คำตอบที่ 15
อุปกรณ์ 30 รายการ สำหรับ เตรียมพร้อม กรณีเกิด ภัยพิบัติ-น้ำท่วม
การเตรียมพร้อม กรณีเกิด ภัยพิบัติ น้ำท่วม
สถานการณ์
๑. น้ำท่วม ใช้พื้นที่ชั้นล่างของอาคารไม่ได้ ระดับน้ำสูง ประมาณ ๒ เมตร
๒. ไม่สามารถใช้ไฟฟ้า จากการบริการ ของภาครัฐ
๓. การสื่อสารทางโทรศัพท์ ไม่สามารถใช้การได้
๔. ระดับน้ำ จะลดลงสู่สภาวะปกติ ภายในระยะเวลา ๗ วัน
และ สามารถฟื้นฟูสู่สภาพปกติ ใน ๑ เดือน
หมายเหตุ รายการและจำนวนสิ่งของที่แนะนำไว้นี้สำหรับระยะเวลา ๗ วัน หากสถานการณ์รุนแรงนานเกินกว่านั้น อาจต้องเพิ่มรายการและจำนวนสิ่งของเพิ่มเติม
สภาพแวดล้อม
๑. มีฝนตก ในปริมาณ ๒๐๐ มม.
(ฝนตกหนักสลับกับฝนปรอยตลอดวัน)
๒. อุณหภูมิ ๑๘-๓๕ องศาเซลเซียส
รายการอุปกรณ์/ บรรยายรายละเอียด
ของ ความต้องการ และ จำนวน/ การใช้งานในสถานการณ์
๑. อุปกรณ์กรองน้ำ/
๑.๑ ร่างกาย ประกอบไปด้วย น้ำ ๗๐% ( หากเรา น้ำหนัก 50 กิโล จะเท่ากับมี น้ำ อยู่เท่ากับ ๓๕ กิโล คิดเป็นน้ำ ประมาณอย่างคร่าวๆ ๓๕ ลิตร) หากน้ำหายไปเพียง 1% หรือประมาณ ๓.๕ ลิตร เราจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมา ตั้งแต่ ปวดหัว เป็นไข้ ผิวแห้ง การร้อนใน ปัญหาการขับถ่าย หรือ ท้องผูก เนื่องจากมนุษย์ต้องการน้ำดื่ม ในปริมาณ ๕-๖ ลิตร/วัน การเตรียมน้ำดื่ม ในปริมาณมาก จะกินพื้นที่ในการเก็บรักษา รวมถึง จะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเทเพื่อ รักษาคุณภาพของน้ำ อยู่เป็นประจำ อุปกรณ์กรองน้ำ ที่มีคุณภาพพอที่จะเปลี่ยนน้ำทั่ว ๆ ไป ให้กลายเป็นน้ำดื่ม ถือเป็นสิ่งจำเป็น (จำนวน ๑ ชุด/ครอบครัว)/
การใช้งานในสถานการณ์
๑.๑ กรองน้ำดื่ม
๑.๒ ใช้ที่กรองน้ำ ขนาดเล็กพกพาได้ขนาดใหญ่กว่าปากกาเล็กน้อยสำหรับใส่เป้
๑.๓ ใช้ที่กรองน้ำ แบบเป็นถุงถ่ายน้ำ เก็บไว้ในกล่องอุปกรณ์ฉุกเฉิน
๒. ไฟแสงสว่างสำรอง
จากสภาพ ขาดแคลนไฟฟ้า แสงสว่างในเวลากลางคืน เป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งใน การค้นหา ให้สัญญาน หรือ แจ้งเตือนผู้บุกรุก
๒.๑ ไฟฉายหรือไฟฉายแบบคาดหัว รวมถึง ถ่านไฟฉาย (เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน) ขนาดเล็กสำหรับพกพา-ใช้ ควรเลือกแบบที่กันน้ำได้ หรือ ใส่ไว้ในถุงพลาติก ใส่แล้ว ใช้หนังยางรัดเพื่อป้องกันน้ำ ถ่านไฟฉาย ใช้แบบที่สามารถหาได้ง่าย (จำนวน ๑ ชุด/คน)
๒.๒ ตะเกียงเจ้าพายุ พร้อมใส้สำรอง (แบบใช้น้ำมันเบนซิน) เนื่องจากว่า หากใช้สิ่งที่ให้ความสว่างจากถ่านไฟฉายโดยทั่วไป แบบที่เป็น ตะเกียง จะใช้ได้ประมาณ ๑๐-๕๐ ชั่วโมง ต่อการเปลี่ยนถ่าน 1 ชุดเท่านั้น (จำนวน ๑ ชุด/ครอบครัว) พร้อม น้ำมันสำรอง (๒ ลิตร)
การใช้งานในสถานการณ์
๒.๑ ใช้ค้นหาสิ่งของ ส่งสัญญาน
๒.๒ ใช้ในการให้แสงสว่างในเวลากลางคืน เพื่อความสะดวก และ ป้องปรามผู้บุกรุก
๒.๓ ใช้ตะเกียงน้ำมันในกรณีเก็บไว้ในกล่องอุปกรณ์ฉุกเฉิน
๒.๔ ใช้ตะเกียงใส่ถ่านไฟฉายขนาดเล็ก เก็บไว้ในเป้
๓. เตาประกอบอาหาร
การเตรียมอาหาร โดยใช้ความร้อนเป็นการทำให้สุขอนามัย พร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ ที่ฉุกเฉิน หากมีการเจ็บป่วยเพิ่มเติม เนื่องจากขาดแคลนอาหาร หรือ อาหารเป็นพิษ จะทำให้เกิดความยุ่งยาก ในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้นไปอีก
