คำตอบที่ 1
เรียนท่าน TSG ครับ
ในส่วนของบราวนิงค์ไฮฯ ผมได้เคย post ไว้แล้ว...
ผมขอคัดบทความที่เคย post ไว้ใน G&T webboard
เมื่อ 25 สิงหาคม 2547 (ถิ่นกำเนิดของซึมเศร้าฯ ทีม)
ให้ท่านได้ลองอ่านดูอีกครั้งนะครับ
เป็นบทความเกี่ยวกับจุดแข็ง...(หนักเหลือร้ายของบราวนิงค์ไฮฯ ) ครับ
หลาย ๆ ท่านที่ใช้ปืนพกบราวนิงค์ ไฮพาวเวอร์
หรือถูกใจในรูปทรงและความเนียนของบราวนิงค์ไฮ พาวเวอร์
คงอาจมีข้อสงสัยเสมอ ๆ ว่า……
ทำไมเมื่อเวลามีสมาชิกสอบถามถึงน้ำหนักไกของบราวนิงค์แล้ว
ผมมักจะ post ชี้แจงสั้น ๆ ว่า……
ไกของบราวนิงค์นั้น…..หนัก…หรือ โค-ตะ-ระ หนัก….เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เพราะมีการทำงานของระบบลั่นไกที่เกี่ยวเนื่องกันหลายขั้นตอน มากกว่าระบบของ 1911
ทั้ง ๆ ที่ คนออกแบบปืน ก็คือ คน ๆ เดียวกัน คือ จอห์น บราวนิงค์ (ผมเองก็ยัง งง งง อยู่ครับ)
ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว
ผมเองก็อยากจะเรียนชี้แจงทุก ๆ ท่านที่มีข้อสงสัยมา ให้โดยละเอียดทีเดียว
แต่…ก็จนใจ
เพราะว่า ผมเองยังสืบค้นข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนประการหนึ่ง
และอีกประการหนึ่ง…
ก็เพราะไม่เคยเห็น..การทำงานในระบบลั่นไกของบราวนิงค์ไฮฯ ซะครั้งหนึ่ง อิ อิ
จากการที่ตนเองใช้บราวนิงค์ไฮฯ เป็นปืนประจำกาย
และด้วยอานิสงฆ์ที่เดินเข้า เดินออกร้านคุณลุงสังเวียนฯ ซะหลายรอบ หลายปีดีดัก
ได้รับคำบอกเล่า คำอธิบาย จนพอ ๆ ที่จะซึมซาบได้บ้าง ในบางส่วน
และที่สำคัญ….คือ สืบค้นพบภาพคอมพิวเตอร์กราฟิค ที่จำลองการทำงานของบราวนิงค์ไฮฯ
แต่ผมเองไร้ความสามารถที่จะนำมา post ได้ เพราะเป็น annimation
ก็เลยพยายามเรียบเรียงแบบ งู ๆ ปลา ๆ มาได้แบบนี้แหละครับ
ที่นี้ เรามาดูกันครับ….ว่าบราวนิงไฮฯ มีชิ้นส่วนและขั้นตอนการลั่นไก โดยย่อ ๆ อย่างไร
เน้นที่…ลั่นไก…อย่างเดียวน่ะครับ
(ไม่รวมถึงการคัดปลอกและป้อนกระสุน)
ชิ้นส่วนกลไก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลั่นไก ของบราวนิงค์ไฮ พาวเวอร์
1. ไกปืน (trigger) เป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับนิ้วโดยตรง
2. trigger lever ซึ่งควบคุมการทำงานด้วย pin และ สปริงไก spring
ลักษณะเป็นเดือยแท่งขนาดเล็ก เมื่อยกตัวขึ้นพ้นจากโครงปืน
จะทำหน้าที่ผลักให้ sear lever ซึ่งอยู่ภายในสันสไลด์ของปืน ทำงานโดยการเคลื่อนไหวคล้ายไม้กระดานหก
ทั้งนี้ บราวนิงค์ ไฮฯ ยังมี ระบบเซฟแม็กกาซีน (magazine safety) เป็นระบบหลักในการควบคุม
การเหนี่ยวไกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากไม่ใส่แม็กกาซีนแล้ว จะเหนี่ยวไกได้เพียงอย่างเดียว แต่ trigger lever
จะไม่ทำงานเลย
3. sear lever รูปร่างเป็นแผ่นบาง ๆ กระดกขึ้นลงได้ คล้าย ๆ ไม้กระดานหก อยู่ภายในสันสไลด์ปืน
4. sear เมื่อปลาย sear lever ฝั่ง trigger lever กระดกขึ้น ซึ่งทางฝั่งของ sear ก็จะกระดกลง
พร้อม ๆ กับทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
