WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


OGYFdlqbBBw

จาก kmo
203.147.46.245
อังคารที่ , 13/12/2548
เวลา : 17:29

อ่านแล้ว = 3356 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       4LWOrk http://www.FyLitCl7Pf7kjQdDUOLQOuaxTXbj5iNG.com


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ข้อมูลเสริม
ก่อนจะตอบคำถามนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า การสร้างประเทศเพื่ออนาคตไม่ใช่เรื่องง่ายในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผ่านมาประเทศไทยเจริญมาได้เพราะ "โชคดี" ที่ไม่มีสงครามกลางเมือง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีสงครามกลางเมือง และเราก็เติบโตขึ้นมาจากการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเปิดให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพราะเชื่อว่าเราจะได้เรียนรู้ระบบและวิธีการทำอุตสาหกรรม และในที่สุดเราจะมีอุตสาหกรรมเป็นของตนเอง ซึ่งประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ก็ใช้กระบวนการความคิดนี้ในการพัฒนาประเทศ

อุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนในบ้านเรา มีลักษณะที่เรียกว่า "Assemble Industry" คือการประกอบชิ้นส่วนเพื่อผลิตออกมาเป็นสินค้า ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นจากชิ้นส่วนกลายเป็นสินค้า เราเรียกว่า "การเพิ่มมูลค่า" (Value Added) ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นแรงงานไทยประกอบเป็นสินค้าขึ้นมา

หัวจักรใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามา คือ ญี่ปุ่น มีการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร และคนญี่ปุ่นมาไว้ที่ประเทศไทย แต่ไม่ได้ให้ความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทำให้คนไทยมีความลึกซึ้งพอจะสร้างอุตสาหกรรมของตนเอง

ดังนั้น การทำโรงงานอุตสาหกรรมแบบนี้จึงไม่ยาก เพราะไม่ต้องมีความคิดของตนเอง ไม่ต้องลงทุนอย่างจริงจังในระบบการศึกษา เพื่อให้ "คนมีประสิทธิภาพทางปัญญา" สร้างอะไรที่เป็นของตัวเอง ขอแค่มี "ปัญญาประสิทธิภาพปานกลาง" ก็สามารถทำงานอุตสาหกรรมได้

ปัจจุบัน ทั้งโลกกำลังเผชิญปัญหาจากความ ‘ไม่ยาก’ นี้ ทุกประเทศในเอเชียที่ค่อนข้างเจริญ มีการพัฒนาในเชิงนี้เหมือนกันหมด สินค้าที่ผลิตก็เหมือนกัน เช่น พัดลม ตู้เย็น และสินค้าอุปโภคบริโภค เพียงแต่ใช้ยี่ห้อแตกต่างกันเท่านั้น

วิธีแข่งขันก็ต้องแข่งที่ราคา ประเทศไทยในฐานะผู้ขายแรงงานก็ต้องเอาแรงงานไปแข่งกับประเทศอื่น เมื่อใดประเทศอื่นมีแรงงานคุณภาพพอใช้ได้แต่ถูกกว่า เราก็มีปัญหา ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในบางจังหวัด คือ มีการปิดโรงงานแล้วย้ายไปประเทศจีน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น เพราะสู้ค่าแรงไม่ไหวก็ย้ายมาไทย จากนั้นก็ย้ายไปจีน เพราะจีนมีแรงงานคุณภาพและราคาถูกกว่าไทย

สถานการณ์เช่นนี้ก่อปัญหาให้เราทั้งปัจจุบันและในอนาคต เพราะฉะนั้นทางออกก็คือ เราต้องหันมามองตัวเองใหม่ ต้องสร้างอะไรเป็นของเราเอง ที่ทำให้มีส่วนต่างกำไรหรือมาร์จิน (Margin) สูงพอให้เรามีรายได้ที่จะซื้อสินค้า บริการ และเชื้อเพลิงเข้ามาใช้ในประเทศอย่างเพียงพอ

ประเทศไทยจะต้องขายอะไร ?
หลังจากการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ไปสู่ระบบที่ปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน ประเทศจีนสามารถพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วในการทำอุตสาหกรรมประเภท "Value Added" เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าเรายังอยู่ในอุตสาหกรรมประเภท "Value Added" เราก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะจีนมีแรงงานที่ราคาและคุณภาพเหมาะสมกว่าไทยเป็นร้อยๆ เท่า

ดังนั้น เราก็สร้างวิธีคิดใหม่ วิธีทำงานใหม่ให้กับประเทศ ที่ไม่ใช่แค่การนำเอาชิ้นส่วนของคนอื่นมารวมกันเพื่อผลิตสินค้าและบริการ แต่เป็นสิ่งที่มาจากพื้นฐานที่เรามีอยู่ และใครก็ลอกเลียนแบบไม่ได้

นั่น คือการนำจุดแข็งของประเทศ วัฒนธรรม สถานที่ตั้งของประเทศ ความโอบอ้อมอารีของคนไทย มาสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าของประเทศ หรือที่เราเรียกว่าเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มูลค่า หรือ Value Creation Economy

Value Creation ต่างจาก Value Added อย่างไร?
Value Added เป็นการนำความคิด หรือเทคโนโลยีของคนอื่น มาใช้แข่งขันผลิตสินค้าเดียวกันด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ Value Creation เป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ ทักษะฝีมือของคนไทย ซึ่งถ่ายทอดมาจากวัฒนธรรม มารวมเข้ากับองค์ความรู้ที่เหมาะสม แล้วพัฒนาให้กลายเป็นสินค้า และบริการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ทำรายได้สูงสุดให้กับประเทศ คนมาเที่ยวเมืองไทยทำไม ถ้าหากว่าไม่แตกต่างจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอื่นๆ ในเอเชีย หรือยุโรป เพราะโรงแรมก็ชื่อเดียวกัน ห้องนอน ห้องน้ำก็เหมือนกัน

คุณค่าของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอยู่ที่ "การให้บริการ" เพราะการบริการทำให้รายได้ของประเทศไทยมีมูลค่าเป็น 3 เท่าของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ นี่คือ "Value Creation" คือ "คุณค่า" ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ไม่เหมือนใคร เพราะมาจากวัฒนธรรมความเชื่อของเรา

คนส่วนมากไม่เข้าใจว่าวัฒนธรรมและความเชื่อสร้าง "คุณค่า" และ "มูลค่า" ได้ ถ้าเราจะขายวัฒนธรรม ขายความเชื่อของเรา ก็คือเราขาย "คุณค่า" ของเรา แต่การขายต้องเสริมด้วยส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญ นั่นคือ "คุณภาพ" ที่มาจากส่วนที่เป็น "Value Added" ซึ่งเป็นฐานให้เกิด "Value Creation"

ยกตัวอย่าง ถ้าหากผมมีโรงแรมที่สกปรก หนูวิ่งตอนกลางคืนในห้องพัก ต่อให้มีบริการด้วยน้ำจิตน้ำใจของคนไทย นักท่องเที่ยวก็ไม่ไป เพราะกลัวอาหารสกปรกกินเข้าไปแล้วตาย แต่โรงแรมที่ดี อาหารสะอาด ในสิงคโปร์ ฮ่องกงก็มี และในไม่ช้าเมืองจีนก็จะมีมาตรฐานอาหารสะอาดยิ่งกว่าไทยได้ เพราะรัฐบาลเขาสั่งได้ แต่สิ่งที่ 3 ประเทศนี้ไม่มีคือ "บริการแบบไทย" ซึ่งเป็นส่วนที่นักท่องเที่ยวมองว่ามี "คุณค่า" และสามารถสร้าง "มูลค่า" ให้เกิดเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวได้

เพราะฉะนั้น "Value Creation" มีกระบวนการสร้างขึ้นบนฐานของ "Value Added" ซึ่งได้แก่ การสร้างโรงแรมที่มีมาตรฐานบวกเข้ากับการบริการแบบไทยๆ

