในกรณีที่บรรทุกของหนักไปข้างหนึ่ง ก็สามารถอัดลมเข้าไปในถุงลมเฉพาะข้างซ้ายหรือขวาก็ได้เช่นกัน ทำให้รถยังคงรักษาระดับได้เหมือนเดิม
จากที่กล่าวมาแล้วตอนต้นแล้วว่า นอกจากปรับความแข็งหรือนุ่มนวลของช่วงล่างได้แล้ว ช่วงล่างถุงลมนี้ก็มักจะถูกนำไปใช้ให้ทำหน้าที่ในการปรับความสูงของตัวรถ โดยเมื่ออัดลมเข้าไป มันก็จะทำให้ถุงลมยืดตัวขึ้น ตัวรถก็จะถูกยกให้สูงขึ้น พอเอาลมออกรถก็เตี้ยลงๆ... งานนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถ SUV ไฮโซๆ ที่มักจะถูกใช้ในเมือง ก็ปรับให้มันเตี้ยๆ ไว้ จะได้ทรงตัวได้ดีๆ ขึ้น-ลงก็สะดวก และพออยากเข้าป่าก็ค่อยอัดลมเข้าไป ยกให้สูงแล้วค่อยลุยต่อ... ประโยชน์อีกอย่างสำหรับการยกขึ้นยกลงก็คือ สามารถใช้ประโยชน์ เวลารถต้องแบบของหนักๆ ที่ด้านหลัง เป็นเหตุให้เกิดอาการหัวเชิด หยิ่งเกินไป... เราก็สามารถอัดอากาศเข้าไปในถุงลมที่ล้อด้านหลังซะ... แค่นี้หน้าก็ไม่เชิดแล้ว
แล้วมันมีกี่แบบ
การจะใช้ถุงลมเพื่อการรับน้ำหนักมากๆ อย่างเดียวหรือจะให้ยกรถได้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวถุงลมนี้ด้วย ที่ใช้อยู่ในรถยนต์ทั่วๆ ไป ก็มีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ
1. ถุงกลับด้านได้ Reversible Sleeve มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีฐานรองสามารถปรับแต่งให้เข้ากับช่วงล่างเดิมได้ง่าย
2. ถุงแบบปล้อง Convoluted มีลักษณะเป็นข้อๆ เหมือนสปริง
สรุปการนำไปใช้งาน
1. ถ้าอยู่ในรถหรู มันก็ให้ความนุ่มนวลได้แบบเลิศหรูเลยล่ะ
2. ถ้าอยู่ในรถ SUV ใหญ่ มันก็ทั้งนุ่มทั้งยืดหยุ่น ยกขึ้นยกลง ปรับระดับความสูงได้ตามสภาพถนนกันอย่างสนุกสนาน
3. ถ้าอยู่ในรถบรรทุก มันก็สามารถปรับช่วงล่างให้รับน้ำหนักได้ตามน้ำหนักสัมภาระ และสามารถปรับให้ตัวรถรักษาระดับให้ขนานพื้นเอาไว้
4. ถ้าอยู่ในรถแต่งโหลดสุดๆ ที่เค้าเรียกกันว่า โลว์ไรเดอร์ ก็ใช้แทนระบบไฮดรอลิกได้เลย ยกขึ้นลงได้เหมือนกัน แต่น้ำหนักเบากว่าเพราะไม่ต้องใช้แบต
ที่มา : www.fsip.com
http://www.tuninglinx.com/html/spring-rate.html http://www.airsprings.com.au/Airide_Definitions.cfm http://
|