คำตอบที่ 45
ตอบคำถามครับ
1.เรื่องสารกันความชื้น....
ที่ท่านArgoy ถามมาผมคงต้องเดาครับ เพราะสารดูดความชื้นมีเยอะหลายชนิด ถ้าผมเดามันน่าจะเป็นสารกันความชื้นประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Natural Clay หรือไม่ก็ เป็นโมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve) เนื่องจากเป็นผงละเอียดอยู่ในซอง....
2.ถามว่าถอดเลนส์ไหมเวลาเก็บกล้อง ผมไม่ถอดครับ ส่วนใหญ่จะติดเลนส์ที่ใช้ประจำไว้ ตอนนี้ก็เป็น ขนาด 18-105 มม. ด้วยเหตุผลแบบเดียวกับน้าเจษฎ์ ครับ แล้วขนาดเลนส์ที่ติดไว้เป็นขนาดที่ใช้ประจำครับ
......ไหนๆก็ไหนๆ ถ้าไม่เบื่อวิชาการ ก็ลองอ่านดูครับ ผมค้นมาให้อ่านกัน....ขออภัยผมจำชื่อเวปที่ก้อปมาไม่ได้..
ชนิดของสารดูดความชื้น
ซองดูดความชื้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ซิลิก้าเจล (Silica Gel) สารกันชื้น
ซิลิก้าเจลคือ สารสังเคราะห์ที่สกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide) มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยทั่วไป ซิลิก้าเจล จะมีลักษะณะเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้มีพื้นผิว ที่ใช้ในการดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก ประมาณ 800 ตารางเมตรต่อน้ำหนัก 1 กรัม หรือประมาณ 35-40 % ของน้ำหนักตัวเอง
ซิลิก้าเจล (Silica Gel) มี 4 ชนิดคือ
- ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีขาว (White Silica Gel)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นประมาณ 35-40% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
- ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน (Blue Silica Gel)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการ เพียงแต่มีการเพิ่มสาร พิเศษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการตรวจวัด ปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร โดยจะแสดงเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เม็ดเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่า สารกันชื้น นั้นยังไม่ได้ใช้งานหรือไม่ทำงานนั่นเอง ส่วนเม็ดสารกันชื้น ที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน แสดงว่าหมดอายุในการใช้งาน ควรเปลี่ยน สารกันความชื้นใหม่
- ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีส้ม (Orange Silica Gel)
มีคุณเหมือนกับชนิดสีน้ำเงินทุกประการ การทำงาน จะเปลี่ยนจากสีส้ม เป็นสีเขียวอ่อน ซิลิก้าเจล ชนิดนี้ยังไม่ได้รับความนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง
- ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดทราย (Silica Sand)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการแตกต่างกันที่ ขนาดของเม็ดของสารกันความชื้น ซึ่ง สารกันความชื้น ชนิดเม็ดทราย จะมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร
2. สารกันความชื้น จากธรรมชาติ ( Natural Clay)
ผลิตจากดินไดอะตอมเมเชียล เอิธ์ท (ดินเบา) มีลักษณะคล้ายกรวดขนาดเล็กสีเทา หรือสีน้ำตาล ผ่านกระบวนการผลิตอย่าง
พิถีพิถัน จึงทำให้ ดิน Natural Clay มีประสิทธิภาพในการ ดูดความชื้น ได้สูง เนื่องดิน Natural Clay เป็นสารจาก
ธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ภายในอนูของ Natural Cla y มีรูพรุนนับล้าน ๆ รู ทำให้มีประสิทธิภาพ
ในการดูดซับ และเก็บกักน้ำ ไว้ได้มากกว่า มีประสิทธิภาพ ใน การดูดความชื้นไ ด้ ประมาณ 35-40 % ของน้ำหนักตัวเอง มีความเร็วในการดูดและคายความชื้นต่ำกว่า ซิลิก้าเจล ทำให้ ดิน Natural Clay เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องใช้ระยะเวลา นาน ๆ เช่นการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
3. สารกันชื้น ชนิดอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นต่ำกว่า 30 %
แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์ (Calcium Oxide, CaO) บางครั้งเรียกว่าหินปูน (Caustic Lime / Quick Lime) มีลักษณะเป็นผงสีขาว เป็นสารที่มีคุณสมบัติ ในการ ดูดความชื้น ประมาณ 28 % ของน้ำหนัก ตัวเอง สารชนิดนี้ มีคุณสมบัติเด่น ในการ ดูดความชื้น ที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และ มีอัตราการคาย ความชื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับ โมเลกุลลาร์ ซีฟ อย่างไรก็ตาม ความเร็ว ในการ ดูดความชื้น ค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับ สารชนิดอื่นๆ เมื่อมีการ ดูดความชื้น จนกระทั่งอิ่มตัว จะกลายเป็น สารกึ่งเหลว (Swell) คล้ายแป้งละลายน้ำข้น ๆ สารดูดความชื้นประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง ดังนั้น ซองสารดูดความชื้น ประเภทนี้ ต้องแข็งแรงและต้องป้องกันไม่ให้ สารดูดความชื้น หลุดรอดออกมาได้โดยเด็ดขาด
โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve)
บางครั้งเรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติในการ ดูดความชื้น ที่ดีมากๆ ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ รอบข้าง ในระดับต่ำ (10%-30%) โดยมีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้น ประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง ครงสร้างพิเศษ ทำให้โมเลกุลลาร์ ซีฟ มีพื้นผิวสัมผัส ประมาณ 700-800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม และ มีแรงดึง ดูดความชื้น ที่สูงมาก
ข้อดีดังกล่าว ทำให้ปัญหา การคายความชื้น น้อยกว่าซิลิก้า เจล และ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โมเลกุลลาร์ ซีฟ ยังไม่ได้รับ การรับรอง จากหน่วยงาน ของรัฐ ในการใช้งาน กับ อาหารและยา จึงทำให้สารชนิดนี้ ยังไม่แพร่หลายมากนัก
แคลเซียม ซัลเฟต (Calcium Sulfate, CaSo4)
เป็นสาร ที่ได้จากแร่ยิปซั่ม โดยมีคุณสมบัติ ในการ ดูดความชื้น ค่อนข้างต่ำประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวเอง เป็นสารที่ คงสถานะได้ดี ไม่เป็นพิษ และ ไม่กัดกร่อน
แก้ไขเมื่อ : 22/12/2554 7:43:40