คำตอบที่ 3
เตรียมรถก่อนเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์
การเตรียมรถคันโปรดของเราให้พร้อมก่อนออกเดินทาง เพื่อที่จะได้เดินทางอย่างสนุกสนานไม่มีปัญหากวนใจหรือลดปัญหาระหว่างการเดินทางให้น้อยที่สุด และเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่
1.เช็คสภาพยางและลมยางทั้งยางหน้าและยางหลัง
ให้ความดันลมยางอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ซึ่งเราจะรู้ได้ว่ารถของเราต้องเติมลมเท่าไหร่ที่ตัวรถบริเวณสวิงอาร์ม หรือบังโซ่จะมีสติ๊กเกอร์บอกเราว่าต้องเติมเท่าไหร่ หรือถ้ามีคนซ้อนต้องเติมเท่าไหร่ สภาพยางต้องไม่หมดอายุ ไม่แตกร้าวหรือแตกลายงา
2.เช็คโซ่เสตอร์ให้อยู่ในระยะที่ได้มาตรฐาน
ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ถ้าหย่อนจะทำให้มีเสียงเวลาโซ่กระตุก และรถจะมีอาการกระตุกตอนที่ปล่อยคลัชท์หรือเวลาเดินคันแร่งในแต่ละครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้โซ่ยืดก่อนเวลาด้วย และถ้าโซ่ตึงไปก็จะทำให้มีเสียงดังและโซ่ยืดก่อนอายุการใช้งานเช่นกัน
3.เช็คระดับน้ำมันเครื่อง
ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง และเช็คว่าถึงเวลาถ่ายน้ำมันเครื่องไปเมื่อไหร่ ถ้าถึงกำหนดแล้วควรจะเปลี่ยนก่อนการเดินทาง
4.เช็คกรองอากาศ
ถอดมาดูว่าอยู่ในสภาพที่สบูรณ์หรือไม่ และเปล่าลมหรือซักล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย
5.เช็คระบบระบายความร้อน
เช็คน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำ (มาทำความเข้าใจเรื่องถังพักน้ำกันก่อน)
ตั้งแต่ผมเล่นรถมา 10 กว่าปีผมเจอหลายๆท่านเข้าใจผิดกับถังพักน้ำเป็นจำนวนมาก หลายๆท่านเข้าใจผิดว่าสามารถเติมน้ำหม้อน้ำทางถังพักน้ำได้ แต่...จริงๆเป็นสิ่งที่หลายท่านเข้าใจผิดมาตลอด การเติมน้ำในถังพักน้ำไม่ได้ทำให้น้ำเข้าไปสู่หม้อน้ำแต่อย่างใด เราลองมาทำความเข้าใจระบบระบายความร้อนกันดีกว่า
น้ำในหม้อน้ำถ้าเราเติมจนเต็ม และพอรถวิ่งจนความร้อนถึงจุดเดือดน้ำจะขยายตัวและเกิดแรงดัน ดันจนเอาชนะแรงสปริงของฝาหม้อน้ำ และน้ำจะถูกดันออกไปทางถังพักน้ำ และเมื่อเครื่องเย็นหม้อน้ำจะดูดน้ำในถังพักน้ำกลับไปเป็นจำนวนใกล้เคียงของที่ถูกดันออกมา ฉะนั้นการที่หลายท่านเวลาน้ำในหม้อน้ำขาดแล้วไปเติมในถังพักน้ำ น้ำจะเข้าไปในหม้อน้ำไม่ได้เลย เพราะว่าไม่สามารถไหลย้อนเข้าไปในหม้อน้ำได้ จะไหลกลับเข้าไปก็ต่อเมื่อเกิดการดูดกลับเพียงเล็กน้อยจากความต่างบรรยากาศของหม้อน้ำเท่านั้น ฉะนั้นการเติมน้ำต้องเติมด้วยการเปิดฝาหม้อน้ำที่มีสปริงเท่านั้น ส่วนถังพักน้ำให้เราเติมตามระดับ อย่าเติมเกินเพราะเดี๋ยวน้ำในหม้อน้ำดันออกมาอีกจะทำให้น้ำร้อนในถังพักล้นออกมาโดนร่างกายได้
