คำตอบที่ 132
ความรู้เกี่ยวกับรองเท้าเดินป่า
ข้อมูลดีๆจาก http://www.touronholiday.com
รองเท้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือแทบจะเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการเดินป่าเลยทีเดียว เพราะรองเท้าคู่นี้จะพาเราไปสัมผัสความสวยงามตามธรรมชาติในป่าเขาลำเนาไพร ทั้งเดินไต่ระดับตามภูเขาลูกแล้วลูกเล่า หรือท่องน้ำไปตามลำห้วยต่างๆยามเดินหลงป่าหรือ หาเส้นทางในป่าไม่พบ ถ้าเมื่อไรที่เจ้ารองเท้าคู่ใจเกิดทรยศขึ้นมา ก็อาจทำให้เจ้าของต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่าได้เช่นกัน และการเที่ยวเดินป่าครั้งนั้นก็คงจะหมดสนุกอย่างสิ้นเชิง รองเท้า จึงนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเดินป่า และคงต้องให้ความใส่ใจในการเลือกรองเท้าในการใช้งาน ก่อนอื่นมาทำความรู้จักส่วนประกอบต่างๆของรองเท้า ว่ามีอะไรบ้าง
1. คอรองเท้า (PADDED SCREE COLLAR / COLLAR)
เป็นส่วนสันขอบรองเท้าด้านใน ที่ประกอบด้วยฟองน้ำประกบกาวกับผ้ายืดคล้าย ๆ ผ้าขนหนู ขนสั้น ซึ่งถูกแปรงจนขนขึ้นฟูเล็กน้อย ลักษณะผ้าจะทอไม่แน่น ใช้ชื่อเรียกทั่วไปว่า Visa Pile ความยาวของขนนั้นจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับประเภทของรองเท้าและดีไซน์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นรองเท้าสำหรับเดินป่าแล้วจะเป็นขนสั้นมากกว่า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและความนุ่มนวลในการสวมใส่ อีกทั้งลดการเสียดสีตรงช่วงขอบของปีกรองเท้ากับบริเวณข้อเท้าตรงส่วนที่เป็น เอ็นร้อยหวาย
2. ที่กันกระแทกเอ็นร้อยหวาย (ACHILLES NOTCH)
ACHILLES คือ เอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเท้าจึงต้องมีฟองน้ำเพิ่มใส่เข้าไปในจุดนี้ ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางของด้านหลังของรองเท้าทีเป็นจุดสัมผัสกับเอ็นร้อยหวาย เพื่อคอยรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการเดิน ปีนเขา หรือ อุบัติเหตุจากการหกล้ม
3. ผนังรองเท้า (WATERPROOF / BREATHABLE LINER)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านในของรองเท้าจะใช้วัสดุที่กันน้ำและสามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความอับชื้นและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
4. ลิ้นรองเท้า (SOFT TONGUE GUSSET)
รองเท้าก็มีลิ้นเหมือนกัน ซึ่งส่วนนี้ประกอบไปด้วยหนังเทียมประกบ กับฟองน้ำ (Form หรือ Sponge ) มีลักษณะเป็นแซนวิชโดยมีหนังเทียมประกบทั้งด้านนอกและด้านใน แล้วเย็บตะเข็บทั้งสองข้างเข้ากับด้านบนของรองเท้า ซึ่งจะมีชื่อเรียกว่า Gusset (Gusset แปลตามตัวคือ เหล็กรูปสามเหลี่ยมที่ใช้ต่อมุมผนัง) ตัวลิ้นของรองเท้านั้นจะอยู่บริเวณใต้เชือกผูกรองเท้า รองเท้าบางประเภทจะเห็นว่า ลิ้นของรองเท้าจะไม่เย็บติดกับด้านบนของรองเท้า เช่น รองเท้ากีฬาประเภทต่างๆ แต่สำหรับรองเท้าเดินป่านั้น ส่วนใหญ่จะเย็บลิ้นเป็นแบบ Gusset เพื่อความสะดวกในการสวมใส่และกระชับยิ่งขึ้นหลังจากร้อยเชือกแล้ว อีกทั้งยังช่วยรักษาตำแหน่งของลิ้นให้อยู่คงที่ไม่บิดเบี้ยวเวลาเคลื่อนใหว
5. รอยต่อลิ้นรองเท้า (SYNTHETIC LINING)
คือส่วนที่เย็บติดกับลิ้นของรองเท้า ( Tongue ) ทั้งด้านนอกและด้านในจะใช้วัสดุที่เรียกว่า Synthetic หรือ หนังเทียมนั่นเอง เพื่อความคงทนในการใช้งานและลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากราคาจะถูกกว่าหนังแท้ มีลักษณะทั้งเป็นแบบด้าน (Dull Finished) และ แบบมัน ( Shining Finished) แล้วแต่ดีไซน์ของรองเท้า
