คำตอบที่ 5
ผักกูด (Diplazium esculentum(Retz.) Swartz)
ผักกูดเป็นผักพื้นบ้าน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ อย่างเช่น ใบอ่อน และช่ออ่อน นำมาแกงได้ แกงกับปลาสด แกงแคร่วมกับผักชนิดต่างๆ และนำมาลวกหรือสดก็ได้นำมา เพื่อรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกแดง น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู หรือแม้กระทั่ง น้ำพริกถั่ว (น้ำพริกเจ) และอีกมากมาย แล้วแต่บางคนจะดัดแปลงเป็นเมนูอะไร แต่ตอนนี้ตามร้านอาหารดังๆ ยังมีเมนู ยำผักกูด ให้สั่งมารับประทานอีกด้วยค่ะ
ผักกูด (ผักสมุนไพร)
ชี่อท้องถิ่น : ผักกูดขาว(เชียงใหม่) ผักกูด (กลาง)
ลักษณะ : ต้น เป็นไม้จำพวกเฟิร์น เป็นเหง้าตั้งตรง สูงมากกว่า 1 เมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มขอบดำ ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดต่างกัน มักยาวกว่า 1เมตร ก้านใบยาว70 ซ.ม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่าง มักลดขนาด ปลายเรียวแหลมโคนรูปกึ่งหัวใจ หรือรูปติ่งหู ขอบหยักเว้าลึกเป็นแฉก เกือบกึ่งเส้นกลาง ใบย่อย แฉกปลายมน ขอบหยักซี่ฟันแผ่นใบบาง กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมกับกลุ่มอับสปอร์ ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ้งมีเส้นใบมาสานกัน จะขยายพันธุ์ด้วยสปอร์และเหง้า ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์จะเป็นฤดูฝน
สภาพแวคล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นหนาแน่นตามชายป่ามีแดดส่องถึง ตามบริเวณลำธารหรือบริเวณต้นน้ำ ปลูกได้ตามชายคลอง ห้วยหนองต้นจะแห้งเฉาในฤดูแล้ง และแตกหน่อใหม่่ในฤดูฝน ผักกูดชอบความชื้นสูง บริเวณดินแฉะ
สรรพคุณทางยา : ใบ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