WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ทริปวันแรงงาน 2009....OIIIIIIIO.....3คืน4วัน… ที่สุดๆ ของ......คลองมะเดื่อ....
loft60-84
จาก loft60-84
61.91.73.21
จันทร์ที่ , 4/5/2552
เวลา : 12:18

อ่านแล้ว = 20385 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       อารัมภบท-Preface......แบบ ย่อๆๆ อิอิ…………………………

จากการตากตรำทำแต่...งานๆๆๆและงาน อิอิ … เพื่อช้าตท์ Batteryให้รางวัลกับตนเองบ้าง......... …เราชาว อช …ก็นัดกันและวางแผนกันไปหาที่ๆๆ ที่เราจะสามารถเดินทางไม่ไกลจากกทมมากนัก......ทางทีมงานก็สรุปลงตัวจากการMeeting กันหลายๆๆๆรอบ........คลองมะเดื่อ…คือคำตอบสุดท้ายว่าจะไปให้สุดๆๆกัน อิอิ มีที่พักสบายๆๆๆและรายล้อมจากป่าเขาลำเนาไพรธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ & และที่สำคัญคือรายล้อมด้วยเพื่อน อช ๆๆที่รู้ใจ และ แน่ๆๆเราตัดขาดจากป่าคอนกรีตโลกภายนอก.. ออกไปเสพสมทรัพยากรในที่ๆๆไร้สัญญานมลภาวะรบกวนของคลื่นมือถือ อิอิ


ออกเดินทางตั้งแต่คืนวันพฤหัสที่ 30 เล่น Night shot กันเพื่อเพิ่มเสริมเติมแต่งสีสันที่แตกต่างจากทริปเดิมๆๆๆ….. มีเพื่อนๆๆไป รอตั้งแต่ 5 โมงเย็น อิอิ ที่จุดนัดพบปากทาง ทุกคันเสบียงครบ ล้อหมุนเข้าไปถึงที่พักเกือบเที่ยงคืน.....เราไปเที่ยว เราไม่รีบ อิอิ 555 มีทีมงานยึดที่มั่นอยู่ประมาณ 4 คันและมีเพื่อนๆๆ แวะเข้าไปเยี่ยมเยียนรวมๆๆแล้วก็เกือบ 20 คันมั้ง อิอิ ….


เพื่อนๆๆ อช ที่ เก็บภาพงามๆๆก็ทะยอยๆๆ Post ภาพแชร์ๆๆความทรงจำกันอันดีๆๆกันได้เรย………







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 14 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

คำตอบที่ 391
       opps มีแต่ party ทุกวัน...ไม่ได้ update อิอิ จะไปสนามบินจากหลักสี่ อีกไกลนะ อิอิ .....เพราะสนามบินใหม่อยู่สมุทรปราการ ย้ายไปแล้ว....


คือง่ายๆๆละกันว่า " คงตายยาก" อีกข้อหนึ่งนะ อิอิ ใช่มะท่านอาจารย์ยิ่งสักและท่านพี่ต้องรามอินทรา อิอิ

ขอให้อายุยืนหมื่นๆๆปี ด้วย วันนะ สุขะ พละ จ้า.....





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.71 อังคาร, 2/6/2552 เวลา : 00:18   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411038

คำตอบที่ 392
       ขอเพียงจริงใจกันเข้าไว้....เนิ่นนานแค่ไหน....มิตรภาพไม่เปลี่ยนแปลง

ขอเพียง....จริงใจกันเข้าไว้....มิตรภาพไม่เปลี่ยนแปลง..........



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Noo dee จาก Noo dee 115.87.7.90 อังคาร, 2/6/2552 เวลา : 00:26   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411042

คำตอบที่ 393
       เนื้อเพลง...........ความหมายดีนะ อิอิ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.192 อังคาร, 2/6/2552 เวลา : 22:21   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411352

คำตอบที่ 394
       ... อันเมืองไทยใหญ่อุดมเอย......ดินดีสมเป็นนาสวน เพื่อนเอ๋ยเราชักชวน ต้องช่วยกันมุ่งหมั่นเที่ยวเอย อิอิ ...