6. แผ่นรองรองเท้า (STIFFENER / PLASTIC HEEL CUP)
เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้รองเท้ามีรูปร่างสวย ชิ้นส่วนนี้จะมีรูปลักษณะโค้งแคบคล้ายๆตัว V ทรงกว้างเพื่อรองรับรูปทรงของส้นเท้า และให้เกิดความกระชับกับส้นเท้า ทำให้ส้นเท้าคงที่ ไม่บิดเวลาก้าวเท้า หรือเกิดอุบัติเหตุเท้าพลิก วัสดุนี้จะมี 2 ประเภทประเภทแรกเป็น Tr Counter ทำจาก Thermoplastic แล้วขึ้นรูปสำเร็จรูปจากโรงงาน อีกประเภทหนึ่งเป็น แผ่นเคมี (Chemical Sheet) ซึ่งต้องนำมาตัด (Cutting) แล้วจึงค่อยนำไปผ่านความร้อนอัดเป็นรูปส้นเท้า ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Tr Counter มากกว่า
7. กันชน (TOE RAND / BUMBER หรือ TOE CAP / TOE GUARD)
เป็นชิ้นส่วนที่เรียกได้ว่า กันชน เพราะจะคอยรับแรงกระแทกเมื่อเกิดอาการเสือซุ่ม เดินเตะหิน หรือ เตะขอนไม้ โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเป็นแผ่นยางที่อัดให้โค้งมนเข้ารูปกับส่วนหัวของรองเท้า บางรุ่นอาจเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวกันกับพื้นยางของรองเท้า บางรุ่นอาจแยกชิ้นส่วนกัน ส่วนใหญ่จะพบในรองเท้าเดินป่า และ รองเท้า สไตล์ลำลอง แต่จะไม่พบในรองเท้าประเภทวิ่ง และ รองเท้าทำงาน ปัจจุบันผู้ผลิตพยายามจะฉีกแนวโดยเปลี่ยนวัสดุจากยางมาเป็น PVC แทน ทำให้ กันชน มีความแข็งขึ้นและป้องกันแรงกระแทกให้กับนิ้วเท้าได้เป็นอย่างดี
8. ห่วงเผูกเชือกบริเวณข้อเท้า (ANKLE HOOK)
ตำแหน่งของที่ผูกเชือกรองเท้า จะอยู่บริเวณข้อเท้า เป็นตัวช่วยในการดึงเชือกร้อยรองเท้าให้แน่นขึ้นเพื่อความกระชับในการสวมใส่
9. ห่วงผูกเชือกบริเวณปลายข้อเท้า (LACING HOOK)
จะเป็นห่วงผูกเชือกรองเท้าที่อยู่ตรงจุดสุดท้ายในการร้อยเชือก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ให้เกี่ยวกับเชือกรองเท้า เพื่อที่จะสะดวกในการถอดเชือกรองเท้าบริเวณด้านบน และเป็นตัวช่วยในการดึงเชือกรองเท้าให้แน่นขึ้น
10. พื้นรองเท้าด้านใน (INSOLE / INLAY SOLE / MOLDED FOOTBED)
เป็นพื้นรองเท้าด้านใน ทำจากฟองน้ำที่ผ่านการขึ้นรูปเป็นรูปเท้าแล้วประกบด้วย Visa Pile (ฟองน้ำประกบกาวกับผ้ายืดคล้ายๆผ้าขนหนู ขนสั้น) เพื่อความนุ่มเท้าขณะสวมใส่ บางรุ่น อาจเป็นแบบ สำเร็จรูปและสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้
11. ชั้นกลางพื้นรองเท้า (MIDSOLE)
เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ตรงด้านในของพื้นรองเท้าชั้นนอก ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุมีลักษณะนุ่มเหมือนฟองน้ำแต่มีความหนาแน่นมากกว่า จึงทำให้มีความแข็งแรงพร้อมที่จะรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกของผู้สวมใส่ขณะ ก้าวเท้า ปกติแล้วเราจะไม่เห็นชิ้นส่วนนี้ถึงแม้ว่าจะถอด แผ่นรองรองเท้า (Insole) ออกมาก็ตาม เนื่องจากว่าจะมี PAPER BOARD เย็บติดกับหน้าผ้า ( ส่วนบนของรองเท้า) อีกชั้นหนึ่งเพื่อความคงทนในการใช้งาน
12. พื้นรองเท้า (CEMENTED WELT / OUTSOLE)
พื้นรองเท้าส่วนจะเป็นส่วนนอกสุดอยู่บริเวณใต้รองเท้า วัสดุส่วนใหญ่จะทำจากยางมีลวดลาย หรือที่เรียกว่า ดอกยาง เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการเกาะพื้นขณะเดิน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ชื้นแฉะหรือหินกรวดตามสันเขา
13. ส้นรองเท้า (TAPPERED LUG)
พื้นตรงส้นเท้าด้านนอก ส่วนใหญ่จะทำจากยาง บางรุ่นจะใช้ไม้อัดแน่น คล้ายๆไม้ก๊อก หรือ ไม้ ทำชิ้นส่วนนี้เพื่อความคงทนในการใช้งาน
