คำตอบที่ 6
หาสูตร 4x100 ที่ หมอภาคใต้ จดสูตรมาให้ หาไม่เจอ แต่เจอนี่ นำมาให้อ่าน... จาก runina เขาให้เอ่ยเครดิต ก็ขอขอบคุณคุณ Ram#13 ครับ
ตำนาน สุรา และ แสงโสม
เนื่องจากมีเพื่อน พี่ น้องหลายๆท่านเป็นแฟนสุรา และคอแสงโสม
เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น แนะนำให้ไปหาโซดา น้ำ น้ำแข็ง กับแกล้ม มาโดยพร้อมเพรียง
มามะ ขยับแว่น และขมิบดาก กระเถิบ เข้ามาอ่านกัน
เรื่อง ความเป็นมาของสุรา และแสงโสม
แต่น แต่น แต๊น
สุรา หรือ เหล้า คือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์(ชนิดเอทิลแอลกอฮอล์) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ โดยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่กินเหล้าในปริมาณไม่มาก จะรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเอง ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อกินมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่นๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติ และขี้เรื้อนต่อๆไป ได้อีก
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภหญิงนักดื่มสุรา ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยของพระเจ้าพรหมทัตครองเมืองพาราณสี มีนายพรานป่าคนหนึ่งชื่อสุระ ได้เข้าป่าเพื่อหาของป่าค้าขาย มีต้นไม้ต้นหนึ่งลำต้นตรงสูงขนาดเท่าคนยืน มี ๓ คาคบ ตรงกลางมีโพรงขนาดเท่าตุ่มน้ำ เมื่อฝนตกน้ำก็จะขังเต็มเปี่ยม ลูกสมอ มะขามป้อม และพริกไทยที่ขึ้นอยู่รอบข้างต้นไม้นั้น ก็จะหล่นไปหมักอยู่ในน้ำนั้น และที่ใกล้ ๆ ต้นไม้นั้นมีข้าวสาลีเกิดเองอยู่เมื่อนกคาบรวงข้าวสาลีบินไปจับกินอยู่บนต้นไม้น้น เมล็ดข้าวสาลีก็หล่นลงไปในน้ำนั้น
เมื่อย่างเข้าฤดูร้อน ฝูงนกกระหายน้ำก็จะบินมากินน้ำที่ต้นไม้นั้น ก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้นั้น ม่อยหลับไปสักครู่หนึ่งก็บินขึ้นไปได้ ฝูงลิงก็เช่นกัน วันหนึ่งนายพรานสุระไปพบเห็นสิ่งแปลกประหลาดนั้นเข้า ก็คิดแปลกใจว่า "แปลกจริงหนอ..ถ้าน้ำนี้มีพิษ พวกสัตว์เหล่านี้คงตายไปแล้วละ แต่นี่มันร่วงลงมานอนสักครู่หนึ่งแล้วก็เดินหนีไปได้ น้ำนี่คงไม่มีพิษอะไร "จึงลองดื่มดูเกิดอาการมึนเมาแล้วอยากจะกินเนื้อสัตว์ จึงก่อไฟปิ้งนกที่ร่วงลงมาพื้นดินนั้นกิน มือหนึ่งฟ้อนรำ มือหนึ่งถือปิ้งนกกัดกินเขาเป็นอยู่อย่างนี้ถึง ๒ วัน จึงออกเดินหาของป่าโดยไม่ลืมตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่นำไปดื่มด้วย
ในที่ไม่ไกลจากนั้น มีดาบสชื่อวรุณะบำเพ็ญพรตอยู่ นายพรานสุระเมื่อเดินหาของป่าไปพบเห็นดาบสนั้นเข้า จึงชวนให้มาดื่มน้ำที่เขาใส่กระบอกไม่ไผ่ไปด้วยนั้น คนทั้งสองจึงดื่มน้ำนั้นกับเนื้อย่างร่วมกัน เพราะเหตุนั้นน้ำนั้นเขาจึงเรียกว่าสุราบ้าง วรุณีบ้าง ตามชื่อของพรานและดาบสนั่นเอง (จากเนื้อเรื่องในอรรถกถาชาดก เรื่องกุมภชาดก)
ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ได้กำหนดความหมายของสุราไว้ว่า สุรา หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
สุราสี (เป็นพี่ชายของ สุรสีห์ ไม่น่าใช่นะ)
