WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


การเตรียมรถเพื่อเดินทางไกล
pongtct052
จาก pongtct052
IP:124.122.53.55

จันทร์ที่ , 1/11/2553
เวลา : 19:12

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       กระทู้นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งปันความรู้แก่เพื่อนสมาชิก ไม่ว่าจะเดินทางใกล้ ไกล เข้ามาครับ ช่วยกันแบ่งความรู้ ประสบการณ์การเดินทางของท่านที่ผ่านมา ถูก ผิดไม่เป็นไร เราจะช่วยกัน


อย่าลืม ดูแล-รักษา-เตรียมพร้อม อย่างสม่ำเสมอ ครับ
จาก : tct225(tct225) 10/12/2553 18:09:03 [157.95.211.201]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  

คำตอบที่ 1
       อย่างแรกที่ผมทำอยู่คือ ก่อนออกรถ ตรวจเช็คน้ำ น้ำมันเครื่อง ล้อเดินรอบรถซะ1รอบ สังเกตุ ลมยาง4เส้นลมยางเท่ากันไหม

 แก้ไขเมื่อ : 1/11/2553 19:29:00



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 124.122.53.55 จันทร์, 1/11/2553 เวลา : 19:14  IP : 124.122.53.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223679

คำตอบที่ 2
       เตรียมเงินครับ ไว้เติมแก็ส กินข้าว น้ำแข็ง โซดา กับแกล้ม เหล้าเอาไปเอง (แต่เงินซื้อน้ำใจไม่ได้ครับ)

 แก้ไขเมื่อ : 1/11/2553 19:39:24



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.79.245 จันทร์, 1/11/2553 เวลา : 19:32  IP : 125.26.79.245   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223680

คำตอบที่ 3
       หลอกล่อช่าง ส....ให้ติดรถไปด้วย....บอกว่ามีเหล้าเหมาไถชั้นเลิศเก็บบ่มไว้นานหลายสิบปีอยากให้ไปลองชิม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

beta จาก ทอม202 124.120.46.198 จันทร์, 1/11/2553 เวลา : 21:57  IP : 124.120.46.198   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223683

คำตอบที่ 4
       ขอแบบเรื่องจริงๆๆครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

TCT052pong จาก pongtct052 124.121.217.245 อังคาร, 2/11/2553 เวลา : 09:03  IP : 124.121.217.245   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223685

คำตอบที่ 5
       ผมเป็นคนหนึ่งที่เดินทางใกล้-ใกลบ่อยสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการเดินทางคือตรวจสอบหม้อนำ นำมันเครี่อง นำมันเกียร์ให้อยู่ในสภาพปกติเช่นขับปกติกินนำหรือนำมันเครื่องหรือเปล่าควรแก้ไขก่อนการเดินทาง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

parin6301 จาก โอ๊คtct468 203.172.179.189 อังคาร, 2/11/2553 เวลา : 14:18  IP : 203.172.179.189   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223689

คำตอบที่ 6
       ไม่ได้ go 6 นะก๊าบ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

beta จาก ทอม202 124.120.46.223 อังคาร, 2/11/2553 เวลา : 17:49  IP : 124.120.46.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223697

คำตอบที่ 7
       ผมขอเพิ่มเติมให้ในส่วนของอุปกรณ์ที่ติดรถยนต์ซึ่งคิดกว่าจำเป็นสำหรับการเดินทางแล้วกันนะครับ

โดยอุปกรณ์ที่ผมจะมีติดรถไว้เสมอไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกลของผม ได้แก่
- ชุดอุปกรณ์ติดรถยนต์ (แม่แรง.ประแจต่าง ๆ)
- บล็อกไขล้อแบบกากบาท (อันนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวว่ายางแตกแล้วใช้งานกากบาทดีกว่าชุดไขล้อติดรถมากไม่ต้องออกแรงงัดมากก็ไขน็อตออกได้สบาย
- สายพ่วงแบต (ผมเลือกแบบเส้นใหญ่และดูมีราคาหน่อยครับ เพราะเคยมีประสบการณ์กับสายเส้นเล็กว่า jump ยังไงก็ start ไม่ติดเนื่องจากไฟไม่พอ)
- สายลากรถ รับน้ำหนักได้ประมาณ 3 ตันครับ
- น้ำมันอเนกประสงค์พวก sonax หรือ wd-40
- น่ำเปล่าขวด 1.5 ลิตรประมาณ 4 ขวด

ส่วนอุปกรณ์ที่เพิ่มมาเวลาเดินทางไกล คือ
- น้ำมันเครื่อง 1 ลิตร
- น้ำมันเกียร 1 ลิตร
- ปั้มลม 2 สูบขนาดเล็ก
- ไดชาร์ต สำรอง 1 ลูกครับ



 แก้ไขเมื่อ : 3/11/2553 18:22:58



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

oat0007 จาก โอ๊ต TCT064 58.9.29.203 อังคาร, 2/11/2553 เวลา : 19:42  IP : 58.9.29.203   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223700

คำตอบที่ 8
       เช็คของเหลวทั้งหมดว่าเปลี่ยนถ่ายมานานมากแล้วหรือยัง
ลมยางรถเท่ากันหรือเปล่า ยางอะไหล่มีลมไหม
ดูใต้ท้องรถไม่มีน้ำมันหยด
ของผมดูเท่านี้ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

sompoj จาก สมพจน์ 124.120.25.103 พุธ, 3/11/2553 เวลา : 09:44  IP : 124.120.25.103   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223720

คำตอบที่ 9
       สำหรับรถใช้แก็ส ควรติดเครื่องยนต์ไว้สักพักเพื่อให้เคร่องยนต์ร้อนและระบบหม้อต้มแก็สมีอุณหภูมิที่พอเหมาะเสียก่อนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.79.33 อาทิตย์, 7/11/2553 เวลา : 06:54  IP : 125.26.79.33   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223889

คำตอบที่ 10
       ขอเพิ่มเติมท่านเจ้าของกระทู้เรื่อง นมก.ครับ
vx80และ SUVรุ่นใหญ่อย่างทรูปเปอร์มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ นมก.ซึ่งป้องกันความเสียหายได้ดี แต่ห้ามฝืนขับเมื่อไฟแดงโชว์
ที่น่ากังวลคือมันเสียไม่ยอมโชว์อันนี้ลากกลับมาเสียเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นปลายๆแน่นอน
การขับขึ้นลงเขาหรือทางลาดชันระยะยาวๆ ควรฝึกเทคนิคการใช้เกียร์เพื่อเอนจิ้นเบรคให้มีความชำนาญ และควรเติม นมก.เพิ่มจากระดับปรกติประมาณครึ่งลิตร (เช่นเดียวกับการลากรถระยะทางยาง) ควรติดตั้งออยล์คูลเล่อร์ นมก. เพื่อลดความร้อน นมก.เมื่อไหลออกจากหม้อน้ำก่อนกลับเข้าทอร์ค ผมติดตั้งแล้วด้วยงบประมาณ 800 บาท (ออยล์เกียร์มือสอง 500 บาท นมก.เพิ่มหนึ่งลิตร ค่าแรงสามร้อยบาท ต้องขอบคุณป้อมJP ที่แนะนำ)

การใช้แก๊สขณะขึ้นลงเขาที่ความดันอากาศเปลี่ยนแปลง ระนาบรถก้มเงยตลอดเวลา อุณหภูมิก็อาจลดลงเมื่ออยู่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้การจ่ายแก๊สไปยังเครื่องยนต์ถูกรบกวน จนอาจทำให้เครื่องดับกลางอากาศได้ ปีใหม่ที่ผ่านมา คนรู้จักที่ทำงานพาฟอร์ดเอสเคปลงเหว(แต่รอดทุกคน) รถเละเพราะเครื่องดับจากการใช้แก๊ส
สุดท้ายการพักรถเป็นระยะทุกชั่วโมง หรือเร็วกว่านั้น เพื่อลดความเครียดทั้งรถและคนขับ จะทำให้การเดินทางปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับทริปปีใหม่ แล้วอย่าลืมพกของใช้เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วไปฝากชาวบ้านตามรายทางชนบทด้วยนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

beta จาก ทอม202 124.120.53.224 อาทิตย์, 7/11/2553 เวลา : 12:34  IP : 124.120.53.224   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223894

คำตอบที่ 11
       รถที่เราใช่เก่าแล้วครับ หลายปี บ้างคัันเกียร์ออโต้ เดินทางไกล เป็นไปได้ พกไดชารส ไดสตาด ไปด้วยนะครับ จะได้มีเปลี่ยนในยามจำเป็น ร้านเชียงพอหาได้ ลองดูครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 113.53.52.213 จันทร์, 8/11/2553 เวลา : 23:15  IP : 113.53.52.213   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223921

คำตอบที่ 12
       1. Memory เบอร์ที่จำเป็น เพื่อน อู่ ตำรวจ ทางหลวง อื่นๆที่คิดว่าสามารถช่วยเหลือเราได้ตอนฉุกเฉิน
2. แผนที่การเดินทาง
3. ยาสามัญประจำรถ
4. เครื่องช้าตเเบตเตอรี่โทรศัพท์ ที่ช้าทในรถยนต์



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

สนอง จาก ต้อ 203.144.211.230 อังคาร, 9/11/2553 เวลา : 17:23  IP : 203.144.211.230   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223935

คำตอบที่ 13
       อุปกรณ์ลากรถควรจะมี แบบลากแข็ง หรือแบบ ลากแบบสามเหลี่ยม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 113.53.11.168 อังคาร, 9/11/2553 เวลา : 21:31  IP : 113.53.11.168   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223944

คำตอบที่ 14
       น้ำดื่ม (เดี๋ยวนี้เติมน้ำมัน-แก๊ส รับน้ำกันไม่หวาดไม่ไหว บางทีกลับจากทริปเหลือน้ำมาใส่ตู้แช่ขายต่อก็บ่อยไป) กะของกินประเภทขนมปัง สังขยา อะไรประมาณนี้ มีติดรถไว้หน่อยก็ดีครับ

เพื่อนเคยขับรถไปติดอยู่แถวชุมพรตอนพายุเกย์เข้าเมื่อหลายปีก่อนโน้น เคราะห์ดีที่ขึ้นที่สูงทัน และไม่อยู่ตรงใจกลางพายุ อาศัยซาลาเปาทับหลีที่ซื้อจะไปฝากญาติที่ กทม. ประทังจนน้ำลด ไม่งั้นต้องกินแต่น้ำฝนอย่างเดียว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

LongRun จาก Prinya 119.42.64.85 อังคาร, 9/11/2553 เวลา : 21:32  IP : 119.42.64.85   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223945

คำตอบที่ 15
       ไปเจอมา อาจเป็นประโยชน์ สำหรับเพื่อนๆครับ

#### กฏหมาย เกี่ยว กับ การ แต่งรถ ####

ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท
รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
แต่ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท)
และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ

โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้
ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด
แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที

ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร
แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม

ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด
แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้
เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล)
แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด
จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที
ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
(การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว
ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่
ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม
มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
การเปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน

ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น
ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ
รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยกได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน
ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ

ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน
ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน

เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร
เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด
ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ

ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่
การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์)
แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น
ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด
โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย

แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด
มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง
ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย

ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบเกมส์จริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 113.53.47.196 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 09:03  IP : 113.53.47.196   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223986

คำตอบที่ 16
       การเตรียมรถยนต์ก่อนออกเดินทาง
ยาง สิ่งจำเป็นที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ต้องเป็นยางที่อยู่ในสภาพดี และสิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือยางอะไหล่ ที่ต้องเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอ
เบรก ตรวจตราให้มีความสมบูรณ์ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรตรวจเช็คน้ำมันเบรค จานเบรก ปั๊มลม และควรมีน้ำมันเบรกสำรองไว้ด้วย
น้ำในหม้อน้ำ ให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ
น้ำกลั่นในหม้อน้ำแบตเตอรี่ ให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ ควรมีน้ำสำรองเก็บไว้ด้วย
กระจกมองข้างทั้ง 2 ด้าน และกระจกมองหลังให้อยู่ในสภาพที่มองเห็นได้ชัดเจน
น้ำมันเครื่อง ควรตรวจสอบว่าขาดหรือพร่องไปหรือไม่ ควรเติมให้ถึงขีดมาตรฐาน และควรมีสำรองติดรถไว้ด้วย
น้ำมันเชื้อเพลิง ควรเติมให้เต็ม และควรคาดคะเน ตามเข็มวัดน้ำมัน และจำเป็นต้องเติมในจุดที่เหมาะสม
เครื่องมือประจำรถและอะไหล่ต่างๆ ต้องมีติดรถไว้ให้พร้อมเสมอ
เครื่องมือพยาบาล ติดรถไว้กรณีฉุกเฉิน หรือในกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย
ข้อคิดยามเดินทางไกล

ควรแจ้งกำหนดการ ให้ผู้ที่อยู่ทางบ้าน และปลายทางทราบเสมอ เมื่อต้องการเดินทางไกล เพื่อตรวจสอบ เมื่อมีเหตุ หรือเห็นว่าผิดปกติ เช่นล่าช้ากว่ากำหนด และเมื่อถึงปลายทางแล้ว ควรแจ้งให้ทางบ้านทราบด้วย
ข้อเตือนใจสำหรับนักเดินทาง ถ้าเส้นทางใดท่านไม่คุ้นเคย หรือต้องเดินทางตามลำพังในที่เปลี่ยว ไม่ควรไปในเส้นทางนั้น
อย่าหยุดรถ หรือแวะรับคนข้างทางในที่เปลี่ยวโดยไม่จำเป็น
นักเดินทางหลายรายเคยพบสิ่งไม่คาดคิด เมื่อคนร้ายอาจจะแกล้งขับรถชนท้ายรถท่านเพื่อให้ลงมาเจรจา แล้วใช้อาวุธปืนจี้ ปล้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ ไม่ควรหยุดรถ แต่ควรเดินทางต่อไปจนถึงป้อมตำรวจ
ศึกษาเส้นทาง หรือสอบถามเส้นทางจากผู้รู้ให้ละเอียด เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางย้อนกลับทางเดิม
การแซงรถ ควรปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ ไม่ควรแซงตรงทางแยก บนเนินเขา บนทางโค้ง และบนสะพาน
ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

กรณีกระจกแตก เมื่อถูกก้อนหิน ก้อนกรวดกระเด็นมาถูกกระจกแตก ข้อควรปฏิบัติคือ ชะลอความเร็วของรถ แล้วเข้าข้างทางทันที ถ้าเป็นกระจก 2 ชั้นยังพอจะขับต่อไปได้ หรืออาจจะทุบกระจกรถเก่าออกให้หมด แล้วโกยเศษแก้วออกมาให้มากที่สุด เมื่อต้องการจะขับรถต่อไปอีก ให้ไขกระจกข้างขึ้นจนมิด เพื่อป้องกันอาการส่ายของรถบนถนน
กรณีสุนัขวิ่งตัดหน้า ถ้าชะลอไม่ทันอาจจำเป็นต้องตัดสินใจชน มิฉะนั้นรถอาจเสียหลักได้ ถ้ากรณีที่เป็นสัตว์ใหญ่ไม่ควรบีบแตร เพราะจะทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจ และย้อนมาทำอันตรายได้
กรณีหม้อน้ำรั่ว ถ้าหาอู่ไม่ได้ ให้ใช้วิธีการ โดยนำเอาสบู่ มาอุดรูรั่วไว้ก่อน เติมน้ำจนเต็ม แล้วขับไปให้อู่ซ่อมแซม
กรณียางระเบิด เมื่อยางระเบิดกะทันหัน ต้องพยายามถือพวงมาลัยไว้ให้มั่นคง และพยายามบังคับรถเข้าข้างทางอย่างปลอดภัย และไม่ควรใช้เบรกอย่างกะทันหัน เพราะจะทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ ควรใช้เกียร์เป็นตัวชะลอความเร็ว โดยเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำทันที กรณียางระเบิดที่ล้อหลังท้ายรถจะส่าย ควรถือพวงมาลัยให้มั่นคง และรักษาทิศทางให้ตรง ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ พยายามย้ำเบรกหลายๆ ครั้งติดกัน เพื่อให้น้ำหนักตกอยู่ข้างล้อที่ใช้งานได้ กรณียางระเบิดที่ล้อหน้า พยายามจับพวงมาลัยให้มั่นคง ใช้เบรกให้เบาที่สุด ถ้าแฉลบไปทางใดต้องคืนพวงมาลัยกลับมาให้ตรงทิศทาง จนกว่าจะนำเข้าข้างทางเรียบร้อย
กรณีคันเร่งน้ำมันค้าง ให้ใช้เบรกช่วยโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับคลัตช์ เพราะเมื่อเหยียบคลัตช์ จะทำให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นทันที อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ จะใช้คลัตช์ในกรณีที่เปลี่ยนเกียร์เท่านั้น และเมื่อลดความเร็วลงมาอยู่ในอัตราที่ปลอดภัยแล้ว ใช้ปลายเท้าสอดเข้าไปใต้คันเร่งแล้วงัดขึ้นมา ถ้าคันเร่งไม่ขึ้น ก็พยายามนำรถเข้าข้างทาง แล้วปิดสวิตช์การทำงานทันที
ข้อควรระวัง

การปิดสวิตช์กุญแจ ควรปิดไว้ที่ตำแหน่ง OFF อย่าปิดที่ LOCK เพราะจะทำให้พวงมาลัยทำงานไม่ได้
กรณีฝากระโปรงรถเปิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ฝากระโปรงเปิดจนปิดกระจกบังลมหน้า การแก้ไขควรชะลอ และมองดูรถคันหลังด้วยว่ากระชั้นชิดหรือไม่ อย่าหยุดรถกะทันหัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ นำรถเข้าข้างทาง แล้วปิดให้เรียบร้อย
เมื่อความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ ให้รีบลดความเร็ว แล้วนำรถเข้าข้างทาง ตรวจดูรอยรั่วของหม้อน้ำ และข้อต่อต่างๆ สายพาน ถ้ามีน้ำพอ ให้ใช้น้ำราดลงหม้อน้ำได้เลย แต่ถ้ามีน้ำไม่พอ คอยให้เครื่องเย็น แล้วจึงเติมน้ำลงในหม้อน้ำ
ถ้าที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน พยายามนำรถเข้าหาอู่ หรือถ้าฝนตกหนักควรจอดพักดีกว่า
กรณีรถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ ให้พยายามลาก หรือเข็น แล้วสตาร์ทกระตุก โดยให้ใช้เกียร์ 2 เหยียบคลัตช์ เมื่อความเร็วได้ที่ปล่อยคลัตช์ แล้วเหยียบคันเร่ง หรือให้ใช้สายแบตเตอรี่พ่วงกับรถคันอื่น แล้วสตาร์ท
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ยามเดินทางไกล

อุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนยาง แม่แรง กากบาทถอดล้อ
อุปกรณ์ส่องสว่าง ประเภทไฟฉาย ควรติดรถไว้ตลอด
อุปกรณ์สำหรับการลากจูง
อุปกรณ์สำหรับการพ่วงไฟ เช่น สายพ่วงแบตเตอรี่
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ทั้งตำรวจทางหลวง และตำรวจท่องเที่ยว
น้ำเปล่าสำหรับเติมหม้อน้ำ
น้ำมันเครื่อง
ขับรถให้ประหยัดและปลอดภัยเครื่องหมายจราจร



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 10:23  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223987

คำตอบที่ 17
       รถยางระเบิด ทำยังงัยดี จ ะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ เมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถยางระเบิดใน ขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบ คุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็น อันขาด เพราะว่า จะทำให้รถหมุน
5. ห้ามเหยียบคลัตช์ โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัวและจะทำให้บังคับรถได้ ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลักเพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาดจะทำให้รถหมุน
7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยก เลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความ เร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อ หน้าหรือล้อหลังก็ตามเมื่อระเบิดด้านซ้าย รถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อนแล้ ก็จะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกที สลับกันไปมา และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการก็จะกลับเป็นตรงกันข้าม อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือ หากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิด ขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในขณะขับรถจึงไม่ควรขับรถเร็ว (ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 10:26  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223988

คำตอบที่ 18
       #### พื้นฐานการขับรถ 4WD ในสถานการณ์ต่างๆ ####

เมื่อ ทราบข้อปฏิบัติแล้ว ม่านก็พร้อมที่จะทำความเข้าใจในการขับขี่รถ 4WD อย่างถูวิธี โดยแรกสุด ขอให้ทำความเข้าใจในธรรมชาติของรถ 4WD เนื่องจากระบบเคลื่อน 4 ล้อ เป็นระบบที่ทุกล้อทำการขับเคลื่อน และระบบของเฟืองท้าย อาจเป็นแบบธรรมดา ไม่ใช่แบบลิมิเต็ด สลปิ (LIMITED SLIP) ซึ่งจำเป็นต้องมีน้ำหนักกดในแต่ละคู่ล้อ จึงจะ ทำให้ล้อหมุนไปได้ ด้วยเหตุผลนี้ เราจำเป็นต้องขับ โดยพยายามให้ล้อแตะพื้นอย่างน้อย 3 จุด รถจึงจะสามารถเคลื่อนไปได้

วิธีการขับที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การใช้ WALKING SPEED ในทุกอุปสรรค ขอให้ท่านผู้อ่านทดลอง เพื่อท่านจะได้ทราบถึงสมรรถนะของรถ 4WD ท่านจะรู้สึกถึงแรงดึงและดัน ของอัตราทดเกียร์ สโลว์ (4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1) โดยให้สังเกตถึงแรงดึงในขณะที่ขับลงเนินและแรงดันในขณะที่ขับขึ้นเนิน หากท่านมีความเข้าใจใน WALKING SPEED ดีแล้ว ท่านสามารถขับรถโดยไม่ต้องใช่เบรคเลย จนในที่สุดท่านจะทราบถึงขีดความสามารถของ WALKING SPEED และสามารถนำประโยชน์ไปใช้ได้จริงในบางลักษณะ ของเส้นทาง หรือบางกรณีก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์และรอบเครื่อง เพื่อให้ผ่านอุปสรรคนั้นไปได้
1. การขับผ่านอุปสรรคทอ่นไม้ขวางเป็นลูกระนาด

ควร เลือกใช้เกียร์ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 เนื่องจากเราไม่ควรทำความเร็วมาก เพราะอาจทำให้ ช่วงล่างเสียหายได้ ให้ใช้รอบเครื่องอยู่ที่ประมาณ 2,000 รอบ เมื่อรถคร่อมท่อนไม้ ล้อหน้าและ หลังจะถูกล๊อคโดยท่อนไม้ ในจังหวะนี้ให้ปี๊มคันเร่ง เพื่อให้รถสามารถข้ามท่อนไม้ไปข้างหน้าได้

ข้อควรระวัง : ห้ามกดคันเร่งแช่ ให้ขับในลักษณะกด-ปล่อยๆ ตามจังหวะของรถ และไม่ควรเลี้ยง คลัทช์ เพราะคลัทช์อาจไหม้ได้

2. การขับขึ้นและลงทางลาดชัน

ใน การขับขั้นทางชั้น เราต้องปรับเบาะให้ตั้งขึ้นกว่าปกติ เพื่อแก้ทัศนวิสัยให้ดีขึ้น โดยไม่ลืมที่จะคาดเข็มขัดนิรภัยพร้อมกับกระจกข้างล่าง

การขับขึ้น และลงทางชัน ให้ทดลองใช้ WALKING SPEED โดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ ทั้งขึ้นและลง ถ้าหากทางขึ้นมีองศาชันมาก จนเกียร์ 1 ไม่สามารถขึ้นได้ ให้เลือก ใช้เกียร์ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 เพราะถ้าหากเราใช้เกียร์ 1 รอบเครื่องจะจัดเกิน ไป ทำให้รอบหมดเร็ว โดยที่ไม่สามารถไต่ขึ้นทางชันมากๆ ได้ และทำให้คลัทช์ สึกหรอมาก การที่เราเปลี่ยนไปใช้เกียร์ 2 ก็เพื่อทำให้ล้อหมุนจัดขึ้นในรอบเครื่อง เดิม ในขณะที่แรงบิดก็มีพอเพียงที่จะทำให้สามารถทำให้รถเคลื่อนที่ขึ้นไปได้

เรา ไม่ควรใช้เกียร์ 3 ในการขึ้นและลงเนิน เนื่องจากแรงบิดเกียร์ 3 ไม่พอ จะทำ ให้เครื่องยนต์ดับกลางเนิน ถ้าหากเราเปลี่ยนเกียร์ที่ต่ำลงไม่ทัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขับขึ้นทางชันที่มีผิวเปียกลื่นในขณะฝนตก เราจะต้องเลือกเกียร์ที่ถูก ต้องตั้งแต่ก่อนขึ้น เพราะหากใช้เกียร์ผิด รถจะไม่สามารถขึ้นได้และอาจะเป็น อันตรายถ้าหากเปลี่ยนเกียร์กลางเนิน

กรณี รถดับกลางเนิน ให้ดึงเบรคมือพร้อมกับเหยียบเบรค เพื่อให้รถหยุดอยู่กับที่ และเมื่อแน่ใจว่ารถหยุดอยู่กับที่แล้ว จึงค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์ พร้อมกับเข้าเกียร์ ถอยหลังและปลดเบรคมือ จากนั้นปล่อยให้รถถอยลงด้วยเกียร์ถอยหลัง โดยไม่ ต้องเหยียบคลัทช์, เบรค, คันเร่ง ถอยลงจนสุดเนิน แล้วจึงตั้งหลักใหม่ หากถอยลง มาไม่สุดแล้วเร่งสู้ ไม่มีทางที่จะทำให้รถขึ้นไปได้เลย ในทางตรงกันข้ามรถอาจจะ ไหลกลับกลังอย่างควบคุมไม่ได้ การขับรถลงเนินให้ลงด้วยเกียร์ 2 โดยไม่ต้องใช้ เบรค เนื่องจากเกียร์จะดึงรถ ในกรณีที่ชันจัดจริงๆ ให้ใช้เกียร์ 1 ได้ (เกียร์ 1 จะ ดึงรถให้เคลื่อนที่ช้ากว่าเกียร์ 2 จึงเหมาะที่จะใช้กับพื้นผิวที่ไม่สามารถใช้ความ เร็วได้ เช่น ลักษณะทางที่เป็นโขดหิน หากขับลงเร็วช่วงล่างอาจเสียหายได้)

ข้อควรระวัง : ห้ามปล่อยรถไหลลงเนินเกียร์ โดยใช้เกียร์ว่างเด็ดขาด เพราะเบรค จะไม่สามารถทำให้รถหยุดได้ ซึ่งจะเป็นอันตราย

3. การขับรถพื้นเอียง

การ ขัขขนานไปกับเพื้นเอียง ตำแหน่งและทิศทางของล้อหน้ามีความสำคัญมาก ผู้ขับจะต้องคาด เข็มขัดนิรภัย และลดกระจกข้างลง เพื่อชะโงกมองล้อได้

เมื่อ รถท่านอยู่บนระนาบ ซึ่งมีความเอียงมาก ให้ใช้วิธีการเดินรถช้าๆ (WALKING SPEED) โดย รักษารอบเครื่องให้คงที่พร้อมกับระมัดระวังทิศทางของพวงมาลัยหน้า อย่าหักพวงมาลัยไปใน ทิศทางขึ้นเป็นอันขาด เนื่องจากรถอาจจะม้วนคว่ำลง ให้ปรับทิศทางพวงมาลัยไปในทิศทางลง เพื่อให้ล้อหน้ายันไม่ให้รถพลิกคว่ำได้

ข้อควรระวัง : ห้ามยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกางออกนอกรถ

4. การขับข้ามน้ำ

มี ข้อปฏิบัติที่แตกต่างจากกรณีอื่น นั้นคือ ห้ามใส่เข็มขัดนิรภัย พร้อมกันนั้นให้ไขกระจกข้างลง, ปลอดล็อกประตู และปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า ในกรณีที่เป็น รถที่มีระบบล็อคไฟฟ้า ในกรณีฉุกเฉินให้มุดออกทาง หน้าต่าง

เมื่อเราเจอน้ำขวางเส้นทาง สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือ เดินลงสำรวจร่องน้ำเพื่อหาเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการ ข้ามน้ำ ระดับน้ำที่ลึกที่สุดที่รถสามารถลุยผ่านได้ก็คือ ระดับมิดยางพอดี เนื่องจากไส้กรองอากาศอยู่ในระดับ เดียวกับไฟหน้า เราจึงควรหลีกเลี่ยงระดับน้ำที่ลึก กว่านี้ หากน้ำมีกระแสแรง การขับข้ามอาจต้องแน่ใจ ว่าระดับน้ำไม่สูงกว่าขอบยาง มิฉะนั้น จะถูกน้ำพัดไป เนื่องจากรถจะลอยและล้อจะไม่แตะพื้น จากนั้นให้ สัเงกตทิศทางและความแรงของกระแสน้ำ ว่าควรตัดกระแสน้ำมากน้อยเพียงใด หากมีกระแสน้ำ แรงมากก็ควรหลีกเลี่ยง

การขับน้ำให้ขับด้วยความนิ่ม นวล โดยใช้เกียร์ 4L (เกียร์ 1 ) ทั้งนี้เพราะเกียร์ 1 เป็นเกียร์ที่รถจะดับยาก ที่สุด และรถก็จะมีความเร็วต่ำ ซึ่งจะทำให้ช่วงล่าง ปลอดภัย ถ้าหากเราขับเร็วแล้วกระทบกับหินใต้น้ำ ช่วงล่างอาจเสียหายได้

ถ้าหากรถดับในน้ำ ห้ามสตาร์ทซ้ำเด็ดขาด เพราะน้ำ ได้เข้าไปในเครื่องยนต์แล้ว ให้ดึงรถขึ้นมาบนฝั่ง ทำการไล่น้ำออกจากระบบน้ำมันให้หมด แล้วจึงเช็ค ระบบไฟฟ้า จนแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยจึงค่อย สตาร์ท

หลังจากทำการลุยน้ำ ให้ตรวจเช็คน้ำมันเกียร์, น้ำมัน เกียร์สโลว์, น้ำมันเฟืองหน้าและเฟืองท้าย ว่าน้ำเข้า ไปผสมในน้ำมันหรือไม่ หากมีน้ำผสมในน้ำมัน น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นสีขุ่นคล้ายสีกาแฟ หากน้ำเข้าเฟืองท้ายมาก ให้ทำการเปลี่ยนถ่ายทันที

ข้อควรระวัง : ถ้าหากกระแสน้ำแรงมากจนแน่ใจไม่ สามารถขับผ่านกระแสน้ำได้ ให้เร่งเครื่องแล้วดับ กุญแจรถทันที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนเข้าไป ในเครื่อง ระวังอย่าให้รถน็อคดับเอง หากแช่น้ำเป็น เวลานาน ให้นำรถขึ้นมาแล้วทำการไล่น้ำออกจาก ระบบเครื่องยนต์ หากกระแสน้ำแรงมากและจำเป็น ต้องผ่านจริงๆ ให้รถคันที่อยู่ข้างหลังโดยสายสลิงกับ ท้ายรถคันหน้า เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่ไม่ สามารถสุ้ความแรงของกระแสน้ำได้
5. การขับรถบนทราย

การ ขับบนทรายให้ใช้ WALKING SPEED ประกอบ กับลดแรงดันลมยางลงเหลือประมาณ 15-18 ปอนด์/ตร.นิ้ว หากมีอุปกรณ์พิเศษ (TIRE LOCK) ก็สามารถลดแรงดันลงเหลือเพียง 8 ปอน์ด/ตร.นิ้ว ได้ โดยที่ยางไม่หลุดขอบ

การ ลดแรงดันลมยางก็เพือ่เพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสของ หน้ายางกับทรายให้มากขึ้น โดยเราจะต้องบรักษา รอบเครื่องให้คงที่ที่สุด ถ้าหากกดคันเร่งแรงเกิน ล้อจะขุดทรายฝังตัวเอง จะเห็นได้ว่าดอกยาง MUD-TERRAIN จะขุดทรายทำให้รถจมได้ง่ายกว่า ดอกยางแบบ ALL-TERRAIN



หาก เป็นทรายชายทะเล ซึ่งมีความร่วนซุยมาก เมื่อ เราตั้งหลักได้ ก็ให้ไล่เกียร์ได้ตามปกติ หากมีการ สะดุดในการขับรถอาจจะจมทรายได้ การขับบนทราย ที่ร่วนซุยมาก ให้หลีกเลี่ยงการเลี้ยวแคบๆ เนื่องจาก แก้มยางหน้าจะต้านทราย ทำให้จังหวะของรถเสียหาย

ข้อควรระวัง : ถ้าหากรถจมทรายละเอียด ควรใช้รอก ไฟฟ้า (WINCH) ดึงรถขึ้น โดยไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์ ห้ามเร่งสู้ เพราะนอกจากจะไม่ขึ้นแล้ว ทรายละเอียด ก็จะเข้าไปกัดตามซีลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสักหลาด กะโหลกล้อ, ซีลเฟืองท้าย, ซีลดุมล้อ รวมทั้งลูกรอกของ สายพาน ราวลิ้น ฯลฯ ทำให้เกิดความเสียหาย

6. การขับรถเนินสลับ

ลักษณะของเนิน สลับ คือลักษณะที่มีเนินซ้าย-ขวา สลับกัน เราสามารถใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 หรือ 2 ก็ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ เพื่อที่เราจะได้ไม่ฝืน ไลน์ จะเห็นได้ว่า เมื่อผ่านเนินลูกแรกถึงเนินลูกที่ 2 หากเกิดอาหารงัดของรถ ทำให้รถมีลักษณะเป็นไม้ กระดกไม่สามารถขับต่อไปได้ เป็นเพราะเราฝืนพวง มาลัย ให้แก้โดยหักพวงมาลัยลงเนิน อย่าพยายาม ฝืนขึ้นเนิน เพราะรถจะไปไม่ได้ หากเราใช้กำลังพุ่ง ด้วยความแรง รถอาจจะดีดพลิกคว่ำได้

สรุป ก็คือ เราจะขับอย่างไรก็ได้ให้ล้อแตะพื้น 3 จุด เป็นอย่างน้อย เราต้องชะโงกล้อหน้าว่าหักอยู่ในทิศ ทางใด หากรถกระดกไม่สามารถไปได้ให้หักพวงม ลัยกลับในทิศทางตรงกันข้าม แล้วรถจะไปได้เอง ให้ใช้ความนุ่มนวล ประกอบกับจังหวะเครื่องยนต์ และการแก้ทิศทางพวงมาลัยจึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง ที่สุด

ข้อควรระวัง : อย่างไรก็ตามต้องรัดเข็มขัดนิรภัยและ ลดกระจกข้างลง เพราะเนินสลับ อาจทำให้รถพลิกคว่ำ ได้ง่าย หากใช้ความรุนแรง

7. การขับรถในโคลน

ถ้า หากสามารถลดแรงดันลมยางได้ โดยอยู่ที่ประมาณ 15-18 ปอนด์/ตร.นิ้ว ได้ จะทำให้การขับในโคลนง่าย ขึ้นมาก ดอกยางที่ต้องใช้ในโคลน ก็คือ ดอกยางแบบ MUD-TERRAIN

การขับรถในโคลน ให้เลือกใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 เท่านั้น (ยกเว้นเครื่องยนต์เบนซินที่มีซีซีต่ำ ให้ใช้ 4L ทีตำแหน่งเกียร์ 1)

ลักษณะ ของโคลนที่มีพื้นล่างแข็งยางหน้าแคบจะให้ ผลในการจิกที่ดีกว่ายางหน้ากว้าง วิธีการขับก็ให้ขับ ตามร่องรถคันหน้า ไม่ตำเป็นต้องเปิดไลน์ใหม่ ในการขับในเส้นทางธรามชาติจริง ถ้าหากด้านข้างมี เหว ต้องยึดร่องเดิมเป็นหลัก ห้ามคร่อมหรือฝืนร่อง เด็ดขาด เพราะรถจะเสียหลักขวางลำ ซึ่งจะอันตราย มาก การขับคร่อมร่องนอกจากจะอันตรายแล้ว จะทำ ให้คันชัก คันส่ง และต่อมลูกหมากหักได้

