ศุกร์,27 ธันวาคม 2567
 Shimano
 CT-700-S
 TLD STAR 15/30S
 CT-1000
 Trinidad TN-12
 Charter 2000
 Crestfire CR-100D

 ABU
 7000 C
 6500 C
 ABU 6500 C
 ABU 6500 C 32 Speed
 6600 CL Black Max

 PENN
 525 MAG
 320 GTI
 225 LD

 ACCURATE
 Boss 870
 Boss Magnum 870

 DAIWA
 Sealine 20 SH
 BG-10

 Pro Gear
 Pro Gear 251

 

 

 

 

 

 

 

 

รอก Shimano CT-700-S 

 ชิ้นส่วนภายใน ของรอก ตระกูล ดัง จากค่าย Shimano

 รูปที่ 1


รอก Shimano CT-700-S เป็นรอกที่น่าเล่นมากตัวหนึ่ง ตัวเรือนทำจากวัสดุ อะลูมิเนียม เคลือบผิวภายนอกเป็นสีทองเหลืองอร่าม ชวนให้นักตกปลา หลงใหลในความงามยิ่งนัก รอกในรุ่น 700 นี้ จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ รุ่น CT-700 กับรุ่น CT-700-S ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว S ที่ต่อท้ายนั้น หมายถึง คำว่า Sport นั่นคือ จะไม่มีตัวเกลี่ยสาย ดังใน รูปที่ 1 ที่นำมาให้ดู





 รูปที่ 2.


 ถ้าเราจะแบ่งแยกตามหน้าที่ที่สำคัญของรอกตัวนี้ เราก็จะสามารถแบ่งออกได้ 3 ชิ้นส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ ส่วนที่เป็นขุมกำลังหรือชุดขับเคลื่อน ต่อมาก็คือส่วนที่ทำหน้าที่จัดเก็บสาย และ ส่วนที่เป็นโครงสร้าง ดังปรากฏไว้ใน รูป ที่ 2 ให้เราสังเกต ที่น็อตครอบแกนมือหมุนให้ดี มันจะแตกต่างจากที่เราเคยเห็น ซึ่งจะเป็นฝาครอบพลาสติกสีเทา แต่เจ้าตัวนี้จะเป็นโลหะ ให้ความคลาสสิคดีกว่าพลาสติก

 

 รูปที่ 3.

ต่อไปเราจะมาดูกลไกภายในของรอกตัวนี้กัน ชุดขับเคลื่อน จะแบ่งแยกชิ้นส่วนหลัก ๆ ได้เป็น 4 ชุด คือชุดมือหมุน ชุดปรับแดร็ก ชุดฝาครอบ และชุดห้องกลไกใน ดู รูปที่ 3 ประกอบ
ชุดมือหมุน จะประกอบด้วย แขนกว้านแบบสปอร์ต น็อตยึดแขนกว้าน และแหวนยึดน็อตอีกตัว ชุดปรับแดร็ก ก็จะมีแป้นสปริงรองรับแกนปรับ ตัวปรับแบบ 5 แฉก แผ่น Spring washer อย่างบาง 1 คู่ และ อย่างหนาอีก 1 คู่ แต่ละคู่จะประกบส่วนเว้าเข้าหากันในลักษณะเหมือนพนมมือ ปลอกรองแกนเพลาที่ปลายด้านหนึ่งจะเป็นเขี้ยว 2 อันไว้สำหรับ ล็อคแผ่น Washer แผ่นบน 
    ชุดฝาครอบ
ประกอบด้วยฝาครอบ ปุ่มปรับหน่วง ภายในปุ่มปรับหน่วงก็จะมีแผ่นทองแดงบาง ๆ 2 แผ่น ตลับลูกปืน 1 ตลับ สปริงสำหรับดันตลับลูกปืน แหวน 2 วง สำหรับรองตลับลูกปืน ด้านละ 1 อัน

รูปที่ 4.
   ชุดห้องกลไก ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของบรรดารอกทั้งหลายก็ว่าได้ นั่นคือ ห้องเครื่องใครจะดีกว่ากันก็จะ วัดกันตรงนี้ ชุดห้องเครื่อง CT-700-S ประกอบด้วย แกนเฟืองที่มีขนาดใหญ่ ทำด้วยวัสดุทองเหลือง ตัวเฟืองขับ หรือ Main Gear ก็ทำจากวัสดุทองเหลือง ที่มีขนาดความหนาไม่มากนัก เพียง 2.5 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง ดูรูปที่ 4 แต่ก็เพียงพอ รับเกมส์หนัก ๆ อย่างปลาบึกไซส์ 20 -30 กิโล ที่บึงสำราญได้อย่างสบาย

 

รูปที่ 5.

รูปที่ 5. แสดงให้เห็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ในห้องเครื่อง จะเห็นชุดแดร็กจำนวนมากมาย ประกอบด้วย แผ่น Washer 3 แผ่น แผ่นเบรก อีก 4 แผ่น ที่ Main Gear จะมองเห็นคราบสีดำนั้นเกิดจากการที่เพิ่งผ่านการใช้งานที่หนักหน่วง จากภาระกิจที่บึงสำราญมาสด ๆ ร้อน ๆ นั่นเอง คราบสีดำนั้นก็คือ ฝุ่นผงของแผ่นเบรก ที่เป็นชนิดคาร์บอนผสมกับกราไฟท์นั่นเอง ส่วนแผ่นโลหะที่เป็นหยัก ๆ ทางซ้ายมือสุด ก็คือเฟืองตีนผี ทำหน้าที่ปลดล็อคครับ

 


รูปที่ 6.