ทั้งหมดนี้ก็คือส่วนประกอบพื้นฐานของรองเท้า หวังว่าเพื่อนๆคงได้รู้จักรองเท้ามากขึ้นและสนุกสนานกับการเดินป่าไปกับ รองเท้าคู่ใจอย่างมีความสุข
เมื่อถามว่าอุปกรณ์เดินป่าชิ้นใดสำคัญที่สุด หลายคนอาจจะนึกถึงเป้เดินป่าดีๆ สักใบ บางคนอาจจะนึกถึงเสื้อผ้าที่เหมาะสม เข็มทิศ หรือแผนที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่อุปกรณ์ที่ดีที่สุดพวกนี้ก็คงจะไม่ช่วยให้คุณเดินป่าได้อย่างมีความสุข นัก หากเท้าของคุณทรมานกับอาการรองเท้ากัด หรือข้อเท้าพลิก ซึ่งเกิดจากการใช้รองเท้าไม่เหมาะสม บางครั้งอาจจะทำให้เดินต่อไม่ได้เอาเลยด้วยซ้ำ รองเท้าเดินป่าจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ที่สุดสำหรับการเดินป่า
มีผู้ผลิตรองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าออกมามากมายหลายชนิด ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน รองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าระยะสั้น หรือการเดินเที่ยวไปตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องมีการ เข้าไปพักแรมในป่า (Day Hiker) ก็ย่อมจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างจากรองเท้าเดินป่าที่ใส่สำหรับการ เดินแบกเป้หนักเข้าไปในเขตป่าดงดิบหรือพื้นที่ทุรกันดารอย่างแน่นอน โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของรองเท้าเดินป่าออกได้เป็น 6 ประเภท คือ
Mountaineering Boots
Backpacking
Off Trail
On Trail
Trail Runners
Sandals
ซึ่งการที่เราจะเลือกชนิดของรองเท้าที่จะใช้ได้นั้น แรกสุดเราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจก่อนว่าจะใช้สำหรับการเดินทางในลักษณะใด
Mountaineering Boots
รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับนักเดินป่าที่ชอบปีนยอดเขาสูง ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม หรือบริเวณที่อากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเป็นน้ำแข็ง (เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้รองเท้าประเภทนี้ในเมืองไทยแน่นอน) รองเท้าชนิดนี้จะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง สมัยก่อนจะทำจากหนัง และใช้หนังเย็บริมขอบรองเท้า และสำหรับประเภทที่เดินบนหิมะยังมีหนามทำจากเหล็กเอาไว้ยึดกับพื้นผิวอีก ด้วย รองเท้าจะสูงเหนือข้อเท้าและจะมีพื้นรองเท้าที่หนาเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ผู้ผลิตรุ่นใหม่ (Koflach, Asolo, Etc.) ได้หันมาใช้พลาสติกหุ้มแทน แต่ถึงแม้ว่ารองเท้ารุ่นใหม่จะสามารถใช้ได้ดีบนหิมะหรือน้ำแข็งที่สูงชัน แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกสบายกับผู้ใส่เลย เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตชาวยุโรปเช่น La Sportiva ได้หันกลับมาใช้หนังสำหรับการผลิตรองเท้าอีกครั้ง และได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า Vibers ขึ้นมาแทน โดยรองเท้ารุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 5 ปอนด์ ส่วนราคาของรองเท้าแบบนี้จะมีราคาสูงมาก
Backpacking or Regular