หากเป็นลักษณะโคลนเละ ห้ามขับกระโจนลงบ่อโคลน เพราะโคลนจะกระเด็นขึ้นมาจับที่รังผึ้งหม้อน้ำ และห้องเครื่องทั้หงมด ผลก็คือ ความร้อนของเครื่อง ยนต์จะสูงมาก เนื่องจากดินอุดตันรังผึ้งหม้อน้ำ และไดชาร์จจะไม่ชาร์จไฟ เนื่อจากแปลงถ่านไม่ดีด ออก จะทำให้มีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า เหตุผลอีก ประการหึ่งก็คือ หากเรากระโจนลงในบ่อโคลน เราจะไม่รู้ได้เลยว่าข้างใต้โคลนนั้นมีอะไรอยู่ หาก เผอิญเป็นก้อนหินใหญ่ ก็จะทำให้ช่วงล่างพัง

การดิ้นรนในกรณีจมโคลน (ในรถเครื่องยนต์ดีเซล ให้ใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 ห้ามใช้เกียร์ 1 เพราะ รอบเครื่องจัดเกินไป ไม่สามารถขึ้นได้ ส่วนในรถ เครื่องยนต์เบนซินที่มีซีซีต่ำ แรงบิดจะน้อยกว่า เครื่องยนต์ดีเซลให้ใช้เกียร์ 1) สามารถใช้รอบเครื่อง สูงได้ แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าล้อได้หมุนแล้วเล็กน้อย จึงเร่งรอบเครื่องสูงได้เลย ห้ามออกรถแบบกระชาก เพราะจะทำให้ฟันเฟืองท้ายเสียหาย หรือเฟืองเพลา ขับอาจจะรูดได้ ในขณะที่เร่งรอบสูงอยู่นั้นให้ส่ายพวง มาลัยซ้ายสลับขวาเพื่อหาพื้นผิวใหม่ในการดึงรถขึ้น จากหล่มโคลน

ข้อ ควรระวัง : ในขณะที่ขับโคลนล้อจะเลื่อไถล บางครั้ง เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยรถอาจจะไม่ไปในทิศทางที่ เราต้องการ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง ในการขับขี่ ให้มากขึ้น ควรทำการล้างอัดฉีดหลังจากการขับลุย โคลน เนื่องจากโคลนจะเข้าไปในเบรค ทำให้ผ้า เบรคหมดได้ และการระบายความร้อนเครื่องยนต์ก็ จะดีขึ้น

ปัญหา ที่พบอีกประการหนึ่ง คือ โคลนจะเข้าไปกัดซีล เฟืองท้าย ทำให้น้ำเข้าเฟืองท้ายโดยไม่รู้ตัว จึงจำเป็น ต้องเช็คซีลเฟืองท้ายทุกครั้งหลังจากลุยโคลนว่ามีรอย รั่วซึมหรือไม่

หาก ท่านอยู่ในป่า ต้องการล้างดินออกจารังผึ้งหม้อน้ำ ให้ใช้น้ำในลำธารสาดที่หม้อน้ำ พร้อมกับสตาร์ท เครื่องยนต์และเร่งรอบเครื่องประมาณ 3-4 พันรอบ เพื่อให้พัดลมหม้อน้ำดึงเอาน้ำที่มีดินละลายอยู่ผ่าน ทะลุรังผึ้งหม้อน้ำออกมา หากไม่เร่งเครื่องช่วยก็จะไม่ เป็นผล

8. การขับรถข้ามสะพานซุง

ต้อง ใช้ความระมัดระวัง ถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้บอกไลน์ โดยใช้สัญญาณมือไม่ควรใช้ความเร็ว และ ควรรักษารอบเครื่องให้คงที่ เพราะหากท่อนซุงลื่นประกอบกับเลอะโคลน การเปลี่ยนระดับความ เร็วอาจทำให้ล้อรถลื่นและตกสะพานได้ หากเป็นเวลากลางคืนให้เปิดไฟหรี่ เพื่อไม่ให้ไฟแยงตา ผู้บอกไลน์ และผู้บอกไลน์ควรถือไฟฉายส่องล้อทั้งสี่ให้แน่ใจว่าล้อทั้งสี่อยู่บนสะพาน แล้วจึง ส่งสัญญาณให้มาได้

เราควรใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 โดยเดินรอบเครื่องอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้ WALKING SPEED โดยไม่ต้องแตะคันเร่ง และควรเตรียมพร้อมในการเหยีบเบรค หากผู้ดูไลน์สั่งให้หยุด

จะเห็นว่า วิธีการรถขับเคลื่อนสี่ล้ออย่างถูก ไม่ใช่การขับด้วยความรุนแรงเพราะความรุนแรง จะทำให้รถมีปัญหา และไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจึงควรฝึกทักษะจนเกิดความ ชำนาญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

ตัวอย่างอุปสรรคที่ยกมานี้ เป็นลักษณะอุปสรรคที่จะพบจริงในเส้นทางธรรมชาติแบบออฟโรด หากท่านขับได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยป้องกันไม่ให้รถเกิดความเสียหาย และเพื่อเพิ่มความปลอด ภัยของตัวท่าน จากนี้ไปสิ่งที่ท่านต้องหาประสบการณ์ด้วยตัวท่านเอง ก็เหลือเพียงการอ่านไลน์ เท่านั้น....




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 10:29  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223989

คำตอบที่ 19
       #### ทำไม ถึงต้องใช้ระบบ 4x4 เป็นระยะ ####

มีใครบ้างไหมที่ซื้อรถขับเคลื่อนสี่ล้อมาแล้วไม่เคยใช้ระบบ “ขับสี่” เลยแม้แต่ครั้งเดียว เชื่อเถอะว่าต้องมีแน่ๆ เพราะชีวิตร้อยทั้งร้อยวิ่งอยู่แต่บนทางดำเท่านั้น แต่ที่ออกรถ 4x4 มาก็เพราะว่าอยากตามสมัย เห็นเขานิยมกันก็เลยตาม แห่ไปซื้อกับเค้าบ้าง พวกที่ขับไม่ได้ ใช้ไม่เป็นก็มีอยู่เยอะ บางคนยังคิดว่าไม่ใช้ก็ดี เพราะไม่มีทางเสียแต่กลับไม่รู้ว่านั่นเป็นการทำลายระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออย่างไม่รู้ตัว
ไม่ว่าจะเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อแบบตรวจการณ์หรือกระบะ 4x4 จะเป็นแบบ Full Time หรือ Part Time ก็ตาม เป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามหาทางใช้การขับเคลื่อนสี่ล้อบ้างเมื่อมีโอกาส ตามหลักสากลแล้วเขาบอกให้ใช้ อย่างน้อยประมาณ 20 กม. ต่อเดือน แต่ในสถานการณ์จริงแค่เดือนละครั้งเอาไปวิ่งให้มีการทำงานบ้างก็ยังดีกว่าไม่ใช้มันเลย ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าการทำงานของระบบจะเป็นตัวที่ทำให้ชิ้นส่วนภายในมีการเคลื่อนไหวและได้ รับการหล่อลื่น สำหรับพวก SUV แบบ Full Time ซึ่งถ่ายทอดกำลังอัตโนมัติยังพอมีโอกาสให้ล้อทั้งสี่ได้ออกกำลังบ้าง แต่พวก Part Time ซึ่งมักเป็นกลุ่มกระบะเป็นส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ใช้งานเลย เมื่อชิ้นส่วนภายใน ไม่ว่าจะเป็นเฟืองท้าย (ลูกหน้า) หรือ ระบบล็อคเพลาขับล้อหน้าไม่มีการทำงานเป็นเวลานานมากเข้าก็จะเกิดการติดขัดเฟืองท้ายเกิดเป็นตามด เกิดสนิมกับชิ้นส่วนหรือเศษดินโคลน ความสกปรกเข้าไปก่อความเสียหายในระบบจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ไม่คาดฝัน เฟืองท้ายรถรุ่นใหม่หรือตัวออโตล็อคฮับก็ไม่ใช่ถูกๆ รถหลายคันเลยเปลี่ยนมาเล่นกับแมนน่วนฮับแทน แต่ก็ยังต้องหมั่นทำความสะอาดและหล่อลื่นใช้งานบ้างอยู่ดี
ในกลุ่มรถ “ขับเคลื่อนสี่ล้อ” ที่เป็น SUV แบบ Full Time จะมีการแบ่งกำลังขับไปยังล้อหน้ากับล้อหลังในอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งสัมพันธ์กับแรงเสียดทานระหว่างล้อกับผิวถนนโดยอัตโนมัติ รถ SUV บางคันก็เป็นขับสี่ แบบ “ไม่แท้” หรือ “Real Time 4WD” คือขับล้อหน้าแบบเพียวๆ พอเวลาเข้าโค้ง ทางเปียกลื่น เกิดอาการล้อฟรีสลิป เมื่อไหร่ค่อยกระจายแรงขับไปช่วยที่ล้อหลังอันนี้ก็เป็นขับสี่อีกแบบหนึ่ง แต่กลับกลุ่ม Part Time ซึ่งปัจจุบันมีเห็นทั้งแบบปรับได้ด้วย “ปุ่มกด” หรือ “ลูกบิด” และแบบตั้งเดิมทีเป็น “คันเกียร์” ตลอดจน SUV ทันสมัยที่เดี๋ยวนี้นอกจากขับสี่แบบ Auto แล้วยังสามารถ “ล็อค” ให้ตะกายสี่ล้อแบบตลอดเวลาเหมือน Part Time ซึ่งมีจุดทรานสเฟอร์เกียร์แบบ H (High) และ L (Low) ให้ใช้งานพวกหลังนี่ควรจะให้ความสำคัญกับการใช้ระบบขับเคลื่อนมากขึ้น
อย่างที่รู้กันว่าเดี๋ยวนี้การปรับการขับเคลื่อนจากสองล้อ (2 H) เป็นสี่ล้อ 4H (High) สามารถทำได้โดยไม่ต้องหยุดรถอันเป็นลักษณะ Shift-on-the-Fly ด้วยความเร็วที่ไม่สูงเกินกำหนดจากโรงงานไม่ว่าจะเป็นการกด การบิด หรือการยัดเกียร์ ทรานสเฟอร์ ในเกียร์ขับสี่ความเร็วสูงนี้จะทำให้การขับขี่มีความมั่นคงกว่าในทางเปียกลื่น ทางโค้ง ขรุขระ เนินชัน หรือดินโคลนที่ไม่วิบากนักและเมื่อจำเป็นต้องใช้กำลังสูงเพื่อปีนไต่ทางชัน หรือทางดินโคลนอันเป็นทางวิบากยิ่งขึ้น ก็จะต้อง “หยุดรถ” เพื่อเปลี่ยนเกียร์ทรานสเผอร์เป็น 4 L (Low) และเคลื่อนตัวเดินหน้าประมาณ 1 เมตร เพื่อให้ Auto Lock Hub จับตัวเสียก่อน เกียร์นี้ไม่ควรใช้ความเร็วในการขับเคลื่อน และเมื่อเลิกการใช้งานก็ปรับเปลี่ยนเกียร์หลังเพื่อปลดล็อคล้อหน้า ส่วนรถที่ใช้แมนน่วลฮับต้องหมุนบิดที่ตัวล็อคเอาเองก่อนการขยับถอยหลัง
ทั้งหมดนี้จำเป็นอย่างที่ผู้ใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ “ต้องศึกษาจากคู่มือประจำรถ” เพื่อการปฎิบัติที่ถูกต้อง วันหยุดหรือวันว่างครั้งต่อไปก็เอารถไปออกกำลัง “ขับสี่” กันบ้าง อาศัยเส้นทางลูกรัง กรวดหิน ทราย หรือทางที่กำลังก่อสร้างก็ได้ แล้วจะได้สัมผัสการขับขี่ที่เปลี่ยนไปอีกลักษณะหนึ่ง ระบบการทำงานขับเคลื่อนสี่ล้อจะได้ทำงานและมีอายุยืนยาวขึ้น รวมทั้งยังเอาไปคุยได้อีกว่าซื้อรถ 4x4 มาก็เคยใช้งานแล้ว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 10:31  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223990

