WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เรื่องประกันสวัสดิภาพ

จาก TSG
IP:203.155.198.1

เสาร์ที่ , 4/2/2549
เวลา : 16:06

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ผมเคย อ่านเรื่องการประกันสวัสดิภาพ ส่วนบุคคล กรณีที่เราโดนจับ หรือกระทำความผิด ตอนนี้มีข่าวคราว ว่ายังไงบ้าง ทุกท่านพอจะมีข้อมูลตรงนี้ไหมครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       น่าจะเป็นประกันอิสรภาพ...ง่ะครับ

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 51 58.147.50.169 เสาร์, 4/2/2549 เวลา : 18:48  IP : 58.147.50.169   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16939

คำตอบที่ 2
       ใช่ครับเป็นประกันอีกแบบหนึ่ง...ตัวแทนจะมาประกัน
เราออกกรณีโดนจับ อวป...ครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

คำก้อน จาก คำก้อน 61.91.172.59 อาทิตย์, 5/2/2549 เวลา : 03:31  IP : 61.91.172.59   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16946

คำตอบที่ 3
       แล้วนี้มีบริษัทไหน ที่ทำประกันตรงนี้บ้างครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก TSG 203.155.198.1 จันทร์, 6/2/2549 เวลา : 07:27  IP : 203.155.198.1   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16985

คำตอบที่ 4
       ต้องลงสอบถามกับตัวแทนประกันของหลายๆบริษัทดูครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

คำก้อน จาก คำก้อน 203.155.94.129 จันทร์, 6/2/2549 เวลา : 07:45  IP : 203.155.94.129   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16986

คำตอบที่ 5
       ประกันอิสภาพ ถ้าลูกค้า(ผู้ต้องหา) หนีประกัน บริษัทจะส่งตัวแทนตามเช็คบิลหรือเปล่าครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก กระบี่อันดามัน 61.19.151.190 จันทร์, 6/2/2549 เวลา : 11:00  IP : 61.19.151.190   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16989

คำตอบที่ 6
       ลอกมาฝากครับ

การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร
การประกันภัยอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันมาวางศาลได้

ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น เมื่อประชาชนได้ซื้อประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองให้ผู้เอาประกันภัยถือไว้ หากผู้เอาประกันภัยได้ทำความผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวกอย่างยิ่งจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรองนี้ ยื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นใดมาวางเป็นหลักประกัน

รูปแบบการประกันภัยอิสรภาพ
การทำประกันภัยอิสรภาพมี 2 รูปแบบคือ

แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป)
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในฐานความผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยประมาท

บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน และหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้ว แต่ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัทประกันภัยได้

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด (ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย)
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในทุกลักษณะฐานความผิด

บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดีที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

ผู้สามารถซื้อประกันภัย
1. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ บุคคลทั่วไป เช่น ครู ทนายความ นักบัญชี พยาบาล แม่บ้าน พนักงานขับรถ เป็นต้น
2. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ ผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย

ระยะเวลาความคุ้มครอง
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
- ตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือ
- จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
- นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หรือ
- นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา หรือ
- นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือ
- นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนคดีถึงที่สุด

เบี้ยประกันภัย
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
อัตราเบี้ยประกันภัย ขั้นต่ำ 0.5% ขั้นสูง 1% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 500 - 1,000 บาท

แบบที่ 2 กรมธรรมประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
เบี้ยประกันภัยแบ่งตามชั้นศาลที่มีคำพิพากษาและฐานความผิด อัตราเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ 5% ขั้นสูง 20% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 5,000 - 20,000 บาท

ส่วนลดเบี้ยประกันภัย
- หากผู้เอาประกันภัยมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัท จะได้รับส่วนลด 10% ของเบี้ยประกันภัย
- หากผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์มาวางประกันร่วม จะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยลดลงตามสัดส่วนราคาหลักประกัน

การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยในระหว่างระยะเวลาประกันภัย

การคืนเบี้ยประกันภัย
บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ในกรณี ดังนี้
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
- เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ในระหว่าง ระยะเวลาประกันภัยไม่มีการเรียกร้องให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
- เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระหว่างระยะเวลาประกันภัย โดยไม่ผิดสัญญาประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยครึ่งหนึ่งให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัย หรือ
- เมื่อเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้เต็มจำนวนโดยหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 500 บาท หรือ
- เมื่อเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังมีคำสั่งถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัว หรือ ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องการที่จะประกันตัวอีกต่อไป บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20 หรือ
- ผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญาประกันตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20