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.192 อังคาร, 2/6/2552 เวลา : 22:39   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411357

คำตอบที่ 395
       @ คลองมะเดื่อ...............ผีเยอะมากๆๆ ชุกชุม อิอิ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.250 พุธ, 3/6/2552 เวลา : 21:46   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411633

คำตอบที่ 396
       นักร้อง และ นักดนตรี เตรียมพร้อมนะ อิอิ เสาร์นี้ที่สามโคก





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.46 พฤหัสบดี, 4/6/2552 เวลา : 20:53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 411955

คำตอบที่ 397
       เป็นที่ๆๆ เด็กๆๆชอบมากๆๆ เล่นน้ำใสๆๆเห็นตัวปลา





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.74 เสาร์, 6/6/2552 เวลา : 11:05   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 412426

คำตอบที่ 398
       ^บรรยากาศที่หาได้ยาก อิอิ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.74 พุธ, 10/6/2552 เวลา : 23:52   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414188

คำตอบที่ 399
       3คืน4วัน… ที่สุดๆ ของ......คลองมะเดื่อ,...
ตื่นเช้ามา อิอิบางเช้า... หมดมุข เม้าส์กันก็เสวนาธรรมะกันช่วง happy hour กาแฟสด ยามเช้า.....





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 พฤหัสบดี, 11/6/2552 เวลา : 18:00   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414466

คำตอบที่ 400
       นี่เรย.........เจ้าของร้านอาหารมาจัดให้ American breakfast อิอิ

สักครู่จะตามไปที่ร้านบางแคเด้อ .........รอให้ลูกค้าที่ร้านลดจำนวนลงไปก่อน อิอิ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 พฤหัสบดี, 11/6/2552 เวลา : 18:06   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414468

คำตอบที่ 401
       ทุกข์มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.) ทุกข์ในอริยสัจ 4
2.) ทุกข์ในไตรลักษณ์

ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็คือทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ซึ่งก็คือความทุกข์ในความหมายของคนทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ทุกขเวทนามี 2 ทางคือ ทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจ

ทุกข์ทางกาย หมายถึงทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาดร่างกาย และความทุกข์อื่น ๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกเป็นจำนวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกาย เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ต้องทนกับทุกข์ทางกายนี้เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่สร้างสมบุญบารมีมาอย่างมากมาย มากกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ยังต้องทนทุกข์ทางกายนี้จนกระทั่งถึงวันปรินิพพาน สมกับคำที่ว่า การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

ทุกข์ทางใจ หมายถึงทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทางกายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมาทำให้เกิดทุกข์ทางกายขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิดความกังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่าอาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไป หรืออาจจะต้องถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวาดกลัวเหล่านี้จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา ทุกข์ทางใจอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีทุกข์ทางกายเป็นต้นเหตุ เช่น ความทุกข์จากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์จากการไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ทุกข์จากความโกรธความขัดเคืองใจ ทุกข์จากความกลัว ทุกข์จากความกังวลใจ ความคับแค้นใจ ทุกข์จากความกลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะต้องหมดไป ทุกข์จากความกลัวความทุกข์ยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ทุกข์จากการกลัวความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ และทุกข์ทางใจอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน
กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจทั้งหมดล้วนมีต้นเหตุมาจากความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น .







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 14:45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414763

คำตอบที่ 402
       ทุกข์จากความโลภ ตามหลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เพราะความโลภจะเกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจ หรือเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉย ๆ ( อุเบกขา ) เท่านั้น ที่กล่าวว่าความทุกข์ที่มีต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลาย อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวจะไม่ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ เป็นต้น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 14:51   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414764

คำตอบที่ 403
       ทุกข์จากความโกรธ ความโกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นำทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความโกรธจะทำให้จิตใจต้องเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งภายในใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้นในเบื้องต้นยังพอจะนำความสุขมาให้ได้บ้าง ( ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี ) แต่ความโกรธนั้นนำมาแต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างของความทุกข์จากความโกรธเช่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่สบายใจ ความอิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 14:53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414765