คำตอบที่ 20
       #### คู่มือการขับรถออฟโรด ####

การเดินทางท่องเที่ยวในเชิงรักษาสิ่งแวดล้อม – ต้องปฏิบัติอย่างไร
ขอให้ท่านเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ Off-road ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
- ขับขี่ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
- ขับขี่ในทางที่กำหนดสำหรับรถยนต์
- ขออนุญาตต่อเจ้าของพื้นที่ทุกครั้งเมื่อขับขี่ในเส้นทาง Off-road
- ขับขี่อย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการขับขี่ลักษณะล้อหมุนฟรี อาจทำลายพื้นที่บริเวณนั้นเสียหาย ช่วยกันรักษาเส้นทางให้คงเดิมมากที่สุด เมื่อพบความเสียหาย สิ่งผิดปกติที่อาจทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมให้แจ้งผู้รับผิดชอบทันที
- หลีกเลี่ยงการเดินทางหลังฝนตก โดยเฉพาะทางลาดชัน การเดินทาง Off-road ในช่วงเวลานี้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมง่ายกว่าเวลาอื่น ๆ
- พยายามรักษาสภาพธรรมชาติมากที่สุด โดยการไม่ส่งเสียงดังเกินควร กระทำการใด ๆ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางธรรมชาติ รบกวนต่อสัตว์ป่า ต้นไม้
- ห้ามเด็ดดอกไม้ ตัดกิ่งไม้ ต้นไม้ ปล่อยทุกอย่างอยู่อย่างธรรมชาติ
- เมื่อผ่านพื้นที่ที่มีประตู หรือพื้นที่ที่มีขอบเขตไว้ชัดเจน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตู สิ่งบอกขอบเขต ปิด คงรักษาสภาพของเดิม
- เมื่อผ่านบริเวณที่มีสัตว์เลี้ยง ทุ่งนา พื้นที่การทำเกษตร ควรขับขี่อย่างระมัดระวัง อย่าทำให้สัตว์ตกใจหรือทำลายพื้นที่การเกษตร
- หลีกเลี่ยงการจุดกองไฟ ยกเว้นในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต อย่าก่อกองไฟบริเวณที่มีต้นไม้/หญ้าแห้งอันอาจทำให้ไฟลุกลาม หรือทำให้ธรรมชาติเสียหายได้ อย่าทิ้งเศษอาหาร ขยะอื่น ๆ ในพื้นที่ เก็บสิ่งของให้เรียบร้อยก่อนออกจากพื้นที่ นำเครื่องหุงต้มเตาแก๊สขนาดเล็กมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อกองไฟ
- ดูแลสภาพรถยนต์ให้ดีอยู่เสมอ อย่าให้มีการรั่วของน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเชื้อเพลิง ท่อไอเสียต่าง ๆ
- เคารพสิทธิผู้อื่นที่ใช้เส้นทางเดียวกันกับท่าน โดยขับขี่อย่างระวัง เช่น คนเดินเท้า จักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ
- จำไว้เสมอว่าระหว่างเดินทางในรูปแบบ Off-road อย่าทิ้งสิ่งของโดยเฉพาะก้นบุหรี่ นำสิ่งที่ท่านนำเข้าไปกลับออกมาเสมอ โดยนำถุงขยะติดรถไว้เมื่อเดินทาง
- ขอให้ท่านผู้เดินทาง Off-road ทุกท่านปฏิบัติตามแนวทางนี้ ไม่ว่าท่านจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม ท่านจะสร้างความประทับใจและยินดีให้กับทุกฝ่ายและเป็นที่ต้อนรับของทุกฝ่าย
ความปลอดภัยในการขับขี่ออฟโรด
ระบบความปลอดภัย ถือเป็นหัวใจของการขับขี่รถออฟโรด ดังนั้นก่อนที่จะเคลื่อนรถของท่านออกไป สิ่งแรกที่ควรจะกระทำ คือ การปรับเบาะและพนักพิงศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่พอเหมาะกับสรีระของท่าน ไม่ชิดกับพวงมาลัยจนเกินไป หรือห่างจนไม่สามารถจะมองทัศนวิสัยรอบด้านได้ชัดเจน กระจกมองหลังและกระจกมองข้างต้องปรับให้ได้ระดับพอดีให้เรียบร้อย และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การคาดเข็มขัดนิรภัยซึ่งควรจะคาดให้ชินจนกลายเป็นนิสัย มิใช่เฉพาะแต่การขับรถในเส้นทางออฟโรดเท่านั้น แต่ควรจะคาดตลอดเวลาที่เดินทาง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะออกเดินทางได้ จำไว้เสมอว่าในการขับขี่รถในเส้นทางออฟโรดนั้น จะต้อง “ตาดู หูฟัง สังเกต” อยู่ตลอดเวลา เลือกเส้นทางโดยใช้สามัญสำนึก ไม่ประมาท ใช้พวงมาลัย เลือก Traction ให้แม่นยำที่สุด
เทคนิคการขับรถออฟโรด เบื้องต้น
การขับขี่รถออฟโรด จำเป็นต้องเจอเส้นทางวิลากแตกต่างกัน ถ้าตำแหน่งการนั่งไม่ดี เมื่อรถเกิดการสะเทือนตัวเอียงไปเอียงมา หมายความว่า ตัวเราจะเคลื่อนไหวจนไม่สามารถควบคุมรถได้เท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัย คันเร่ว เบรก หรือคลัช ซึ่งมีความสำคัญมาก การขับรถที่ดีควรเป็นไปอย่างราบเรียบ เมื่อเริ่มรู้สึกเครียดกับการควบคุมรถ แสดงว่าเราใช้ความเร็วสูงเกินไป ควรลดความเร็วลงบ้าง รถทุกคัน จะต้องมีความสามารถในการตอบสนองจากผู้ขับขี่สามประการ คือ การเร่ง การเบรก และการเลี้ยว การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงควรขับขี่อย่างนุ่มนวลและราบเรียบ
การเร่ง
- ค่อย ๆ เหยียบคันเร่ง เพื่อป้องกันล้อหมุนฟรี
- การเร่งเครื่องแรงเกินไปจนกระทั่งล้อหมุนฟรี จะมีผลเสีย ซึ่งในบางครั้งล้ออาจจะจมลงในทราย หรือโคลน ซึ่งยากต่อกานดึงขึ้น หรือเกิดการลื่นไถลทำให้ยากต่อการควบคุม
- กดคันเร่งคงที่ เพื่อรักษาระดับความเร็วที่ต้องการ เป็นวิธีที่จะให้ตัวรถเคลื่อนไปด้วยความราบเรียบและนุ่มนวล ตัวคันเร่งนั้น เมื่อเราใช้เกียร์สโลว์จะมีผลการตอบสนองที่เร็วมาก ด้วยเหตุนี้เราจึงควรเหยียบคันเร่งให้อยู่ในรอบเครื่องคงที่ตลอดเวลาที่ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้รอบเครื่องสูงแต่ประการใด ถ้าเครื่องมีกำลังดีแล้วเพียงแค่รอบต่ำ (1,000 – 2,000 รอบ) ก็พอ
- ใช้เบรกเพื่อชะลอความเร็วและถอนคันเร่ง ถ้าเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ ใช้เทคนิค 2 เท้า เท้าซ้ายเหยียบเบรกแทนที่จะใช้เท้าขวา โดยให้เท้าขวาอยู่บนคันเร่ง เท้าซ้ายพร้อมบนเบรก ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาก็จะต้องใช้เท้าขวาในการเหยียบเบรกอยู่เหมือนเดิม
- ถอนคันเร่งเบา ๆ เพื่อให้การลดความเร็วเป็นไปแบบนุ่มนวล
- ถ้าจำเป็นที่จะต้องลดความเร็วลงให้ใช้วิธีค่อย ๆ ผ่อนคันเร่งอย่างช้า ๆ ไม่ควรถอนคันเร่งอย่างฉับพลัน เพราะจากอัตราทดของเฟือง จะทำให้ตัวรถเกิดการกระตุก และสร้างปัญหาขึ้นได้
- พยายามเบรกโดยไม่ให้ล้อมีการลื่นไถล
- พยายามเบรกอย่างนิ่มนวล เพราะถ้าเบรกรุนแรง อาจทำให้ล้อเกิดอาการล๊อคตาย และเกิดการลื่นไถล ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
- ควรเบรกก่อนที่จะถึงสิ่งกีดขวางล่วงหน้า เพื่อเป็นการชะลอรถก่อน ไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหันเพราะจะทำให้เกิดอาการล้อล๊อคได้ ทำให้รถเสียการทรงตัว หรืออาจจะไม่ทันการ ก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้
- กดคันเบรกคงที่เมื่อบังคับรถ เมื่อขับรถจากเนินลาดชันตามทิศทางที่ต้องการ
ควบคุมพวงมาลัย
เวลาจับพวงมาลัย พยายามให้นิ้วโป้งทั้ง 2 อยู่ในตำแหน่ง 10.00 น. และ 14.00 น. เมื่อรถของท่านกระทบกับสิ่งกีดขวาง อาจทำให้ยางเกิดแรงกระแทก และพวงมาลัยตีกลังไป ถ้าท่านวางตำแหน่งนิ้วโป้งไว้ใต้ก้านพวกมาลัย อาจทำให้นิ้วซ้นหรือหักได้ ถึงแม้เหตุการณ์ส่วนมากจะเกิดกับพวงมาลัยชนิดธรรมดา พวงมาลัยแบบเพาเวอร์ก็อาจเกิดได้เช่นกัน
การเลี้ยว
- ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกับพวงมาลัย โยกพวงมาลัยไปมา
- ไม่ควรหักเลี้ยวมากจนเกินความจำเป็น การหมุนพวงมาลัยเกินไปจะทำให้เกิดการหลงไม่ทราบลักษณะการหักเลี้ยวของล้อ ก่อให้เกิดปัญหากับการบังคับทิศทาง
- ถ้ารถเริ่มมีการไถลด้านข้าง ให้ค่อย ๆ หมุนพวงมาลัยตามทิศที่ลื่นไถลและค่อย ๆ ถอนเท้าออกจากคันเร่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการหักขืนของตัวรถ ซึ่งจะทำให้เกิดการลื่นไถลมากขึ้นจนยากต่อการแก้ไข และอาจเป็นเหตุให้ตัวรถเกิดการพลิกคว่ำก็ได้ ควรกระทำด้วยความนุ่มนวลราบเรียบ
- หลีกเลี่ยงการโยกไหล่และศีรษะเมื่อหมุนพวงมาลัย เพราะเมื่อตัวเรานิ่งอยู่กับที่เราจะสามารถบังคับรถได้ง่าย แต่ถ้าตัวเราโยกหรือศีรษะไม่นิ่ง ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับรถ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อขับรถบนเส้นทางขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
- อย่างไรก็ตาม ผู้ขับรถควรกำหนดเส้นทางที่จะไปไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบปัญหาและอุปสรรคและหาทางแก้ไขปัญหาล่วงหน้า หรือปรับสภาพการขับให้เหมาะสม เช่น เมื่อต้องขับรถไต่ข้ามขอนไม้ จะต้องดูก่อนว่าล้อหน้าอยู่ตรงหรืออยู่บนขอนไม้หรือไม่ แล้วจึงขับรถข้ามไป
การขับรถขึ้นเนินเขา
- ขับรถขึ้น – ลง เนินเป็นแนวตรง
- ใช้เกียร์ต่ำ ทั้งเกียร์ปกติ และเกียร์ 4x4 (Part-Time Low)
- อย่าขับรถปีนด้านลาดของเนินเขา รถของท่านอาจเกิดการลื่นไถลลงด้านข้างหรืออาจพลิกคว่ำได้
- เช็คเส้นทางให้แน่ใจก่อนการเดินทาง ในการขึ้นทางสูงชันนั้นอาจต้องใช้ Momentum ของรถเร่งส่งเพื่อให้ข้ามทางชันได้ ในกรณีที่ใช้ไม่ได้ให้ถอยเป็นแนวตรงแนวเดียวกันตอนขาขึ้น โดยใช้เกียร์ถอยหลัง อย่าใช้เกียร์ว่างหรือเหยียบคลัชโดยเด็ดขาด
การขับขี่ข้ามสิ่งกีดขวาง
- ขับข้ามสิ่งกีดขวางโดยในลักษณะล้อทำมุมเอียงกับสิ่งกีดขวางไปทีละล้อและพยายามข้ามตรงบริเวณที่เป็นขอบหรือมุมของสิ่งกีดขวางนั้น
- อย่าขับข้ามสิ่งขีดขวางไปตรง ๆ เพราะอาจทำให้ช่วงล่างของรถตอนท้ายเสียหายได้ การขับรถบนก้อนหิน
- พยายามขับให้ล้อปีนข้ามก้อนหินอย่างช้า ๆ โดยใช้เกียร์ต่ำ วิธีนี้จะทำให้ช่วงล่างของรถไม่กระทบกระเทือน
- อย่าขับคร่อมก้อนหิน เพราะอาจเกิดการกระแทก ช่วงล่างอาจลอยบนก้อนหิน
บริเวณที่เป็นโคลน ทราย หรือดินเหลว
- พยายามหลีกเลี่ยงส่วนที่เป็นโคลน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้เกียร์ต่ำ และรักษารอบให้สม่ำเสมอเพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หรือจำเป็นก็ให้ใช้เครื่องลาก
- พยายามหมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย-ขวา อย่างรวดเร็ว หากรู้สึกว่ารถของท่านเริ่มเสียหลักออกนอกเส้นทางเพื่อให้ยางจับพื้นผิวถนน
- พยายามอย่าเร่งเครื่อง เพราะทำให้ยางจมลงไปในโคลนมากขึ้น ควรเหยียบคันเร่งเบา ๆ อย่างคงที่ จะทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ดีกว่า
วิธีการแกไขรถติดหล่ม
เกียร์อัตโนมัติ
- ให้เหยียบเบรกและขึ้นเบรกมือ จากนั้นให้ผลักเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P สตาร์ทเครื่องยนต์โดยที่เท้าที่เหยียบเบรกอยู่จนรถเริ่มเคลื่อนตัว จากนั้นจึงค่อย ๆ เร่งเครื่อง เกียร์ธรรมดา
- อย่าเหยียบคลัช ให้เข้าเกียร์และสตาร์ทเครื่องยนต์เอาไว้จะทำให้รถค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปจนกว่าจะข้ามสิ่งกีดขวาง ถ้ารถยังติดอยู่ก็ให้ทำอีกครั้ง
การขับข้ามรอยแยก / แตก
- ให้หันด้านใดด้านหนึ่งของรถเข้าหารอยแตก โดยทำมุมเอียง 40 องศา ค่อย ๆ ขับข้ามไปทีละล้อ
- ขับอย่างช้า ๆ ให้รถทรงตัวได้เอง
- อย่าขับข้ามไปตรง ๆ พร้อมกันทั้งสองล้อ เพราะส่วนหน้าของรถอาจตกไปในระหว่างรอยแยกนั้น ขับผ่านร่องหิน
- พยายามขับคร่อมรอยแยก แม้ว่ารอยแยกนั้นจะกว้างกว่าตัวรถ ท่านอาจต้องขับให้ล้ออยู่ในลักษณะไต่ไปบนด้านข้างของผนังของรอยแยก พยายามขับช้า ๆ เพื่อรักษาการทรงตัวของรถทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง และด้านซ้าย-ด้านขวา
- อย่าพยายามแล่นต่อไปข้างหน้า หากรถของท่านเกิดการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะถ้ารอยแยกนั้นเกิดกว้างขึ้นเมื่อใด อาจทำให้รถของท่านลื่นไถลลงไปด้านข้างได้ เมื่อท่านรู้สึกว่ารถเอียงลงไปด้านใด ให้หันพวงมาลัยไปด้านนั้นและเร่งเครื่องอีกเล็กน้อยจะช่วยให้รถกลับมาอยู่ในสภาพเดิม จากนั้นจึงหันพวงมาลัยกลับสู่ทิศทางเดิมที่ต้องการจะไป
- อย่าเร่งเครื่องจนล้อหมุนอยู่กับที่ เพราะจะทำให้ล้อจมลง และจะเสียการควบคุมรถ
การนำทาง
- จงใช้คนนำทาง เพราะเขาจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ดีกว่าคุณ
- ให้เลือกคนนำทางเพียงคนเดียว
รักษาระยะห่างระหว่างรถแต่ละคัน
- ให้รักษาระยะห่างระหว่างรถแต่ละคันร่วมเดินทางและแล่นผ่านจุวิบากทีละคัน เผื่อต้องการให้คันอื่นช่วยลากหรือดึงจะได้ช่วยได้,/br> - รอให้รถคันที่นำหน้าคุณขึ้นไปบนยอดเขาสำเร็จเสียก่อนจึงขึ้นไป เพราะคันหน้าอาจขึ้นไปไม่ได้ และต้องแล่นกลับลงมา
- คอยสังเกตรถคันที่ตามหลังอยู่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดปัญหา
การเดินเท้าสำรวจ
- ท่านควรเดินสำรวจเส้นทางก่อนจะนำรถแล่นเข้าไป แม้ว่าจะรู้เส้นทางดีอยู่แล้ว จงเลือกเส้นทางที่อันตรายน้อยที่สุด และจะก่อความเสียหายน้อยที่สุด
- กลับไปที่รถและรัดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อยก่อนเริ่มขับไปตามเส้นทาง

สังเกตสภาพพื้นที่รอบ ๆ
- ให้ชะลอรถ อย่าเพิ่งไปข้างหน้าจนกว่าจะแน่ใจว่าเส้นทางนั้นปลอดภัย
- ใช้เกียร์ต่ำขณะวิ่งลงเนิน / ทางลาด
- อย่าใช้เส้นทางแคบ ๆ หรือเข้าไปในบริเวณที่ดูไม่ปลอดภัยเพียงพอ เช่น ทางตามเชิงเขาเพราะรถของท่านอาจลื่นไถลตกจากถนนได้
การแล่นข้ามลำธาร
- ข้ามเฉพาะจุดที่สามารถข้ามได้โดยวัดความลึกของน้ำเสียก่อน ถ้าระดับน้ำลึกกว่าท่อรองอากาศของเครื่องยนต์ จงอย่าข้าม เพราะเครื่องยนต์อาจดับได้
พยายามขับข้ามไปอย่างช้า ๆ ทำมุมให้ตัวรถอยู่ในมุม 90 องศากับผิวน้ำ การขับช้า ๆ ช่วยไม่ให้น้ำเข้าไปในท่อไอดี และ ท่อกรองอากาศ

การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
การติดหล่มเป็นเรื่องปกติ แม้กับผู้ที่มีประสบการณ์ ในการเดินทางเป็นหมู่คณะ ควรมีผู้ที่มีเครื่องลาก (WINCH) ไปด้วย เพื่อช่วยกันลากจูง ให้รถหลุดจากสถานการณ์ที่คับขัน

จุดลาก :
ก่อนขับขี่ Off-road ผู้ขับขี่ควรจะรู้จุดลาก ปกติจะมีหลากจุดอยู่ทั้งหน้า / หลัง ควรตรวจดูก่อน เพราะเมื่อรถติดอยู่ในโคลนน้ำหรืออื่น ๆ ที่ไม่สามารถเห็นจุดลากได้ชัดเจน เราจะรู้ตำแหน่งจุดลากทันที ถ้าท่านขับขี่ทางวิบากบ่อย ๆ ควรจะติดตั้งหูลากตะขอลากที่แข็งแรงกว่าเดิมหรือมีอุปกรณ์ช่วยลากจูง เช่น หูลาก D “SHACKLES” จะช่วยให้การลากมีประสิทธิภาพขึ้น
การลากรถจากหล่ม :
ปกติเมื่อรถติดหล่ม ทิศทางที่ควรจะฉุดดึงรถขึ้นมาคือ จากทิศทางเดิม เพราะมีร่องยางเดิมอยู่ นำรถที่จะทำการลากรถคันที่ติดหล่มอยู่บนพื้นที่ราบ แข็ง อยู่ในทิศทางเดียวกับรถที่ติดหล่ม ติดตั้งเชือกหรือสายลากกับรถทั้ง 2ให้ผู้ควบคุมการลากจูงเพียงคนเดียว เพื่อสะดวกในการสั่งงาน ให้ทุกคนออกจากจุดลากจูงระหว่างรถทั้งสอง เมื่อเชือกหรือสายลากขาดจะได้ไม่สะบัดถูกผู้คนรอบข้าง รถทั้งสองต้องเข้าเกียร์ 4x4 LOW เกียร์ 1 ฟังคำสั่งจากผู้ควบคุมคนเดียว การช่วยรถโดยการขุดรอบล้อ ใช้ผ้า / กระสอบรองล้อที่ติด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

การใช้ลูกรอก (SNATCH) :
การใช้ลูกรอก ลากฉุดรถค่อนข้างอันตราย ควรใช้เชือกไนล่อนที่เหนียวพิเศษจะช่วยผ่อนขยายตัว เมื่อมีการฉุดลากที่ต้องใช้แรงดึงมากกว่าปกติ ถ้าใช้โซ่ เชือก อื่น ๆ อาจทำความเสียหายกับตัวรถได้

อุปกรณ์ WINCH :
ควรศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างละเอียดและทดลองโซ่ก่อน อุปกรณ์บางอย่างถ้าติดตั้งไม่ดีอาจทำความเสียหายกับรถได้ ห้ามใช้โซ่คล้องต้นไม้ ให้ใช้สายรัดเท่านั้น เพราะโซ่ทำให้ต้นไม้เสียหาย

เครื่องลาก / ดึง (WINCH) :
เครื่องลากเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มาก เพราะสามารถใช้ลากต้นไม้ที่ล้มขวางทาง ก้อนหินที่ขวางถนน หรือแม้แต่ถึงรถที่คว่ำได้
วิธีใช้เครื่องลาก :
- การลากแบบตรงเมื่อโยงสายเคเบิลแล้ว เข้าเกียร์หนึ่ง และค่อย ๆ เร่งเครื่องเพื่อเคลื่อนรถที่ถูกลากไปยังรถลากรักษาระดับความเร็วของรถให้สม่ำเสมอขณะที่เครื่องม้วนสายเคเบิล
- ลากรถที่ตกหล่ม ผูกสายเคเบิลเข้ากับห่วงสำหรับลาก หรือคานหลังเข้ากับตัวรถ (อย่าผูกที่กันชน) เปิดเครื่องลากรถลากให้ใช้เกียร์ต่ำ / ถอยหลัง ส่วนรถที่ติดหล่มให้เข้าเกียร์ต่ำไว้ จากนั้นค่อย ๆ เร่งเครื่องอย่างช้า ๆ
- ลากรถที่ติดหล่มหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวาง ให้คล้องสายเคเบิลไว้กับต้นไม้ใหญ่หรือก้อนหิน โดยพยายามให้อยู่ในจุดที่ต่ำสุด ถ้าไม่มีต้นไม้หรือก้อนหิน สามารถใช้ตะขอแบบฝังดินได้