5. นกปืน (hammer) ทำหน้าที่ ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน (firing pin) ซึ่งจะทำงานทันทีที่ sear เผยอขึ้น
6. สปริงหลักบริเวณ housing สันแนวหลังของด้ามปืน (hammer strut assembly with main spring)
ทำหน้าที่ เป็นตัวรั้งให้นกปืนพร้อมที่จะฟาดลงมาที่เข็มแทงชนวน
ซี่งถ้าหากนับชิ้นส่วนกลไกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลั่นไกของบราวนิงค์
ตั้งแต่ ระบบเซฟแม็กกาซีน ถึงเข็มแทงชนวนแล้ว จะมีถึง 16 ชิ้นหลัก ๆ ด้วยกันทีเดียว
(รวมถึงสปริงต่าง ๆ ด้วย)
หรือขั้นตอนการทำงานถึง 7 ขั้นตอนด้วยกัน
โดยยังไม่นับรวมเซฟแม็กกาซีน (ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด ไกเดินฟรี เมื่อได้กระสุนลั่นไปแล้ว)
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการลั่นไกของบราวนิงค์ไฮฯ พอจะแบ่งได้ดังนี้.-
1. เหนี่ยวไกปืน
2. trigger lever ดันขึ้นพ้นโครงปืน
3. sear lever กระดกคล้ายไม้กระดานหก ทำหน้าที่กดให้ sear เผยอขึ้น
4. sear เผยอขึ้น เพื่อให้นกปืน ฟาดสับลง
5. นกปืน ฟาดลงบนเข็มแทงชนวน
6. ระหว่างขั้นตอนที่ 5. สปริงหลักบริเวณ housing ก็จะรั้งให้นกปืน ฟาดลงไปด้วย
7. เข็มแทงชนวนวิ่งไป กระทบจอกท้ายของกระสุนในรังเพลิง
ท้ายข้อความนี้…ก็คงต้องเหมือนเคยครับ
ขอเรียนให้ทุกท่านทราบไว้ก่อนว่า บทความที่ post ไว้ในกรอบนี้
คงไม่สามารถนำไปเป็นการอ้างอิงใด ๆ ได้
เพราะ ผมเองก็เรียบเรียงจากความเข้าใจส่วนตัว
และสืบค้น เท่าที่จะทำได้
ทั้งจากคุณลุงสังเวียนฯ ซึ่งผมต้องขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
และด้วยเทคโนโลยีที่จำลองการลั่นไก ให้ผมได้ศึกษา….
พยายามที่จะรับใช้ให้ได้อย่างเต็มความสามารถน้อย ๆ ของผมครับ
สำหรับ Browning High power อิ อิ
จากนิ้วที่จิ้มแป้น…..
ในภาพ...เป็นปืนพก บราวนิงค์ไฮฯ ที่ผลิตขึ้นจากโรงงานในเบลเยี่ยม
เมื่อกองทัพฝ่ายอักษะ บุกเข้ายึดครองครับ
บราวนิงค์ไฮฯ อาจเป็นปืนพกกระบอกแรกก็ได้...
ที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในสงครามเดียวกัน
แต่คนละฝ่าย...
ซึ่งในขณะนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตร..ได้ผลิตบราวนิงค์ไฮฯ ขึ้นมาเช่นกัน
ที่โรงงานในประเทศแคนาดาครับ...
บราวนิงค์ไฮฯ อาจจะมิใช่ปืนพก
ที่มีระบบกลไกเรียบง่ายและ อมตะ
ดังเช่น Colt Model 1911
แต่ด้วยรูปทรง และความประณีตของบราวนิงค์ไฮพาวเวอร์
ด้วยตำนานอันยาวนาน ที่มีมากกว่า 100 ปี
ด้วยการศึกษาที่จะเอาชนะ
ด้วยการปรับปรุงตนเองให่เข้ากับปืน....
ที่ขึ้นชื่อว่า...ใช้ยาก...ประการหนึ่ง....
ด้วยพลังงานแห่ง 9 มม. พาราเบลลั่ม
กระสุนที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก...
ปัจจัยหลายต่อหลายสิ่ง เหล่านี้แหละครับ
...คือ...เสน่ห์ของ...บราวนิงค์ ไฮพาวเวอร์
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
หนึ่งในซึมเศร้า...เหงาเพราะ...ร๊ากกกกก team