คำตอบที่ 30
วิธีทำบุญ
การทำความดีทุกอย่างล้วนได้ผลออกมาเป็นบุญทั้งสิ้น แต่เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และนำไปปฏิบัติเราสามารถแบ่งวิธีทำบุญออกได้
10 วิธีเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ได้แก่
1.ทาน คือ การบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
2.ศีล คือ การสำรวมกายวาจา ให้สงบเรียบร้อย
3.ภาวนา คือ การสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรม ฯลฯ
4.อปจายนะ คือ การมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
5.เวยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือขวนขวายในกิจที่ชอบ
6.ปัตติทานะ คือ การอุทิศส่วนบุญแก่ผู้อื่น
7.ปัตตานุโมทนา คือ การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
8.ธัมมัสสวนะ คือ การฟังธรรม
9.ธัมมเทศนา คือ การแสดงธรรม
10.ทิฏฐุชุกัมม์ คือ การปรับปรุงความเห็นของตนให้ถูกต้อง
ทั้ง 10 ประการนี้ สรุปลงได้เป็นบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ
-ทาน คือ 1,5,6,7 เป็นการฆ่าความตระหนี่ออกจากใจ
-ศีล คือ 2 เป็นการป้องกันตนไม่ให้ทำชั่ว
-ภาวนา คือ 3,4,8,9,10 เป็นการฝึกตัวเองให้ฉลาด
" แข่งบุญแข่งวาสนาใช่ว่าแข่งไม่ได้ แต่ถ้าแข่งแล้วไซร้ต้องแข่งด้วยการทำความดี
หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
เราต้องเร่งสร้างบุญใหม่ตั้งแต่บัดนี้ จะได้เป็นบุญเก่าติดตัวไปในวันหน้า โดยยึดหลักว่า
1.เช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งกินข้าว
2.วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน
3.คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งเข้านอน
เราต้องอดทน ฝึกตนให้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องกระทบกระทั่งสิ่งใด มีอุปสรรคมากเพียงไหน
ก็ปักใจมั่นไม่ย่อท้อ กัดฟันสู้ตั้งใจทำความดีเรื่อยไป น้ำหยดทีละหยด ยังสามารถเต็มตุ่มได้ฉันใด
บุญที่เราหมั่นสะสมทีละน้อย ก็ย่อมสามารถเต็มบริบูรณ์ ส่งผลให้เราอย่างเต็มที่ได้ฉันนั้น
อานิสงส์การมีบุญวาสนามาก่อน
1.ทำให้มีปัจจัยต่าง ๆ พร้อม สามารถทำความดีใหม่ได้โดยง่าย
2.อำนวยประโยชน์ทุกอย่างดังได้กล่าวมาแล้ว
ตัวอย่างผลของบุญ
ผู้ที่มีอายุยืน เพราะในอดีตไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในอดีตไม่รังแกหรือทรมานสัตว์
ผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์ เพราะในอดีตให้ทานด้วยข้าวปลาอาหารมามาก
ผู้ทีมีผิวพรรณงาม เพราะในอดีตรักษาศีล และให้ทานด้วยเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มมามาก
ผู้ที่มีอำนาจมีคนเกรงใจ เพราะในอดีตมีมุทิตาจิต ใครทำความดีก็ อนุโมทนา ไม่อิจฉาริษยาใคร
ผู้ที่ร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก เพราะในอดีตให้ทานมามาก
ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง เพราะในอดีตบูชาบุคคลที่ควรบูชามามาก
ผู้ที่ฉลาดมีสติปัญญาดี เพราะในอดีตคบบัณฑิต ฝึกสมาธิ เจริญ ภาวนามามากและไม่ดื่มสุรายาเมา
ผลของบุญ
บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีผลกับตัวเรา 4 ระดับ คือ
1.ระดับจิตใจ เป็นบุญที่เกิดผลทันที คือ ทำความดีปุ๊บก็เกิดปั๊บไม่ต้องรอชาติหน้า เกิดขึ้นเองในใจของเราทำให้
-สุขภาพทางใจดีขึ้น คือ มีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อคำยกยอ หรือตำหนิติเตียน
-สมรรถภาพของใจดีขึ้น คือ เป็นใจที่สะอาด ผ่องใส ใช้คิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้ง กว้างไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ
และตัดสินใจได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล
2.ระดับบุคลิกภาพ คนที่ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีใจที่สงบ แช่มชื่น เบิกบาน ชุ่มเย็น นอนหลับสบาย