คำแนะนำเพิ่มเติม
- เวลาเบรก หรือเร่งเครื่องพยายามทำอย่างช้า ๆ ระมัดระวัง เพื่อให้รถของท่านอยู่ในการควบคุม
- ปล่อยลมยางให้อ่อนลง แต่อย่าให้น้องกว่า 20 ปอนด์ จะทำให้การขับนุ่มนวลขึ้น อย่างไรก็ตาม ยางที่อ่อนก็มักจะเปราะต่อหินหรือ ของมีคม พยายามอย่าใช้ความเร็วเกิน 35 กม./ชม. ด้วยยางที่มีลมอ่อนกว่าปกติ หากจะใช้ความเร็วให้เพิ่มลงยางกลับเป็นปกติเสียก่อน (ขณะขับบนพื้นน้ำแข็งหรือโคลนให้ใช้ยางที่มีลมแน่น)
- รู้ตำแหน่งของเฟืองท้าย/หน้า เพราะมันคือ จุดต่ำสุดของรถยนต์ อาจจะอยู่ทางขวา ทางซ้าย หรือตรงกลาง หากท่านรู้ตำแหน่งของท่านจะได้รู้ว่า ควรวางตำแหน่งยางไว้อย่างไรเวลาแล่นเพื่อที่เฟืองท้าย/หน้า จะไม่กระทบสิ่งกีดขวาง
- ให้รู้จักใช้วิธีการเบรกด้วยเท้าซ้าย การใช้ทั้งสองเท้าเหยียบคันเร่งและเบรก การเปลี่ยนเท้า และเหยียบคันเร่งสลับกับการเบรกไปมา จะขัดจังหวะกำลังส่งของเครื่องยนต์และทำให้เสียการทรงตัว มองไปข้างหน้ารอบ ๆ เพื่อคอยสังเกตทาง (ประมาณ 30 หลา) แล้วเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
- อย่าเหยียบเบรกแช่ไว้นาน ๆ เพราะอาจทำให้เบรกเสื่อมสภาพได้เร็ว แตะเบรกทีละน้อยเพื่อรักษาการทรงตัวของรถ และหลีกเลี่ยงการเกิดล้อล็อค หรือการลื่นไถล
สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงพื้นฐานขั้นต้นเท่านั้น ยังมีอุปสรรคและเหตุการณ์ให้เจอกันจริง ๆ อีกมากมาย จึงต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์อีกมากดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การขับรถไม่ควรประมาณอย่างเด็ดขาด
การตรวจสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง
- ระบบหล่อเย็น เช่น หม้อน้ำ ท่อยาง ระบบทำความเย็น เช่น น้ำยาแอร์
- ระบบกันสะเทือน
- เครื่องยนต์
- ระบบเบรก – ท่อต่าง ๆ
- ยาง / อะไหล่
- ระบบไฟ
- น้ำมันเครื่องเกียร์ ควรเตรียมไปสำรอง
- อื่น ๆ เช่น ที่ปัดน้ำฝน เติมน้ำมันพวงมาลัย
การดูแลรักษารถตามปกติ
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากประเทศในแถบอเมริกา และยุโรปให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ และให้ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้เป็นอันดับหนึ่ง หากท่านสังเกตเครื่องยนต์ของ Jeep ทุกรุ่น จะเห็นว่า Jeep ทำสัญลักษณ์ต่าง ๆที่จำเป็นจะต้องตรวจสอบก่อนการเดินทางทุกวันเป็น สีเหลือง เพื่อให้สังเกตง่าย อาทิเช่น น้ำฉีดกระจก ถังพักน้ำ หม้อน้ำ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ เป็นต้น
สิ่งที่ผู้ใช้รถ Jeep ควรจะตรวจสอบและปฏิบัติก่อนการเดินทาง คือ
1. ถังพักน้ำหม้อน้ำ
สามารถตรวจสอบโดยสังเกตระดับน้ำได้จากภายนอก ให้ระดับน้ำอยู่ในระดับสูงสุดของข้อกำหนด ซึ่งจะมีขีดสัญลักษณ์อยู่ที่บริเวณถัง
2. น้ำฉีดกระจก
ควรตรวจสอบและเติมให้เต็มอยู่ตลอดเวลา การเดินทางในบ้านเรา สภาพอากาศคาดการณ์ยาก เพราะฉะนั้นผู้ขับอาจจะต้องใช้น้ำฉีดตรวจตลอดเวลา เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับรถดีตลอดเวลา
3. น้ำมันเบรก
สามารถตรวจสอบได้จากภายนอก เช่นเดียวกับถังพักน้ำ หม้อน้ำ น้ำมันเบรกมีความสำคัญที่สุด การตรวจสอบทุกวันจะทำให้ผู้ขับสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงปริมาณของน้ำมันเบรกในกระปุก เพราะโดยปกตินั้นระดับของน้ำมันเบรกจะไม่พร่องมาก จะมีการลดลงก็เพียงเล็กน้อยจากปริมาณการสึกของผ้าเบรก หากผู้ขับตรวจสอบทุกวัน และสังเกตว่าน้ำมันเบรกพร่องมาก และผิดปกติให้สันนิฐานไว้ก่อนว่ามีการรั่วไหลของน้ำมันเบรกในระบบ ควรจะนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คทันที
4. น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดฝา จะมีก้านวัดติดอยู่กับฝาปิด ตรวจสอบว่าอยู่ในระดับสูงสุดหรือไม่ 5. น้ำกลั่นแบตเตอรี่
ควรตรวจสอบว่าระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ อยู่ท่วมแผ่นธาตุภายในหรือไม่ หากไม่ท่วมควรเติมเพิ่ม แต่ไม่ควรเติมจนถึงขอบแบตเตอรี่ ควรจะเติมให้ท่วมแผ่นธาตุภายในเท่านั้น
6. น้ำมันเครื่อง
ตรวจสอบทุกวันจากก้านไม้วัดให้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับสูงสุดโดยวิธีการดึงชักไม้วัดน้ำมันเครื่องขึ้น ใช้กระดาษเช็ดรอยคราบน้ำมันออก แล้วเสียบก้านไม้วัดลงไปใหม่จนสุด แล้วจึงดึงขึ้นมาดูรอยคราบของน้ำมันเครื่องที่ก้านไม้วัด หากรอยคราบอยู่ในระดับของสเกลที่ไม้วัดเป็นอันใช้ได้ หากไม่ถึงควรจะเติมเพิ่มก่อนการติดเครื่องยนต์ หากไม่พอ ให้เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง ซึ่งอยู่ด้านบนของฝาครอบเครื่องยนต์
6 ประการแรกเป็นเรื่องที่ขับควรจะทำการตรวจสอบก่อนติดเครื่องยนต์ ประการที่7 ในเรื่องของการตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ในรถเกียร์อัตโนมัตินั้น จะเป็นการตรวจสอบหลังจากติดเครื่องยนต์แล้ว

เมื่อตรวจสอบทั้ง 6 ประการแรกเรียบร้อยแล้วก่อนการติดเครื่องยนต์ผู้ขับขี่ควรจะปิดกุญแจสตาร์ทให้อยู่ในตำแหน่ง “ON” ก่อนให้ไฟหน้าปัดทุกอย่างติดขึ้นมาแล้วรอสักครู่ ให้ไฟสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดับไปที่สะดวก เหตุผลเพื่อให้ระบบอ่านอุปกรณ์ทุกอย่างว่าพร้อมหรือไม่ อาทิเช่น ไฟABS ไฟถุงลมนิรภัย เมื่อทุกอย่างดับหมดแล้วจึงบิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์จากนั้นเลื่อนคันเกียร์อัตโนมัติมาอยู่ในตำแหน่ง “N” แล้วดึงเบรกมือรถให้เครื่องยนต์ร้อนถึงระดับปกติ เมื่อความร้อนเครื่องยนต์ถึงระดับปกติแล้ว ผู้ขับจึงเริ่มขั้นตอนตรวจสอบประการที่ 7
7. น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
อย่างที่เสนอไว้แล้วว่าขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการวัดระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติเมื่อดึงก้านไม้วัดออกมาแล้ว ทำตามขั้นตอนแบบเดียวกับการวัดระดับน้ำมันเครื่อง ข้อแตกต่าง คือ หากน้ำมันเกียร์อัตโนมัติมีปริมาณไม่เพียงพอตามสเกลที่ก้านวัด การเติมน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ให้เติมเข้าที่ช่องเดียวกันกับที่เสียบก้านวัดน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
ระดับความสำคัญของไฟเตือน
ในการใช้รถนั้นมีบางอย่างที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องของกฎหมายจราจรในแต่ละประเทศหากแต่มีสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นความหมายสากล ซึ่งทุกประเทศในโลกยึดถือปฏิบัติเหมือนกัน นั้นคือ สัญญาณไฟแดง เหลือง และ เขียว สัญลักษณ์ของสีทั้ง 3 นี้ มีความหมายเหมือนกันทุกประเทศ และสัญลักษณ์ของทั้ง 3 ปี นี้ก็มีความสำคัญกับสัญลักษณ์ไฟเตือนที่หน้าปัดของรถเช่นเดียวกัน หากเมื่อใดก็ตามที่สัญลักษณ์ไฟเตือนในรถ ปรากฏขึ้นและเป็นสีแดง ผู้ใช้รถจำเป็นต้องหยุดรถ และตรวจสอบสาเหตุทันที เช่น ไฟเตือนแบตเตอรี่ ไฟเตือนน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนเบรก ไฟเตือนประตูไม่สนิท เป็นต้น

ไฟเตือนที่หน้าปัดเป็นสีเหลือง ความหมาย คือ ผู้ขับสามารถจะใช้รถได้ต่อไป แต่ควรจะใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่นไฟเตือนระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ไฟเตือนระบบ ABS ไฟเตือนระบบ PART TIME เป็นต้น ไฟเตือนหน้าปัดเป็นสีเขียว ความหมาย คือ ผู้ขับสามารถใช้ได้โดยไม่มีผลเสียหาย อาทิเช่น ไฟเลี้ยว ไฟระบบขับเคลื่อน FULL TIME เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์ของความหมายของสีนั้นมีความสัมพันธ์กับสัญลักษณ์ของระบบการจราจรสากล ดังนั้นผู้ขับ
ขี่จึงควรสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ตลอดเวลาที่ขับรถ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขได้ทันการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น
การเตรียมตัวก่อนเดินทาง
ในการเดินทางท่องเที่ยว Off-road นั้น ควรที่จะตระเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความมั่นใจในการเดินทาง สิ่งของพื้นฐานที่จะต้องเตรียมไปมีดังนี้
สายลาก เชือก / สายไนล่อน
การเดินทาง Off-road สิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ รถติดหล่ม หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ต้องมีการลากจูง ควรเตรียมสายลากรถเส้นแบบมีขอลากเป็นโลหะ ยาว 6 เมตรเป็นอย่างน้อย มีความแข็งแรงเป็นพิเศษหรือเชือกไนล่อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 45 มม. ซึ่งอาจจะแพงกว่าสายลากธรรมดา แต่มีประโยชน์กว่า ถ้าต้องการลากจูง / ดึงรถจากหล่มซึ่งต้องการความเหนียวมากเป็นพิเศษ
แผนที่ / เข็มทิศ
ควรนำแผนที่และเข็มทิศติดตัวไปด้วย และแจ้งญาติ เพื่อน ให้ทราบว่าจะเดินทางไปไหน กลับเมื่อไร และควรใช้เข็มทิศแผนที่ให้เป็น
ที่วัดลมยางและที่ปั้มลม
บางครั้งจำเป็นต้องมีการเพิ่ม – ลด ลมยางเมื่อเดินทางในพื้นที่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเตรียมปั้มลมยางไฟฟ้าเล็ก ๆ ที่เสียบกับที่จุดบุหรี่ไปด้วย เพื่อเพิ่มลมยางเมื่อจำเป็น
โซ่พันล้อ
ไม่จำเป็นนักแต่ถ้ามีควรนำติดไปด้วยก็ดี
เครื่องมือ
ได้แก่ ประแจขนาดต่าง ๆ คีม มีด ไขควง ค้อน น้ำยากันความชื้นและสายไฟ
พลั่ว – ท่อนไม้
พลั่วเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการขุด ท่อนไม้ใช้เป็นฐานในการขับแม่แรงบนพื้นที่ที่ไม่เรียบ/นุ่ม/ยุบตัวได้ รวมทั้งเลื่อยเล็ก ๆ และขวาน มีดขนาดใหญ่ ช่วยในการตัดกิ่งไม้ได้ดี
ผ้าพลาสติกอย่างหนา
ผ้าพลาสติกอย่างหนาหรือผ้าอื่น ๆ ที่สามารถปูพื้นทำงานใต้ท้องรถได้ หรือ ใช้คลุมอาหาร / สิ่งของเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฝนและลม
เทปเงิน
เทปเงิน (เหนียว) จะช่วยรัดสิ่งของหรือซ่อมแซมชิ้นส่วนรถยนต์ยามฉุกเฉินได้ เชือกพันท่อน้ำ ท่อน้ำมันก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน
ชุดปฐมพยาบาล
เลือกชุดพยาบาลที่มีประโยชน์มากที่สุด แต่ไม่ควรมากเกินความจำเป็น ควรรู้จักการใช้ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องด้วย
ผ้าห่ม – เสื้อผ้า
การเดินทางในลักษณะนี้ บางครั้งก็พบกับสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ควรเตรียมเสื้อกันฝน เสื้อกันหนาว และผ้าห่มไว้เผื่อบ้าง
อาหารและเครื่องดื่ม
ควรเตรียมอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำให้พอ แม้จะเป็นการเดินทางระยะสั้นก็ตาม
วิทยุ / โทรศัพท์
ควรมีติดตัวไว้ในกรณีฉุกเฉินกรณีหลงทางหรือ อื่น ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 11:18  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223995

คำตอบที่ 21
       ประโยชน์ของรถขับเคลื่อน 4WD
นับว่ารถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ SUV หรือ Up 4x4 ได้รับความนิยมจากผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เป็น รถประเภทนี้มีลักษณะในการขับขี่ ฃบนผิวทางที่รถ 2 ล้อธรรมดาไม่สามารถทำได้ และระบบ 4X4 ยังช่วยได้รับความปลอดภัยมากกว่าธรรมดา ยามฉุกเฉิน ขณะมีพายุฝนตกหนัก หรือเส้นทางบางส่วนถูกทำลาย แต่การขับขี่รถประเภทนี้ ต้องฝึกฝนและขับขี่พื้นฐานอย่างถูกวิธี หลังจากนั้น จากการฝึกฝน ประสบการณ์ผู้ขับขี่จะมีความชำนาญมากขึ้น การขับขี่อย่างถูกวิธี จะทำให้ผู้ขับขี่ใช้รถได้อย่างปลอดภัย รถบอบช้ำน้อยที่สุด สามารถใช้ประโยชน์ 4X4 และอื่นๆของรถยนต์ได้สูงสุด

ความปลอดภัย
ระบบความปลอดภัย ถือเป็นหัวใจของการขับขี่ Off Road ดังนั้นก่อนที่จะเคลื่อนรถ Off Road นั้นก่อนที่จะเคลื่อนรถของท่านออกไป สิ่งแรกที่ควรกระทำคือ การปรับเบาะและพนักพิงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะกับสรีระของแต่ละท่าน ไม่ชิดกับพวงมาลัยเกินไป หรือห่างจนไม่สามารถจะมองเห็นทัศนวิสัยรอบ ได้ชัดเจน กระจกมองหลังและกระจกมองข้างต้องปรับให้ได้ระดับพอดีให้เรียบร้อย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งควรจะให้ชินจนกลายเป็นนิสัย มิใช่เฉพาะแต่การขับในเส้นทาง Off Road เท่านั้น ควรจะคาดตลอดเวลาที่เดินทาง เมื่อทุกหย่างเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะออกเดินทางได้ พึงจำไว้เสมอว่าในการขับขี่ในทาง Off Road นั้นจะต้อง
“ ตาดู หูฟัง สังเกต “ การควบคุมรถ ตำแหน่ง “ท่านั่ง”
ปรับท่านั้นที่สามารถควบคุมรถที่ดีที่สุด มีทัศนวิสัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ระยะแขนกับพวงมาลัยระยะห่างพอดี สามารถวางระยะขา สามารถควบคุมแป้นเบรก / คันเร่ง / คลัทช์ได้ดี ตำแหน่งการนั่งที่ไม่ดี เมื่อรถเกิดการสั่นสะเทือนเอียงไปเอียงมา หมายความว่า ตัวเราจะเคลื่อนไหวจนไม่สามารถควบคุมบังคับรถได้เท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัย คันเร่ง เบรก หรือ คลัทช์ ซึ่งมีความสำคัญมาก การขับรถที่ดีควรเป็นไปอย่างราบเรียบ เมื่อรู้สึกว่าเครียดกับการควบคุมบังคับรถ แสดงว่าเราใช้ความเร็วสูงเกินไป ควรลดความเร็วลง

การจับพวงมาลัย
จะต้องจับตำแหน่ง 2 นาฬิกา ยื่นหัวแม่โป้ง จากพวงมาลัย ขณะขับขี่ห้าสอด มือ แขน เมื่อ พวงมาลัย เมื่อดึงพวงมาลัย เมื่อเลี้ยวหรือเข้าโค้ง เนื่องจากการขับขี่ทางวิบาก รถอาจตกหลุม กระแทกพวงมาลัยอาจจะหมุนรุนแรงตีมือได้ โดยเฉพาะรถที่ไม่มีโช๊คกันสะบัดและไม่มีเพาเวอร์
การขับขี่รถมีการตอบสนอง 3 ประการ
1. การเร่ง
2. การเบรก
3. การเลี้ยว
การเร่ง
- ค่อยๆเหยียบคันเร่ง เพื่อป้องกันล้อหมุนฟรี
- การเร่งเครื่องแรงเกินไปจนกระทั่งหมุนฟรี จะมีผลเสีย ซึ่งในบางครั้งล้ออาจจะจมลงในทรายหรือโคลน ซึ่งยากต่อการดึงขึ้น หรือเกิดการสไลด์ลื่นไถลทำให้ยากต่อการควบคุม
- รักษาคันเร่งให้คงที่ เป็นวิธีที่จะให้ตัวรถเคลื่อนไปด้วยความราบเรียบและนุ่มนวล ตัวคันเร่งนั้น เมื่อเราใช้เกียร์ต่ำ จะมีผลตอบสนองที่เร็วมาก ด้วยเหตุนี้เราจึงควรเหยียบคันเร่งให้อยู่ในรอบเครื่องยนต์คงที่ตลอดเวลาที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้รอบเคร่องสูงแต่ประการใด ถ้าเครื่องยนต์มีกำลังดีแล้วเพียงรอบต่ำก็พอ
- ถอนคันเร่งเบาๆ เพื่อให้การลดความเร็วเป็นไปอย่างนุ่มนวล
- เมื่อต้องลดความเร็วลง ให้ใช้วิธีค่อยๆ ผ่อนคันเร่งอย่างช้าๆ ไม่ควรถอนคันเร่องอย่างฉับพลันเพราะจากอัตราทดของเฟือง จะทำให้ตัวรถเกิดการกรตุกอาจจะเสียการทรงตัว

การเบรก
- พยายามเบรกอย่างนุ่มนวล ป้องกันมีการลื่นไถล
- ถ้าเบรกรุนแรง อาจทำให้ล้อเกิดอาการล็อกตาย และการลื่นไถล ซึ่งอาจเป็นอันตรายย่างยิ่ง
- หลีกเลี่ยงการใช้เบรก บังคับรถโดย Engine Brake จากเกียร์และระบบ 4X4 L

