คำตอบที่ 2
สวัสดีครับ...คุณ ข้าราชการชั้นผู้น้อย....
ผมได้พยายามค้นหานิยามของคำว่า "เขตปลอดอาวุธ"
มาหลายชั่วโมง...ก็ปรากฎว่า....ไม่มีครับ.....เหมือนกับ
คำ ๆ นี้...ถูกบัญญัติขึ้นมาใช้โดยใครบางคน...ที่ใหญ่พอ
สมควร....แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายน่ะครับ...
เอาความรู้สึกเข้าว่า....อาจจะรู้สึกว่าอยากให้พื้นที่บางพื้นที่
มีความปลอดภัย....ก็เลยบัญญัติคำ ๆ นี้ขึ้นมา...เหมือนกับ
คำว่า....เขตปลอดสุนัข...เขตปลอดคนจน...เขตปลอดเจ้า
หนี้....แต่เอาเข้าจริง ๆ กลับกลายว่า...ไม่มีกฎหมายข้อใด
รองรับน่ะครับ....เอ....รึว่าผมค้นไม่เก่ง...ยังไงถ้าใครเจอ
นิยาม...ความหมาย...แนวปฏิบัติ....โทษ....แบบชัด ๆ ก็
ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ....แต่คำที่คุ้น ๆ อยู่บ่อยและมี
กฎหมายรองรับ...ก็เช่น ห้ามพกพาอาวุธขึ้นไปยังศาล ใน
เขตพระราชฐาน ที่ที่จัดงานมโหรสพ เขตชุมชน หรือใน
ช่วงที่มีประกาศกฎอัยการศึกลักษณะนี้มากกว่า....ครับ
แต่ที่สนใจอีกอย่าง...ผมกลับไปอ่านเจอ "พระ
ราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้
เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐" ซึ่งใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน.....ในมาตราที่ ๖๓ ..... ความว่า.....
"มาตรา ๖๓ ถ้านายทะเบียนท้องที่ปฏิเสธการออกใบ
อนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ (เช่นการขอ ป.๓ , ป.๔)
ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนด
สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธเป็นหนังสือ คำ
อุทธรณ์ให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ และให้นายทะเบียน
เสนอคำอุทธรณ์นั้นต่อรัฐมนตรีโดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคำขอใบอนุญาต
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราช
บัญญัตินี้เพื่อการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนท้องที่
ให้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่อง
กระสุนปืนตามมาตรา ๑๗ หรือให้จัดการจำหน่ายอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดตามมาตรา ๖๔ ให้นับแต่
วันที่ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีและเมื่อได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีแล้ว การปฏิบัติ
ตามคำสั่งของนายทะเบียนท้องที่นั้นให้พักไว้จนถึงวันที่ผู้
ยื่นคำขอใบอนุญาตได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรี
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
อ่านจบ....ก็รู้สึกอะไรบางอย่าง....ก็อ่านเล่น ๆ
ครับ...อย่าซีเรียสมาก....กฎหมายส่วนใหญ่...มีไว้เพื่อ
อำนวยประโชยน์ อำนวยความสะดวกต่อผู้บังคับใช้....
ไม่ได้เอื้อประโยชน์ ให้ประชาชน นำไปบังคับใช้กับ
จนท. .... หมายความว่า...ถ้าเราอุทธรณ์ถึง รมต.จริง ๆ
ก็ไม่รู้ชาติไหนจะได้ทราบผล...อีกอย่าง...เรื่องร้องเฉพาะ
เรื่องปืนก็คงจะเป็นล้านฉบับ...และในระหว่างการรอการ
พิจารณาของ รมต. ..... ระหว่างนั้นท่านก็อย่าหวังว่าจะ
ติอต่อเรื่องใด ๆ กับนายทะเบียนท้องที่ได้เลย.. เหนื่อยใจครับ