คำตอบที่ 5
ในความเข้าใจส่วนตัว (ย้ำ) ...
เมื่อฐานตัวล่าง (75W-xxx) เหมือน หรือใกล้เคียงกันมาก (75W-xxx หรือ 80W-xxx) จะไม่ให้เป็นประเด็น
แต่ฐานตัวบน (xxW-90 หรือ xxW-140) น่าขบคิด หากใช้งานตามปกติซึ่งก้อไม่ถึงค่าความหนืดเบอร์ 140 (ที่อุณหภูมิ 100 C) แต่เมื่อจำเป็นหรือซนจนต้องใช้ค่าความหนืดมากกว่าเบอร์ 90 นมล.จะใสจนไม่เหลือค่าความหนืดที่จะมาหล่อลื่นจนเกิดความสึกหรอ จึงใช้ให้เกินมากกว่าขาด และอีกอย่างคือราคา
สาร Additive ได้แก่ สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อน ไม่น่าจะใช่สารปรับสภาพความหนืด (ค่าความหนืดกำหนดด้วยมาตรฐาน SAE หรือ API)
แต่คานหลัง ต้องใช้ นมล. ที่มีสาร Additive ด้วย ดูข้างกระป๋องมีคำว่า Differential Limitted Slip เช่น Valvoline. Ptt, ...
เฟืองท้าย (หน้า-หลัง)
นมล.เกียร์ Mopar หรือคุณสมบัติเทียบเท่าของ SAE 75W-90 (API-GL5)
สำหรับการลากรถพ่วง โดยปกติใช้ นมล.สังเคราะห์ SAE 75W-140
ในเพลาหลังรุ่นติดตั้งด้วย Trac-Loc จะต้องเติมสารพิเศษเพิ่ม
หากเข้าใจตรงกันตามนี้
การขับขี่ตามสภาพปกติโดยทั่วไป ก็ใช้ SAE 75W-90
สำหรับการขับขี่ในการลากรถพ่วง หรือพวกซน .. ใช้งานหนักกว่าสภาพปกติ ก็ใช้ SAE 75W-140
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อรถเรามี Differential Limitted Slip ในคานหลัง(เพลาหลัง) ก็ต้องใช้ นมล.ที่มีสาร Additive ด้วย ซึ่งบางยี่ห้อจะผสมมาแล้ว หากยี่ห้อใดไม่มีก็ต้อหามาเติมเพิ่ม แต่การจะใช้ นมล.ต่างยี่ห้อมาผสมกันก็ยังมีข้อพิจารณาอีกมากมาย
โปรดพิจารณาในการเสพข้อมูล