สุราสี ได้จากการกลั่นส่าจากน้ำอ้อย น้ำตาลอ้อย หรือกากน้ำตาลอ้อย กลั่นให้น้ำสุรามีแรงแอลกอฮอล์ระหว่าง 60-95 ดีกรีแล้วปรับปรุงน้ำสุราที่กลั่นได้ด้วยน้ำบริสุทธิ์ เพื่อให้มีแรงแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมก่อนที่จะนำเข้าเก็บบ่มในถังไม้ที่เผาภายในแล้ว โดยมีระยะเวลาในการบ่มไม่น้อยกว่า 1 ปี แล้วจึงปรุงแต่งสี, กลิ่น,รส ตามต้องการ แล้วบรรจุภาชนะออกจำหน่าย
จะเชื่อไหมถ้าบอกว่า "แสงโสม" เกิดมาจากน้ำเชื้อของ "แม่โขง" อะ งง ดิ
ต้นตำรับสูตรปรุงแม่โขงนั้น "ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา" เป็นผู้คิดขึ้นมาคนแรก โดยสมัยหนึ่งเคยมีกรณีพิพาทเรื่องสูตรสุรา แม่โขง ว่าเป็นของ "ตาเสริฐ" หรือ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กันแน่ แต่บทสรุปแล้วคือเป็นสูตรของ "ตาเสริฐ" ผู้นี้นี่เอง ที่คิดสูตรสุราที่เวลากินแล้วจะตาแฉะ แถมร้อนใน ฮ่าๆ ซึ่งน่าจะมีใครเคยโดนกันมาบ้างไม่มากก็น้อย จากนั้นจึงเกิดฮีโร่คนใหม่นาม "จุล กาญจนลักษณ์"
"เฮียจุล" ไปค้นหลักฐานเก่าและก็พอจะได้สูตรที่เก็บเอาไว้เลยเอามาปรุงต่อให้ดีขึ้นจนเป็นแม่โขงเมื่อกินแล้วตาไม่แฉะและไม่ร้อนใน...อะ ดีขึ้น ดีขึ้น ตั้งแต่นั้นมา "เฮียจุล" จึงเป็นคู่ใจของแม่โขง เหมือน แม่โขงเป็นคู่จิตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจึงไปปรุงสุราให้ แสงโสม (เป็นพ่อที่แท้จริงของ แสงโสม นั่นเอง) และก็มีวันหนึ่งที่ "เฮียจุล" ปรุงเหล้าชื่อ "หงส์ทอง" ขึ้นมา
ไม่ว่า แสงโสม หงส์ทอง จะเข่นกับแม่โขง กวางทองอย่างไร ไม่ว่า สุราทิพย์ จะชิงไหวชิงพริบด้วยค่ายกลเชิงธุรกิจกับ สุรามหาราษฎร์ อย่างไรก็ตาม "เฮียจุล" ก็ยังคงเป็นผุ้ปรุงสุราเหล่านี้อยู่ดีแหละ
แสงโสม ขวดแรก ถือกำเนิดในปี พ.ศ.2520 แสงโสมเป็นสุราประเภทรัม(Rum)มีกระบวนการผลิตที่เป็นกรรมวิธี เฉพาะตัว ทำให้ได้สุราคุณภาพจากการหมัก กลั่น และเก็บบ่ม แอลกอฮอล์ในถังไม้โอ๊คนาน 3 ปี, 5 ปี และ10 ปี จึงได้ แอลกอฮอล์คุณภาพเยี่ยม เพื่อนำมาปรุงแต่งรสด้วยหัวเชื้อพิเศษที่ปรุง ขึ้นจากส่วนผสมของ เครื่องเทศ และสมุนไพรนับร้อยชนิดอันเป็น สูตรลับเฉพาะของแสงโสม
สุรา "แสงโสม" เลียนแบบอย่างสุรา "แม่โขง" อย่างแรงมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกเริ่มตั้งแต่ออกแบบฉลากปิดขวด ซึ่งคำว่า แสงโสมมีสระ "แ" และสระ "โ" สามารถออกแบบเหมือนฉลากของ "แม่โขง" อย่างพอดิบพอดี ซ้ำยังมีการโฆษณาอย่างเปิดเผยว่า เป็นสุราที่ผลิตโดยผู้ปรุงสุราคนเดียวกันกับสุราแม่โขง ร้ายมาก
แสงโสม มีชีวิตอยู่ในตลาดอย่างดีพอสมควรในช่วงปี 2523 พอเริ่มเข้า 2524 ยอดขายก็ตกลงไปมากเพราะแม่โขงตั้งลำได้ แสงโสมในที่สุดก็เลยกลายเป็นโสมส่องแสง และหายไประยะหนึ่ง บางกระแส กล่าวว่า รีแบรนด์ เป็น แสงทิพย์ จนทุกวันนี้ แสงทิพย์ หายไป เพราะเอา แสงโสม กลับมา โอย ซับซ้อนเหี้ย
แสงโสม ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดสุรา ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2525 และ 2526 และชนะรางวัลการประกวด สุรา ณ เมืองดุซเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2526 จึงเป็นที่รู้จัก และเรียกขานในหมู่นักดื่มทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศว่า "แสงโสมเหรียญทอง" มาจนปัจจุบัน
จบแล้ว...ยาวมาก
อะแฮ่ม...บทความนี้เป็นลิขสิทธิของข้าพเจ้าเอง (จริงๆนะ)
ใครอยากได้ไป ปู๊ยี่ ปู๊ยำ ก็เอ่ยนามของข้าพเจ้าไว้เป็นพอ
ขอบคุณครับ
ปล.ในบทความนี้มีคำว่า สุรา กี่ตัว
ขอบคุณข้อมูลเสริมอื่นๆด้วย