๓.๑ เตาน้ำมันเบนซิน ๑ ชุด เนื่องจากการรับประทานอาหาร ที่ไม่ปรุงสุก ในสภาพไม่พร้อม อาจทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร หากเกิดอาการป่วย ในสภาพขาดการบริการทางการแพทย์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และแก๊สหุงต้มที่ใช้งานปกติส่วนมากมักจะอยู่ในห้องครัวซึ่งอยู่ชั้นล่าง จะไม่สามารถใช้งานได้ การใช้น้ำมันเบนซินจะมีข้อดีเนื่องจากอ่อนตัว จัดหาได้ง่าย และ ให้พลังงานที่พอเพียง (๑ ชุด/ครอบครัว) น้ำมันสำรอง ๕ ลิตร
การใช้งานในสถานการณ์
๓.๑ ใช้ประกอบอาหาร ให้ความร้อน
๓.๒ ใช้เตาน้ำมัน เก็บไว้ในกล่องอุปกรณ์ฉุกเฉิน ถ้าเตามีขนาดเล็กสามารถเก็บไว้ในเป้ได้เลย
๓.๓ ใช้แอลกอฮอล์แข็ง หรือ เตาใช้แก็สขนาดเล็ก เก็บไว้ในเป้
๔. มีดพับ และชุดอุปกรณ์เอนกประสงค์
ในสภาวะที่ฉุกเฉินหรือแม้กระทั่งในสภาวะปกติ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีม มีด ไขควง เป็นสิ่งที่ควรจะมีไว้แก้ไขปัญหาเล็กน้อย ถ้าเราใช้อุปกรณ์ขนาดเต็ม จะยากต่อการพกพา (อย่างน้อย ๑ ชุด ต่อครอบครัว หรือดีที่สุดคือ ๑ ชุด ต่อคน )
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้พกติดตัวเพื่อใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอาทิเช่นไขนอต จับสิ่งของเล็กๆที่ใช้มือจับยาก ตัดสิ่งของขนาดเล็ก
๕. เสื้อผ้าสำรอง
การใช้ชีวิตอยู่ ๗ วัน โดยไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้าอาจเป็นไปได้แต่ก็ไม่สมควรที่จะทำ ควรจะมีเสื้อผ้าสำรอง ๒-๓ ชุด รวมถึง เสื้อกันหนาวด้วย (ถ้ากันน้ำด้วยยิ่งดี) (๒-๓ ชุดต่อคน)
การใช้งานในสถานการณ์
ควรเป็นชุดที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
๖. ภาชนะใส่อาหาร น้ำ หรือหม้อสนาม
การต้มน้ำ และภาชนะใส่น้ำ อาหาร รวมถึงช้อน ส้อม (๑ ชุด ต่อ คน)
การใช้งานในสถานการณ์
ควรเป็นชุดเล็กทำจากภาชนะที่เบา ไม่แตกง่าย อาทิเช่น อลูมิเนียม พลาสติก
๗. ชุดยาสำรอง
ยาเฉพาะของแต่ละบุคคล และ ยาทั่วๆ ไป เบื้องต้น พวกยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้อักเสบรวมถึง อุปกรณ์ปฐมพยาบาล(ครอบครัวละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้รักษาพยาบาลยามฉุกเฉิน
๘. วิทยุขนาดเล็ก
การรับรู้เรื่องราวจากภายนอก เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะจะได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าของสถานการณ์เพื่อจะเป็นเครื่องตัดสินใจว่าจะอยู่รอการช่วยเหลือหรือจะต้องอพยพ (ครอบครัวละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้ฟังข่าวสารภายนอก
๙. อุปกรณ์ส่งสัญญาน
การส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ อาจใช้อุปกรณ์ส่งเสียงเช่น กระจก นกหวีด ไฟกระพริบ สัญญานควัน พลุไฟ หรือ แท่งเคมีเรืองแสงในเวลากลางคืน(คนละ ๑ ชนิด)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้ส่งสัญญานตามที่ได้นัดหมาย หรือขอความช่วยเหลือ
