WeekendHobby.com


ท่านรักและดูแลเพื่อนดีแค่ไหน
แห้งคับ
จาก แห้งคับ
ศุกร์ที่ , 8/1/2553
เวลา : 23:04

อ่าน = 1462
125.26.50.139
       รักเพื่อนตายกันมั้ย เพื่อนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก ลำบากมาด้วยกัน ทนให้เราทำร้ายมาได้ทุกวัน แล้วเรารักเค้าแค่ไหนครับ เราคงจะไม่ปล่อยปะละเลย อย่าให้เค้าตายไปต่อหน้าต่อตากันเลยนะครับ เค้ารับใช้ให้เราอย่างเต็มที่ เราก็สมควรดูแลเค้าอย่างเต็มที่เช่นกัน ใช่มั้ยครับ
*ขอยืมภาพพี่เป๋าหนักมาก่อนนะครับ อยากได้มาก เมียให้ซื้อแต่ต้องเอามาขี่ห้ามเก็บ แงงงงงงงง
เนื้อหาพอดีไปเจอมาเลย ขออณุญาติพี่ที่เขียนไว้ในคนรักรถ ขอนำลงเผยแผ่เพื่อให้ความรู้นะครับ







เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


   
   

คำตอบที่ 1
       นั่นแน่ จ้องจับผิดละซี่ คิดอารายกานอยู่
เรื่องของหัวเทียน..?? เรื่องของ"หัวเทียน"
หัวเทียน ( Spark Plug )
หัวเทียนเป็นอุปกรณ์ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยทำหน้าที่จุดประกายไฟทำให้ส่วนผสมของไอดีเกิดการเผาไหม้ การเลือหัวเทียนให้เหมาะสมและยังอยู่ในสภาพดีจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
โครงสร้าง








แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:12   


คำตอบที่ 2
       เครื่องกั้นการรั่วของกระแสไฟฟ้า ( Lea Kage-Current Barrier )
ขั้วหัวเทียน ( Terminal Stud )
ฉนวนส่วนบน ( Pyranite Insulator ) ผลิตจากอลูมิเนียม ออกไซด์ คุณสมบัติในการนำความร้อนดี แข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อน
เกลียว (Thread )
เขี้ยวดิน ( Ground Electrode )
ฉนวนหุ้มแกนกลาง ( Insulator Nose ) เป็นส่วนกำหนดช่วงความร้อนของหัวเทียน( เบอร์หัวเทียน )
ช่องว่างระหว่างปลายล่างฉนวนกับเปลือกโลหะ วึ่งจะเป็นบริเวณที่สะสมคราบเขม่า






แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:13   


คำตอบที่ 3
       คุณสมบัติของหัวเทียน
หัวเทียนต้องสามารถรับแรงดันได้สูงถึง 50 กก./ตร.ซม.หรือ 700 psi และต้องทรอุณหภูมิสูงกว่า2,500 c.
อุณหภูมิของหัวเทียน
หัวเทียนในปัจจบันจะแบ่งตามช่วงค่าของความร้อน 3ประเภท
1.หัวเทียนร้อน เบอร์ต่ำกว่า7ลงมาจนถึงเบอร์2 หัวเทียนร้อนจะมีระยะทางห่างจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนาวยาว ทำให้การระบายความร้อนนาน ความร้อนสะสมตัวอยุ่ได้นาน
เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วต่ำๆหรือมีช่วงการทำงานสั้นๆ เครื่องยนต์จึงร้อนถึงอุรหภูมิทำงานเร็ว
2.หัวเทียนเบอร์มาตราฐาน เบอร์กลางวๆประมาณเบอร์6-7 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความร็วระดับปานกลาง
3.หัวเทียนเย็น เบอร์7ขึ้นไปถึงเบอร์13 หัวเทียนร้อนจะมีระยะทางห่างจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนาวสั้น ทำให้การระบายความร้อนเร็ว เครื่องยนต์ไม่ร้อนมากจนเกินไป เหมาะสำหรับรถที่เดินทางไกลหรือทำงานด้วยความเร็วสูง / การแข่งขัน
การเลือกใช้หัวเทียน