อีกตัวอย่างที่กำลังสร้างรายได้ให้กับประเทศ คือ การดูแลคนไข้หลังการผ่าตัด ความสำคัญอยู่ที่คำว่า "การดูแล"

การดูแล คือ "คุณค่า" และ "มูลค่า" ที่สำคัญ การผ่าตัดที่ไหนก็ทำได้ ประเทศไทยก็ทำได้ แต่การดูแลคนไข้เพื่อพักฟื้นให้ร่างกายสมบูรณ์นั้น ประเทศไทยมาอันดับหนึ่ง ดังนั้น "Value Creation" ที่สำคัญของเราอยู่ที่การดูแลไม่ใช่การผ่าตัด แต่ถ้าหากไม่มีการผ่าตัด เราก็ดูแลไม่ได้อย่างเต็มที่

อีสานเกี่ยวข้องกับ Value Creation อย่างไร?
อย่างที่ผมพูดไปว่า Value Creation คือ การนำเอาทักษะ และคุณค่าวัฒนธรรมมาผสมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผลิตเป็นสินค้า และบริการ ซึ่งอีสานเป็นภาคที่มีวัฒนธรรม และที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน และลอกเลียนแบบได้ยาก แต่คนส่วนใหญ่มองข้าม เพราะเห็นเป็นดินแดนที่แห้งแล้งและกันดาร แต่ในทางกลับกันอีสานเป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากวิถีชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ความเชื่อ ความเอื้อเฟื้ออาทร ตลอดจนอารมณ์ขันและความรักสนุก สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการคิด และการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย แต่ยังไม่ชัดเจน อย่างเช่น ส้มตำ เพราะความกันดารจึงก่อให้เกิดอาหารรสจัดที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะความเป็นคนสนุกสนานเราจึงมีมุขสำหรับหนังโฆษณา สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็น Value Creation ที่มาจากผลผลิตทางวัฒนธรรมอีสานทั้งสิ้น

ดังนั้น นิทรรศการกันดารคือสินทรัพย์ จึงเป็นการแสดงให้เห็นปรากฎการณ์ความสำเร็จที่มาจากอีสานเพียงบางส่วน ซึ่งยังมีอีกมากให้ค้นหา และใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์ เพื่อหารายได้ให้กับตัวเอง และประเทศ

VALUE CREATION = SOCIAL PRICING VALUE
(VALUE BEYOND ECONOMIC PRICING)

ทักษะ + เทคโนโลยี = Value Added
ทักษะ + คุณค่า + เทคโนโลยี = Value Creation
เพราะ วัฒนธรรมเป็น สิ่ง Copy กันไม่ได้ แต่มีคุณค่า

มุมหนึ่งของ Value Creation จึงเป็นการนำเอาวัฒนธรรมสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก kmo 203.147.46.245 อังคาร, 13/12/2548 เวลา : 17:30   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5299

คำตอบที่ 2
       งานนี้ได้คุณค่าประทับใจคนอย่างเราๆแน่นอนครับ ไม่เชื่อก็.....





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก kmo 203.147.46.245 อังคาร, 13/12/2548 เวลา : 17:34   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5300

คำตอบที่ 3
       ได้ความเข้าใจและ พลังกับสิ่งดีๆครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ประมวล กิจวัฒนา 203.147.46.245 อังคาร, 13/12/2548 เวลา : 17:37   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5301

คำตอบที่ 4
       ได้ดีใจกับ เพื่อนผมเป็น ล า ว...





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ประมวล กิจวัฒนา 203.147.46.245 อังคาร, 13/12/2548 เวลา : 17:38   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5302

คำตอบที่ 5
       คนอีสานที่คุณเคยนึกดูถูกว่า ‘เสี่ยว’ สามารถสร้างความสำเร็จและรายได้ให้กับประเทศเป็นกอบเป็นกำได้อย่างไร

ในสายตาของคนทั่วไป “อีสาน”ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นดินแดนแห่งความแร้นแค้นกันดาร แต่ขณะเดียวกัน อีสานก็ขึ้นชื่อในเรื่องน้ำอดน้ำทนของผู้คน อารมณ์ขัน อาหารรสแซ่บ ใจบริการ และการมองโลกอย่างไร้จริต