รองเท้า ประเภท Backpacking นี้เหมาะสำหรับการเดินป่าในสภาพพื้นผิวที่ค่อนข้างจะทรหด ลำบากลำบนหรือทุลักทุเลเอามากๆ และเหมาะสำหรับการเดินแบกของที่ค่อนข้างหนักมากๆ ในเส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินหลายๆ วัน รองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่หนาและแข็ง และมักมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการเดินป่าแบบง่ายๆ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ส่วนมากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า Backpacking จะเป็นหนังทั้งหมด หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่างกอร์เท็กซ์เท่านั้น เพราะจะช่วยในการเกาะยึดพื้นผิวเป็นอย่างดี และช่วยในการทรงตัวเป็นเยี่ยม นอกจากนี้ รองเท้าประเภทจะมีความสูงเหนือข้อเท้า มีการบุหนังด้านในป้องกันนิ้วเท้า และมีคุณสมบัติในการกันน้ำอย่างดีอีกด้วย จึงสามารถจะใช้เดินลุยในพื้นที่ที่เป็นดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ หรือในการเดินทางที่จำเป็นจะต้องข้ามหรือลุยน้ำบ่อยๆ และหากซื้ออุปกรณ์ห่อหุ้มเท้ามาเพิ่มเติมจะทำให้สามารถใช้ลุยในพื้นที่เหล่า นี้ได้ดีขึ้น แต่หากต้องการจะใช้สำหรับการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่ที่หนาวเย็นมากๆ อาจจะต้องใช้รองเท้าที่ผลิตมาสำหรับการลุยหิมะ (Mountaineering Boots) โดยเฉพาะ
Off Trail
รองเท้า Off Trail สามารถใช้ได้กับการเดินป่าในแทบจะทุกพื้นผิว ทุกสภาพอากาศ และทุกภูมิประเทศ แต่เนื่องจากรองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างแข็งและหนามากกว่า รองเท้าประเภทอื่น และมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงและหนักพอสมควร ทำให้ไม่ค่อยเหมาะนักหากจะนำไปใช้เดินป่าในทางเดินง่ายๆ เช่นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แต่จะเหมาะสำหรับการเดินเข้าป่าในเส้นทางที่ไม่ได้มีการทำทางเอาไว้ให้ หรือในการเดินป่าที่จะต้องมีการแกะรอยหรือหาทางเดินเอง โดยทั่วไปรองเท้า Off Trail จะทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่กันน้ำได้อย่างดี เช่น กอร์เท็กซ์ (Gore-Tex) รองเท้าประเภทนี้จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่ดีเยี่ยม และช่วยในการทรงตัวหรือการเดินทางได้เป็นอย่างดี ส่วนมากแล้วมักจะมีความสูงเหนือข้อเท้าขึ้นไป มีการบุหนังเสริมด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันนิ้วเท้า และบางรุ่นอาจจะมีการทำขอบรองเท้าจากวัสดุกันน้ำอีกด้วย ถ้าใช้งานอย่างถูกวิธีจะกันน้ำเข้ารองเท้าได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ (หากมีการเดินลุยน้ำที่ไม่สูงกว่ารองเท้า) และสามารถเดินลุยโคลนหรือลำธารตื้นๆ ได้ดี และในรองเท้าบางรุ่นที่มีการออกแบบและเย็บหุ้มรองเท้าอย่างดีแล้วจะช่วยให้ ความอบอุ่นกับเท้าได้เป็นอย่างดี
On Trail
รองเท้า ประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่ารองเท้า Trail Runner หรือจะเรียกว่าพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นจาก Trail Runner ก็ได้ ซึ่งจะใช้สำหรับการเดินป่าที่ต้องมีการผจญภัยมากขึ้นกว่าการเดินตามเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติอย่างง่าย อาจจะเป็นการเดินแบกเป้ขนาดกลางเข้าไปค้างแรมสักหนึ่งคืน หรือสำหรับการผจญภัยในพื้นที่ที่ต้องมีการปีนป่ายพอสมควรก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าก็มีหลายประเภท เช่น หนัง วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุสังเคราะห์กันน้ำ เป็นต้น พื้นรองเท้าจะแข็งกว่าแบบ Trail Runner แต่จะมีความยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่า ส่วนความสูงของรองเท้าก็มักจะอยู่ที่ระดับข้อเท้าหรือสูงกว่าเล็กน้อย และอาจจะมีการบุหนังด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการเกิดบาดแผล ที่นิ้วเท้าได้อีกด้วย ถึงแม้ว่ารองเท้า On Trail นี้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถการเปียกชื้นภายในจากโคลนหรือจากการเดินข้ามลำธารตื้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ รองเท้า On Trail ยังให้ความอบอุ่นกับเท้าได้ในระดับหนึ่ง
โดยทั่วไป รองเท้าแบบ Trail Runner จะใช้ในการเดินป่าบนเส้นทางง่ายๆ เส้นทางที่ได้มีการทำทางเดินเอาไว้ให้อย่างดีแล้ว เส้นทางศึกษาธรรมชาติตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ หรือจะเป็นการขี่จักรยานเสือภูเขาเข้าป่าแล้วไปแวะเดินสำรวจระยะสั้นๆ ที่ปลายทางก็ได้ ส่วนมากจะใช้กับการเดินป่าที่ไม่ต้องเข้าไปค้างแรมข้างใน เป็นการเดินแบบไปเช้ากลับเย็น รองเท้าประเภทนี้ส่วนมากจะมีความสูงประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และหนัง จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เดินป่าในพื้นที่ที่ค่อนข้างจะทรหด หรือในบริเวณที่จะต้องมีการปีนป่ายไปตามหินผา เพราะจะทำให้ข้อเท้าพลิกหรือได้รับบาดเจ็บจากคมหินได้ง่ายๆ นอกจากนี้ โดยมากแล้วรองเท้าประเภทนี้จะไม่กันน้ำและไม่ค่อยจะยึดเกาะพื้นนัก อาจจะสร้างความลำบากให้เราเวลาต้องใส่เดินลุยโคลนหรือเดินลุยข้ามน้ำ และยังไม่สามารถให้ความอบอุ่นกับเท้าได้มากนักอีกด้วย ดังนั้น รองเท้าประเภทนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับการเดินป่าที่ใช้เวลานานกว่าห นึ่งวันในเส้นทางที่ไม่ใช่เส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างง่ายๆ
Sandals
รองเท้า อีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ในการเดินป่าได้เช่นกันคือรองเท้าแบบ Sandals หรือรองเท้ารัดส้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ รองเท้าแตะแต่มีสายรัดส้นเท้าเอาไว้เพื่อให้ไม่หลุดง่ายและเพิ่มความสะดวก คล่องตัวในการเดินมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตบางรายได้คิดค้นออกแบบวัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าให้สามารถระบายอากาศ ได้เป็นอย่างดีและไม่มีการเหม็นอับเท้าอีกด้วย รองเท้าประเภทนี้ ปกติจะใส่เดินในเมืองทั่วๆ ไป หรือการเที่ยวแบบสบายๆ ก็ได้ และมักจะนำไปใช้ใส่เดินป่าในเส้นทางที่เดินอย่างง่ายๆ ได้อีกด้วย หรือบางคนอาจจะชอบใส่เดินขึ้น-ลงเขาเนื่องจากไม่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บจากการ เสียดสีหรือกระแทกกับด้านในของรองเท้า แต่อย่างไรก็ดี รองเท้าประเภทนี้จะให้ความปลอดภัยกับเท้าน้อยมาก สามารถทำให้เท้าพลิกได้ง่าย หรือหากต้องเดินลุยในเส้นทางที่ค่อนข้างลำบากหรือรกแล้วอาจจะทำให้เกิดบาด แผลกับเท้าได้ง่ายๆ
รูปแบบทรงรองเท้า (Boot Cuts)
เรื่องโดย เอเวอร์เรสต์ , พฤศจิกายน 2002
ถ้า ลองสังเกตรองเท้าให้ดีจะพบว่ารองเท้าแต่ละแบบจะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน บางชนิดจะมีทรงสูงกว่าปรกติ ซึ่งรูปทรงของรองเท้าที่แตกต่างกันย่อมจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งรูปทรงของรองเท้าออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. รองเท้าหุ้มส้น (Below Ankle) รองเท้ารูปทรงนี้ เมื่อเราใส่แล้วจะพบว่าจะมีส่วนสูงของรองเท้าด้านบนต่ำกว่าบริเวณข้อเท้า รองเท้ารูปทรงนี้จะมีน้ำหนักเบา ใส่สะดวก แต่ว่ารองเท้าชนิดนี้จะมีโอกาสทำให้เกิดการบิดของข้อเท้าได้ง่ายกว่าในกรณี ที่เราเดินสะดุด หกล้ม
