คำตอบที่ 2
ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำถิ่น และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี ถือเป็นที่กำเนิดประเพณีวิ่งควายเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มักนิยมจัดงานในช่วงของเทศกาลออกพรรษาของทุกปี มีประวัติการจัดงานมานานกว่า 100 ปี เพื่อคนและควายจะได้พักผ่อนหลังทำนามายาวนาน
ประเพณีวิ่งควายมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เป็นประเพณีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีมาตั้งแต่ 100 ปี ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงาม และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี เพื่อรอคอยเวลาที่ผลผลิตจะตกดอกออกรวง และให้คนกับควายได้มีโอกาสพักผ่อนหลังจากตรากตรำงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควาย ที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนา และคนไทย ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