คำตอบที่ 2
ถ้าว่าตามทฤษฎีก็อาจจะไม่ผิด เพราะการป้องกันสิทธิของตนเองให้พ้นจากอันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายและเป็นภัยใกล้ตัว ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ทุกคนสามารถทำได้โดยไม่มีความผิด (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 68 )
ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเรายิงคนตายที่ใช้ปืนปืน BB มาขู่ไม่ใช่ปืนจริง ก็พอจะยกข้อต่อสู้เรื่องความเข้าใจผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 มาอ้างได้
" ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริง จะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด......."
แต่ในทางปฏิบัติคงยากมากๆที่จะพิสูจน์ให้คนยิงพ้นผิด เพราะต้องแสดงให้ศาลเห็นอย่างชัดเจนว่า
1. คนยิงเข้าใจผิดจริงๆว่าปืน BB เป็นปืนจริง เช่นสภาพปืนเหมือนของจริงมาก หรือ สภาพแสงสลัวมองเห็นปืนได้ไม่ชัด
2.ผู้ตายมีท่าทีจะประทุษร้ายอย่างเห็นได้ชัดและต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือได้ว่าผู้ตายจะยิงจริงๆไม่ใช่แค่ขู่เล่นๆ เช่นเคยมีเรื่องราวทะเลาะวิวาทกันอย่างหนักและเคยขู่ว่าจะฆ่าผู้ยิง หรือผู้ตายมีพฤติกรรมทำตัวเป็นนักเลงอันธพาลเคยใช้ปืนจริงๆไล่ยิงคนมาก่อน
3.การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เช่นยิงไปแค่นัดเดียว(พอดีโดนกลางแสกหน้า) ในระยะแค่ 4-5 เมตร และยิงในบริเวณบ้านของเรา ไม่ใช่เดินเข้าไปยิงในบ้านคนตายหรือออกไปยิงเค้าที่ร้านกาแฟหน้าบ้าน
4. คนยิงไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะยิงคนตายมาก่อน เป็นเรื่องบังเอิญที่มีปืนอยู่ในมือ??????
และอื่นๆอีกมากมายเช่นมีพยานรู้เห็นเหตุการณ์และเป็นฝ่ายเรามากกว่าฝ่ายคนตาย
สรุปว่ายิงคนตายนี่แม้จะเป็นฝ่ายป้องกันตัว ก็ยากที่จะรอดคุกล่ะครับ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงเถอะครับ