จาก ไม่แหลม IP:124.122.127.209
จันทร์ที่ , 4/11/2556
เวลา : 13:46
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
ปีใหม่นี้ขับ80 เที่ยวดอยกันเถอะครับ
อย่าว่าเอามะพ้าวมาขายสวนนะ เอามาเล่าให้ฟังเผื่อสมาชิกใหม่ครับ
ที่จริงแล้วเคยแชร์ประสบการณ์80ขึ้นดอยมาหนนึงเมื่อนานมาแล้ว กะว่าจะขุดของเดิมออกมาหากินก็ดันหาไม่เจอซะ จุดประสงค์ก็เพื่อแบ่งปันความรู้สึกที่ได้ใช้ รถคลาสสิคที่ใช้งานได้จริง โดยเฉพาะในการท่องเที่ยวที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางไกลนานๆ ในหลายสภาพถนน พร้อมทั้งสัมภาระทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างภาระให้พี่ล่ำอยากมากมาย ทั้งๆที่อายุอานามของพี่ล่ำนั้นก็มากโขอยู่ ใหม่สุดก็ปี1997 ซัดไป16-17ปีแล้ว ถ้าเป็นเก๋งยอดนิยมก็เปลี่ยนรุ่นกันไป4-5รุ่นแล้ว แต่ลูกหลานตระกูล เรือสำราญบนพื้นดิน รุ่นใหญ่เพิ่งจะ2-3รุ่นเท่านั้นเอง ถ้านับกันจริงจัง บอดี้80นั้นออกมาโลดแล่นตั้งแต่แถวๆ1991ปู๊นนนนน เกินกว่ายี่สิบปีทีเดียว
ที่กล่าวถึงอายุรถก็เพราะ แม้นว่าเราจะดูแลสุขภาพ80ดีเพียงใดก็ตาม ควรพึงนึกถึงอายุโดยรวมของรถด้วยว่ามันไม่ใช่รถใหม่ที่ฟิตปึ๋งปั๋ง ที่จะรองรับอารมณ์เราได้เหมือนของใหม่ๆ อาศัยว่าวิศวกรคงจะออกแบบ80เผื่อโอเวอร์โหลดสำหรับเส้นทางทุรกันดารมาแบบเต็มเหนี่ยว อะไรต่อมิอะไรจึงทนทรหดมากๆ เรียกว่าใช้งานกันจนลืมเปลี่ยนรถกันเลยทีเดียวเชียว แต่ก็หมายถึงเราต้องหมั่นดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยนะครับ โดยเฉพาะสำหรับการเดินทางมี่ยาวนานกว่าสภาวะปกติ เช่น การขึ้นดอยในฤดูท่องเที่ยวเป็นต้น
เนื่องจากผมใช้รถเยอะ และมีภารกิจต้องเดินทางต่างจังหวัดบ่อยๆ ภาคเหนือก็ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้รถมาหลายคันรวมแล้วมากกว่าล้านกิโลเมตร ติดใจ80ที่สุดเพราะความสะดวกสบายแบบซื้อมาใช้โดยไม่ต้องเสียดายรถ(มากนัก) เพราะราคาไม่แพง(เกินไป) แม้ว่าจะสูงกว่าพรรคพวกยี่ห้ออื่นพิกัดเดียวกันบ้างเพราะความนิยมและความน่าเชื่อถือ ก็ถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคา ที่จะลุยน้ำท่วมระดับเมตรแบบเฉยๆโดยไม่ต้องพึ่งพาสน็อคเกิล(ยก2"ยาง285นะจ๊ะ) ลงร่องคูทุรกันดารและไต่เนินชันอย่างมั่นใจด้วยดิฟล็อคหน้าหลัง ช่วยลากเพื่อนร่วมทางที่พลาดท่าขึ้นมาจากข้างทางได้แบบง่ายๆ ฯลฯ เรียกว่าพร้อมทุกสถาณการณ์มากกว่ารถอื่นๆเยอะในราคาเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม พี่ล่ำก็มีจุดอ่อนสำคัญอยู่อย่างนึงก็คือ น้ำหนักตัวระดับสองตันครึ่ง บางครั้งรวมอุปกรณ์ตกแต่งและสัมภาระอาจไปถึงสามตันเชียวครับ ครั้งนึงผมบรรทุก 8 คนกับถาดหลังคาขนาดสองเมตรบรรทุกเต็มขึ้นภูชี้ฟ้า ก็ร่วม3ตันด้วยเฟืองท้ายเดิมๆ10/41 ยาง285/75/16ยก2นิ้ว กันชนหน้าARB+Warn9500i ท้ายมีถังLPGขนาด100ลิตร ลากเรือ ปากนกแก้ว จำได้ว่าเติมลมไป45psi เพราะน้ำหนักเยอะๆแบบนี้ ถ้าแก้มยางย่นมากๆ การควบคุมรถจะยาก ทางลดเลี้ยวเคี้ยวคดบนดอยอาจพาให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ คุณภาพยางควรสมบูรณ์ ไม่มีรอยฉีกขาดบนแก้มยางเด็ดขาด เพราะระหว่างเดินทาง ยางจะรับภาระการหมุนเมื่อเร่ง การกระแทกเมื่อตกหลุม การบิดตัวเมื่อเลี้ยวรถ การเบรกเมื่อชะลอรถ ฯลฯ อย่างหนักหน่วงมากกว่าการใช้งานปกติหลายเท่าตัวครับ ไม่ควรฝืนใช้ยางที่แก้มยางเริ่มแตกลายงาแล้วโดยเด็ดขาดเพราะยางอาจระเบิดจากภาระที่หนักเกินปกติได้ทุกเมื่อ
.ผมเคยมาแล้วครับ.......... ฟอร์จูนเนอร์ คน2คนบรรทุกสัมภาระซัก 100 กก. กับยางโรงงานอายุ3ปี ไมล์6หมื่นกม. ไม่เคยปะ ยางหลังซ้ายระเบิดตอนพ้นจากเขาช่วงลำปางเข้าเชียงใหม่ โดยก่อนหน้านั้นซักครึ่งชั่วโมง มีการเบรกแรงๆ2ครั้ง เชื่อว่ายางตำแหน่งนี้เปราะที่สุดเพราะมักจะเกยฟุตบาทตอนเลี้ยวไม่พ้นอยู่บ่อยๆ ได้ยินเสียงกุกกักกุกกักมาจากด้านหลังครับ และดังขึ้นเรื่อยๆจากผิวยางด้านนอกที่ร่อนออกจากโครงยาง มองกระจกข้างด้านซ้ายเห็นเศษยางกำลังร่อนกระจุยจะจะคาตา ไม่เกิน5-10วินาที ก็มีเสียงลมรั่วและรถเสียหลักนิดหน่อย ผมปล่อยไหลเข้าข้างทางทันทีครับ อย่าแตะเบรกเด็ดขาด โชคดีทีหลุดจากช่วงเขามาแล้ว ไม่งั้นมีลุ้นแน่ๆ ขากลับต้องหาซื้อยางเปลี่ยน4เส้นเลยครับ บรื้อส์ส์ส์สสสส
น้ำมันเครื่องน้ำมันเกียร์ออโต้ เกียร์ทรานสเฟอร์ น้ำมันเบรก น้ำมันเพาเวอร์ น้ำมันเฟืองท้าย น้ำหม้อน้ำ ถ้าเว้นระยะการเปลี่ยนถ่ายมานานควรจัดเต็มครับ สำหรับรถที่ติดแก๊สต้องดูข้อต่อของน้ำที่ถูกเอาไปใช้ในระบบแก๊สด้วย เพราะลำพังข้อต่อน้ำหล่อเย็นที่ออกจากโรงงานนั้นจะมั่นคงแข็งแรงดีอยู่แล้ว แต่ระบบแก๊สที่เราติดตั้งเพิ่มเข้าไปมันอาจจะมีข้อผิดพลาดได้บ้าง จากช่างที่ไม่รอบคอบ หรืออุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ข้อต่อที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ประเภทแข็งแต่ไม่เหนียวเช่นไฟเบอร์ มันอาจจะเก่า กรอบและแตกรั่วได้ จึงควรจัดการซะก่อนเดินทาง