๑๐. ถ่านไฟฉายสำรอง หรือ ที่ชาร์จถ่าน และแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือพลังไดนาโม
ในเมื่อเราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็น ถ่านไฟฉายเป็นสิ่งจำเป็น ควรเตรียมไว้อย่างพอเพียงสำหรับการใช้งาน ๗ วัน หรือ สามารถใช้ร่วมกับที่ชาร์จถ่านพลังไดนาโม (ใช้มือหมุน) เพื่อใช้ชาร์จถ่านและแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้า
๑๑. กระเป๋า หรือเป้หลัง
การเก็บสิ่งของต่างๆ ควรเก็บรักษาให้เป็นหมวดหมู่ และสามารถเดินทางได้ทันที (คนละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
บรรจุสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ และพร้อมออกเดินทาง
๑๒. อุปกรณ์จุดไฟ
การจุดไฟเตาหุงหาอาหาร หรือ ตะเกียงให้แสงสว่าง ควรมีอุปกรณ์จุดไฟสำรองที่สามารถจุดได้เมื่อเปียก อาจใช้ แท่งจุดไฟ ไฟแช๊คกันน้ำ หรือ ไม้ขีดซึ่งห่อหุ้มวัสดุกันน้ำ และยังสามารถใช้จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นอีกด้วย (คนละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้จุดไฟสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟ
๑๓. มีดขนาดใหญ่
การใช้งานอุปกรณ์อเนกประสงค์ ใช้ได้เฉพาะงานเบา ถ้าเป็นงานหนัก ๆ ประเภทตัด หรือสับไม้ จะต้องใช้ใบมีด ซึ่งใหญ่กว่า ความยาวของใบมีด ควรจะมีขนาดตั้งแต่ ๘ นิ้วขึ้นไป(ครอบครัวละ ๑ เล่ม)
การใช้งานในสถานการณ์
สำหรับตัดกิ่งไม้ หรือใช้กับงานหนัก
๑๔. ยากันยุงและแมลง
แมลงมีพิษ และ ไม่มีพิษ ต่าง ๆ เมื่อน้ำท่วม อาจหนีน้ำขึ้นมาอยู่ในบริเวณที่แห้ง จึงควรจะมีน้ำยากันแมลง และ น้ำยากันยุง เพื่อป้องกันโรคติดต่อและความรำคาญ (คนละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
ป้องกันแมลงรบกวน
๑๕. อุปกรณ์ทำความสะอาด
การรับประทานอาหาร หรือ ใช้เสื้อผ้า ที่มีจำนวนจำกัด จำเป็นจะต้องมีการทำความสะอาด ควรจะเป็นน้ำยาบรรจุขวดขนาดเล็ก(คนละ ๑ ชุดเล็ก)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้ชำระล้างทำความสะอาด
๑๖. ผ้ากันน้ำ
หลังเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อาจมีการเสียหาย ในสภาพฝนตก หรือ มีน้ำค้าง ควรจะมีผ้ากันฝน ซึ่งจะใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่ปูนั่งชั่วคราว มุงบังพื้นที่ กันแดด ฝน ฯลฯ
(๒ คน ต่อ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
กันน้ำฝน ควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า ๓X๔ เมตร
๑๗. เครื่องนอน
การนอนในสภาพที่ไม่คุ้นเคย และ อากาศแปรปรวน อาจทำให้นอนได้ยาก ควรมีเครื่องนอนฉุกเฉิน อาทิเช่น ถุงนอนขนาดเล็ก หรือ ผ้าห่มแบบพกพา(คนละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้สำหรับอำนวยความสบายในการนอน
๑๘. เชือกขนาดเล็กและขนาดใหญ่
เชือกขนาดเล็ก ใช้ผูกรัดสิ่งของ และ ใช้งานอเนกประสงค์ อาทิเช่น ทำราวตากผ้า ผูกยึดผ้ากันฝน ฯลฯ ควรเป็นเชื่อกที่มีความเหนียวอาทิเช่น เชือกร่ม (คนละ ๑ ชุดเล็ก ประมาณ ๒๐ เมตร) เชือกใหญ่ความยาวประมาณ ๒๐ เมตร ใช้ช่วยชีวิตคน