และถ้าน้ำมีสนิมเยอะเราจำเป็นต้องถ่ายทิ้งทั้งระบบและเติมของใหม่เข้าไป
6.เบรค
แบ่งเป็น 3 จุดใหญ่ๆคือ น้ำมันเบรค ผ้าเบรค และอุปกรณ์เบรคปั๊มและสายเบรค เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำหรับชาวบิ๊กไบค์แล้วผมเชื่อว่า 80% เดินทางเพื่อเล่นโค้ง และวิ่งในเส้นทางที่สวยชมธรรมชาติซึ่งคดเคี้ยวและชันมาก การใช้เบรคจะเยอะมาก ผ้าเบรคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
6.1.ผ้าเบรคต้องมีเหลือพอที่จะเดินทางทั้งไปและกลับ ถ้าเบรคก็แบ่งเป็น 2 เกรดใหญ่ๆคือธรรมดาและเรซซิ่ง ถ้าแบบธรรมดาเวลาผ้าเบรคยังไม่ร้อนจะเบรคดี แต่ถ้าร้อนจัดๆในสถาณการณ์เช่าขึ้นเขาลงเขาจะร้อนและไหม้ได้ ซึ่งตรงข้ามกับผ้าเบรคแบบเรซซิ่ง ถ้าไม่ร้อนจะแข็งเบรคไม่เต็มประสิทธิ์ภาพ แต่พอร้อนจะเต็มประสิทธิ์ภาพ ซึ่งก็ต้องดูให้เหมาะสม
6.2. น้ำมันเบรค สำหรับบิ๊กไบค์แล้วน้ำมันเบรคต้อง dot4 ขึ้นไปเท่านั้น ค่า dot ก็คือค่าจุดเดือดน้ำมันเบรค ยิ่งสูงยิ่งทนได้มาก
6.3.อุปกรณ์เบรค สายเบรค ต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่วไม่แตก ปริ ร้าว แตกลายงา เช็คที่ลูกปั๊มล่างว่ามีคราบอะไรติดมากน้อยแค่ไหน เราสามารถรื้อถอดมาล้างได้ทั้งระบบ ด้วยการใช้ลมอัดเข้าไปในปั๊มให้ลูกสูบปั๊มเด้งออกมาเพื่อทำความสะอาด หรือค่อยๆบีบเบรคให้ลุกปั๊มขยับออกมาและใช้กระดาษทราบขัดให้รอบๆลูกปั๊ม วิธีนี้ไม่ต้องรื้อทั้งหมด แค่ถอดผ้าเบรค ออกมาก็ทำได้แล้วครับ
7.หล่อลื่นจุดหมุนต่างๆ โซ่เสตอร์ และจุดหมุนทุกจุด
พักเท้า บูชล้อ ตุ๊กตาเกียร์ คันเร่งสายคันเร่ง สายคลัชท์ เป็นต้น และสำคัญมากจุดนึงที่ทุกคนนึกไม่ถึงคือ ก้านเบรคมือ ในส่วนของก้านเบรคที่ไปกระทุ้งกับลูกปั๊มเบรคมือ (จุดที่มันกดกันอยู่นั้นแหละ) ถ้าเบรคแล้วมีการสะดุดแข็งๆล่ะคือตรงนี้ฝืด ถ้าหล่อลื่นไปแล้วจะนุ่มมือทันทีเลย ก้านคลัชท์ก็ต้องได้รับการหล่อลื่นในจุดยึดนอตระหว่างก้านคลัชท์กับแผงคลัชท์ที่ยึดกับแฮนด์เช่นกัน
8.ระบบไฟและไฟส่องสว่างในจุดต่างๆ
เช่นสายไฟต้องไม่อยู่ในสภาพที่เปื่อย ขาด ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรค แตร และแบตเตอรี่ก็ต้องเช็คน้ำกลั่น และระดับน้ำให้ปรกติ และถ้าไม่ได้ขี่นานต้องชาร์จแบตเตรียมพร้อมให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง
9.เช็คลูกปืนและนอตทุกตัว
ต้องแน่นไม่หลวมไม่คลายตัว เช่นลูกปืนล้อ ลูกปืนคอ ลูกปืนสวิงอาร์ม
10.กระจกส่องหลัง
ก็สำคัญนะครับ ปรับมุมให้เหมาะกับผู้ขับขี่ให้เรียบร้อย