2. รองเท้าหุ้มข้อ (Ankle) รองเท้ารูปทรงนี้ถูกออกแบบให้มีความสูงอยู่บริเวณข้อเท้า ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานสำหรับการเดินป่าในเส้นทางแบบง่าย ๆ (Trail Runner) หรือการเดินป่าตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้แล้ว (On Trail) รองเท้าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติเหมือนกับแบบ รองเท้าหุ้มส้น (Below Ankle) และยังช่วยปกป้องการบาดเจ็บของข้อเท้า ป้องกันน้ำและโคลนเข้ารองเท้าได้ดีในระดับหนึ่ง
3. รองเท้าหุ้มข้อสูง (Above Ankle) รองเท้าชนิดนี้จะถูกออกแบบให้ใช้กับการเดินป่าที่โหด ส่วนที่หุ้มข้อเท้าจะมีความสูงกว่าแบบอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยปกป้องการบาดเจ็บของข้อเท้าได้ดีที่สุดเพราะจะหุ้มส่วนข้อเท้าไว้ และยังช่วยป้องกันน้ำเข้ารองเท้ากรณีที่เดินลุยน้ำไม่สูงนัก แต่รองเท้าชนิดนี้จะมีข้อเสียที่มีน้ำหนักมาก และแห้งช้าเมื่อเปียกน้ำ
รองเท้าที่เราเห็นตามท้องตลาดทั่วไปนั้นทำจากวัตถุดิบหลากหลายและแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับ รูปแบบ ประเภทในการใช้งาน ส่วนคุณภาพก็จะลดหลั่นไปตามคุณสมบัติและราคาของรองเท้าในรุ่นนั้น ๆ ถ้ารุ่นไหนมีคุณสมบัติพิเศษในการใช้งานเฉพาะ หรือมีเทคโนโลยีสูง ราคารองเท้าก็จะสูงขึ้น ซึ่งตัววัสดุที่เราจะใช้ทำรองเท้าที่ส่วนที่เป็นหน้าผ้าของรองเท้าก็มีหลาย ประเภทขึ้นกับการใช้งานโดยจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ประเภทคือ
1. หนังเทียม (Synthetic)
หนัง เทียมนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด และคุณภาพก็จะแตกต่างกันไปตามราคาและคุณลักษณะเฉพาะ ของหนังเทียมนั้นๆ คุณภาพของหนังเทียมนั้นมีตั้งแต่เป็นไนล่อนธรรมดาที่คุณสมบัติกันน้ำระดับ หนึ่ง หรือความทนทานจนถึง GoreTex* ซึ่งถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดีที่สุด ทั้งมีความทนทานและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม หนังเทียมที่ลักษณะเบา จะเหมาะสำหรับใช้ทำรองเท้าวิ่ง และรองเท้ากีฬาประเภทต่างๆ ขณะที่ GoreTex นั้นจะใช้ในรองเท้าเดินทางทั่วไปและรองเท้าเดินป่า ในส่วนของราคานั้น ถ้าเป็นไนล่อนธรรมดาราคาจะถูกและสมเหตุสมผล แต่ถ้าเป็น Gore-Tex ราคาจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพงเลยทีเดียว ปกติแล้ว หนังเทียม จะมีทั้งผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิเช่น เกาหลี ไต้หวัน หรือ จีน
2. หนังแท้ที่มีการนำชิ้นส่วนด้านในออก (Split Grain Leather)
เป็นหนังแท้ทำจากหนังวัวส่วนบริเวณคอและท้อง ที่ผ่านขั้นตอนการผลิต มีการนำชิ้นส่วนด้านในของแผ่นหนังออก แล้วตัดเป็นแผ่นๆ หนา หรือ บาง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปเย็บส่วนไหนของหน้าผ้าของรองเท้า มีลักษณะเป็นชั้นๆ คล้ายชั้นของกระดาษแข็ง มีคุณสมบัติเบาและมีความสามารถระบายอากาศได้ดีกว่า หนังวัวที่ตัดมาจากบริเวณสะโพก หรือหนัง Nubuk ( Suede) แต่จะไม่ค่อยทนทาน หรือกันน้ำได้ดีถึงแม้จะผ่านกรรมวิธีที่เป็นขบวนการของการกันน้ำแล้วก็ตาม ฉะนั้นหนังวัวประเภทนี้จะไม่เหมาะมาทำรองเท้าที่ต้องการความสมบุกสมบันในการ ใช้งาน แต่จะเหมาะกับรองเท้าวิ่ง และ รองเท้าออกกำลังกายทั่วไปมากกว่า.
3. หนังนูบัค (Nubuk Leather (Suede))
หนัง ชนิดนี้คือหนังวัวส่วนที่มาจากบริเวณสะโพกของวัวที่ผ่านกรรมการขัดเพื่อให้ หนังมีความนุ่มขึ้น ซึ่งโดยปรกติหนังชนิดนี้จะหนาและแข็งกว่า Split Grain Leather ดังนั้นโรงฟอกหนังจึงต้องนำไปผ่านกรรมวิธีต่างๆก่อนเพื่อให้ได้หนังที่นุ่ม น่าใช้ก่อนที่จะนำมาแปรรูปเป็นรองเท้า ซึ่งหนังที่ผ่านกรรมวิธีเหล่านี้เราจะเรียกโดยทั่วไปว่าหนังนูบัค (Nubuk Leather) และมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า Split Grain Leather แต่ จะเกิดรอยถลอกและรอยขูดขีดได้ง่ายอีกทั้งคุณสมบัติในการกันน้ำ ก็น้อยลงด้วยเช่นกัน
