Calcutta 1000
รอกตกปลาที่ Shimano ทำขายที่ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะ
ข้อมูลทางเทคนิค
:
+
โครงสร้างและสปูลเป็นอลูมิเนี่ยมอัลลอยย์
เคลือบ อะโนไดซ์ สีทอง
+ หล่อลื่นด้วยตลับลูกปืน
4 ตลับ และ อีก 1 โรเลอร์
+ จุสายขนาด 17 ปอนด์ ได้ 275
หลา
+
ราคาที่วางขายในท้องตลาด
9,200 บาท
+ มือหมุนเป็ยแบบสปอร์ต
กลไกภายในและวิธีการถอด
:
รูปที่
1.
กล่องที่ใส่เป็นสีทอง
งดงาม
ตัวหนังสือที่เขียนอยู่ข้างกล่องเป็น
ภาษาญี่ปุ่น มือหมุนแบบสปอร์ต
รูปแบบโครงร่าง
แบบเดียวกับรอก Shimano Calcutta CT-400
ทุกประการ
รูปที่
2.
รูปที่
2. ขั้นตอนการถอดรอกรุ่นนี้
เพื่อทำความสะอาด
มีวิธีและขั้นตอนที่ไม่ต่างจากรอกในตระกูลเดียวกัน
นั้นคือ
ก่อนอื่นเราจะต้องใช้ไขควงตัวเล็ก
คลายสกรู
ที่ยึดแหวนตัวน๊อตล๊อก
มือหมุนออกเสียก่อน
ต่อจากนั้น
จึงหยิบแหวนล๊อก
ตัวนั้นออก
จึงค่อยใช้ประแจปากตาย
หรือ
ประแจตัวที่ให้มาพร้อมกับรอกมาขัน
น๊อตตัวนี้ออกก็ได้
เมื่อเราขันน๊อต
ยึดมือหมุนออกแล้ว
เราก็หยิบเอา มือหมุนออก
ที่ด้านใต้มือหมุนจะมีแหวนสปริง
รองรับมือหมุนอยู่ 1 ตัว
แหวนสปริงอันนี้
เราจะอยู่ในลักษณะ
หงายปีกทั้งสองด้านขึ้นเข้าหาแขนมือหมุน
เวลาที่เราประกอบแหวนนี้กลับเข้าไป
ก็
พึงระวังตรงจุดนี้ไว้ด้วย
เหตุที่เราจะต้องหงายแหวนขึ้นนั้น
ก็เพราะว่า ส่วนปลายปีก
ทั้ง 2 ด้าน ของตัวแหวนสปริง
มีความคม มันจะไป กัดตัวหมุนปรับเบรคให้เกิดรอยสึก
เสียความงดงามไป
รูปที่
3.
รูปที่
3. หลังจากที่เรา
เอามือหมุนออกแล้ว
จะเป็นดังภาพ ที่3
ต่อจากนั้นก็หมุนตัวปรับเบรค
ออก
เราจะพบแหวนเป็นรูปทรงกะทะอยู่
4 ตัว
โดยมีความหนาของแหวนสปริง
ที่แตกกต่างกัน กล่าวคือ
จะมีแหวนแบบหนา และแบบบาง
เวลาใส่จะต้องใส่ปะกบ
เข้าด้วยกัน ในลักษณะ
คว่ำเข้าหากัน
นอกจากแหวนสปริง 4
ตัวนี้แล้ว จะพบว่ามีแหวน
ธรรมดา อีก 1 ตัว ซึ่ง
ผิวหน้า ด้านหนึ่งจะเป็น
ทองเหลือง และอีกด้านหนึ่ง
จะมีผิวที่ขรุขระ
แหวนตัวนี้จะทำหน้าที่รองรับ
ตัวปรับเบรค ไม่ให้สัมผัส
กับ
แหวนสปริงโดยตรงเพื่อป้องกันการสึกกร่อน
ของตัวปรับเบรค
อันเนื่องมาจากแหวนสปริง
ไปเสียดสี
ในขณะที่เราหมุนปรับเบรค
ได้ครับ
รูปที่
4.
รูปที่
4. เมื่อเราหยิบเอาแหวนสปริงออกเราจะเห็นตลับลูกปืนกันมือหมุนกลับ
ที่ฝาด้านมือหมุน
จะเขียนด้วยตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่น
และมีเลข 1000
กำกับบอกไว้ว่านี่คือรุ่น
CT-1000 ขั้นตอนต่อไป
จะเป็นการเอา ฝาครอบออก
ให้เราใช้ไขควงปากแบน
ขนาดพอดีกับร่อง
ของตัวสกรู มาขันน๊อต
ที่โผล่ออกมาทั้ง 2 ตัวนี้
ใช้ไขควงขันแค่
น๊อตพอคลายเกลี่ยวออกเท่านั้น
และจะต้องทำอย่างระมัดระวังด้วย
เพราะว่า รอก ตระกลู นี้
จะเป็นรอยได้ง่ายมาก
ถ้าเกิด
ปลายไขควงเกิดพลาดพลั้ง
หลุดมือไปโดนตัวเรือนรอกเข้า
มันจะเป็นรอยขูดขีด ทันที
เมื่อเราคลายน๊อตออกแล้ว
ก็
ใช้มือหมุนเอาน๊อตตัวใหญ่ทั้งสองตัวนี้ออก
รูปที่
5.
รูปที่
5. ต่อจากนั้น
ให้เรากดที่ตัวฟรีสปูล
ดังในรูป 5
เป็นการเอาฝาครอบออกได้ง่ายและสะดวกขึ้น
เมื่อเรากดปุ่มฟรีสปูลแล้ว
เราก็เปิดฝาครอบออก
มันก็จะออกง่าย
รูปที่
6.
รูปที่
6.
เมื่อเราเปิดฝาครอบด้านมือหมุนออกแล้ว
ก็จะเป็น ดังรูปที่ 6
เบ้าของห้องเฟือง เกียร์
ต่างๆ
จะยังคงอยู่ติดกับฝาครอบ
เราจะต้องใช้ไขควงปากแฉก
ตัวเล็ก
ให้ปลายของไขควงเข้าหัวสรูกอย่างพอดี
ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
หัวสกรู
จะได้ไม่เสียหายจากเครื่องมือที่ขัน
เหตุที่ต้อง
เปิดฝาก่อนแล้วขันเอาห้องเครื่องออก
ก็เพราะว่า
จะเป็นการสะดวกและ
ง่ายต่อการ ขันสกรู อีกทั้ง
ปลอดภัยจากการ
ที่ปลาไขควงจะหลุดไปโดนตัวเรือนนอกได้
ผมจึง แนะนำให้ถอด
ด้วยวิธีนี้ ครับ
รูปที่
7.
รูปที่
7.
ต่อจากนั้นเราก็เอา
ฝาครอบออก
จะเป็นอย่างในรูปที่ 7
ด้านซ้ายจะเป็น
เบ้าชุดห้องเครื่อง
ด้านขวา จะเป็นฝาครอบ
Page [1] [2]
[3] [4]
[5]
[Back]
|