ในรูปที่ 6. จะแสดงให้เห็น แผ่นเบรกที่อยู่ใต้เฟือง ที่แตกหัก หลังจากผ่านการใช้งานอัดปลาบึก ที่บึงสำราญ เบรกแผ่นนี้เป็นวัสดุ คล้ายกับกราไฟท์ผสมคาร์บอน แข็งแต่เปราะ ผมจึงได้เปลี่ยนมาใช้เทฟลอนแทน และให้ความรู้สึกว่าดีกว่าเดิมอีกด้วยครับ ท่านใดที่ใช้รอกตัวนี้ ลองสังเกตเบรกแผ่นนี้ตอนที่ท่านถอดมาทำความสะอาดดูนะครับ ถ้าท่านพบปัญหาดังเช่นที่ผมพบ ท่านไม่ต้องตกใจ อันที่จริงถ้าแผ่นเบรกขาดในลักษณะแบบนี้ มันก็ยังสามารถใช้งานได้ เพียงแต่เราไม่มั่นใจเท่านั้นเอง ทางที่ดีเราควรจะเปลี่ยนเป็นแผ่นใหม่จะดีกว่า แต่ขอแนะนำว่าให้ใช้วัสดุที่แข็งสามารถทนความร้อนได้ดี เพราะเบรกแผ่นนี้จะรับน้ำหนักเต็มที่ ท่านสามารถใช้วัสดุเทฟลอนมาใส่แทนได้ครับ

รูปที่ 7

รูปที่ 7  แสดงให้เห็นเฟรมชิ้นเดียว ทำจากวัสดุอะลูมิเนียม เคลือบผิวด้วยสีทอง ขายึดรอก Reel site เป็นสแตนเลสแข็งแรง ยึดเข้าด้วยด้วยหมุดยึด 4 ตัว ทำให้รอกตัวนี้แข็งแรง ตัวเฟรม รอก จะเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย ท่านผู้ใช้ที่ถนอมรอกจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

 

 

 

รูปที่ 8.

รูปที่ 8. เป็นรูปสปูล ถ้าสังเกตตรงแกนกลางสปูลให้ดีจะเห็นปุ่มโปล่ออกมาจากแกนสปูล ปุ่มนี้มีไว้เพื่อคล้องสายเอ็นในการกรอสาย เราจะได้ไม่ต้องผูกหรือมัดสายเอ็นในการเริ่มต้นกรอสายเอ็นเข้าสปูล เท่าที่ผมสังเกตดูปุ่มอันนี้จะมีเฉพาะรอกที่ จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เท่านั้น แกนเพลาขนาดโตรับแรงกดได้อย่างเหลือเฟือ สำหรับปลาบึกขนาด 30 กิโลนี่สบายมาก ส่วนที่เราเห็นเป็นสีดำ และมีเม็ดเป็น แฉก ๆ อยู่ 6 แฉก นั่นก็คือเม็ดหน่วง เม็ดหน่วงนี้จะทำหน้าที่ง้างออกเมื่อเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ และที่ปลายด้านนอกจะไปสัมผัส กับขอบของเฟรม ที่ทำเป็นเบ้ารับไว้ ในขณะที่สปูนหมุนเร็ว ก็จะเกิดแรงหนีศูนย์มากตัวเม็ดหน่วง ก็จะมีแรงไปเสียดสีที่เบ้า เฟรมมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งเราเพิ่มจำนวนเม็ดหน่วงมากขึ้น ก็เท่ากับเป็นการที่เราเพิ่มพื้นที่การเสียดสีให้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง เมื่อเกิดการเสียดสีขึ้นมากเท่าไร ความเร็วก็จะลดลงเร็วขึ้นเท่านั้น และนี่คือการทำงานแบบเม็ดหน่วงครับ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราดันเม็ดหน่วงเข้าข้างใน ล็อคให้หมด นั่นคือเราไม่ใช้เม็ดหน่วง การหมุนของสปูนก็จะเป็นอิสระไร้การควบคุม สำหรับมือใหม่ที่พึ่งหัดเล่น รอกประเภทนี้ควรที่จะกางเม็ดหน่วงออกให้หมดทั้ง 6 ตัว หรืออย่างน้อยก็ 4 ตัว จนกว่าจะเกิดความชำนาญ ถึงค่อยหุบเม็ดหน่วงให้เหลือแค่ 2 เม็ด 
ข้อควรระวัง การเปิด หรือ หุบเม็ดหน่วง ควรจะต้องทำในด้านที่ตรงข้ามกันเสมอ 

 

 [BACK]


Home | Bicycle | Offroad | Fishing | Radio Control | GPS Corner | Second hand | Member area
Copyright © 2000, www.WeekendHobby.com, All right reserved.

Contact Webmaster