การเลี้ยว
- ไม่ควรหักเลี้ยวมากจนเกินความจำเป็น การหมุนพวงมาลัยมากเกินไปจะทำให้เกิดการหลงไม่ทราบ ลักษณะการหักเลี้ยวของล้อ ก่อให้เกิดปัญหากับการบังคับทิศทาง
- ถ้ารถเลี้ยวอาการไถลด้านข้างให้ค่อยๆ หมุนพวงมาลัยตามทิศทางที่ลื่นไถลและค่อนๆถอนเท้าออกจากคันเร่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการหักขืนของตัวรถ ซึ่งจะทำให้เกิดการลื่นไถลมาขึ้น จนยากต่อการแก้ไข และอาจเป็นเหตุผลให้ตัวรถเกิดการพลิกคว่ำได้
- หลีกเลี่ยงการโยกไหล่และศีรษะเมื่อหมุนพวงมาลัย เพราะเมื่อตัวเรานิ่งอยู่กับที่เราสามารถบังคับรถได้ง่าย แต่ถ้าตัวเราโยกศีรษะไม่นิ่ง ก็ก่อให้เกิดปัญหากับการควบคุมบังคับ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย โดยเฉพาะยามขับรถบนเส้นทางขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
เรื่องความปลอดภัยจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการขับรถออฟโรดเลยทีเดียว เพราะสภาพเส้นทางแบบออฟโรดนั้นก็อย่างที่รู้ๆ กันดีว่ามันไม่ค่อยจะศิวิไลซ์สักเท่าไหร่ เอาเป็นว่าอย่าประมาทเป็นดีที่สุด

สิ่งแรกที่ควรจะกระทำก็คือ การปรับเบาะนั่งและพนักพิงหลังให้อยู่ในตำแหน่งที่สบายเหมาะสมกับสรีระของแต่ละคน ไม่ชิดติดพวงมาลัยเกินไป หรือห่างพวงมาลัยจนไม่สามารถบังคับรถได้อย่างคล่องตัว ที่สำคัญต้องมองเห็นทัศนวิสัยรอบด้านได้ชัดเจน

พวงมาลัยก็ควรปรับสูง-ต่ำให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเช่นกัน กระจกมองข้างด้านซ้ายและขวา กระจกมองหลังต้องปรับให้อยู่ในระดับพอดีกับสายตา สามารถมองถนัดและกว้างไกล ควรคาดเข็มขัดนิรภัยอันเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตเราได้ยามรถเกิดอุบัติเหตุด้วย เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมก็สตาร์ทรถออกเดินทางได้

ระหว่างขับรถไปนั้นต้องไม่ลืมว่าการขับรถออฟโรดนั้นต้อง "ตาดู หูฟัง ช่างสังเกต" ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การขับรถเกิดความปลอดภัย...ไปให้ถึง กลับให้ได้ ตามสโลแกนของออฟโรดชน

เทคนิกการขับรถออฟโรดเบื้องต้น

การขับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ เพื่อเดินทางเข้าไปในเส้นทางออฟโรดที่จะต้องเจอะเจอกับอุปสรรคเส้นทางทุรกันดารที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ หากตำแหน่งการนั่งขับไม่ดี เมื่อรถเกิดสะเทือนมากๆ ผู้ขับเคลื่อนไหวตัวเอียงไปเอียงมา จะทำให้การควบคุมรถไม่ดีเท่าที่ควร เช่น การบังคับพวงมาลัย คันเร่ง เบรก คลัตช์ ซึ่งมีความสำคัญทั้งสิ้น

การขับรถที่ดีควรเป็นไปอย่างราบรื่น ที่เรียกกันว่าเนียนนั้น เมื่อเราเริ่มรู้สึกเครียดกับการขับรถมาเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือจะด้วยการใช้ความเร็วสูงเกินไป ก็ควรที่จะลดความเร็วลงบ้าง เปลี่ยนอิริยาบถหันไปมองทิวทัศน์รอบข้างเพื่อเป็นการพักสายตาบ้างแต่สายตา 70%ต้องคอยดูเส้นทางไว้อย่าให้คลาดสายตา เพราะมันอาจเปลี่ยนเป็นความเวิ้งว้างของเหวลึกได้ตลอดเวลา

และธรรมเนียมของออฟโรดชนที่ดีนั้น ควรชะลอความเร็วของรถเมื่อขับผ่านชุมชน หมู่บ้าน เพื่อไม่ให้ฝุ่นที่เกิดจากฝีมือการซิ่งของท่านไปสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
ศิลปะของการขับรถที่จะทำให้มีการขับเคลื่อนไปอย่างราบเรียบนั้น จะต้องอาศัยความสามารถอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ การบังคับคันเร่ง การเบรก และการบังคับเลี้ยว

การบังคับคันเร่ง ควรที่จะค่อยๆ ใช้เท้าเหยียบคันเร่งเบาๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มน้ำหนักไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันล้อหมุนฟรี ในการกดคันเร่งแรงเกินไปจนกระทั่งล้อหมุนฟรีนั้นจะมีผลเสียตามมา นอกจากจะทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติแล้ว ในสภาพเส้นทางออฟโรดบางลักษณะ เช่น ทราย หรือโคลน ล้ออาจจะจมลงได้ และจะทำให้ยากต่อการบังคับรถ หรือเกิดการลื่นไถลทำให้ยากต่อการบังคับควบคุมทิศทาง

ในการกดคันเร่งคงที่เพื่อรักษาระดับความเร็วตามที่ต้องการ เป็นวิธีที่จะทำให้รถเคลื่อนไปในทิศทางด้วยความนุ่มนวล

สำหรับคันเร่งนั้นเมื่อมีการใช้เกียร์สโลว์จะมีการตอบสนองที่เร็วกว่า จึงควรเหยียบคันเร่งให้รอบเครื่องคงที่ตลอดเวลาขณะขับผ่านอุปสรรค โดยใช้รอบเครื่องเพียง 1,000-2,000 รอบ สำหรับเครื่องยนต์ที่กำลังดีๆ ในเกียร์สโลว์จะมีอัตราการทดเฟืองก็ควรที่จะถอนคันเร่งเบาๆ เพื่อให้การลดความเร็วเป็นไปอย่างนุ่มนวล เพราะหากถอนคันเร่งอย่างฉับพลันจะเกิดอาการรถกระตุก และอาจเกิดปัญหากับระบบเฟืองได้

การเบรก ควรมีการแตะเบรกเพื่อชะลอความเร็วของรถก่อนที่จะถึงสิ่งกีดขวาง การเบรกควรเป็นไปอย่างนุ่มนวล ไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหัน เนื่องจากการเบรกอย่างรุนแรงอาจทำให้ล้อล็อกตาย ส่งผลให้รถเกิดอาการลื่นไถลเสียการทรงตัว และยิ่งไปกว่านั้น หากเบรกแตกอาจเกิดอันตรายขั้นรุนแรงได้

ขณะที่รถลงทางชันก็ไม่ควรที่จะเหยียบเบรกแช่นานๆ เพราะจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ ควรแตะเบรกเบาๆ และปล่อยผ่อนเป็นระยะ แตะปล่อย แตะปล่อย ทางที่ดีควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อให้กำลังเครื่องยนต์ช่วยดึงด้วย (ENGINE BRAKE)

การบังคับเลี้ยว ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกับพวงมาลัยโดยโยกส่ายไปมา ไม่ควรหักเลี้ยวมากจนเกินความจำเป็น เพราะการหมุนพวงมาลัยมากๆ อาจทำให้หลงพวงมาลัย ไม่รู้ตำแหน่งล้อ ซึ่งจะเป็นปัญหากับการ
บังคับทิศทางรถ หากรถเริ่มมีการลื่นไถลไปด้านข้าง ให้ค่อยๆ หมุนพวงมาลัยไปตามทิศที่ลื่นไถลพร้อมถอนเท้าออกจากคันเร่งเบาๆ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการหักขืนของตัวรถอันจะทำให้เกิดลื่นไถลมากยิ่งขึ้นจนยากต่อการแก้ไข สุดท้ายอาจเป็นเหตุให้รถเกิดพลิกคว่ำได้

ควรหลีกเลี่ยงการโยกไหล่และศีรษะขณะหมุนพวงมาลัย เพราะน้ำหนักของการบังคับจะมีผลต่อการควบคุมรถโดยเฉพาะบนเส้นทางที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ

กรณีที่ต้องขับข้ามสะพานที่เป็นขอนไม้ ก็ควรที่จะลงมาดูทิศทางให้แม่นยำเสียก่อน ขณะขับอาจจะยื่นศีรษะออกมาดูตำแหน่งล้อด้วยว่าตรงและอยู่บนขอนไม้หรือไม่ การให้ผู้ที่มาด้วยลงไปบอกโดยใช้สัญญาณมือเพียงคนเดียวก็เป็นวิธีหนึ่งที่กระทำกัน แต่ต้องรู้จักการใช้สัญญาณที่ถูกต้อง

สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงพื้นฐานขั้นต้นของหลักการขับรถออฟโรดเท่านั้น ในการเดินทางจริงจะพบอุปสรรคและเหตุการณ์ให้แก้ไขมากมาย จึงควรที่จะใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการเดินทาง และสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงก็คือ "ไม่ควรขับรถด้วยความประมาทเป็นอันขาด"

การขับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ไปในเส้นทาง "ออฟโรด" นั้น อุปสรรคใหญ่ๆ หนีไม่พ้นเนินชัน ก้อนหินใหญ่ๆ และหล่มโคลน...ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเล่นรถออฟโรดมือใหม่ทั้งหลายจะต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจะขับผ่านไปได้อย่างปลอดภัย และรถไม่บอบช้ำ เพื่อให้การเดินทางเปี่ยมไปด้วยความสุข สนุกสนาน เรียกว่า "ไปให้ถึง กลับให้ได้"...แต่อุปสรรคแค่นี้เล่นไม่ยากครับ

การขับรถขึ้น-ลงเนินเขาชัน

ก่อนอื่นเราต้องศึกษาคู่มือประจำรถเสียก่อนเพื่อที่จะทราบถึงสมรรถนะของรถเสียก่อนว่ามีระดับองศาในการปีนป่ายทางชันได้มากน้อยเพียงใดเมื่อเดินทางในสภาพเหตุการณ์จริงก็ควรที่จะสังเกตสภาพพื้นผิวเส้นทางที่เราจะนำรถไต่ขึ้นหรือลงว่ามีระดับองศาประมาณเท่าไร ซึ่งในทางปฏิบัติที่ดี ผู้ขับรถควรลงมาดูให้แน่ใจเสียก่อน

เทคนิคในการขับรถขึ้น-ลงเนินชันนั้นให้ขับเป็นแนวตรง ไม่ควรขับเป็นแนวทแยง เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัวและอาจเกิดพลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความชันและลื่นมาก ๆ ตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อนนั้นควรใช้เกียร์ต่ำ ไม่ว่ารถจะอยู่ในระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ ก็ตาม เพราะกำลังของเครื่องยนต์ในเกียร์ต่ำจะช่วยในการฉุด (Engine Brake) ขณะรถลงเขา และไต่ (Walking Speed) ขณะรถปีนเขาได้ดี

การขับรถผ่านสิ่งกีดขวาง

ในการขับรถข้ามอุปสรรคสิ่งกีดขวางนั้น จะต้องมีการบังคับทิศทางของรถและล้อรถให้เป็นมุมเฉียง โดยลักษณะของล้อจะทำมุมเฉียงกับสิ่งที่กีดขวางและข้ามไปทีละล้อช้าๆพยายามเลือกข้ามบริเวณที่เป็นขอบหรือมุมของสิ่งกีดขวาง ทั้งนี้ควรที่จะใช้ตำแหน่งเกียร์ต่ำในการขับเคลื่อนพร้อมกับการเร่งเครื่องและเบรกควบคู่กันไป จะต้องเร่งเครื่องยนต์ช่วยอย่างแผ่วเบาโดยรักษาระดับรอบเครื่องไว้อย่างเหมาะสม ไม่แรงหรือเบาเกินไป

เมื่อแต่ละล้อขึ้นไปบนสิ่งกีดขวางแล้ว ขณะลงควรแตะเบรกช่วยเล็กน้อยเพื่อลดแรงกระแทกระหว่างล้อกับพื้น ควรจับพวงมาลัยให้มั่นป้องกันพวงมาลัยสะบัดมาดีดมือ ที่สำคัญไม่ควรที่จะขับข้ามสิ่งกีดขวางไปตรงๆ ตามแนวยาวของตัวถังรถ เพราะหากสิ่งกีดขวางมีความสูงมากๆ ช่วงล่างอาจจะแขวนหรือทำให้เสียหายได้

การขับรถผ่านบนก้อนหินขนาดใหญ่

การขับรถผ่านก้อนหินขนาดใหญ่นับเป็นสิ่งที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียหายของช่วงล่างจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยพยายามขับเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ ในตำแหน่งเกียร์ต่ำ ค่อยๆ บังคับให้ล้อปีนข้ามตรงกลางของก้อนหิน รักษาระดับรอบเครื่องยนต์ให้คงที่ และเมื่อล้อปีนก้อนหินไปแล้ว ควรใช้เบรกช่วยกันช่วงล่างกระแทกขณะล้อลงพื้น จะทำให้ช่วงล่างของรถไม่ได้รับการกระทบกระเทือนหรือไปกระแทกกับก้อนหินเสียหาย

สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มากที่สุดก็คืออย่าขับรถคร่อมก้อนหินใหญ่เป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ก้อนหินไปกระแทกกับอุปกรณ์ช่วงล่าง บริเวณ ลูกหมาก ปีกนก คันชักคันส่ง เพลาหน้า-หลัง หรือแคร็งค์น้ำมันเครื่องเสียหายได้

การขับรถข้ามหล่มโคลน

การเดินทางเข้าไปในเส้นทางออฟโรด จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางที่เป็นโคลนให้มากที่สุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ และจะขับรถข้ามไป สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติก็คือ จอดรถแล้วลงไปสำรวจสภาพเส้นทางดูก่อน ว่าตรงไหนลึก ตรงไหนตื้น เพื่อที่จะเลือกทางวิ่งได้เหมาะสมและสะดวกกว่า ควรใช้เกียร์สโลว์ ในตำแหน่งเกียร์ 1 หรือ 2 ตามความเหมาะสม เมื่อรถเคลื่อนตัวแล้วให้รักษาความเร็วและระดับรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ พร้อมกับส่ายพวงมาลัยซ้าย-ขวาเพื่อให้หน้ายางมีการสัมผัสพื้นผิวได้ดีขึ้น

แต่หากว่ารถเกิดติดอุปสรรคจริงๆ และรถมีวินช์ติดมา ก็ควรหาจุดที่สามารถใช้วินช์ได้ทำการวินช์จะดีกว่า เพื่อป้องกันการเสียหายของรถและเส้นทาง ไม่ควรที่จะเร่งเครื่องปั่นแรงๆ หรือนำรถพุ่งกระแทกลงไปแรงๆ เพราะอาจจะทำให้อุปกรณ์ของรถเสียหาย อีกทั้งยางจะปั่นโคลนทำให้ล้อจมลึกไปกว่าเดิม


เทคนิคการขับรถออฟโรดหลายรูปแบบ

ขณะนี้รถออฟโรดกำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้บริโภคคนไทย ประกอบกับในปีนี้จะมีรถออฟโรดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดให้เลือกมากขึ้น วันนี้คอลัมน์ของเราจึงขอแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ในการขับขี่รถออฟโรดในรูปแบบต่าง เพราะใน การใช้งานจริงบนเส้นทางออฟโรดไม่สามารถคาดเดาว่าเส้นทางข้างหน้าจะมีรูปแบบใด การศึกษาและทำความคุ้นเคยกับการขับเพื่อสยบอุปสรรคในรูปแบบต่าง ๆ จึงมีความสำคัญอย่าง ยิ่ง เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น การขับลุยโคลน ,ขับข้ามหิน,การขึ้นลงเนินลาดชัน ล้วนมีเทคนิคการขับที่แตกต่างกัน

1.การขับลุยโคลน
เป็นอุปสรรคที่สามารถพบได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการเดินทางในช่วงฤดูฝน โดยก่อนเริ่มการขับลุยโคลนไม่ว่าจะเป็นแอ่งที่มีความตื้นหรือ ลึก ควรเดินสำรวจโดยรอบก่อน เพื่อหาจุดเหมาะสมในการขับข้าม เพราะสภาพของดินโคลนในธรรมชาติแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน อีกทั้งต้องพิจารณาต่อไปถึงเส้นทางข้างหน้าว่าเป็นอย่างไรและมีความวิบากมากน้อยแค่ไหน การเลือกใช้ประเภทของเกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ และความเร็วให้เหมาะสม นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในสภาพเส้นทางราบตรงและมีแอ่งโคลน ไม่ลึกมากขวางอยู่ ควรจะใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในตำแหน่งเกียร์ 4H หรือ PART-TME HIGH ก็พอ เพราะมีการกระจายกำลังที่เพียงพอ และใช้ความเร็วที่เหมาะสมในการขับผ่าน ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป ที่สำคัญควรรักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ บางครั้งหากใช้ความเร็วมากเกินไปประ กอบกับพื้นดินที่อยู่ด้านล่างนุ่มมากเกินไป อาจจะทำให้รถยนต์ติดหล่มได้ อีกทั้งในขณะขับผ่านแอ่งโคลน ควรใช้เทคนิคหักพวงมาลัยซ้าย-ขวา สลับกันไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน้ายางตะกายผ่านพื้นผิวของโคลนได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ความเร็วในการแล่น ผ่านทางที่เป็นโคลน ต้องแน่ใจว่าไม่มีหินก้อนใหญ่ ๆ ฝังอยู่ที่พื้นด้านล่าง เพราะยางอาจดีดก้อนหินขึ้นมาจนทำให้เกิดความเสียหายกับยาง หรือตัวรถยนต์ได้ หากแอ่งโคลนข้างหน้ามีขนาดลึก ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่งเกียร์ 4L หรือ PART-TIME LOW เพื่อเพิ่มกำลังในการฉุดลากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเส้นทางด้านหน้าเป็นทางขึ้นเนินชันรออยู่ คงไม่ดีแน่ หากต้องหยุดรถยนต์เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ใหม่ เพราะอาจจะทำให้การไต่เนินชันทำได้ยากขึ้น และอาจจะต้องลงไปตั้งหลักที่ด้านล่างใหม่อีกครั้ง ดังนั้น ก่อนที่จะขับผ่านอุปสรรคใดก็ตาม ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงเส้นทางต่อไปว่า มีความยากง่ายมากน้อยแค่ไหน ทำอย่างไรเมื่อติดหล่มโคลน หากรู้สึกว่าไม่สามารถขับผ่านแอ่งโคลนไปได้ ไม่ควรฝืนเพื่อผ่านไปให้ได้ด้วยการเหยียบ คันเร่งมากขึ้นกว่าเดิม เพราะจะทำให้สถานการณ์ แย่ลงไปอีก โดยยางจะจมลงไปในโคลนมากขึ้น หากเป็นรถยนต์ออฟโรดแบบเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรกและขึ้นเบรกมือไว้ จากนั้นผลักดันคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จึงสตาร์ทเครื่องอีกครั้งโดยที่เท้ายังเหยียบเบรกอยู่ ต่อจากนั้นเข้าเกียร์ต่ำหรือเกียร์ถอยหลังปลดเบรกมือและค่อยปล่อยเท้าจากการเหยียบ เบรกมากดคันเร่งอย่างค่อยๆ จนตัวรถยนต์เริ่ม มีการเคลื่อนที่ หากเป็นเกียร์ธรรมดา อาจจะใช้วิธีเข้าเกียร์แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์ จะทำให้ตัวรถยนต์ กระตุกและเคลื่อนตัวจนถึงหลุดจากหล่มโคลน ถ้ายังติดหล่มอยู่ให้ลองดูอีกครั้ง แต่ถ้าสถานการณ์แย่จริง ๆอาจใช้เครื่องลากหรือวินซ์ในการฉุดลากขึ้นจากแอ่งโคลน