....................ผมเคยมาแล้วครับ...............ขับรถอยู่ดีดี รู้สึกกำลังตก เหลือบมองเกจ์ความร้อน ขึ้นซะสุดเชียว ยกคันเร่งเข้าข้างทางได้แป๊ปเดียว เครื่องก็ดับ เปิดกระโปรงเจอสามทางระบบน้ำของแก๊สแตก น้ำรั่ว ถอดออกมาดู มันเป็นไฟเบอร์แฮะ ไปหาเทียบซื้อได้แบบเป็นเหล็กชุบซิงค์มาเปลี่ยน เสร็จแล้วก็ขอน้ำประปาที่ร้านข้างทางมาเติมจนเต็มปรี่ เปิดฝาหม้อน้ำและหม้อพัก สตาร์ทเครื่องเปิดแอร์ จนน้ำหมุนเข้าไปจนเต็มระบบ เติมน้ำเพิ่มเข้าไปอีกแล้วก็สังเกตดูว่าฟองอากาศลูกใหญ่ๆที่ออกมาจากปากหม้อน้ำเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ก็เติมน้ำเพิ่มเข้าไปจนเต็ม พร้อมกับเอาน้ำใส่ขวดใสให้เต็มมาคว่ำลงในช่องเติมน้ำ เพื่อสังเกตว่ามีอากาศออกมาจากระบบหมดแล้ว คืออากาศในท่อทางต่างๆจะหลุดออกมาแทนที่น้ำในขวดใส จากนั้นอย่าลืมปิดฝาหม้อน้ำและหม้อพักนะครับ น้ำที่เราเติมไปจนเต็มมันจะเยอะเกินจะถูกดันออกมาระหว่างที่ใช้งานเองครับ พอถึงที่ทำงานก็ถ่ายน้ำออกเอาน้ำกินแบบเป็นถังคูลเลอร์ใส่แทน เพราะเชื่อโดยส่วนตัวว่าในน้ำประปามันน่าจะมีพวกแร่ธาตุที่ก่อให้เกิดตะกรันหม้อน้ำและสนิม ถูกผิดยังไงไม่ทราบแน่ชัด แต่ปฏิบัติแบบนี้มา3-4คันแล้วครับ
เรื่องน้ำหล่อเย็นพร่อง ยังมีเรื่องเล่าครับ
หลายๆท่านคงเคยเห็นสนิมในหม้อน้ำมาแล้ว บางคันข้นคลั่กเลยทีเดียว สาเหตุก็เพราะน้ำกะเหล็กมันจู๋จี๋กันออกลูกหลานมาเป็นสนิมนั่นเองครับ ท่อทางเดินเล็กๆในเครื่องและหม้อน้ำจึงมีคราบสนิมเกาะหรือจนถึงขั้นบวมขวางทางได้เลยนะครับ วันดีคืนร้ายก็หลุดออกมาเสนอหน้าให้เห็นนั่นแหละ เราต้องคุมกำเนิดด้วยการใช้น้ำยากันสนิมครับ เค้ามักจะผสมลงไปในน้ำยาหล่อเย็นนั่นแหละ ถ้าเป็นของตระกูลพี่โต(โยต้า)และน้องเล็ก(ซัส)มักจะเป็นสีน้ำตาลๆครับผมว่าคงเหมาะสมดีแล้วเพราะใช้มานานหลายรุ่น ถ้าสะดวกจะใช้สีเขียวสะท้อนแสงก็มีข้อดีตรงสังเกตรอยรั่วได้ง่าย ส่วนใหญ่ผมจะใช้ตอนตรวจพบว่าน้ำพร่องแล้วหารอยรั่วไม่ถนัด เพราะถ้ามันรั่วน้อยๆแบบว่าวิ่งไป2-3พันกิโล น้ำหายไปแค่ถ้วยกาแฟเดียวหรือครึ่งขวดน้ำขวดเล็ก แสดงว่ารั่วแค่ตามด บางคนบอกแค่จิ๋มมด(แบบหกขานะ ถ้ามดสองขาใหญ่กว่ามว๊ากกก) ซึมออกมาเจอความร้อนในห้องเครื่องก็ระเหยหายไปหมดไม่ทันจะเป็นคราบให้CSIสืบร่องรอย พอเราดับเครื่องแรงดันที่จะดันน้ำออกมาได้ก็ไม่มี หาต้นตอยาก ฉะนั้นจึงอาจจะต้องหาสาเหตุตอนที่วิ่งใช้งานมาซักระยะแล้วจอดหาร่องรอยโดยไม่ต้องดับเครื่องครับ อาศัยไฟฉายช่วยอีกแรงก็จะหาง่ายขึ้น หรือถ้าเห็นคราบเขียวก็จะสังเกตเห็นชัดขึ้นโดยไม่ต้องเดา
