คำตอบที่ 52
ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed, Exposure Time)
กล้องดิจิตอลจะกำหนดเวลาในการรับแสงของ CCD เช่นเดียวกับเวลาในการเปิดรับแสงของกล้องใช้ฟิล์ม เวลาที่แสงตกลงบน Image Sensor เราเรียกว่า เวลาเปิดรับแสง (Exposure Time) หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) กล้องดิจิตอลแบบ SLR จะมีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง ส่วนกล้องดิจิตอลแบบคอมแพค หรือกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวิดีโอ หรือดูภาพที่ที่จะถ่ายทางจอ LDC ด้านหลังกล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่งเวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการคือ
1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที
2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
เวลาเปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์มีดังนี้ T , B , 30s ,15s , 4s , 2s , 1s , 1/2s , 1/4s , 1/8s , 1/15s , 1/30s , 1/60s , 1/125s , 1/250s , 1/500s , 1/1000s , 1/2000s , 1/4000s , 1/8000s
ความเร็วชัตเตอร์ T และ B เป็นการเปิดชัตเตอร์นานมาก ๆ เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ ส่วนใหญ่จะไม่จำกัดเวลาเปิดรับแสง s คือ วินาที 30s ถึง 1s คือเวลาเปิดรับแสงเป็นจำนวนเต็มวินาที ส่วนตัวเลขถัดไปจะเป็นเศษส่วน เช่น 1/2s , 1/125s ซึ่งบางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนเต็ม แต่ไม่มี s ต่อท้าย เช่น 125 คือ 1/125 วินาที 30 คือ 1/30 วินาที ส่วน 30s คือ 30 วินาที
การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่งแต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามันมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง
สวัสดีครับพี่ๆ
ผมก็ว่าตามพี่ loft ครับ พี่สมคิด ครับ ไม่มีอะไรตายตัวครับ อย่างเช่นเวลาเปลี่ยน การวัดแสงก็เปลี่ยน
วันนี้เอาความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากครับ อ่านเล่นๆผ่านๆไปละกัน อย่าคิดมาก
ดีใจจังที่พี่ Zdee post ภาพในกระทู้แล้ว ไม่เหงาแล้วๆๆๆๆ
พี่สมคิดพี่ loft ช่วยกัน post อีกเยอะๆครับ ชอบดู