การเลือกใช้หัวเทียนควรพิจารณาจากช่วงของความร้อน เนื่องจากส่วนหนึ่งของหัวเทียนถูกติดตั้งเข้าสู่ภายในห้องเผาไหม้ เพื่อทำการจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง ฉะนั้นความร้อนจากการเผาไหม้จะถูกถ่ายเทให้กับหัวเทียนด้วย
การถ่ายเทความร้อนของหัวเทียนเกิดได้สองทาง คือ การระบายความร้อนสู่ฝาสูบ และการระบายความร้อนสู่ส่วนผสมของน้ำมันและอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ทางช่องไอดี ซึ่งการระบายความร้อนจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวเครื่องยนต์ด้วย หากความร้อนสะสมที่หัวเทียนมากเกินไป จะทำให้เกิดการชิงจุด หรือหัวเทียนเกิดหลอมละลายได้
เมื่อส่วนผสมเกิดการเผาไหม้ จะเกิดคราบเขม่าขึ้น คราบเขม่าเหล่านี้จะเกาะที่ฝาสูบ หัวลูกสูบ วาล์ว และหัวเทียน ซึ่งหัวเทียนจะต้องร้อนพอที่จะทำให้เขม่าเหล่านั้นเกิดการเผาไหม้ เพื่อลดการสะสมของคราบเขม่าที่หัวเทียน







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:14   


คำตอบที่ 4
       ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับหัวเทียนที่ควรรู้
1.หัวเทียนไม่สามารถทำให้กำลังของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นได้ แต่สามารถทำให้กำลังของเครื่องยนต์ลดลงได้ หากใช้หัวเทียนผิดประเภท
2.ยี่ห้อของหัวเทียนไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ เพราะเครื่องยนต์ไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ว่าหัวเทียนที่ใส่นั้นเป็นยี่ห้ออะไร หัวเทียนต่างยี่ห้อ แต่ถ้ามีเกรดเดียวกัน เป็นหัวเทียนประเภทเดียวกัน กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ก็จะเท่ากัน
3.หัวเทียนที่ทำจากวัสดุคุณภาพสูง เช่น แพลตทินั่ม (Platinum) หรือ อีรีเดียม (Iridium) จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะสามารถให้ช่องว่างระหว่างเขี้ยวหัวเทียนและแกนกลางมากกว่า สามาถช่วยลดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากส่วนผสมหนา แต่ไม่ได้ทำให้กำลังของเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้น4.การออกแบบรูปทรงของหัวเทียน ไม่ได้ช่วยให้การเผาไหม้ดีขึ้น การเผาไหม้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสม ลักษณะของห้องเผาไหม้ การเคลื่อนที่หรือการหมุนเวียนของเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้

เรื่องของหัวเทียน..2 หัวเทียน IRIDIUM
หัวเทียนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด โดยทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูงจากคอยล์แล้วทำให้เกิดประกายไฟ กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน โดยทั่วไปจะกระโดดจากเขี้ยวกลางไปลงดินที่เขี้ยวด้านล่างเพื่อทำการจุดระเบิด ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ








แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:18   


คำตอบที่ 5
       รู้จักหัวเทียน เสริมจากบทความที่แล้ว
http://www.118bikes.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=579180
หัวเทียนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด โดยทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูงจากคอยล์แล้วทำให้เกิดประกายไฟ กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน โดยทั่วไปจะกระโดดจากเขี้ยวกลางไปลงดินที่เขี้ยวด้านล่างเพื่อทำการจุดระเบิด ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ


การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

1. ค่าความร้อน
2. ความยาวเกลียว

ค่าความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า “ค่าความร้อน” ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียน
ความยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยาวเกลียวด้วยเพราะหากขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน


ความหมายของเบอร์หัวเทียน (NGK)

