คำตอบที่ 5
กระสุนเจาเกราะ (Armor-Piercing , AP) นั้นมี 2 รูปแบบใหญ่ๆคือ กระสุนเจาะเกราะแบบพลังงานเคมีและกระสุนเจาะเกราะแบบพลังงานจลน์ ซึ่งกระสุนเจาเกราะที่ใช้กับปืนไรเฟิล ปืนกล และปืนพกทั่วไปจะเป็นแบบหลัง
เนื่องกระสุนเจาะเกราะพลังงานเคมีนั้น หัวรบจะมีน้ำหนักและชิ้นส่วนมากเพราะต้องมีการบรรจุดินระเบิด TNT หรือ C4 ไว้ภายในหัวรบเพื่อทำการเจาเกราะแบบดินโพรง ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบทั้งแผ่นปิดรูปกรวย (Line) เพื่อทำให้เกิดการเผาไหม้และมีการยุบตัวของแผ่นปิดเพื่อรวมจุดโฟกัสของแรงระเบิดให้พุ่งไปที่จุดเพียงจุดเดียว และยังต้องมีส่วนขับดันที่ต้องบรรจุแท่งดินขับไว้ในตอนท้ายด้วย ซึ่งจากการที่กระสุนหรือหัวรบเจาะเกราะแบบพลังงานเคมีมีน้ำหนักและส่วนประกอบมาก จึงนิยมนำใช้กับเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง (คจตถ.) อย่าง TOW , Dragon หรือ RPG และปืนยิงลูกระเบิดอย่าง M79 กับ M203 มากกว่าครับ
ส่วนกระสุนเจาะเกราะแบบพลังงานจลน์ขอให้นึกถึงลูกดอกที่เราใช้เป้าทั่วๆไป ที่อาศัยแค่ความเร็ว+ความแข็งแกร่งของวัสดุที่เราใช้ในการทำหัวรบแบบนี้ สมัยก่อนนิยมใช้แร่ทังสเตนแต่ปัจจุบันนิยมใช้กากแร่ยูเรเนียมหรือ DU (Deplete Uranium) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสกัดแร่ U-238 ให้เป็น U-235 ครับ โดยหัวรบชนิดมีความแข็งแรงชนิดที่ว่าเกราะหนาขนาด 210 มม.ก็ยังเจาะเกราะเข้าไปได้ และไม่มีเกราะที่ทำจากโลหะชนิดใดป้องกันได้เลยยกเว้นเกราะที่ทำจากแร่ DU เหมือนกัน แต่มีข้อเสียอย่างสาหัสของกระสุนชนิดนี้คือ กระสุนชนิดนี้มีน้ำหนักมากทำให้บรรทุกไปได้น้อย หัวรบเองก็มีความแข็งระดับที่เรียกว่าถ้ายิงอัตโนมัติเมื่อไหร่และไม่มีสารหล่อลื่นลำกล้องที่ดีพอ มีโอกาสสูงที่ลำกล้องสึกหรอจนพังมากกว่าปกติ และที่สำคัญคือถ้าสัมผัสนานๆมีโอกาสได้รับกัมมันตรังสีจนเป็นโรคมะเร็งได้ครับ โดยกระสุนแบบนี้เราก็มีใช้แล้วคือกระสุนปืนกลขนาด .50 , 20 มม. , 30 มม. ครับ