คำตอบที่ 404
      

ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น ......................สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึดว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขา เป็นของของเขา ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราชอบใจ เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ยึดว่าเป็นคนที่เคยทำร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรู เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนาย เป็นบ่าว เป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงาน ฯลฯ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่นำทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศล ความดี มรรค ผล นิพพาน ก็ตามที ( อริยบุคคลนั้นไม่ยึดในรูปนามทั้งหลาย ไม่ยินดีในการเกิดก็จริง แต่ก็ไม่ได้ยึดมั่นในมรรค ผล นิพพาน )



เพราะการยึดในสิ่งที่เราไม่ชอบใจก็ย่อมจะทำให้เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ คับแค้นใจ กลัว ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นต้นเหตุของความทุกข์จากความโกรธนั่นเอง ส่วนการยึดในสิ่งที่เราชอบใจก็จะทำให้เกิดทุกข์อันมีต้นเหตุมาจากความโลภ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดทุกข์จากความกลัวการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป ทุกข์จากการต้องคอยทนุถนอม บำรุงรักษา เก็บรักษาไว้ ต้องคอยปกป้อง ห่วงใย ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ไม่เป็นอิสระ และถ้าต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปก็จะยิ่งเป็นทุกข์ขึ้นไปอีกมากมายนัก ส่วนการยึดในบุญนั้นก็ต้องเป็นทุกข์จากการรอคอยว่าเมื่อไรผลบุญถึงจะตอบสนอง ยึดในบาปก็เป็นทุกข์กลัวกรรมจะตามสนอง

กล่าวโดยสรุปก็คือ ยึดสิ่งไหนก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดเลยความทุกข์ทางใจทั้งหลายก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นกับเราได้เลย .







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 14:57   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414766

คำตอบที่ 405
       ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือสามัญลักษณะ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ก็หมายถึงทุกขัง ในไตรลักษณ์หรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง


ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป (ดูเรื่องทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ)
ทุกข์ในไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะอันเป็นสามัญ คือเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลายที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นกฎอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติ เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดเลยที่มีอำนาจเหนือตน ตราบใดที่ยังไม่เข้าสู่สภาวะแห่งนิพพานแล้ว ก็จะต้องเผชิญกับทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ด้วยกันทั้งสิ้น


ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ในไตรลักษณ์ เพราะทั้งสุขและอุเบกขาก็ล้วนถูกเหตุปัจจัยต่าง ๆ บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 15:00   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414767

คำตอบที่ 406
       http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dhammathai/treatment/nivorn/nivorn01.php.htm


อ่านต่อได้ที่นี่เด้อ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 15:03   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414768

คำตอบที่ 407
      

นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 17:34   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414791

คำตอบที่ 408
      

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 17:39   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414793

คำตอบที่ 409
       นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน


๏ วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5

เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 61.91.73.21 ศุกร์, 12/6/2552 เวลา : 17:43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414794

คำตอบที่ 410
       มีธรรมมะ KM มาฝากครับ....


จิตคืออะไร


จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดกับ ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือ พรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น





จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ





อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป
ที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)
. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง
ที่ปรากฏทางหู
" โสตวิญญาณ (โสต = หู)
. ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น
ที่ปรากฏทางจมูก
" ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)
. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส
ที่ปรากฏทางลิ้น
" ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น)
. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย
" กายวิญญาณ
. ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก
นึก คิด ทางใจ
" มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)





ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.101 เสาร์, 13/6/2552 เวลา : 08:52   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414899

คำตอบที่ 411
       ทริปนี้ได้ คุณค่า value added กลับมามากมายๆๆๆ ....จากกิจกรรม เสวนาที่ได้จาก ทริปเข้าค่าย JUC คืน 4 วัน อิอิ

ที่เกิดของจิต ..................................................