BP6HS
อักษรตัวแรก หมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน (A=18mm, B=14mm, C=10mm, D=12mm)
อักษรตัวที่สอง หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนมาตรฐาน (P=มีกระเบื้องเคลือบฉนวน)
ตัวเลขถัดไป หมายถึง หัวเทียนร้อนหรือเย็น โดยจะมีตั้งแต่เลข 2-13 (หรือมากกว่า)
- เลขยิ่งน้อย หัวเทียนยิ่งร้อน, เลขยิ่งมาก หัวเทียนยิ่งเย็น
ตัวอักษรหลังตัวเลข หมายถึง ความยาวของเกลียวหัวเทียน (E=19mm, H=12.7mm, L=11.2mm)
อักษรตัวถัดไป หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ (S=หัวเทียนแบบมาตรฐาน, G=หัวเทียนรถแข่ง)

B7ES หรือ NGK B8ES
อักษร B ตัวแรกหมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน
เลขต่อท้ายตัวอักษร B หมายถึงหัวเทียนร้อนหรือเย็น เลขยิ่งน้อยหัวเทียนก็ร้อน เลขมากก็หัวเทียนเย็น ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันจะอยู่ประมาณ 7-8-9 ซึ่งเป็นหัวเทียนปานกลาง
อักษร H หรือ E ตามหลังตัวเลขหมายถึงความยาวของเกลียว H เท่ากับ 12.7 มม. อักษร E เท่ากับ 19.0 มม.
อักษร S หมายถึงแบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ทำเขี้ยวกลางและฉนวนที่ต่างกันไป
นอกจากนี้หัวเทียนบางรุ่นยังมีเลขปิดท้ายอีกทีซึ่งหมายถึงระยะห่างของขั้วหัวเทียน
หัวเทียน นอกจากจะเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟในระบบจุดระเบิดแล้ว อาการผิดปกติจากเครื่องยนต์บางอย่าง สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากสภาพของหัวเทียน ดังนี้

หัวเทียนสภาพปกติ
จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวมีการสึกหรอน้อย

- มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวและด้านใน
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป, ไส้กรองอากาศอุดตัน, โช้คค้างหรือโช้คนานเกินไป ตั้งไฟอ่อน
มากเกินไปหรืออาจเป็นที่ระบบจุดระเบิดขัดข้อง
แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง

- มีคราบน้ำมันเปียกดำ เกาะที่ปลายฉนวน,เขี้ยวไฟ
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึกหรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า หรือส่วนผสม (เชื้อเพลิงและอากาศ)
หนาเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น, ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ตามมาตรฐาน หรือ ถ้ายังไม่หาย ให้ทำการ
ตรวจเช็ค ลูกสูบและแหวนลูกสูบ

- กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัด
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล หรือบรรทุก
ของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่เกินไป หรือไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟ จุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์
ใหม่

- กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะไกล หรือบรรทุกของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสมบางเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

- เขี้ยวไฟละลาย
อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุดและเป็นอันตรายต่อลูกสูบ
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม
บางเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:19   