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้ผูกมัดสิ่งของและช่วยชีวิต
๑๙. เทปกาว
ใช้ในการการติดยึด หรือ ซ่อมแซมสิ่งของต่าง ๆ ที่ชำรุดด้วยความรวดเร็ว(คนละ ๑ ม้วน ประมาณ ๑๕ เมตร)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้ติดปะ ซ่อมแซมอุปกรณ์ชั่วคราว
๒๐. กระดาษชำระ
ใช้ในการเช็ดล้างทำความสะอาดในเรื่องทั่วๆ ไป และใช้เช็ดล้างระหว่างขับถ่าย (คนละ ๑ ม้วน)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้เช็ดทำความสะอาด
๒๑. ถุงขยะ และหนังยางรัด
ใช้ทำสุขาฉุกเฉิน เก็บอุจาระและปัสสาวะ เพื่อสุขลักษณะที่ดี เก็บขยะสิ่งปฏิกูลต่างๆ ควรมีไว้ไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ ใช้เก็บส่งของที่อาจชำรุดเพราะเปียกน้ำ ดัดแปลงเป็นรองเท้ากันน้ำกัดเท้า (ขนาดยาว ๓๐ นิ้ว คนละ ๑๐ ใบ สำหรับ ๗ วัน )
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้เก็บสิ่งปฏิกูลเพื่อสุขอนามัยที่ดี
๒๒. อาหารสำรอง
อาจเป็นจำพวกที่เก็บรักษาได้นาน และคละกันไป เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่แตกต่าง และไม่เบื่อ อาจจะเป็นพวกอาหารสำเร็จรูป เช่น โจ๊กพร้อมปรุง , บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , อาหารกระป๋อง , ข้าวสาร และควรเปลี่ยนทุกๆ ๓ เดือน (แต่ละคนเตรียมเองคนละ ๑๔ - ๒๑ ชุด สำหรับ ๗ วัน)
การใช้งานในสถานการณ์
เพื่อเป็นอาหารสำรอง
๒๓. น้ำมันสำรอง
ใช้ในการให้แสงสว่าง และหุงต้ม (คนละ ๑ ลิตร)
การใช้งานในสถานการณ์
ใช้จุดเตาและตะเกียง
๒๔. ของใช้ส่วนตัว
สบู่ , แชมพู , ยาสีฟัน , แปรงสีฟัน ฯลฯ (คนละ ๑ ชุด)
การใช้งานในสถานการณ์
อำนวยความสะดวกส่วนบุคคล
๒๕. ชุดชูชีพ และ เรือยาง-ห่วงยาง-แพยางเป่าลม พร้อมอุปกรณ์สูบลม
ชูชีพ คนละ ๑ ชุด เรือยาง และ ห่วงยางเป่าลมใช้เป็นอุปกรณ์สำรองสำหรับช่วยชีวิตผู้อื่น ขนย้ายผู้ป่วย ขนย้ายสัตว์เลี้ยง และสิ่งของ
การใช้งานในสถานการณ์
กรณีน้ำสูงเกินระดับที่พัก หรือหากจำเป็นต้องอพยพเคลื่อนย้ายที่พัก
๒๖. ท่อพีวีซี (PVC) ยาวประมาณ 1.5 2 เมตร
ใช้สำหรับทำไม้เท้า หยั่งดูความลึกของน้ำ ไล่สัตว์มีพิษ ดัดแปลงเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หอก ฉมวก เครื่องมือจับงู
๒๗. โทรศัพท์มือถือในถุงกันน้ำ และ วิทยุสื่อสาร (ถ้ามี)
ในช่วงระยะแรกของภัยน้ำท่วม และ ช่วงหลังภัยน้ำท่วม จะสามารถใช้โทรศัพท์ได้ เพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งยังใช้ฟังธรรมะ หรือเสียงสวดมนต์เพื่อให้จิตใจสงบได้
การใช้งานในสถานการณ์
เตรียมบัตรเติมเงินสำหรับโทรศัพท์ด้วย
๒๘. แว่นตาว่ายน้ำ และ ที่อุดหู ถุงมือยาง
แว่นตาว่ายน้ำ ช่วยป้องกันดวงตา โรคตาแดงที่มากัยภัยน้ำท่วม ที่อุดหู ช่วยป้องกันฟ้าร้องฟ้าคะนองที่ผ่า บางท่านเตือนว่า อาจมีเสียงดังมาก ๆ จนแก้วหูได้รับอันตราย หรือขวัญกระเจิง
๒๙. ผ้าขาวม้า
ผ้าสารพัดประโยชน์ เอนกประสงค์
๓๐. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเครื่อง หนังสือสวดมนต์
พระเครื่องบางรุ่น สร้างมาเพื่อใช้ทำน้ำมนต์ได้ และ ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