ไม่มีความกังวลหม่นหมอง หน้าตาผิวพรรณจึงผ่องใส ใจเปี่ยมไปด้วยบุญไม่คิดโลภอยากได้ของใคร ไม่คิดสร้างความเดือนร้อนให้ใคร
มีแต่คิดช่วยเหลือเขา จึงมีความมั่นใจในตัวเอง มีความองอาจสง่างามอยู่ในตัว ไปถึงไหนก็สามารถวางตัวได้พอเหมาะพอดี บุคลิกภาพ
ย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ
3.ระดับวิถีชีวิต วิถีชีวิตของคนเรา เกิดจากการสรุปผลบุญและผลบาป ที่เราได้ทำมาตั้งแต่ภพชาติก่อน ๆ จนถึงภพชาติปัจจุบัน เป็นผล
ของบุญระดับจิตใจ และระดับบุคลิกภาพ รวมกันชักนำให้เราได้รับสิ่งที่น่าปรารถนาตอบสนองมาจากภายนอก เช่น ได้รับลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข การที่เราทำดีแล้ววิถีชีวิตของเราจะดีเต็มที่หรือไม่นั้น ขึ้นกับบุญเก่า หรือบาปในอดีต ที่เราเคยทำไว้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่
สลับซับซ้อน ทำให้บางคนเข้าใจผิด คิดว่าทำดีแล้ว ไม่ได้ดี เพราะบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่กลับถูกใส่ร้ายป้ายสี หรือประสบ
เคราะห์กรรม ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี
แท้จริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้น ผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลัง ทำอยู่ปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเรา
ตั้งใจทำบุญไปโดยไม่ย่อท้อ บุญย่อมจะส่งผลให้ในเวลาที่สมควรต่อไป
4.ระดับสังคม เมื่อเราทำความดีมาแล้วอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะไปอยู่สังคมใด บุญก็จะส่งผลให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือได้เป็นผู้นำ
ของสังคมนั้น และจะเป็นผู้ชักนำสมาชิกในสังคมให้ทำความดีตามอย่าง ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น ความเจริญก้าวหน้าขึ้นในสังคมนั้นๆ
โดยลำดับ
ประเภทของบุญในกาลก่อน
บุญในกาลก่อนแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.บุญช่วงไกล คือ คุณความดีที่เราทำจากภพชาติก่อน มาจนถึงวันคลอด
2.บุญช่วงใกล้ คือ คุณความดีที่เราในภพชาติปัจจุบัน ตั้งแต่คลอดจนถึงเมื่อวานนี้
บุญช่วงไกล การสั่งสมความดีมาแต่ภพชาติก่อน ส่งผลให้เห็นในปัจจุบันเปรียบเสมือนผลไม้ที่คัดพันธุ์มาดีแล้ว
รสโอชะของมันย่อมติดมาในเมล็ด เมื่อนำเมล็ดนั้นมาปลูก ต้นของมัน ย่อมให้ผลที่รสอร่อยทันทีโดยไม่ต้องทะนุบำรุงมาก
คนเราก็เช่นกัน ถ้าในอดีตชาติสะสมความดีมามากพอเกิดมาในชาตินี้ก็เป็นคนใจใส ใจสะอาดบริสุทธิ์ มาตั้งแต่เด็ก มีสติปัญญา
ดีมาแต่กำเนิด รูปร่าง สง่างาม ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีโอกาสได้สร้างความดีได้มากกว่าคนทั้งหลายถ้าไม่ประมาทหมั่นสะสม
ความดีในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก ก็จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าประมาทไม่เอาใจใส่ในการทำความดีในปัจจุบัน ก็เปรียบ
เสมือนต้นไม้ยอดด้วย ยากที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้
บุญช่วงใกล้ คนที่ทำความดีตั้งแต่เล็กเรื่อยมา เช่น ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร คบคนดีเป็นมิตร ฝึกใจให้ผ่องใสมาตั้งแต่เด็ก ความคิด คำพูด การทำงาน ย่อมดีกว่าบุคคลอื่นในวัยเดียวกัน เมื่อเติบโตขึ้น ย่อมมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าผุ้อื่น
เพราะฉะนั้นเราจึงควรสะสะสมบุญ โดยทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้จะได้ส่งผลให้มีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าว
หน้าในชีวิตต่อไป ในอนาคต ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงทำความดี สร้างสมบารมีมามากนับภพนับชาติไม่ถ้วน ในภพ
ชาติสุดท้าย ก็ทรงฝึกเจริญสมาธิภาวนาศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่เยาว์ จึงสามารถตรัสรู้ธรรม เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เมื่อ
พระชนม์เพียง 35 พรรษา