“ปรากฏการณ์อีสาน” สามารถเห็นได้จากพนักงานสปาชั้นเยี่ยม เชฟซูชิที่มีทักษะชั้นสูงในการแล่เนื้อปลา ไปจนถึงการเดินทางของ “ส้มตำ” จากราคา 20 บาทหน้าปั๊มน้ำมันไปจนถึงราคา 800 บาทที่ลอนดอน อีกทั้งภาพยนตร์แอกชั่นทำเงินอย่างองค์บาก

ตัวอย่างพอหอมปากหอมคอเหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่า วิถีชีวิตบนความแร้นแค้นนั้นเป็นรากฐานความคิดสร้างสรรค์อันแข็งแกร่งที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้มากมาย ขอเพียงค้นหาข้อได้เปรียบและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรู้จักต่อยอดให้กลายเป็นผลงานออกแบบที่มีคุณภาพของไทย ถ้าเข้ามา “เบิ่ง” นิทรรศการ กันดารคือสินทรัพย์: อีสาน แล้วไม่รำพันว่า เป็นตะงึดแท่ (น่าอัศจรรย์) ให้รู้

(คัดลอก) มีใครไปเบิ่งมาแล้วบ้างครับขอเสียง ซวดๆ หน่อย





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก kmo 203.147.46.245 พฤหัสบดี, 15/12/2548 เวลา : 13:15   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5348

คำตอบที่ 6
       ขอบพระคุณมากๆครับคุณ เคเอ็มโอ พิมานอ่านแล้วซาบซึ้งมากๆขอซวดๆให้หล้ายหลายเลยครับ ในฐานะที่เป็นสมาชิกสามีชาวอีสาน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก พิมาน 203.113.67.4 ศุกร์, 23/12/2548 เวลา : 19:33   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5456

คำตอบที่ 7
       รู้สึกว่างานนี้จะเน้นดีไซน์กับการออกแบบมากเกินไป มากกว่าจะสะท้อนสุนทรียภาพวัฒนธรรมอันมอซอของคนอีสาน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในชนบทก็ตาม ทำให้งานมีแต่รูปแบบโดยปราศจากเนื้อหา สมกับที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
การพูดถึงประเด็นเรื่องความเป็นเสี่ยว เป็นประเด็นที่พูดกันดาดดื่นจนปัจจุบันนี้มันซับซ้อนกว่ามาก ซับซ้อนจนเดี๋ยวนี้คนอีสานเริ่มทิ้งความเป็นอีสานมุ่งสู่ความเป็นไทยภาคกลางกันแล้ว จนกลายเป็นว่าเป็นการดูถูกตัวเอง นำเข้าวัฒนธรรมกรุงเทพฯเข้าไป และอีกอย่างหนึ่งภูมิปัญญาอีสานมีมากกว่าเรื่องอาหาร เรื่องหาอยู่หากินเสียอีก หากสัมผัสจริง ๆ แล้ว วัฒนธรรมของเขามีความเฉพาะตัวสูงมาก ๆ กว่าที่จะเลียนแบบได้ อย่างกวีนิพนธ์เขาก็มีฉันทลักษณ์ของเขาเอง ความเป็นอีสานมันเป็นอะไรที่คนภาคกลางเข้าไม่ถึง ทำไมไม่ปล่อยให้พวกเขาบอกเล่าเรื่องราวของเขาเองล่ะครับ คนอีสานไม่ใช่มีแค่จาพนม ยายไฮ หรือหรือหม่ำ จ๊กมก เท่านั้น ไม่ทราบว่ารู้จักไพบูลย์ สุวรรณกูฏ เฉลิม นาคีรักษ์ สมบัติ เมทะนี หรือ โชคชัย ตักโพธิ์ รึเปล่า



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก อะสกว. 202.28.48.5 พฤหัสบดี, 19/1/2549 เวลา : 12:17   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 5819

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,21 พฤศจิกายน 2567 (Online 7546 คน)