ผลของน้ำพร่องนั้นยังมีอีกหลายประการครับ หลักๆสำคัญนั้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์แล้วยังส่งผลไปยังเกียร์และระบบแก๊สและระบบแอร์ด้วย ในส่วนของเครื่องยนต์นั้นคงรู้ๆกันอยู่แล้ว ว่าเครื่องมีความร้อนจะถูกลดความร้อนด้วยน้ำมันเครื่องส่วนนึง ที่เหลือก็จะเป็นหน้าที่ของระบบน้ำหล่อเย็น ถ้าน้ำก็เต็มระบบดีแล้ว พัดลมหน้าเครื่องกับพัดลมไฟฟ้าหน้ารังผึ้งแอร์ก็แรงดีแล้ว เครื่องยนต์ เกียร์และแอร์ก็จะทำงานปกติได้โดยไม่มีปัญหา ในเรื่องเกียร์นั้นก็มีน้ำมันเกียร์มาช่วยระบายความร้อนแล้วก็อาศัยผ่านท่อเข้าไประบายความร้อนให้กับหม้อน้ำอีกทีนึง ถ้าน้ำในหม้อน้ำพร่อง น้ำมันเกียร์ก็จะระบายความร้อนออกไปได้ไม่เต็มที่ หากเราขับรถที่รอบสูงต่อเนื่องจนน้ำมันเกียร์ระบายความร้อนออกไปไม่ทันก็อาจจะมีไฟสัญญาณA/T Oil Temp โชว์เตือนก่อน
..............ผมเคยมาแล้วครับ....................จากเดิมที่ใช้เฟืองท้ายเดิมติดรถ 10/41 เจอยางใหญ่ๆไซส์หล่อๆ285/75/16เข้าไป การเร่งก็อืดๆ ประกอบกับอายุเริ่มเยอะใจเย็นขึ้นแยะ การขับรถก็สบายๆไปเรื่อยๆ100-110 มีแถวยาวเราก็ต่อคิว(เพราะไม่มีปัญญาเร่งแซงอ่ะดิ) แต่หลังจากเปลี่ยนเฟือง 9/41เข้าไปใหม่ๆ อัตราเร่งมันดีขึ้นผิดหูผิดตาจนลืมอายุแล้วช่วงนั้นก็ต้องใช้รถทำงานหลายแห่งต้องวิ่งทำเวลาอยู่เรื่อย ทีนี้เลยขับสนุกใหญ่เลย ทั้งลากเกียร์แซงทั้งแช่130-140บ่อยๆนานๆต่อเนื่องหลายสิบนาทีถึงเป็นชั่วโมง จนไฟที่ว่าโชว์แดงแปร๊ดดด พอลดความเร็วลงมาเป็นคนแก่เหมือนเดิมตามอายุ ไฟสัญญาณก็ดับไป โทรถามหมอป้อมเบื้องต้นแกให้ดูระดับน้ำก่อน ก็ได้เรื่องเพราะน้ำขาดไปเป็นขวดลิตรเลย
แล้วน้ำพร่องโดยไม่มีรอยรั่วหล่ะ อันนี้แม้ว่าเครื่องยนต์จะสมบูรณ์ไม่มีปัญหาเรื่องฝาสูบโก่งหรือปะเก็นฝาสูบรั่วก็ยังมีอีกสาเหตุนึงเกิดขึ้นได้แบบเข็มขัดสั้นครับ นั่นคือน้ำมันเครื่องขาด ทั้งๆที่เพิ่งจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องไปไม่นานแถมเล่นแบบสังเคราะห์สรรพคุณใช้ได้นานเกินหมื่นกิโลเมตร แต่ปรากฏว่าดันไปใช้เบอร์ใสเกินไปคือพวกW30 ที่พวกรถรุ่นใหม่เค้าใช้กัน ปู่80ของพวกเรามันต้อง40-50Wเหนียวๆหนืดๆหน่อยครับ เพราะเป็นเมืองร้อนและชิ้นส่วนโลว์เทคมันมีช่องว่างเยอะกว่าพวกรุ่นใหม่คอมมอนเรลฟิตเปรี๊ยะ พอใส่เบอร์ใส มันก็รั่วลอดเข้าไปเผาไหม้ทีละน้อยจนเราไม่สังเกตเห็นควันขาวๆออกท่อ พอใช้ไปซักห้าพันโลหมื่นโล ชักก้านออกมาดูปรากฎว่าหายไปเป็นลิตรเพราะเป็นช่วงเฟืองใหม่ขับมันส์เกินไปนั่นเอง เอาแกลลอนที่เหลือครึ่งลิตรมาดูจึงถึงบางอ้อ เพราะรถเราใช้น้ำมันเครื่อง 7.5 ลิตร ซื้อขนาด4ลิตร2แกลลอน ก็เลยเหลือติดรถไว้พิสูจน์ได้ คือพอน้ำมันเครื่องน้อยเกินไป การระบายความร้อนก็ไม่เต็มที่ เหลือมาให้น้ำช่วยระบายความใคร่ เอ๊ยยย ความร้อนเยอะไปหน่อย แรงดันน้ำเลยเยอะดันออกมาตาม ตามดจิ๋มมดที่ว่ามาได้ หรือบางทีฝาหม้อน้ำเก่าไม่เคยเปลี่ยนเลยตั้งแต่คลอดออกมาจากโรงงาน สปริงดันปากรูก็เลยล้าจนสู้แรงดันน้ำไม่ไหว พอมีการเผยอหน่อยน้ำก็รั่วลอดออกมา น้ำก็เลยยิ่งเดือดง่ายขึ้นตามหลักแรงดันต่ำจุดเดือดต่ำที่อาจารย์ฟิสิกส์เคยสอนไว้ ถ้าฝาปิดสนิทแรงดันจะสูงจุดเดือดสูง น้ำก็จะเดือดยากขึ้นอีกหน่อยกรณีนี้จึงต้องดูฝาหม้อน้ำที่สุขภาพดีสปริงเด้งปึ๋งปั๋งอยู่เสมอ ไม่อ่อนปวกเปียกเหมือนเจ้าของรถ สนนราคาไม่กี่ร้อยบาท
ยังครับยังไม่จบคดีน้ำพร่อง ประเด็นนี้สำหรับพวกรถติดแก๊สLPGโดยเฉพาะครับ คือก่อนจะส่งแก๊สเข้าเครื่องยนต์แก๊สจะอยู่ในสถานะของเหลว จึงจะต้องมีการเพิ่มแรงดันแก๊สโดยดึงความร้อนจากระบบน้ำหล่อเย็นไปใช้ ให้น้ำแก๊สLPGกลายเป็นสถานะเป็นไอ เพื่อให้ระบบทำงานทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันได้สมบูรณ์ เวลาเราสตาร์ทรถนั้น ระบบควบคุมจะสั่งให้เครื่องใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงก่อน ซักพักนึงหรือเมื่อเครื่องเริ่มร้อน หรือเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงถึงระดับที่ตั้งเอาไว้ หรือนั่นคือเมื่อLPGอยู่ในสถานะเป็นไอพร้อมจะส่งเข้าเป็นเชื้อเพลิง เงื่อนไขเหล่านี้ผู้ติดตั้งจะจัดการตามความรู้หรือตามความต้องการของเจ้าของรถ อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรมของแต่ละยี่ห้อด้วยด้วย