คำตอบที่ 6
       ทำไมต้อง..หัวเทียน " อิลิเดี้ยม "
IRIDIUM
ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของหัวเทียน คือขั้วหัวเทียน ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นแกนกลาง และส่วนที่เป็นเขี้ยว การจุดระเบิดของ หัวเทียนจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่ง ระหว่างแกนกลาง และส่วนที่เป็นเขี้ยวนี้ การจุดระเบิดเกิดขึ้นโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าจาก คอยล์ไฟฟ้า แรงสูง แรงดันไฟฟ้าระดับ หนึ่งหมื่นโวลต์จะทำให้เกิด ความต่างศักย์ ระหว่างแกนและเขี้ยวที่มากพอที่จะทำให้ อิเลคตรอนกระโดด ข้าม เกิดเป็นประกาย หรือที่มักเรียกว่าอาร์ค ซึ่งก็คือการจุดระเบิด นั่นเอง
ลักษณะสันฐานและ ความเข้มของสนาม ไฟฟ้าของประกายที่เกิด ขึ้นนั้นจะส่งผล ต่อความสมบูรณ์ของ การเผาไหม้น้ำมัน เชื้อเพลิง ซึ่งจะส่งผลประสิทธิภาพและ พฤติกรรม ของเครื่องยนต์ดัง ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ภาพแสดง..ลักษณะการอาร์คของหัวเทียนธรรมดาและหัวเทียนอิลิเดี้ยม
เนื่องจากเราต้องการเพิ่ม ความเข้มของสนามไฟฟ้า และขนาดของประกายที่ใหญ่ เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ก็ คือ การเพิ่มระยะห่าง และแรงดันไฟฟ้าระหว่าง เขี้ยวและแกนกลาง แต่วิธีนี้จะเพิ่มภาระให้กับคอยล์ และสายหัวเทียนอย่างมาก อีกทางเลือกหนึ่ง คือการออกแบบแกนกลาง ให้มีขนาดเล็ก เพื่อลดพื้นที่อันจะส่งผล ให้ความเข้ม ของสนามไฟฟ้าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ หน้าสัมผัสของส่วนเขี้ยว ช่วยให้ประสิทธิภาพ การจุดประกายดีขึ้น เช่นกัน
ปัจจุบันใช้โลหะ ผสมของ






แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:20   


คำตอบที่ 7
       ภาพแสดง..หัวเทียนประสิทธิภาพสูงที่ใช้อิลิเดี้ยมเป็นแกนกลาง
ทองคำขาว (แพลทินัม) ทำขั้วหัวเทียนอิริเดียมเป็น โลหะที่มีสีเทา ออกไปทางเหล็กกล้า โลหะอิริเดียมเป็นโลหะหายาก ซึ่งมักปะปนอยู่กับ แพลทินัม ที่เป็นผลพลอยได้ จากกรรมวิธีการทำทองแดงและนิกเกิลให้บริสุทธิ์โดยการแยกด้วยไฟฟ้า







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:22   


คำตอบที่ 8
       ภาพแสดง..แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้
อิลิเดี้ยมบริสุทธิ์ทนต่อการกัดกร่อนจากกรดทุกชนิดและมีจุดหลอมเหลวที่สูงถึง 2,454c. สูงกว่า เพลทตินั่มและนิกเกิ้ล
แต่เนื่องจากอิลิเดี้ยมเป็นโลหะหายากและปะปนอยู่กับโลหะอื่น การแยกทำได้ยากลำบาก จึงมีราคาสูง






แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:23   


คำตอบที่ 9
       ภาพแสดง..เปรียบเทียบการจุดระเบิดของหัวเทียนหลายๆชนิด / อัตราเร่งของเครื่องยนต์
การทดสอบ
การทดสอบประสิทธิภาพของหัวเทียนที่ใช้อิลิเดี้ยมเป็นแกนกลาง ชี้ให้เห็นว่าสมรรถณะของเครื่องยนต์ จะเพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของ อัตราเร่งและความนิ่งของรอบเดินเบา ซึ่งเป็นผลมาจาก การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้นและต้องการแรงดันไฟฟ้าที่น้อยลง






แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:25   


คำตอบที่ 10
       ภาพแสดง..กราฟแสดงการนับรอบเดินเบา






แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:27   


คำตอบที่ 11
       กราฟแสดงการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การสิ้นเปลือง
อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงดีขึ้น3.5% และ 1% ที่รอบเดินเบา และความเร็ว60 Km/Hr

ที่มา
บ.ไทยยามาฮ่ามอเตอร์

เสริมความรู้เพิ่มเติม Up date 04-09-2009
การดูสีของหัวเทียนตั้งแต่ 1 - 29

- หัวเทียนรูปที่ 6 – 24 ที่ดูสีแล้วถือว่าใช้ได้ โดยจะเริ่มจากน้ำมันหนา ไปจนน้ำมันบาง
สีหัวเทียนที่ดีที่สุดคือ หมายเลขที่ 14

- หัวเทียนที่แฉะในรูปที่ 1 – 2 ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากโ ช็คน้ำมันค้าง หรือโช๊คมากเกินไป
ระบบจุดระเบิดมีปัญหา หรือ แหวนลูกสูบสึกมากไป

- ส่วนสาเหตุที่ทำให้หัวเทียนดำ เยิ้ม ดังในรูปที่ 3 , 4 และ 5 ปกติเกิดจาก
1. ใช้หัวเทียนเบอร์สูงไป ( เบอร์ 9 , 10 –หัวเทียนเย็น )
ทำให้อุณหภูมิตอนปลายหัวไม่ร้อนพอที่จะทำความสะอาดตัวเองได้
2.ส่วนผสมหนาไป น้ำมันลงมากเกิน
3.อาจเกิดจากระบบจุดระเบิด มีปัญหา
4.ถ้าเป็นรุ่นมีหม้อน้ำ อาจเกิดจากระบายความร้อนมากเกินไป







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:29   


คำตอบที่ 12
       สุดยอดเลยครับพี่แห้ง ได้ความรุ้เพิ่มเติม



chetbaby จาก ชช  222.123.16.56  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:45   


คำตอบที่ 13
       ครับพี่เชษฐ์ ลอกเค้ามาให้พี่ๆดูกันผมจะได้มีคนซ่อมให้ผมไง อิอิอิ
- สีหัวเทียน หมายเลข 25 , 26 และ 27 อาจเกิดจาก
1. ใช้หัวเทียนเบอร์ต่ำไป ( เบอร์ 6 ,7 - หัวเทียนร้อน) ทำให้หัวเทียนรับความร้อนเกินเสป็ค
เนื่องจากเครื่องทำงานหนักเกิน
2. ส่วนผสม บางไป น้ำมันลงน้อย
3. ไฟแก่ไป
4. การจุดระเบิดไม่ปกติ เช่น เครื่องน๊อค
5. ระบบระบายความร้อนไม่ดีพอ








แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:54   


คำตอบที่ 14
       - อาการโอเว่อร์ฮีต ร้อนเกิน ในรูปหมายเลข 28 และ 29 เกิดเนื่องจากเครื่องน๊อคต่อเนื่อง
และจุดระเบิดก่อน รวมทั้งผลพวงที่เกิดในรูป 25 , 26 และ 27 ทำให้เขี้ยวหลอมละลายได้







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:56   


คำตอบที่ 15
      





แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  ศุกร์, 8/1/2553 เวลา : 23:57   


คำตอบที่ 16
       พี่ครับดีกแล้วเราไปเช็คหัวชีด เอ้ย หัวเทียนกันดีกว่าครับ



chetbaby จาก ชช  222.123.16.56  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:10   


คำตอบที่ 17
      
อิอิ พี่ ชช-ช่างเชษฐ์ มา ชช-ชื่นชม
และชช-ชักชวน (เฉพาะพี่แห้ง พ้มไม่เกี่ยว ไม่กล้าออกรอบดึก) ไปชช-แช่มชื่น


แจ่มครับพี่แห้ง ขอเก็บเป็นข้อมูลไปดู หัวเทียน เจลาโต้ๆๆๆๆ ได้ดีเลยครับ


ราตรีสวัสดิ์ครับพี่ๆ



ปิง จาก ปิง  110.164.31.185  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:14   


คำตอบที่ 18
       ถึงบางอ้อแล้วครับ



totop จาก totop  114.128.38.22  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:14   


คำตอบที่ 19
       555555เดี๋ยวก็งีบแล้วครับ ชช.ไม่ยอมนอน ตื่นเช้าส่งลูกมาหลายวันแล้วพรุ่งนี้ตื่นสายครับ
ขั้นตอนการชำระภาษีสรรพสามิต
เอกสารประกอบ
1.สำเนาอินวอยซ์
2. ใบเสร็จค่าแรงการประกอบรถ(ใบเสร็จชั่วคราวก็ได้)
3.รูปถ่ายตัวรถ 1 ใบ
4. ขูดเลขเครื่อง เลขคอ อย่างละ 2 ชุด
5.ใบคำร้องขอให้ประเมินการชำระภาษีสรรพสามิต(พิมพ์เอง)
6. ในกรณีที่เจ้าตัวไม่ได้ไปเองต้องมีหนังสือรับรองอำนาจ

