ABU 6500 C3 2 Speed
โดย พี่ CK จาก FishingThailand
รูปที่ 1.
ABU
6500 C3 2 SPEED สีแดง ตัวนี้เป็นรอกของ พี่เสือปลาขี้เมา ได้ส่งมาให้ผมช่วยตรวจเช็ค
เนื่องจากตั้งแต่ซื้อมาหลายปี นำไปตกปลาบ่อ ปลาทะเล มานับไม่ถ้วน ไม่เคยได้ถอดออกมาบำรุงรักษาเลย
ผมเลยถือโอกาสทำเป็น "ผ่ารอก" มาให้นักตกปลาได้ชมกัน ในอดีตผมเคยมีรอกตัวนี้
จึงทำให้ผมทราบการทำงานและระบบของรอกตัวนี้พอสมควร การวิจารณ์ใดๆก็ตาม ผมวิจารณ์ตามความรู้สึกส่วนตัว
ถ้าท่านใดเห็นว่าผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง ผมยินดีรับคำแนะนำจากทุกท่านครับ
รูปที่ 2.
ลักษณะของรอกก็เหมือนรอกตระกูล 6XXX ทั่วไป ต่างกันตรงที่ฝาฝั่งมือหมุน
จะนูนตรงช่วงห้องเฟือง เนืองจากต้องใช้พื้นที่ในการที่จะบรรจุเฟืองลงไปถึง
2 ชุด
ฝาข้างเขียนไว้ชัดเจนว่า 2 SPEED
รูปที่ 3.
AUTOSHIFT
6.1:1/3.8:1
ด้านข้างบอกไว้ชัดเจนว่า รอกตัวนี้มีอัตราทด 6.1 ต่อ 1 และ 3.8 ต่อ 1
ส่วนคำว่า AUTOSHIFT จากการพิจารณาดูแล้ว ผมไม่เห็นว่ามันจะ AUTO ตรงไหน
การเปลี่ยนอัตราทดยังคงต้องใช้มือของเราปรับอยู่ดี อาจจะต้องเจอปลาใหญ่ๆ
ลากยาวๆ อาจจะลดเป็นอัตราทดที่ต่ำลงก็ได้ เนื่องจากผมไม่เคยลองกับปลาใหญ่
อีกสักครู่จะได้เห็นระบบการทำงานของเฟืองทั้ง 2 อัตราทดครับ
รูปที่ 4.
รอกตัวนี้ จะเห็นว่ามีตัวปรับเป็นวงกลมอยู่ระหว่าง มือหมุนกับก้านปรับเบรค
ตัวนี้ล่ะครับที่เป็นตัวปรับอัตราทดลองเฟือง
ถ้าหมุนให้แน่นจะเป็นอัตราทด 6.1:1 แต่ถ้าคลายออก จะเป็นอัตราทด 3.8:1
รูปที่ 5.
ตัวนี้ยังไงล่ะครับ
ที่ทำหน้าที่ปรับอัตราทดของรอกตัวนี้
รูปที่ 6.
ถอดตัวปรับสปีดออกมา
จะเห็นว่าแกนมือหมุนของรอกตัวนี้มี 2 ชั้น ซึ่งตัวปลอกนอกที่สวมกับแกนอยู่นั้น
จะทำหน้าที่ควบคุมเฟืองรอบช้า(3.8:1) นั้นหมายถึงว่า ถ้าปรับปลอกที่เห็นเข้าไปจนสุดก็จะกลายเป็นรอบเร็ว(6.1:1)
อย่าเพิ่งสับสนครับ ชมต่อไปก่อน
รูปที่ 7.
เปิดห้องเครื่องออกมา
จะเห็นเฟือง 2 ชุด รอกตัวนี้ใช้ระบบกันตีกลับแบบ หัวนกกระจอก ไม่ได้ใช้ลูกปืนกันตีกลับ
รูปที่ 8.
เฟืองที่เห็น
2 ตัว ตัวล่างจะใหญ่กว่า เป็นเฟืองของอัตราทด 6.1:1
ส่วนเฟืองตัวบน จะเล็กกว่าเป็นเฟืองของอัตราทด 3.8:1
รูปที่ 9.
