Newell C229-5
ข้อมูลทางเทคนิค:-
- Gear ratio - 5 to 1
- 2 stainless steel bearings.
- Stainless friction washers
- Stainless steel gears
- Dry Drag system
- Weight - 18 ozs
- Line Capacity - 290 yards of 20
lb. mono
- Aluminum spoon.
- Two year
complete warranty
- Proudly designed, manufactured
and assembled in the USA
ขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนมาทำความสะอาด
:-
รูปที่
1.
รูปที่
1. รอก Newell ตัวที่นำมาชำแหละ
ให้ท่านไดชมกันนี้ เป็น รุ่น C-229-5 ที่นักสะสมรอก Newell ต่างต้องการจะหาไว้สะสม
เนื่องเพราะว่ามันได้เลิกสายการผลิตไปแล้ว เมื่อก่อนที่รอก Newell เข้ามาสู่นักตกปลาเมืองไทยใหม่ๆ
แทบจะไม่มีใครให้ความนิยมชมชอบมันเลย ด้วยเพราะว่ามันเป็นรอก ที่ทำจากวัสดุกราไฟท์
แถมน้ำหนักตัวก็เบาอีกต่างหาก จึงอาจเป็นเหตุให้ นักตกปลาบ้านเราสมัยนั้น
ว่ามันเป็นรอก ก๊องแก๊ง หรือว่าเหมือนรอกพลาสติก ไป จนมาถึงยุคปลาบึกครองบึง
นี้แหละที่รอก Newell ได้กลับมาคืนชีพ อีกครั้ง เมื่อนักตกปลาบ้านเราต่างยอมรับในความแข็งแกร่ง
ยากที่จะหารอก ตัวใดมาเทียบรัศมีได้ แม้แต่ตัวผมเองยังยอมรับว่ารอก Newell
เป็นรอกที่เหมาะสมใช้ตกปลาบึกมากที่สุดตัวหนึ่ง ด้วยเพราะความคงทน ตีเหยื่อได้ไกล
รองรับสายขนาดใหญ่ ถึง 25 ปอนด์ จนในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นนักตกปลาใช้รอก
Newell กันเกลื่อนบึง เลยละ
รูปที่
2.
รูปที่
2 ลักษณะด้านฝาข้างของรอกตัวนี้
ผ่านการ Modify มาแล้ว โดยเปลี่ยนปุ่มคลิ๊กเสียง และปุ่มหน่วง Spool เป็น
Stainless ที่ทำขึ้นเองโดยฝีมือคนไทย ลอกเลียนแบบมาจาก Newell รุ่น F และ
รุ่น G การที่เราเปลี่ยนปุ่มคลิ๊กเสียงมาใช้ Stainless แทนจะทำให้เสียงที่เป็นเอกลัษณ์
ของรอกที่รู้กันอยู่ว่า ดังสนั่นลั่นบ่อ ต้องลดน้อยลงเมื่อเราเปลี่ยนมาใช้
Stainless ทำปุ่มคลิ๊กเสียงแทนปุ่มเดิมที่เป็นกราไฟท์ แต่ก็ใช่ว่าจะลดความดัง
ของรอกตัวนั้นไปจนหมดก็ไม่ใช่ เพียงแค่เสียงดัง และ โทนเสียงจะลดลงเล็กน้อย
และเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่สิ่งที่ได้ นั้นคือ ความสวยงาม
รูปที่
3.
รูปที่
3 เรามาเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการชำแหละ รอก Newell
เพื่อนำชิ้นส่วนต่างๆ มาทำความสะอาดกันดีกว่า ในขั้นตอนแรก เป็นการถอดมือหมุนออกจากแกนหมุนก่อน
เราจะเห็นว่ามี น๊อต ตัวใหญ่ล๊อค มือหมุนอยู่ ผมไม่เคยเห็นประแจ ที่ใช้ถอดน๊อตตัวนี้
ติดมากับรอก เมื่อซื้อมาจากร้านเลยสักครั้ง แสดงว่าไม่มีประแจแถมมาให้ เราก็ใช้ประแจเลื่อน
มาจับล๊อค นีอตตัวนี้ แล้วหมุนทวนเข็มนาฬากา เพื่อคลายน๊อตออก การใช้ประแจเลื่อนมาถอดน๊อต
จะต้องทำอย่างระมัดระวัง หน่อยนะครับ เพราะว่า ปากประแจ จะจับน๊อตแค่เพียงงนิดเดียวเท่านั้น
เอง เมื่อเราคลายความแน่นของน๊อต ออกแล้วเราก็ก็สามารถใช้มือหมุนน๊อต ตัวนี้ออกมาได้เลย
รูปที่
4.
รูปที่
4. เมื่อเราเอา น๊อตล๊อคมือหมุนออกมาแล้ว
เราจะเห็นว่า ที่ปลาแกนเฟือง ที่เป็นเสาทองเหลือง จะมีตัวยึดอยู่ รอก Newell
บางตัวจะใช้ สกรู ขันยึดแกนเฟือง แต่ใน รอก บางตัว จะใช้ คลิป รูป ตัว C
ล๊อคไว้ เราก็เอาตัวยึดนั้นออกเสียก่อน แล้วจึงเอามือหมุนออก ข้อแตกต่างของตัวยึดแกนเฟือง
ระหว่าง สกรู กับ คลิป ตัว C ที่ไม่เหมือนกัน ผมไม่ทราบว่าทำไม บริษัทผู้ผลิต
ถึงทำออกมาไม่เหมือนกัน
รูปที่
5.
รูปที่
5. เมื่อเราเอา ตัวยึดแกนเฟืองออกแล้ว
ต่อจากนั้นที่ด้านบนของตัวปรับเบรค จะมีแหวนโลหะ ครอบอยู่เราก็หยิบมันออกมาก่อนที่จะหมุนตัวปรับเบรค
ให้คลายออกจน หลุดออกมาจากแกนเฟือง
รูปที่
6.
รูปที่
6. ดูในรูปนี้ประกอบ เราจะเห็นแหวนอยู่บนตัวปรับเบรคในลักษณะ
คว่ำครอบลงมา ครับ
รูปที่
7.
รูปที่ 7. ในรูปนี้จะเป็นการหมุนตัวปรับเบรคออกจากแกนเฟือง
ส่วนในขั้นตอนต่อไป จะอยู่ในหน้าที่ 2 ให้ท่าน คลิ๊กเมาท์ ที่ Next เพื่อจะดูหน้า
ต่อไป หรือ คลิ๊ก Home เพื่อจะกลับสู่หน้าแรกครับ
[Next]
[Home]
|