รถ Invoice ส่วนมากจะนำเข้ามาในรูปแบบ อะไหล่ชิ้นส่วน เสียภาษีศุลกากร ประเภทอะไหล่ แต่ไม่ได้ เสียภาษีสรรพสามิต ในรูปแบบรถทั้งคัน อย่างน้อย ถ้าเสียภาษีสรรพสามิต แล้วว่าเป็นรถ ทั้งคันประกอบเสร็จ ก็อาจ นำใบที่กรมสรรพสามิต ออกยืนยัน ตัวรถ ไปลองจดทะเบียนที่ กรมการขนส่งได้ นะ อาจจะทำทะเบียนได้ในราคาถูกเหมือนรถทั่วไปก็ได้นะ




แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:17   


คำตอบที่ 20
       55555555ดึกๆ เพื่อนเยอะนิ พี่ปิงไม่ไปที่ชุกชุมเหรอครับ แบบนั้นช่างเชษฐ์แกเชี่ยวชาญชัยครับ
พี่totopถึงบางอ้อซะแล้ว งั้นคงอดเชิบเชิบซิครับเนี่ย



แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:21   


คำตอบที่ 21
       ห้ามพกแบบนี้ไว้ที่เพื่อนโดยเด็ดขาดเพราะเพื่อนมีสิทธิ์ถูกเผา





แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:35   


คำตอบที่ 22
       เกรดน้ำมันเครื่อง

ความหมายของที่อยู่ข้างกระป๋องนั้น มีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์ เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้ สองประเภทด้วยกัน ดังนี้

-แบ่งตามความหนืด
-แบ่งตามสภาพการใช้งาน

การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด

จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึงมาตรฐาน " SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา ( Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องแบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น

น้ำมันที่มีตัว " W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ - 18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี " W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ - 30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ - 10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" ( Single Viscosity หรือ Single Grade)

ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม ( Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท

ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งาน

สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบัน เช่น
สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา
สถาบัน " ACEA" ( เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป
สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น

จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต และเป็นสถาบันที่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตนเองเช่นกัน

คำว่า "API" ย่อมาจาก " American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ
"API" ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
"API" ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ " C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4
เรามาดูน้ำมันเครื่องที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้
SA สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
SB สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
SC สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
SD สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
SE สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่าอีกด้วย
SF สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่า SE และยังมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ. 1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิมสารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ. 1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมีระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น
SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหยตัว ( Lower Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส ( Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น

สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน
CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่ามีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา ( Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิดไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย
CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม
CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้ปี 1996 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า European Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF, DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนด มาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซินทั่วไป
A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบัน

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องยนต์เบนซิน
JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก
เครื่องยนต์ดีเซล
JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ


มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ
มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีรายละเอียดดังนี้
MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบนซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่นและป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CC/SC
MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน
MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี 1981 เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 B เทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC
MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE


สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน " API" และ " SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อจะบอกค่าดัชนีความหนืดของ "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็นมาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD, CE เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอ แต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและอาศัยการเปลี่ยนถ่ายที่เหมาะสมแก่เวลา ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้น มันก็ดีที่ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้อีกทางแต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง ๆยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง ควรที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องควรคู่กันไปด้วย





แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:35   


คำตอบที่ 23
       วันนี้เราลองมาดูวิธีการอ่านป้ายประจำตัวรถกันนะครับ เพื่อว่าจะเป็นขอมูลที่จะใช้ตัดสินใจได้ สำหรับหลาย ๆ คนที่สงสัยว่ามันเป็นสเปคไหนกันแน่ วิธีการมีค่อนข้างเยอะครับ แต่ผมเดาเอาเองนะครับว่า มันขายที่ไหนย่อมต้องผลิตที่นั้นเพราะ ลดต้นทุนได้มากพอสมควร แต่ก็ไม่เสมอไป และอีกเรื่องที่น่าสนใจคือบางรุ่นขายในแต่ละพื้นที่มีชื่อเรียกต่างกัน หรือบางรุ่นไม่มีขายในบางพื้นที่ ลองมาดูภาพประกอบกันก่อน









ซึ่งดูจากรูปแล้วมีประมาณ 17 ตัว อธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มเลขชุดแรก W.M.I จะหมายถึง ประเทศผู้ผลิต โดยมีรหัสดังนี้

JH2 หมายถึง ญี่ปุ่น

1HF หมายถึง อเมริกา

YC1 หมายถึง เบลเยี่ยม

9C2 หมายถึง บราซิล

3H1 หมายถึง เม็กซิโก

VTM หมายถึง สเปน

ZDC หมายถึง อิตาลี

โดยมีเพิ่มเติมคือ

RLH หมายถึง เวียดนาม

MLH หมายถึง ไทย

MH1 หมายถึง อินโดนีเซีย

ME4 หมายถึง อินเดีย

MB3 หมายถึง อินเดีย

MB4 หมายถึง อินเดีย

LWB หมายถึง จีน

LAA หมายถึง จีน

LTM หมายถึง จีน

LAL หมายถึง จีน





สำหรับกลุ่มที่สองนั้นเรียกว่า V.D.S. ซึ่งน่าจะหมายถึงรหัสของตัวรถโดยมีวิธีการดูดังนี้

รหัสแรกสำหรับขนาด ซีซีคือ


A (50cc to 79cc)

H (80cc to 124cc)

J (125cc to 149cc)

K (150cc to 184cc)

L (185cc to 199cc)

M (200cc to 349cc)

N (350cc to 449cc)

P (450cc to 649cc)

R (650cc to 899cc)

S (for 900cc and up).

รหัสต่อมาหมายถึงประเภทรถ

"C" is a street motorcycle,

"D" appears to be a dual-sport,

"E" is an enduro (or perhaps an off-road model)

"F" is a scooter

ส่วนตัวเลข2ตัวถัดมาเป็นการรันไปตามลำดับ ซึ่งผมไม่มีข้อมูลเลย ส่วนตัวเลขท้ายดูเหมือนว่าเป็นรหัสการผลิตตามพี้นที่หรืออย่างไรไม่แน่ใจครับ







แห้งคับ จาก แห้งคับ  125.26.50.139  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:39   


คำตอบที่ 24
       พี่ครับแล้ว A221 แถวบนประเทศอะไรครับ



chetbaby จาก ชช  222.123.16.56  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 00:47   


คำตอบที่ 25
       สงสัยประเทศติมอร์ตะวันออกครับ ชช อิอิ



nuibaby150 จาก หนุ่ยเบบี้150  61.7.168.144  เสาร์, 9/1/2553 เวลา : 15:58   


      

Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วัน<%=WeekdayName(Weekday(Date))%>,<%=formatdatetime(date(),1)%> (Online <%=Application("OnlineUsers")%> คน)
                                       

เพื่อลดภาระของ ฐานข้อมูล ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพราะเวบเปิดมากว่า 10 ปี
จึงทำให้เวบช้าลงมาก ทีมงานจึงขออนุญาต แปลงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลหลักเป็น SHTML File
เพื่อลดภาระการทำงานของ ฐานข้อมูลหลักครับ การแปลงฐานข้อมูลนี้ จะทำให้กระทู้นี้
ไม่สามารถตอบคำถามได้อีกต่อไปครับ แต่จะสามารถค้นหาชื่อกระทู้ และ Link ตรงมาที่หน้านี้ได้เหมือนเดิมครับ

ด้วยความนับถืออย่างสูง ทีมงาน Weekendhobby.com


Convert on : 27/8/2554 6:37:35

Error processing SSI file