การใช้หนังสือรับรอง
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยก่อนกระทำความผิด
- กรณีไม่มีการกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย หนังสือรับรองจะสิ้นอายุตามระยะเวลาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
- กรณีมีการกระทำความผิด ผู้เอาประกันภัยกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย แต่ยังไม่ได้ถูกควบคุมตัว บริษัทประกันภัยจะขยายเวลาการใช้หนังสือรับรองที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยออกไป 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้ประกันตัวในความผิดที่ได้กระทำขึ้นภายในระยะเวลาประกันภัยนั้น และเมื่อหนังสือรับรองได้ใช้เป็นหลักประกันแล้วจะมีผลผูกพันบริษัทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยหลังกระทำความผิด
จะมีผลผูกพันบริษัทและใช้เป็นหลักประกันสำหรับการประกันตัวในฐานความผิดทางคดีอาญาจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

การซื้อประกันภัยอิสรภาพ
หากต้องการซื้อประกันภัยอิสรภาพ สามารถติดต่อได้ที่บริษัทประกันวินาศภัยทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป

รายชื่อบริษัท ซึ่งมีกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อน หรือหลังกระทำความผิด และอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ (ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อ 11 มี.ค. 47)



ลำดับ ชื่อบริษัท ลำดับ ชื่อบริษัท ลำดับ ชื่อบริษัท
1. บมจ. กรุงเทพประกันภัย 21. บจ. แอ๊ดวานซ์ประกันภัย 41. บจ. ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย
2. บจ. กรุงไทยพานิชประกันภัย 22. บมจ. นวกิจประกันภัย 42. บจ. วิริยะประกันภัย
3. บจ. คิวบีอี ประกันภัย 23. บจ. นารายณ์สากลประกันภัย 43. บมจ. ศรีอยุธยาประกันภัย
4. บมจ. จรัญประกันภัย 24. บมจ. นำสินประกันภัย 44. บจ. ส่งเสริมประกันภัย
5. บจ. เจ้าพระยาประกันภัย 25. บมจ. บางกอกสหประกันภัย 45. บจ. สยามซิตี้ อินชัวรันส์
6. บจ. ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) 26. บมจ. ประกันคุ้มภัย 46. บจ. สหมงคลประกันภัย
7. บจ. อวีว่า ประกันภัย (ไทย) 27. บมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์ 47. บจ. สัมพันธ์ประกันภัย
8. บมจ. ทิพยประกันภัย 28. บจ. ประกันภัยศรีเมือง 48. บมจ. สามัคคีประกันภัย
9. บมจ. เทเวศประกันภัย 29. บจ. เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) 49. บจ. สินทรัพย์ประกันภัย
10. บจ. สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย 30. บจ. พระนครธนบุรีประกันภัย 50. บมจ. สินมั่นคงประกันภัย
11. บมจ. ไทยเจริญประกันภัย 31. บจ. พัชรประกันภัย 51. บจ. อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย
12. บจ. บีที ประกันภัย 32. บจ. พาณิชย์การประกันภัย 52. บจ. อาคเนย์ประกันภัย (2000)
13. บมจ. ไทยประกันภัย 33. บจ. พุทธธรรมประกันภัย 53. บมจ. อินทรประกันภัย
14. บจ. ไทยพัฒนาประกันภัย 34. บจ. ไพบูลย์ประกันภัย 54. บจ. เอเชียสากลประกันภัย
15. บจ. ไทยพาณิชย์ประกันภัย 35. บมจ. ภัทรประกันภัย 55. บจ. คูเนีย ประกันภัย
16. บจ. ไทยศรีซูริคประกันภัย 36. บจ. มิตรแท้ประกันภัย 56. บจ. เอราวัณประกันภัย
17. บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย 37. บจ. เมืองไทยประกันภัย 57. บมจ. แอกซ่าประกันภัย
18. บจ. ไทยสมุทรประกันภัย 38. บจ. โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ประกันภัย 58. บจ. มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ สาขาประเทศไทย
19. บจ. ธนชาติประกันภัย 39. บจ. ลิเบอร์ตี้ประกันภัย 59. บจ. สินทรัพย์ประกันภัย*
20. บจ. ธนวัฒน์ประกันภัย 40. บจ. โอสถสภาประกันภัย 60. บมจ. กมลประกันภัย**

* ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อ 22 มี.ค. 47
** ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อ 10 มิ.ย. 47



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เป้าสะอาด 203.107.238.162 จันทร์, 6/2/2549 เวลา : 14:53  IP : 203.107.238.162   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16998

คำตอบที่ 7
       ขอบคุณครับพี่ เป้าสะอาด..




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

คำก้อน จาก คำก้อน 203.155.94.129 อังคาร, 7/2/2549 เวลา : 08:31  IP : 203.155.94.129   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 17023

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพุธ,25 ธันวาคม 2567 (Online 13504 คน)