จาก 51 IP:222.123.111.200
จันทร์ที่ , 20/8/2550
เวลา : 21:13
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
กฎกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491)
ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด
ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490
...ข้อ 2 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตสำหรับให้ทำ หรือสั่ง หรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน
สำหรับอาวุธปืน ดังต่อไปนี้ เพื่อการค้าหรือเพื่อใช้ส่วนตัว คือ...
...(12) ซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินสิบนัด
เว้นแต่ซองกระสุนที่ใช้กับปืนลูกกรดขนาด .22
ความใน (12) เดิม ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2512)
กรณีที่ท่านมีซองกระสุนที่สามารถบรรจุได้เกินสิบนัด ไว่ในครอบครอง
เว้นแต่ซองกระสุนที่ใช้กับปืนในขนาด .22 ชนวนริม
(ถึงแม้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาจะบรรจุไว้แค่สิบนัดก็ตาม)
เพราะความในกฎกระทรวงฯ บ่งบอกไว้ชัดเจนถึงความสามารถในการบรรจุของซองกระสุน
นั้นหมายถึงว่า พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อกล่าวหาต่อท่าน
ว่าท่านกระทำการละเมิดต่อ ความในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
...มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้สั่ง หรือนำเข้า
ซึ่งอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่...
เนื่องจากความในกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491)
ข้อ 1(4) ระบุไว้สรุปได้ว่า ให้ถือว่า เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุนหรือส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งเหล่านี้
เป็น "อาวุธปืน" ตามความในมาตรา 4(1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน
...มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
(1) "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน
โดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่อง กลไกอย่างใด
ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ
ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง...
การกระทำการละเมิดต่อมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ นั้น
ระบุโทษไว้ตามมาตรา 72 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกันความว่า...
...ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน
ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืน
ผู้ฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ...
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
จากเรา...ซึมเศร้าฯ ทีม
|