รูปนี้จะเห็นการทำงานของเฟืองชัดเจนเฟืองตัวล่างจะทำหน้าที่ขับเฟืองเล็ก
เพื่อส่งกำลังไปขับสปูล กรณีต้องการให้รอกทำงานในอัตราทดเร็ว
ก็จะให้เฟืองล่างตัวใหญ่ทำหน้าที่ขับเฟืองเล็กโดยตรงแต่ถ้าต้องการอัตรทดรอบช้า
ก็จะให้เฟืองตัวบนทำงานโดยจะเห็นมีเฟืองเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ 2 ตัวด้านข้าง
ทำหน้าที่ถ่ายกำลังจากเฟืองตัวบนส่งไปยังเฟืองตัวล่างอย่างที่บอกไว้ว่า
ถ้าต้องการอัตราทดเร็วเราก็จะปรับให้เฟืองล่างทำงานโดยตรง โดยเฟืองตัวบน(รอบช้า)ก็เพียงแต่หมุนตามตัวล่าง
ซึ่งจะเป็นการปรับโดยการกดให้เฟืองทั้ง 2 ตัว ติดกันแน่น(ไม่แยกจากกัน) เมื่อหมุนมือหมุน
เฟืองตัวล่างก็จะทำงานโดยตรง
รูปที่ 10.
รูปนี้จะเห็นเสาควบคุมเฟือง เสาตัวกลางจะคุมเฟืองล่าง ส่วนเสาที่เป็นปลอมสวมอยู่จะคุมเฟืองตัวบน
รูปที่ 11.
เฟืองเล็กๆ
2 ตัวที่ทำหน้าที่ถ่ายกำลังจากทั้ง 2 เฟือง จะเป็นสลักล็อกกันอยู่เพื่อให้เดินหน้าทางเดียว
ซึ่งจุดนี้ดูแล้วไม่ค่อยแข็งแรงสักเท่าไหร่ กับโลหะทองเหลือง
รูปที่ 12.
สำหรับท่านที่มีรอกตัวนี้ การถอดเฟืองและเสาจะมีจุดที่ต้องทราบก็คือ ในการยกเฟืองตัวบนออกมาแล้ว
ถ้าเราต้องการจะถอดเฟืองตัวล่าง เราจะต้องยกเสาที่เป็นปลอกสวมออกมาก่อน ซึ่งเสาที่เป็นปลอกตัวนั้นจะถูกล็อคด้วยสลักตัวนี้
ถ้าไม่สังเกตุบางท่านอาจจะไม่ทราบว่าจะถอดได้อย่างไร
รูปที่ 13.
เมื่อเอาสลักออก
ก็จะสามารถถอดออกมาได้อย่างง่ายดาย
รูปที่ 14.
เสาใคร
เสามัน
รูปที่ 15.
เฟืองใคร
เฟืองมัน
รูปที่ 16.
การถอดรอกรุ่นนี้
ต้องจำตำแหน่งของแหวนต่างๆ ให้ดี เนื่องจากว่าถ้าประกอบผิดจะทำให้รอกใช้งานไม่ได้ดีเท่าที่ควร
รูปที่ 17.
แผ่นเบรคเป็นผ้าชุบน้ำมัน
สังเกตุแผ่นเบรคบางแผ่นมีสนิมขึ้นติดกับผ้าเบรค
แสดงว่า เจ้าของใช้แบบไม่ได้บำรุงรักษา ไม่เคยถอดออกมาล้างเลย
รูปที่ 18.
ฐานห้องเครื่องแข็งแรง
ตามสไตล์ ABU
รูปที่ 19.
เฟรมเหมือนรอกอาบูตระกูล
6XXX ทั่วไป
รูปที่ 20.
ชุดเกลี่ยสาย
รูปที่ 21.
ระบบคลิกเสียงของรอกตัวนี้
เป็นระบบเสียงแผ่น หมายถึงเป็นระบบเสียงที่นำแผ่นทองแดงมาดัดให้ไปกรีดกับเฟืองตีเสียง
เมื่อเวลาโยนปุ่มเปิดเสียง
รูปที่ 22.
ฝาข้าง
สีแดงอย่างหนา
คงจะจบการ"ผ่ารอก"
ABU 2 สปีด ไว้เพียงเท่านี้นะครับ เนื่องจากลงรูปมากจะทำให้ท่านที่เครื่องช้ามีปัญหาในการชม
จึงเลือกเฉพาะรูปที่เห็นว่าสำคัญมาลงให้ชมกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ พี่เสือปลาขี้เมา ที่กรุณามอบรอกตัวนี้มาให้ผ่าชมกัน
เพื่อประดับความรู้กับนักตกปลาครับ
[BACK]
|