4. หนังแท้ที่ไม่มีการนำชิ้นส่วนด้านในออก (Full Grain Leather)
เป็นหนังที่มาจากบริเวณสะโพกของวัว โดยไม่มีการนำชิ้นส่วนใด ๆ ของหนังออกไปในขั้นตอนการผลิต ซึ่งหนังชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน และมีราคาแพงที่สุด เป็นหนังวัวที่มีคุณภาพดีกว่าหนัง Nubuk (Suede ) และมีความสามารถในการกันน้ำสูงกว่าหนังวัวประเภทอื่น (ถ้าไม่นับถึง Gore-Tex ซึ่งเป็นหนังเทียม ) และมีอายุในการใช้งานยาวนานกว่าชนิดอื่น ผิวหน้าของหนังจะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคมีบาง ๆ เหมือน ฟิล์ม และผ่านขบวนการอัดลายนูนบนผิวหน้าเพื่อความสวยงามและยังมีลักษณะเป็นแบบขัด ด้าน (Dull Finished) และขัดเงา (Shining Finished) อีกด้วย หนังวัวนี้จะนำเข้ามาจากประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น อาเจนตินา หรือ ประเทศ อิตาลี และ สเปน ซึ่งเป็นหนังวัวที่มีคุณภาพดีและราคาค่อนข้างสูง สำหรับนำมาทำรองเท้าแฟชั่น ส่วนรองเท้ากีฬาหรือ ปีนเขาเดินป่า จะใช้หนังวัวที่นำเข้ามาจาก ไต้หวัน หรือ เกาหลีมากกว่า คุณภาพก็จะด้อยกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของรองเท้าที่จะนำหนังวัวไปใช้ผลิต
5. ผ้า (Fabric)
รองเท้าบางชนิดจะทำจากวัสดุที่เป็นผ้า เช่นรองเท้าที่มาจากจีนแดง ซึ่งวัสดุที่เป็นผ้าจะมีความสามารถในการระบายอากาศได้ดี น้ำหนักเบา และราคาถูก แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่กันน้ำ และขาดง่าย รองเท้าบางประเภทจะมีการใช้ผ้าผสมกับหนัง เพื่อให้รองเท้ามีความสามารถในการระบายอากาศได้ดีขึ้น
Gore-Tex® Fabric - เป็นผ้าที่มีรูขนาดเล็ก โดยจะมีรูมากถึง 9 ล้านรูต่อตารางนิ้ว ซึ่งรูเหล่านี้จะมีขนาดเล็กกว่าขนาดหยดน้ำถึง 20,000 เท่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลของไอน้ำประมาณ 700 เท่า ทำให้ผ้าชนิดนี้มีคุณสมบัติในการระบายอากาศและกันน้ำได้ดีเยี่ยม ในปัจจุบันผ้าชนิดนี้เป็นผ้าที่ที่ดีที่สุดที่สามารถกันน้ำ กันลมและระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม.
รูปแบบห่วงร้อยเชือกรองเท้า
เรื่องโดย เอเวอร์เรสต์ , พฤศจิกายน 2002
ที่ ผูกเชือกรองเท้าจะมีรูสำหรับร้อยเชือกรองเท้า ซึ่งรูที่ใช้สำหรับร้อยเชือกรองเท้าจะมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรองเท้า ซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะสามารถแบ่งออกได้แป็น 5 ประเภท
1. Eyelets แบบนี้จะเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูกลม ๆ สำหรับร้อยเชือก รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้จะมีข้อเสียที่ความแข็งแรง ซึ่งอาจจะมีการฉีกขาดได้ง่ายถ้าได้รับแรงดึงจากเชือกรองเท้ามาก เพราะรูนี้จะรับแรงดึงจากเชือกรองเท้ามาก
2. D-rings จะเป็นการใช้ห่วงเหล็กรูปตัว D แทนรูกลม ๆ ธรรมดา ซึ่งเราจะร้อยเชือกรองเท้าผ่านตัว D รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้จะมีความแข็งแรงกว่าแบบ Eyelets เพราะทำด้วยโลหะสามารถรับแรงได้ดีกว่า แต่ก็จะทำให้รองเท้าหนักขึ้น จากน้ำหนักโลหะที่เพิ่มขึ้นมา
3. Pulleys or Bearings เป็นการใช้เหล็กสำหรับเกี่ยวเชือกรองเท้า แทนที่จะใช้การร้อยผ่านห่วงหรือรู ซึ่งข้อดีคือสามารถร้อยเชือกรองเท้าได้ง่าย เพราะทำการเกี่ยวเอาก็พอ ไม่ต้องเสียเวลาในการร้อยเข้าไปทีละรู แต่การใช้รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้ก็อาจจะทำให้เชือกรองเท้าหลุดง่าย เพราะเชือกเพียงแค่เกี่ยวเอาไว้เท่านั้น