2.การลุยทราย
อาจเป็นอุปสรรคที่ไม่ค่อยพบมากนัก ซึ่งการขับบนพื้นทราบมีเทคนิคไม่ต่างจากการขับผ่านแอ่งโคลน คือควรเลือกใช้เกียร์ขับเคลื่อน 4ล้อให้เหมาะสม และพยายามเร่งเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ขับสามารถเลือกใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในตำแหน่งเกียร์ 4H ถ้าเป็นเส้นทางที่ไม่โหดมากนัก แต่ถ้าไม่มั่นใจก็สามารถเลือกในตำแหน่ง 4 L เลยก็ได้ เพราะถ้าคาดการณ์ผิดพลาดโดยใช้ตำ แหน่งเกียร์ 4 H ขณะที่เส้นทางมีความวิบากมาก พอผ่านไปได้สักระยะรถยนต์อาจหมดกำลังได้ การขับอยู่บนพื้นทราย พยายามรักษาความเร็วไว้ให้คงที่ไม่ควรลดความเร็วหรือหยุด เพราะอาจติดหล่มทรายได้

3.การขึ้น-ลงทางลาดชัน
ควรเลือกใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่งเกียร์ 4Lเพื่อเพิ่มกำลังในการปีนไต่มาก ขึ้น อีกทั้งในขณะที่ลงทางลาดชัน เมื่อใช้เกียร์ 1ร่วมกับเกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่งนี้กำลังของเครื่องยนต์จะช่วยฉุดตัวรถยนต์ไว้ จนผู้ขับแทบไม่ต้องแตะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว เส้นทางขึ้น-ลงภูเขา พบได้ว่าการเดินทาง ตามต่างจังหวัด ซึ่งผู้ขับควรใช้ความระมัดระวัง เป็นพิเศษในการเดินทาง เพื่อความปลอดภัย หากเป็นบนถนนหลวงที่ตัดผ่านภูเขา อาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แค่ 2 ล้อ ขับเคลื่อนก็มีกำลังเพียงพอแล้ว ซึ่งในช่วงทางลง ควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อให้กำลังของเบรกตลอดเวลาขณะลงทางลาดชัน เพราะอาจทำให้ผ้าเบรกไหม้จนถึงขั้นเบรกล็อกและเกิดอันตรายได้ นอกจากนั้นในขณะแล่นลงจากเขา ไม่ควรปลดเกียร์มาอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง หรือ N สำหรับเกียร์อัตโนมัติ เพราะจะทำให้รถยนต์แล่น ลงด้วยความเร็ว เนื่องจากไม่มีกำลังของเครื่อง ยนต์มาหน่วงตัวรถยนต์ไว้ และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ทางขึ้นเนินที่เต็มไปด้วยหิน บางครั้งสภาพเส้นทางในการเดินทางอาจวิบากกว่าที่คิด นอกจากจะเป็นทางขึ้นเนินแล้ว ยังเต็มไปด้วยหินทั้งก้อนใหญ่และก้อนเล็ก ผู้ขับจึงจำเป็นต้องทราบถึงเทคนิคที่ถูกต้อง เพราะหากเกิดความผิดพลาดอาจเป็นอันตรายทั้งต่อร่างกายและทำให้ตัวรถยนต์ได้รับความเสียหาย ในการเดินทางที่ เต็มไปด้วยหินก้อน ใหญ่ ๆ และวางกระจัดกระจายไปทั่ว ผู้ขับจำเป็น ต้องใช้ความชำนาญในการวางตำแหน่งล้อ และการพารถยนต์ผ่านไปได้โดยไม่เกิดความเสียหาย หรือมีความเสียหายน้อยที่สุด ตามปกติในทางขึ้นเนิน รถยนต์ต้องใช้กำลังมากกว่าปกติอยู่แล้วและเมื่อมีก้อนหินที่ไม่ เป็นระเบียบ ยิ่งทำให้เส้นทางวิบากมากขึ้นไปอีก ควรเลือกใช้เกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อในตำแหน่ง 4L พร้อมกับเกียร์ขับเคลื่อนปกติในตำแหน่งเกียร์ 1 และบังคับทิศทางในการไต่ผ่าน เฉพาะก้อนหินที่ขนาดเล็ก และเหยียบคันเร่งให้คงที่โดยรอบเครื่องยนต์ที่ใช้ไม่ควรเกิน 2,500 รอบ/นาที การข้ามแอ่งลึก ในการขับบนเส้นทางออฟโรดตามป่า บางครั้งอาจต้องพารถยนต์ข้ามห้วยหรือลำธารไปยังฝั่งตรงข้าม เพราะไม่มีสะพานเชื่อมต่อ ขั้นแรกควรเดินสำรวจเส้นทางที่จะใช้ลงไป รวมถึงทางขึ้นจากแอ่ง เพราะตามปกติพื้นดินริมตลิ่งมักมีความนุ่มและเป็นโคลน หากขับลงไปทันทีโดยไม่มีการสำรวจก่อน อาจทำให้ติดหล่มหรือพลิกคว่ำได้ ควรเลือกใช้เกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำ แหน่ง 4L และค่อย ๆ ขับลงไป และควรลงในลักษณะเป็นแนวเส้นตรงไม่ควรหักพวงมาลัยนำรถยนต์ตะแคงข้างลงไป เพราะอาจทำให้เกิดการลื่นไถลหรือพลิกคว่ำได้ เมื่อถึงทางขึ้นเนิน ควรนำรถยนต์ขึ้นเป็นเส้นตรงเช่นกันและใช้รอบเครื่องยนต์ให้เหมาะสม ซึ่งไม่ควรเกิน 2,500 รอบ/นาที และกดคันเร่งพารถยนต์ขึ้นไป

4.ข้ามร่องลึก
ควรเลือกระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำ แหน่งเกียร์ 4L พร้อมกับหักพวงมาลัยหันด้านใดด้านหนึ่งของรถยนต์เข้าหารอยแตก โดยเอียง ทำมุม 45 องศา และค่อย ๆ ควบคุมให้ล้อลงบนร่องทีละล้ออย่างนุ่มนวลอย่าให้ตกร่องพร้อม กันทั้ง 2 ล้อ เพราะร่องหรือรอยแยกจะล็อกล้อ ให้อยู่กับที่ ไม่สามารถขับเขยื้อนได้ เกียร์ขับเคลื่อนปกติควรอยู่ในตำแหน่งเกียร์ 1 ซึ่งการขับข้ามร่องลึกต้องอาศัยความนุ่ม นวลในการปล่อยรถไหลลงบนร่อง และการวางตำแหน่งที่เหมาะสม ถ้าเป็นการขับผ่านร่องหิน พยายามขับคร่อมรอยแยกแม้ว่ารอยแยกจะมีความกว้างมากกว่าตัวรถยนต์ โดยอาจต้องขับให้ล้อด้านใดด้านหนึ่งอยู่ในลักษณะการไต่เอียงไปตามผนังของรอยแยก ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะความคมและแข็งของหิน อาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวรถยนต์หรือยางได้ 5.การขับในป่าที่แคบและเส้นทางขรุขระ เส้นทางในป่าบางแห่งอาจค่อนข้างแคบและมีความขรุขระผู้ขับควรใช้ความชำนาญและการสังเกต รวมทั้งการใช้ความเร็วให้เหมาะ สม เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า เส้นทางข้างหน้าจะมีขอนไม้หรือก้อนหินขวางทางอยู่หรือไม่ หากเส้นทางไม่โหดมาก ก็สามารถเลือกใช้เกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่ง 4H ได้ หรือใช้เกียร์ 4L หากมีความวิบากมาก ผู้ขับควรเหยียบคันเร่งให้สม่ำเสมอและพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คลัตช์ให้น้อยที่สุด นอกจากนั้น กระจกมองข้ามยังมีประโยชน์ในการสังเกตด้านข้างของรถยนต์กับแนวไม้ตามข้างทางที่เป็นอุปสรรค
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของรถยนต์ออฟโรด
รถยนต์ออฟโรดในปัจจุบัน ไม่ได้มีการใช้งานเฉพาะเส้นทางออฟโรดตามชื่อกัน มากนัก ล้วนมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้งานอย่างอเนกประสงค์ บนทางเรียบสายยาวด้วยความเร็วสูง และการติดขัดบนสภาพการจราจรอันหฤโหด กลับกลายเป็นการใช้งานหลักของรถยนต์ออฟโรดในยุคไฮเทคไปแล้ว
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการเดินทางเป็นสิ่งจำเป็น และควรให้ความสนใจ เพราะความแตกต่างของรถยนต์ออฟโรดกับรถยนต์นั่ง ในเหตุการณ์ หรือบางกรณี อาจสร้างปัญหาได้แตกต่างกันมากเช่นเดียวกัน
ยางแตก
แม้ยางรถยนต์ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาการที่ดี ทั้งประสิทธิภาพในการเกาะถนน และความทนทานต่อการใช้งานในทุกสภาพ รวมถึงการใช้การเก็บลมแบบไม่ใช้ยางใน -TUBLESS จะมีผลทำให้ยางระเบิดหรือแตกได้ยากก็ตาม แต่รถยนต์แบบออฟโรด ที่มักใช้ยางแก้มสูงมาก ๆ เพื่อเน้นการลุย ถ้ามีการระเบิดที่ยางเส้นใดเส้นหนึ่ง ตัวรถยนต์ในมุมนั้นก็จะยุบยวบลงไปมากกว่ารถยนต์นั่งที่ใช้ยางแแก้มเตี้ยกว่า เมื่อยางระเบิดต้องใช้สติและความมั่นคงในจิตใจ เพราะการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก
เมื่อยางระเบิดหรือแตกอย่างกะทันหันไม่ว่าจะอยู่ในช่วงความเร็วใด ต้องจับพวงมาลัย ให้มั่นคง พยายามรั้งไว้ แต่อย่ากระชากเด็ดขาด ถอนคันเร่ง อย่าตกใจกดเบรก อย่างกะทันหัน เพราะอาจเกิดการหมุนปัดเป๋เสียการทรงตัวได้ การลดความเร็ว สามารถใช้เบรกได้เพียงเบา ๆ และต้องเหยียบสลับกับการปล่อย เพื่อไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงด้านหน้ามากเกินไป ถ้ายางที่แตกไม่ใช่ล้อขับเคลื่อน ก็สามารถใช้เกียร์ช่วยในการลดความเร็วได้ เมื่อความเร็วต่ำลงแล้ว
เบรกแตก
รถยนต์ทุกรุ่นในปัจจุบันใช้น้ำมันเบรกเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันระหว่างการกดของเท้า ไปยังผ้าเบรก เสมือนเป็นระบบไฮดรอลิกชนิดหนึ่ง ดังนั้น จึงอาจมีการรั่วซึมจาก ลูกยาง ตัวใดตัวหนึ่ง หรือท่อน้ำมันเบรกรั่ว การถ่ายทอดแรงดันก็จะสูญเสียลงไป แต่ระบบเบรกของรถยนต์ในปัจจุบันมักแบ่งการทำงานเป็น 2 วงจร อาจเป็นแบบล้อคู่หน้า และล้อคู่หลัง หรือเป็นแบบไขว้ ล้อหน้าซ้าย-ล้อหลังขาว และ ล้อหน้าขวา-ล้อหลังซ้าย เผื่อสำหรับการชำรุดของวงจรใดวงจรหนึ่ง เพื่อให้ระบบเบรกยังมีประสิทธิภาพการ ทำงาน หลงเหลืออยู่บ้าง
ดังนั้นเมื่อเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกเกิดการั่ว ส่วนใหญ่มักหลงเหลือประสิทธิภาพ การทำงานอยู่หลาย 10 เปอร์เซ็นต์ ตั้งสติให้มั่นคงเมื่อเหยียบแป้นเบรกลงไปแล้ว ลึกต่ำกว่าปกติ ต้องเหยียบซ้ำแรง ๆ และถี่ ๆ เพื่อใช้แรงดันในวงจรที่เหลืออยู่ ผ้าเบรกจะได้สร้างแรงเสียดทานขึ้นมาบ้าง พร้อมกับการลดเกียร์ต่ำครั้งละ 1 เกียร์ จนกว่าจะถึงเกียร์ต่ำสุด แล้วค่อยใช้เบรกมือช่วย โดยการกดปุ่มล็อกค้างไว้ให้สุด เพื่อไม่ให้เบรกจนล้อล็อก ดึงขึ้นแล้วปล่อยสลับกันไป เพื่อลดความเร็ว ถ้าระบบเบรกชำรุดทุกวงจร ต้องใช้การลดเกียร์ต่ำช่วยเป็นหลัก แล้วค่อยดึงเบรกมือช่วย เมื่อไล่ลงถึงเกียร์ต่ำที่สุดแล้ว
สายคลัตช์ขาด หรือปั๊มคลัตช์รั่ว
รถยนต์ที่ใช้ระบบเกียร์ธรรมดา ต้องมีระบบคลัตช์เข้ามาตัดต่อกำลังของเครื่องยนต์ ออกจากระบบขับเคลื่อนเมื่อมีการเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้ง ถ้าสายคลัตช์ขาด หรือปั๊มคลัตช์รั่ว ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์จะแล่นไม่ได้เลย ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า นำรถยนต์ออกจากพื้นที่เป็นระยะสั้น ๆ โดยไม่ต้องเข็นหรือลากกันได้ไม่ยาก และถ้าเส้นทางว่างก็สามารถนำรถยนต์เคลื่อนที่ออกมาได้หลายกิโลเมตร
วิธีปฏิบัติ คือ ตรวจสอบว่าเส้นทางข้างหน้าต้องว่างไม่น้อยกว่า 10-20 เมตร ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ปิดสวิตช์กุญแจ เข้าเกียร์ 1 ไว้ กดคันเร่งประมาณ 1-2 เซนติเมตร บิดกุญแจสตาร์ตเครื่องยนต์ ตัว รถยนต์จะกระตุกเป็นจังหวะตามการหมุน ของเครื่องยนต์และไดสตาร์ต เคลื่อนที่กระตุกไปทีละนิด จนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงาน ก็กดคันเร่งลงไปมากขึ้น เพื่อเร่งความเร็ว เกียร์จะไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่สามารถใช้ความเร็วได้เกือบเต็มที่ของความเร็วสูงสุดของเกียร์ 1 คือประมาณ 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง ถ้าเส้นทางข้างหน้าว่างก็สามารถขับไปได้เรื่อย เมื่อต้องเบรกก็กดแป้นเบรกลงไปเท่านั้น ปล่อยให้เครื่องยนต์ดับ แล้วค่อยเริ่มกับ การออกตัวครั้งใหม่ วิธีนี้สามารถใช้แก้ไขสถานการณ์ทั้งในต่างจังหวัด เส้นทางทุรกันดาร รวมทั้งบนการจราจรในเมืองใหญ่ที่พอมีเส้นทางด้านหน้าว่างเป็นระยะพอสมควร ไม่จำเป็นต้องเข็นหรือลาก เมื่อสายคลัตช์ขาดหรือปั๊มคลัชต์รั่ว
เครื่องยนต์ร้อนจัด น้ำหม้อน้ำแห้ง
ถ้าไม่ได้เกิดจากการรั่วซึมผิดปกติ แต่เกิดจากการหลงลืมเติมน้ำหม้อน้ำ ก็สามารถเติมน้ำเข้าไปให้เต็มได้ เพราะถ้าเป็นการรั่วผิดปกติเติมลงไปก็รั่วออกมาอีก การเติมต้องมีเทคนิคและใจเย็นพอสมควร จอดรถยนต์หลบในที่ปลอดภัย ดับเครื่องยนต์ รอให้เครื่องยนต์เย็นลงบ้าง หาผ้าหนา ๆ และผืนกว้างพอสมควรคลุมฝาหม้อน้ำให้มิด แล้วบิดออกเล็กน้อยก่อนเพื่อให้แรงดันภายในคลายตัวออกมาบ้าง เมื่อแรงดันคลายตัวออกมามากในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 นาที ค่อย ๆ บิด เปิดฝาหม้อน้ำต่อ ระวังไอหรือน้ำร้อนพุ่งออกมา ต้องคลุมผ้าผืนหนาไว้ให้มิดชิดมาก ๆ อย่ารีบเติมน้ำลงไปในทันที ต้องรอให้เครื่องยนต์คลายความร้อนประมาณ 20-30 นาที การเติมน้ำต้องเติมครั้งละนิด ไม่เกิน 0.5 ลิตร แล้วทิ้งช่วงสัก 1-2 นาที เพื่อให้น้ำที่เติม ดึงความร้อนกระจายให้ทั่วเพราะโลหะที่ร้อนจัด เมื่อถูกน้ำเย็นในทันที จะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนร้าว หรือเสียหายได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.95.181 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 11:27  IP : 125.26.95.181   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 223996

คำตอบที่ 22
       พี่ไก่ เอาเวลาไหนมา บรรยาย จ๊ะ
ข้อมูลเยอะอย่างนี้ เป็นวิทยากร บรรยายให้ฟังหน่อยนะพี่



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

b_patco จาก BANK TCT.337 27.130.51.65 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 20:57  IP : 27.130.51.65   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224010

คำตอบที่ 23
       แค่นี้ก็จะแย่แล้ว Bank เอ๋ย คนรักมีคนเกียดมี



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 1.46.130.94 พุธ, 10/11/2553 เวลา : 21:32  IP : 1.46.130.94   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224011

คำตอบที่ 24
       เป็นธรรมดาของสัตว์โลกครับ พี่ป๋อง มีคนรักต้องมีคนเกลียด เพียงแต่เรา ไม่เกลียดกันเองก้อพอแล้ว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

b_patco จาก BANK TCT.337 183.89.243.243 พฤหัสบดี, 11/11/2553 เวลา : 20:32  IP : 183.89.243.243   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224051

คำตอบที่ 25
       ลูกน้องปัญญา หรือเปล่านี้ "ถูกต้องแล้วครับบบบบบ"



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 124.122.50.184 พฤหัสบดี, 11/11/2553 เวลา : 20:55  IP : 124.122.50.184   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224052

คำตอบที่ 26
       เยี่ยมเลยครับคุณไก่ ให้ความรู้ดีมากๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

trooper91 จาก TCT013 124.120.74.208 ศุกร์, 12/11/2553 เวลา : 07:03  IP : 124.120.74.208   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224060

คำตอบที่ 27
       เทคนิคการใช้เกียร์ออโต้เมติค

ปัจจุบันรถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโตเมติกเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากขับขี่สบายไม่ต้องเมื่อยเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคลัตช์ (Clutch) ตลอดเวลายามรถติด แต่อาจมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เกียร์ออโต ส่งผลให้ทอนอรยุการใช้งานของรถโดยไม่รู้ตัว...

การเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่รถติดไฟแดงบ่อยๆ นั้นหลายคนคงเคยปฏิบัติกันอยู่
เนื่อง จากเวลารถติดขี้เกียจเหยียบเบรกก็เข้าเกียร์ N ไว้ เมื่อรถเคลื่อนก็เปลี่ยนเป็น D ถ้าช่วงรถติดแล้วขยับเคลื่อนทีละนิดทีละหน่อย ทำให้ต้องเปลี่ยน D-N-D-N-D-N อยู่อย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายระบบเกียร์ของคุณอยู่
ระบบเกียร์ออโตเมติกนั้นจะประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกันตลอดเวลา การส่งแรงจาก N ไป Dจะต้องมีการสึกหรอของเฟืองนั้นต้องมีการปล่อยและจับอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เพราะถ้าเบรกอยู่เฉยๆ
ระบบเบรกก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะว่าจานดิสเบรกหรือดุมเบรกไม่ได้หมุน ผ้าเบรกก็ไม่สึกหรอเพราะว่าล้อไม่หมุน
แรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุมแม่ปั๊มเบรกพังหรือทำให้อายุการใช้งานน้อยลง

หลายคนที่เปลี่ยนเกียร์ D-N-D-N-D-N
อ่าน ถึงบรรทัดนี้แล้วก็อยากจะเถียงว่าไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงเลย รถยังคงสามารถขับได้ตามปกติ ระบบเกียร์ก็ยังปกติดอยู่ แต่พฤติกรรมอย่างนี้จะส่งผลแก่รถคุณในระยะยาว เปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่นั่นแหละ ระบบคลัตช์ของคุณจะลื่น ทำให้เวลาออกตัวคุณจะต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้รอบสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลยสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลย

การใช้เกียร์ออโตเมติค

ปัจจุบันรถยนต์เกียร์ออโตเมติคได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการขับขี่ในเมืองที่มีการจราจรติดขัด
เนื่อง จากขับขี่ได้ง่ายสะดวกสบายเพราะใช้เพียงคันเร่งและเบรกเท่านั้น คันเกียร์ของเกียร์ออโตเมติคจะมีตำแหน่งสำหรับใช้งานต่าง ๆ กันดังนี้

ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดอยู่กับที่หรือบนพื้นที่ลาดเอียง โดยรถจะถูกล็อกให้หยุดอยู่กับที่ด้วยตัวล็อกภายในเกียร์

ตำแหน่ง R ใช้สำหรับการถอยหลัง

ตำแหน่ง N ใช้สำหรับการหยุดรออยู่กับที่บนพื้นราบ ซึ่งในตำแหน่งนี้รถสามารถเข็นให้เคลื่อนที่ได้

ตำแหน่ง D ใช้สำหรับการขับขี่แบบอัตโนมัติโดยเกียร์จะเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติตามคันเร่งและความเร็วของรถ
ใช้ ขับขี่ได้ตั้งแต่การเริ่มออกตัวและเพิ่มความเร็วได้ไปเรื่อย ๆ จนถึงความเร็วสูงสุด การขับขี่โดยทั่วไปสามารถใช้เกียร์นี้เพียงเกียร์เดียวเท่านั้นก็ได้

หมายเหตุ สำหรับรถที่มีสวิตซ์โอเวอร์ไดร์ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษในเกียร์ออโต 4 สปีดบางรุ่น

เมื่อสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง ON เกียร์ออโตจะสามารถทำงานได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติ
สวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง OFF เกียร์ออโตจะทำงานโดยอัตโนมัติได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงแค่เกียร์ 3 เท่านั้น

ฉะนั้น การปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง ON ไปเป็น OFF จึงเป็นการลดเกียร์จากเกียร์ 4 มาเป็นเกียร์ 3 เพื่อให้เหมาะกับการเร่งแซงขณะความเร็วสูง และเมื่อปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง OFF ไปเป็น ON จะทำให้เกียร์ 3 กลับไปเป็นเกียร์ 4 อย่างเดิม ทำให้การลดเกียร์เพื่อเร่งแซง หรือเข้าโค้งเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น
ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร

ตำแหน่ง L ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ
หมายเหตุ
การสตาร์ทเครื่องยนต์ถูกออกแบบให้สามารถกระทำได้เฉพาะ ตำแหน่ง P กับ N เท่านั้น เพื่อความปลอดภัย

ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงคมนาคม

สาระควรรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 7 เมตร
ที่ความเร็ว 40 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 18 เมตร
ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 34 เมตร
ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 54 เมตร
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 80 เมตร

หลายคนมักเข้าใจว่า เกียร์ออโตเมติกสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในความเร็วและอัตราเร่งขณะแซง หากมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ในการใช้เกียร์ออโตเมติก เชื่อว่าจะขับรถเกียร์ออโตเมติกได้อย่างสบาย และเพลิดเพลินด้วยความปลอดภัยไม่แพ้รถเกียร์ธรรมดาเลย

ผู้ขับขี่ส่วนมากใช้เกียร์อยู่เพียง 4 ตำแหน่ง นั่นคือ "D4" เมื่อต้องการขับรถไปข้างหน้า
"R" เมื่อต้องการถอยหลัง "N" หรือ "P" เมื่อต้องการจอดหรือสตาร์ตรถ
อันที่จริงแล้วควรใช้เกียร์ตำแหน่งอื่น เพื่อเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เช่นกัน

เทคนิคการขับรถเกียร์ออโตเมติกเมื่อลงทางลาดชันและการคิกดาวน์ (Kick Down) เมื่อต้องการเร่งแซง สำหรับการขับรถลงทางลาดชัน ขอแนะนำให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D3" กรณีที่ทางลงนั้นมีระยะเวลายาวแต่ไม่ชันมากนัก แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมากๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "2" เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันควรเหยียบเบรกไปด้วยหรืออาจใช้เบรกมือเพื่อช่วยในการหยุดรถที่ ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าใช้เกียร์ "N" หรือ "D4" ในการขับรถลงทางชัน เพราะจะไม่มีกำลังเครื่องยนต์ช่วยเบรกและช่วยชะลอความเร็ว นับเป็นการขับที่ผิดวิธีและเป็นอันตรายอย่างมาก

กรณีที่ต้องการเร่งแซงรถคันอื่น หรือต้องการแรงเพิ่มขับเคลื่อนรถอย่างกะทันหัน สามารถเพิ่มความเร็วของรถด้วยการคิกดาวน์ (Kick Down) โดยเหยียบคันเร่งลงไปเกินกว่า 80% ในครั้งเดียวเกียร์จะเปลี่ยนลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ในขณะที่รถจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.79.75 อาทิตย์, 14/11/2553 เวลา : 11:21  IP : 125.26.79.75   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224090

คำตอบที่ 28
       การคิก ดาวน์ (Kick Down) มี 2 ลักษณะคือ

1. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 1 ตำแหน่ง เช่น รถที่ขับ ความเร็วประมาณ 120 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 4) แล้วเหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 3 สังเกตจากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย

2. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 2 ตำแหน่ง เช่น ขับรถที่ ความเร็วประมาณ 70 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 4) แล้ว เหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 2 ทันที เพื่อให้อัตราทดเกียร์เหมาะสมกับความเร็วขณะขับขี่ ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งมากขึ้น สังเกตจากรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมากกว่าการคิกดาวน์ (Kick Down) 1 ตำแหน่ง

หนทางให้คุณวางใจ...เกียร์ออโตเมติก

เกียร์อัตโนมัติ "เกียร์ออโต้" ดูจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเรามักจะมองหา...
หรือเอามือไปคว้าไว้หลังพอๆ กับพวงมาลัยรถก็ว่าได้และแน่นอน เราจะมองหามันก่อนที่จะบิดสวิตช์กุญแจเสียอีก...

ยุคนี้เราจะชินกับ Automatic Transmission ซะยิ่งกว่า "เกียร์ธรรมดา" Manual Transmission ไปเสียแล้ว ยิ่งจำพวกเกียร์ออโตเมติกแบบใหม่ๆ Lock-UP Torque Converter ที่มี CPU 8 BIT- 16 BIT เข้าไปช่วย Calculation การเปลี่ยนเกียร์ด้วยแล้วละก็ยิ่งสะดวกไปกันใหญ่

ล่าสุด CVT หรือ Constantly Variable Transmission ยุคปี 2000 เป็นต้นมา ด้วยแล้วละก็ ยิ่งนุ่มนวลแม่นยำ และแสนจะง่ายดายในการทำงาน แถมยังไม่ยุ่งยากอย่างเกียร์ออโต้สมัยเก่าซะด้วย

หนทางที่จะนำเราไปสู่อายุขัยยืนนานของการใช้เกียร์ออโตเมติกง่ายๆ ให้มีไว้สัก 10 ข้อ

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งานเดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวันนานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยาก อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลย

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อยควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยน ได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่าอายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลาความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดและพังอย่างเร็วซะด้วย บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวันโดยมิได้สังเกตอาการก็มี

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่าถ้าติดไฟแดงก็ควร "พักเกียร์" คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา "OFF Gear" น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันที จำ "หลุมฉิ่ง" Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหม ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่ แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ "Standby" ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน "หลุมฉิ่ง" พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว ...เท่านั้น ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่ได้ทำเช่นนี้แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า
หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร "Hold D" เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลย ด้วยวิธีง่ายๆ นี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่า แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลย อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือ

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นอย่าทำเป็นอันขาด สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ... ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที "จ๊ากโชว์" ได้แน่ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่ง แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพัง พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละ ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาด

6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" ควรศึกษาคู่มือให้ดีก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้เท่าใด ในเกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้นถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมาก ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า
ส่วนรถ OFF Road 4x4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกินเท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้นฟังก์ชันเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจาก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น 4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่โฆษณารวมถึง เส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นควร "เมคชัวร์" ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น 4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลย เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ
หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้นที่แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้

7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT เพราะเกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น แน่นอน เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐานเดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด
คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อน หรือไม่งั้นใช้ตาม spec เดิม เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง

8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใด

9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT ยามใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง "Vacuum Control : VC" ทันที อย่าแกล้งเมิน บางทีอาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ แต่ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงานด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้ แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี

10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า "Vacuum Air" อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.79.75 อาทิตย์, 14/11/2553 เวลา : 11:22  IP : 125.26.79.75   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224091

คำตอบที่ 29
       หลายๆ คนมักไม่ชินเวลาขับรถถอยหลัง หรือเก้ๆ กังๆ กะระยะห่างไม่ถูกต้องเวลาถอยรถเข้าช่องจอด มาเรียนรู้วิธีขับรถถอยหลังให้ถูก และเทคนิคง่ายๆ

ขับรถถอยหลังนั้น ควรกระทำในขณะที่ความเร็วต่ำและขับช้าๆ ซึ่งจะทำให้การหมุนพวงมาลัยได้ผลดี

ขณะหมุนพวงมาลัย ควรใช้รถเคลื่อนที่นิดหน่อยเพราะจะช่วยลดการเสียดสีระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน

หลักการถอยหลัง มีหลักอยู่ว่าต้องการให้ท้ายของรถยนต์หันไปทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น เช่น ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปทางซ้าย ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปด้านซ้าย และถ้าต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปทางขวาก็หมุนพวงมาลัยไปทางขวา

ในขณะที่จะถอยหลัง หากมีการจราจรแออัดควรเปิดสัญญาณไฟ และสังเกตรถที่ผ่านไปมาทั้งด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา ว่าพ้นระยะในการหักวงเลี้ยวของรถเราหรือไม่

เพิ่มความมั่นใจ ขณะถอยด้วยการใช้มือขวาควบคุมพวงมาลัยและใช้แขนซ้ายอ้อมไปจับด้านหลังของเบาะคู่หน้า จากนั้นค่อยๆ ถอยช้าๆ เข้าซอง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้การเอี้ยวคอไปมองท้ายรถสะดวกขึ้น

การทิ้งช่วงห่างระหว่างท้ายรถกับกำแพงด้านหลัง บ่อยครั้งที่เรามักจะกะระยะไม่ถูก เนื่องจากไม่กล้าถอย กลัวท้ายจะชนโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ลองใช้วิธีแตะเบรกช่วย แล้วสังเกตแสงไฟท้าย ประเมินดูได้จากรัศมีของแสงไฟ หากจอดชิดเกินไปจะมีแสงหรี่หรือมองไม่เห็นแสง แต่หากแสงจ้าแสดงว่ายังถอยได้อีก

ทั้งนี้ลองสังเกตการจอดของรถข้างๆ ที่มีขนาดใกล้กันช่วยก็ได้ โดยพยายามให้บานประตูรถอยู่ในระนาบเดียวกัน และระวังเรื่องรถคุณจะจอดล้ำหน้าเกินไป ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินมิติ หรือขนาดของรถและขนาดช่องว่างพื้นที่ที่จะนำรถเข้าจอด พร้อมด้วยช่องว่างที่เหลือเพื่อหักเลี้ยวด้วย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tct225 จาก KAI 125.26.79.75 อาทิตย์, 14/11/2553 เวลา : 11:25  IP : 125.26.79.75   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224092

คำตอบที่ 30
      


FW: ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน



ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจไม่สามารถยึดได้
มีประโยชน์สำหรับผู้ขับขี่ เมื่อเช้านี้ได้ฟังรายการ บัณทึกสถานะการณ์
ทางวิทยุแห่งประเทศไทยตอน 8.00 น.
วันนี้มีการสัมภาษณ์ คุณจาตุรงค์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนครี
เรื่องมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาล มีตอนหนึ่งที่ท่านพูดว่า
ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจไม่สามารถยึดได้ ตำรวจออกใบสั่ง
ให้ไปเสียค่าปรับ ถ้าหากยึดใบขับขี่ ถือเป็นการลักทรัพย์
แต่ความเป็นจริงทั้งในอดีตและในปัจจุบันนี้เวลาตำรวจทางหลวงหรือตำรวจจราจร
และแม้แต่ตำรวจสายตรวจ หรือตามด่านต่างๆ เวลาเรียกรถเพื่อตรวจ
มักจะขอดูใบขับขี่ และยึดเอาไป แล้วหาข้อหาให้
บางทีก็ยึดแล้วเดินเข้าป้อมเพื่อให้คนขับรถเข้าไปเจรจา
บางทีก็ยึดโดยไม่ให้ใบสั่งแต่บอกให้ไปเอาที่สถานี
บางทีก็ยึดไปพร้อมออกใบสั่ง เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ
ประชาชนส่วนใหญ่งง วิธีการปฏิบัติของตำรวจ ต่อไปถ้าตำรวจจะยึดใบขับขี่ต้องไม่ยอมให้ ไป
ถ้าตำรวจเอาไปจริงๆ ต้องแจ้งความข้อหาลักทรัพย์
เวลาทำผิดกฏจราจร ตำรวจก็ให้ใบสั่งได้อยู่แล้ว และใบสั่งมีความสำคัญมาก
ผู้รับต้องไปเสียค่าปรับ ถ้าไม่ ไป
ทางราชการก็มีมาตรการที่จัดการอยู่แล้ว เช่นไม่ต่อทะเบียนตัดคะแนน
เมื่อได้อ่าน และรู้เช่นนั้นแล้ว
กรุณาส่งต่อ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเสียอารมณ์
ในเวลาขับรถเพื่อความปลอดภัย
นาย ชัยณรงค์ เอื้อสิทธิชัย
รองผู้อำนวยการฝ่าย และผู้บริหาร

















 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

pongtct052 จาก pong 124.121.121.149 อาทิตย์, 14/11/2553 เวลา : 19:24  IP : 124.121.121.149   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 224098

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,22 พฤศจิกายน 2567 (Online 9368 คน)