คำตอบที่ 3
ปลาเสือสุมาตรา ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntius tetrazona อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขนาดเล็ก และมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย (P. partipentazona) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก โดยมีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้มเหมือนกัน ต่างกันที่แถบดำของปลาเสือสุมาตรานั้นมีทั้งหมด 4 แถบ และขนาดลำตัวของปลาเสือสุมาตรานั้นจะใหญ่กว่าเล็กน้อย
โตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 7 เซนติเมตร พบในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะบอร์เนียวและสุมาตรา โดยไม่พบในประเทศไทย มีอุปนิสัยคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย คือ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณกลางน้ำ ในแหล่งน้ำสะอาดที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น อาหารได้แก่ อินทรีย์สารและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ถิ่นอาศัย
ปลาเสือสุมาตรามีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณ ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยจะพบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนใหญ่ปลาเสือสุมาตราจะอยู่แหล่งน้ำไหล อ่างเก็บน้ำ น้ำตกหรือบึงน้ำ เป็นต้น
ลักษณะ
ปลาเสือ สุมาตราเป็นปลาในตระลปลาตะเพียนขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสวยงาม ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวและแบนข้าง ปลาเสือสุมาตรามีอยู่หลายชนิดเช่น เสือสุมาตราลายเสือ เสือสุมาตราลายเสือแก้มแดง เสือสุมาตราเขียว เป็นต้น โดยทั่วไปปลาเสือสุมาตราจะมีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบคือ สองแถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันครีบ แถบที่สี่พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่โคนหางครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่
อุปนิสัย
ปลา เสือสุมาตราไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่าหรือ อ่อนแอกว่า ปลาเสือสุมาตราจะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงไม่ต่ำกว่า 10 ตัว มีนิสัยดุ ขี้ตกใจ ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาที่มีครีบและหางสวยเช่น ปลาหางนกยูง เพราะปลาเสือสุมาตราจะกัดครีบและหางของปลาชนิดอื่น ๆ จนขาดวิ่นไปหมด ตามนิสัยของปลาขี้อิจฉา ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีนิสัยปราดเปรียว ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ ดังนั้นจึงชอบน้ำในตู้ปลาที่ค่อนข้างมีความเคลื่อนไหวและใสสะอาด ชอบแสงสว่างที่เจิดจ้าเป็นพิเศษ เมื่อโตเต็มที่แล้วปลาเสือสุมาตราจะมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะมีขนาดประมาณ 3.0-3.7 เซนติเมตร
การเพาะ ขยายพันธุ์
ก่อนอื่นจะต้องทำการเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยตัวผู้จะมีสีสันสดสวย ปากแดง หางแดง ครีบแดง ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่า แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ขนาดของปลาที่พร้อมจะนำมาผสมพันธุ์จะมีขนาดประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว นำพ่อปลาและแม่ปลามาขุนในบ่อประมาณครึ่งเดือนโดยให้อาหารที่เป็นลูกน้ำหรือ หนอนแดง ถ้าหากไม่มีก็สามารถใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบแทนได้ เมื่อครบกำหนดเวลาพ่อแม่ปลาก็จะอ้วนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นให้นำพ่อ-แม่ปลาแยกเป็นคู่ไว้ในบ่อปูน ใส่น้ำลึกประมาณ 30 เซนติเมตร นำตะกร้าพลาสติกขนาดประมาณ 10-12 นิ้ว ทำเป็นคอกสำหรับปลา 1 คู่พร้อมกันนั้นจึงสร้างสาหร่ายเทียมให้ปลาวางไข่ สาหร่ายเทียมอาจจะทำมาจากเชือกฟางที่ฉีกเป็นฝอย ๆ นำไปมัดไว้กับก้อนหินถ่วงให้จม เท่านี้ปลาก็จะมีที่วางไข่แล้ว
การ เพาะปลาเสือสุมาตรามีเทคนิคอยู่ว่า เมื่อเตรียมตะกร้าและสาหร่ายสำหรับวางไข่เรียบร้อยแล้วให้นำพ่อ-แม่ปลาใส่ลง ไปตอน 5 โมงเย็น พอประมาณ 3 โมงเช้าก็ให้จับพ่อ-แม่ปลาออก ตอนนี้เราก็จะเห็นไข่เกาะอยู่ตามเชือกฟาง ทิ้งไว้ 2 วันไข่ก็จะฟักออกเป็นตัวแล้วจึงค่อยยกตะกร้าออก ปลาเสือสุมาตราจะวางไข่ครั้งละ 300-400 ฟอง ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ในช่วงสองวันหลังจากฟักเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร รอให้ผ่านวันที่สี่จึงเริ่มให้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียดละลายกับน้ำ ให้อาหารวันละ 4 ครั้ง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกปลา ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เมื่อครบ 3 วันก็จะเริ่มเปลี่ยนมาให้ลูกไร และเมื่อครบ 1 เดือนก็จะเริ่มให้อาหารเม็ด
อาหาร
ปลา เสือสุมาตราชอบกินตัวหนอน ลูกกุ้งตัวเล็ก ๆ ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำและเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย ตลอดจนอาหารสำเร็จรูป
การ ตลาด
ปลาเสือสุมาตราจะเริ่มขายได้เมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ราคาอยู่ที่ตัวละ 1 บาท แต่ถ้าเลี้ยงไว้นานขึ้นก็จะยิ่งมีราคามากขึ้นโดยปลาที่มีขนาด 1 นิ้ว จะได้ราคาตัวละ 2 บาท ถ้า 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว ก็จะมีราคาตัวละ 4 บาท เรียกได้ว่ายิ่งโตยิ่งมีราคา หากจะเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ก็ต้องเลี้ยงจนอายุประมาณ 6 เดือน ถึงจะดีที่สุด