4. Webbing - เป็นการใช้ผ้าทำเป็นห่วงสำหรับร้อยเชือกรองเท้า ซึ่งเหมาะสำหรับรองเท้าที่ไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก รองเท้าที่มีรูร้อยเชือกแบบนี้มักจะมีน้ำหนักเบาและไม่หุ้มขึ้นมาสูงมาก ส่วนมากจะอยู่ประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย รอบบริเวณห่วงที่ผูกเชือกรองเท้าจะมีลักษณะเรียว ให้ความรู้สึกสบายบริเวณรอบข้อเท้า นิ้วเท้า และหลังเท้า รองเท้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีห่วงร้อยเชือกด้านหน้าด้วย การใช้ผ้าทำเป็นห่วงร้อยเชือกแบบนี้ช่วยทำให้เท้าไม่ถูกกดทับจากห่วงเหล็ก และให้ความรู้สึกสบายเท้ามากกว่า
5. Combination เป็นการใช้รูร้อยเชือกแบบผสม คือมีมากกว่า 1 แบบในรองเท้าคู่เดียวกัน อันเนื่องมาจากจุดแต่ละจุดบนรองเท้าที่เราทำการร้อยเชือก จะรับแรงไม่เท่ากัน ผู้ผลิตรองเท้าบางยี่ห้อ ก็มีการคำนวณถึงแรงในแต่ละจุด และทำการเลือกเชือก รูร้อยเชือก ให้เหมาะสมกับแรงที่เกิดขึ้นในจุดนั้น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ขนาดรองเท้าในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน เวลาไปซื้อรองเท้าคนขายมักจะถามว่า ใส่รองเท้าเบอร์อะไร ซึ่งบางครั้งเบอร์ที่ท่านใส่อาจจะไม่ตรงกับเบอร์รองเท้าที่ท่านจะซื้อ เพราะใช้มาตรฐานต่างกัน ดังนั้นเราจึงมีตารางเปรียบเทียบขนาดรองเท้าในแต่ประเทศ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบขนาดรองเท้าได้ง่ายขึ้น
เวลาที่เราไปซื้อรองเท้ามักจะมีคนแนะเราว่า ยี่ห้อนี้ก็ดี ยี่ห้อนั้นก็น่าสน แล้วเราจะซื้อรองเท้ายี่ห้อไหนดีล่ะ จริงๆ แล้วคำถามที่ว่า เราควรจะซื้อรองเท้ายี่ห้อไหนดี เป็นคำถามที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก รองเท้าที่ดีนั้นไม่ควรขึ้นกับยี่ห้อ แต่ควรจะขึ้นกับเท้าของเรามากกว่าว่า รองเท้าคู่ไหนเหมาะกับเท้าเรามากที่สุด หากรองเท้าคู่นั้นไม่เหมาะกับเท้าคุณ ก็ไม่ควรจะซื้อ รองเท้ายี่ห้อหนึ่งอาจจะดีสำหรับเพื่อนคุณ แต่อาจจะใส่ไม่สบายและไม่เหมาะสำหรับคุณก็ได้
แล้วทำไมรองเท้าที่เหมาะกับเพื่อนคุณไม่เหมาะกับคุณล่ะ สาเหตุเป็นเพราะว่ารองเท้าแต่ละแบบแต่ละยี่ห้อจะมีการออกแบบไม่เหมือนกัน เช่น รองเท้าที่ผลิตสำหรับคนยุโรปก็จะมีการวิจัยถึงรูปเท้าของชาวยุโรปและมีการ ออกแบบให้เหมาะกับเท้าลักษณะนั้นๆ หากชาวเอเชียนำรองเท้าลักษณะนี้มาใส่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะใส่ไม่สบาย เพราะรูปทรงของเท้าไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารองเท้าแบบนี้จะใช้ไม่ได้ซะทีเดียว เพราะรูปร่างของเท้าก็จะมีความแตกต่างกันระหว่างตัวบุคคลด้วย คำถามหลักของคนที่จะเลือกซื้อรองเท้าจะมีอยู่ 2 คำถามคือ รองเท้าคู่ไหนเหมาะกับเท้าเรามากที่สุด และเราจะไปหารองเท้าคู่นั้นได้ที่ไหน
คำถามข้อแรกนั้นไม่มีใครสามารถตอบได้ดีเท่าเท้าของเราเอง ในการซื้อรองเท้าต่างประเทศนั้นเขามักจะมีการประกันความพอใจ โดยให้เรานำรองเท้าไปใส่ที่บ้านก่อนได้ หากไม่พอใจก็สามารถนำรองเท้าในสภาพใหม่มาคืนที่ร้าน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเลือกรองเท้าที่เหมาะกับคุณได้ แต่น่าเสียดายในบ้านเรามักจะไม่มีวิธีการแบบนี้ ถ้าซื้อไปแล้วเกิดใส่ไม่สบายก็ไม่สามารถนำไปเปลี่ยนได้ ฉะนั้นเราจึงควรจะลองใส่รองเท้าที่ร้านให้แน่ใจก่อนที่จะซื้อ ซึ่งพอจะมีคำแนะนำสำหรับการเลือกรองเท้าดังนี้