เปลวเทียน ต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น
ที่ตั้งให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง ได้แก่
๑. ประสาทตา
๒. ประสาทหู
๓. ประสาทจมูก
๔. ประสาทลิ้น
๕. ประสาทกาย
๖. หทยวัตถุรูป



ประสาทตา (จักขุปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้ มิได้หมายถึง ดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตาหรือแก้วตาที่อยู่กลางตาดำ โตประมาณเท่ากับศีรษะของเหา เป็นเยื่อบางดุจปุยนุ่น ที่ชุ่มด้วยน้ำมันซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ





ปสาทหู (โสตปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และขนมีอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ



ประสาทจมูก (ฆานปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตดมกลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ




ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาท) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ




ประสาทกาย (กายปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บาง ๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น มีความสามารถในการนรับความรู้สึกเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ




หทยวัตถุรูป เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ อันได้แก่ จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น เป็นที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ ซึ่งมีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ มีสัณฐานโตประมาณเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ







ประสาทรูปทั้ง ๕ อันได้แก่ จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป นอกจากจะเป็นที่อาศัยเกิดของจิตแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประตู (ทวาร) สำหรับรับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อีกด้วย ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร, ชิวหาทวาร และกายทวาร ส่วนหทยวัตถุรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของ มโนวิญญาณ นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมโนทวารด้วย เพราะองค์ธรรมของมโนทวาร คือ ภวังคจิต ไม่ใช่หทยวัตถุรูป



http://www.buddhism-online.org/ContentSect02A.htm





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.101 เสาร์, 13/6/2552 เวลา : 09:12   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 414906

คำตอบที่ 412
       ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ

ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ในทางธรรมเรียกว่า รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป

ส่วน จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม เรียกสั้น ๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้

ดังนั้น ตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิต และเจตสิก ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เท่านั้น ................






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 อาทิตย์, 14/6/2552 เวลา : 18:43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415152

คำตอบที่ 413
       คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย

สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้ว มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลย ที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิกที่มีการเกิดดับ อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 อาทิตย์, 14/6/2552 เวลา : 18:46   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415153

คำตอบที่ 414
       การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเรา และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึง ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง




เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรม ที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 อาทิตย์, 14/6/2552 เวลา : 18:50   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415154

คำตอบที่ 415
      
สาธุ........................



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Noo dee จาก Noo dee 124.121.215.75 อาทิตย์, 14/6/2552 เวลา : 19:16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415164

คำตอบที่ 416
       ศึกษาธรรมชาติ คู่กับ ธรรมมะก็ดีนะ .....เรียนปรียน 4 สมัยเด็กๆๆภาคฤดูร้อน... ได้มาแล้วก็คืนเจ้าหลวงพี่ไปเยอะ ....ลื่มเกือบหมดแล้ว อิอิ...


ขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย
๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูป ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ
๓. สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง
๔. สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่าง ๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำ เป็นเหตุให้น้ำในแก้ว เปลี่ยนไปตามสีที่หยด
๕. วิญญาณขันธ์ หรือ จิต คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาต ิที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 10:29   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415311

คำตอบที่ 417
       การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย




จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้



จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ

สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 10:53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415316

คำตอบที่ 418
       สาธุ..................ด้วย !!!!! คนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

KIT-WJ จาก ฟลุ๊ค...!!! 12.110.209.153 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 11:03   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415318

คำตอบที่ 419
       อิอิ น้าฟลุค คงขยันเข้าไปทำงาน อิอิ .... เพิ่งตื่นอ่ะ ทานยาหวัด 2009 เข้าไปหลับกัน....มันส์มากๆๆ ทานยามื้อเที่ยงละ สักครู่ก็คงจะหลับยาวๆๆ อีก เป็นหวัดช่วงนี้ดีมากไม่ต้องทำงาน เข้า office ไม่สดวก อิอิ





จิต..... คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

จิต ..........เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

จิต......... จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 14:20   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415370

คำตอบที่ 420
       อิอิ น้าฟลุค คงขยันเข้าไปทำงาน อิอิ .... เพิ่งตื่นอ่ะ ทานยาหวัด 2009 เข้าไปหลับกัน....มันส์มากๆๆ ทานยามื้อเที่ยงละ สักครู่ก็คงจะหลับยาวๆๆ อีก เป็นหวัดช่วงนี้ดีมากไม่ต้องทำงาน เข้า office ไม่สดวก อิอิ





จิต..... คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

จิต ..........เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

จิต......... จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60-84 จาก Loft60-84 58.10.204.63 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 14:21   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 415371

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 14 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอาทิตย์,24 พฤศจิกายน 2567 (Online 7119 คน)