พุธ,27 พฤศจิกายน 2567
 Shimano
 CT-700-S
 TLD STAR 15/30S
 CT-1000
 Trinidad TN-12
 Charter 2000
 Crestfire CR-100D

 ABU
 7000 C
 6500 C
 ABU 6500 C
 ABU 6500 C 32 Speed
 6600 CL Black Max

 PENN
 525 MAG
 320 GTI
 225 LD

 ACCURATE
 Boss 870
 Boss Magnum 870

 DAIWA
 Sealine 20 SH
 BG-10

 Pro Gear
 Pro Gear 251

 

 

 

 

 

 

 

 

  Page 2  

รูปที่ 8.
รูปที่ 8. เมื่อเราถอดฝาข้างด้านมือหมุนออก จะเห็นเม็ดหน่วง มีด้วยกันทั้งหมด 4 เม็ด ตรงแกนเพลาสปูล จะมี ปลอกพลาสติกสวมไว้และล๊อกติดไว้เข้ากับ แกน Pin ขับสปูล Pin อันเล็กๆ ที่เจาะทะลุแกนสปูล 
ที่จุด Pin ที่ใส่เข้าไปในแกนเพลา และเป็นตัว ล๊อกกับ Pinion Gear เวลาเราหมุนแขนกว้าน ตัวสปูลก็จะหมุนตามไปด้วย จากที่เคยพบมาในรอก ABU 8000 C Japan แกนเพลาสปูลตรงจุดที่ Pin ใส่เข้าไปจะเกิดรอยร้าว เพราะว่าพื้นที่ส่วนนี้จะบอบบางมาก เพราะถูกเจาะเป็นรู้เพื่อใส่ Pin ตัวนี้ และนี้ก็เป็นอีกสาเหตุ หนึ่ง ว่าทำไม ถึงพบปัญหาแแกนสปูลของรอก ABU ในรุ่น 7000 และ 7500 ขาด แต่ท่านที่มีรอกตัวนี้ไว้ในครอบครอง ก็ไม่ต้องตกใจ ใดๆ นะครับ ถ้าเรารู้จักประมาณการใช้ เราก็จะมีรอกใช้ได้อย่างยาวนาน ถ้าเราไม่ใช้สายเกินพิกัด ไม่กดสปูลเวลาอัด ไม่หมุนรอกสู้กับปลา ทำตาม 3 อย่างนี้ รอกของท่านก็จะมีชีวิตที่ยืนยาวแล้วละครับ

 

 

รูปที่ 9.
รูปที่ 9.
 ชุดฝาข้างด้านมือหมุนหลังจากถอดออกมาจากโครงรอกแล้ว เราจะเห็น สกรู ตัวเล็กๆ อยู่ 2 ตัว นั้นคือสกรู ที่ใช้ยึดชุดห้องเครื่องของรอก นั้นเองครับ เมื่อเราเอาไขควงแบน ที่มีปากพอดีกับหัวสกรูมาขันออก เราก็จะเปิดฝาครอบ นี้ออกมาได้

 

 

 

 

รูปที่ 10.

รูปที่ 10.   ชิ้นส่วนหลัก ของรอกตกปลา จากซ้ายมือ คือ เฟรมหรือโครง ถัดมาทางขวา เป็น สปูล ที่เก็บสายเอ็น และ ชุดห้องเครื่องที่ประกอบไปด้วย เฟืองขับและชุดเบรค รอก ABU ในรุ่น 7000 ขึ้นไป ขาจับยึดรอกจะเป็นชิ้นเดียวกับโครงเฟรม ซึ่งจะทำให้เกิดความแข็งแรงกว่าในรุ่น ตัวเล็ก อย่างเล่น ในรุ่น 6500 ลงมา ซึ่งใช้วิธี ใช้ความร้อนกดลงให้แผ่นจับยึดรอกเชื่อมติดกับโครงรอก 

 


รูปที่ 11.
รูปที่ 11. ระบบการทำงานแบบเม็ดหน่วง จะอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ในขณะที่สปูลหมุนด้วยความเร็ว เม็ดหน่วงจะกางออกแล้วไปยันกับขอบของชุดฝาข้าง ที่ปลายไขควงชี้ ในลักษณะ เสียดสี ตามวงขอบ ซึ่งจะเป็นการชะลอไม่ให้เกิดการหมุนแบบอิสระ นั้นเอง ถ้าเราถอดรอกแล้วดูตรงจุดนี้ ถ้าเราพบว่าวงขอบในมีรอยขีดขวน เกิดขึ้น ซึ่งรอยขีดขวนนี้จะส่งผลให้สปูลหมุนฝืดและทำให้เราทำระยะการขว้างได้ไม่ไกลเท่าไรนัก เราควรใช้กระดาษทรายเบอร์มากกว่า 1000 ที่ใช้สำหรับในการขัดเงา มาขัดลบรอยขีดขวนนี้ออกเสียและ อีกจุดหนึ่งก็คือพื้นที่บริเวณนี้ ไม่ควรมีคราบน้ำมันหรือจาระบีเกาะติดอยู่ เพราะมันจะไปทำให้เกิดความหนืด เมื่อเราขจัดรอยขีดขวนแล้ว เราก็ควรมาดูที่สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยขีดขวน โดยการตรวจตัวเม็ดหน่วง ทั้งหมดรวมทั้งก้านของเม็ดหน่วงด้วยว่าก้านเม็ดหน่วงนั้น ยื่นออกมามากเกินไปจนไปชนกับขอบนี้รึเปล่า ถ้าก้านเม็ดหน่วงยื่นออกมามากเกินไป ก็กดมันเข้าไปที่เดิม และควรหยอดกาวตราช้างไว้ด้วย ตอนที่หยอดกาว ควรเอาเม็ดหน่วงออกก่อนนะครับ

 

รูปที่ 12.
รูปที่ 12. เอารูปวงขอบเม็ดหน่วงมาให้ดูกันชัดๆ เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ถึงแม้พื้นที่จะคับแคบ ต่อการขัดผิว ลบรอยขีดขวน แต่มันก็ไม่เหนือกว่าความพยายามของเราไปได้ครับ ลองทำดูนะครับ

 

 

 

 

Page [1] [2] [3] [4] [5

 [Back]


Home | Bicycle | Offroad | Fishing | Radio Control | GPS Corner | Second hand | Member area
Copyright © 2000, www.WeekendHobby.com, All right reserved.

Contact Webmaster