ปัญหาที่ผมเคยพบอยู่หลายครั้งมีอยู่ว่า หลังจากสตาร์ทเครื่องติดด้วยน้ำมันแล้วนั้น ระบบมันเปลี่ยนเป็นLPGช้ากว่าปกติ คือรถวิ่งได้ซักพักนึงจนเข็มความร้อนขึ้นแล้ว เบิ้ลคันเร่งให้รอบถึงก็แล้ว ไหง๋มันยังใช้น้ำมันอยู่นั่นแหละ ส่วนใหญ่จะพบว่าน้ำในระบบหล่อเย็นพร่องจนแบ่งไปใช้กับระบบแก๊สไม่พอครับ เซ็นเซอร์หรือตัวที่จะส่งสัญญาณไปให้ระบบสั่งจึงไม่ส่งสัญญาณซักที ถ้าเจอแบบนี้ก็ขอให้ลองตรวจเช็คน้ำได้เลย มีโอกาสเจอผู้ต้องหาครับ กรณีนี้จะคล้ายกันกับบางครั้งเครื่องฮีทจนดับแต่เข็มความร้อนความรู้สึกช้า คือถ้าน้ำรั่วออกอย่างรวดเร็ว เข็มยังไม่ทันจะได้รับคำสั่งให้ชี้ขึ้น น้ำก็แทบจะแห้งแล้ว พอเข็มเริ่มจะกระดิก เครื่องก็ชิงดับไปซะก่อน
แค่เรื่องน้ำพร่องเรื่องเดียว มันบานปลาย ปลายบานให้ผมมีเรื่องมาโม้ได้เพียบเลย
อ้อ รู้สึกจะพลาดเรื่องสำคัญไปอีกเรื่องครับ เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำพร่องอยู่เหมือนกัน มันคือพัดลมครับ 80ของเราจะมีอยู่2ตัว คือพัดลมหน้าเครื่องและพัดลมไฟฟ้าหน้ารังผึ้งแอร์ ทั้งสองตัวมีส่วนเสริมในเรื่องการระบายความร้อนครับ คือพัดลมหน้าเครื่องจะดูดเอาความร้อนออกจากหม้อน้ำ ส่วนพัดลมหน้าตู้แอร์จะดูดอากาศเย็นจากหน้ารถเป่าเข้ารังผึ้งแอร์ รถสูงวัยอย่าง80 เล่นกันพื้นๆง่ายๆครับ เราต้องตรวจสอบว่าทั้งสองตัวทำงานได้ดีรึป่าว? พัดแรงแค่ไหน? บางท่านอาจจะงงว่าจะรู้ได้ไงฟร่ะ? เอาเป็นว่าลองดูละกันครับ เพราะตอบเป็นตัวหนังสือก็อาจคลาดเคลื่อนได้ ตอนรถจอดไม่ต้องสตาร์ทเครื่องนะครับ ลองเอามือหมุนพัดลมหน้าเครื่องดูว่ามันหนืดๆรึเปล่า หนืดแบบตึงๆมืออ่ะครับ ถ้าต้องออกแรงละก็ใช้ได้ แต่ถ้าหมุนง่ายก็ต้องเอาไปเติมน้ำยาฟรีครัช ไม่กี่ตังค์ครับ เวลาสตาร์ทเครื่องแล้วเอามืออังดูก็พอรู้ครับ แต่อังห่างๆนะ เดี๋ยวจะพลาดพลั้งโดนนิ้วอดใช้เขี่ยอะไรเล่นไปหลายวัน ส่วนพัดลมไฟฟ้าหน้ารังผึ้งแอร์ก็เปรียบเทียบกับพัดลมตั้งโต๊ะที่บ้านนั่นแหละครับ ถ้าหมุนแล้วดังอู้ๆวู้ๆก็ใช้ได้ แต่ถ้าดูเอื่อยๆ ก็ถอดออกไปหาเทียบได้เลย เยอะแยะ เอามาเฉพาะมอเตอร์หรือทั้งโครงพัดลมก็ได้ครับ ถ้ารู้สึกว่าเวลารถติดๆแล้วแอร์เย็นไม่ฉ่ำ นอกจากน้ำยาแอร์อาจจะพร่อง ก็ลองตรวจสอบพัดลมทั้งสองตัวดูนะครับ หรือรถติดๆแล้วเข็มความร้อนสูงกว่าปกติก็สันนิษฐานได้ว่าน้ำพร่องเช่นกัน
เยี่ยมจริงๆประสบการณ์ล้วนๆ จาก : ปู่เฟืองจำปีคนเดิม(ปู่เฟืองจำปีคนเดิม) 4/11/2556 14:17:02 [124.120.120.227] |
พี่อรรถครับ กดใช้เกียร์2 ใช้ความเร็วเท่าไหร่ครับ กดใช้เกียร์ L ใช้ความเร็วเท่าไหร่ครับ จาก : KOVX80(KOVX80) 17/11/2556 14:17:33 [58.8.171.89] |
โห....ไม่เคยเห็นป๋าอรรถ จะเขียนอะไรมากมายขนาดนี้เลย....นับถือ ๆ จาก : Supermop(Supermop) 15/1/2557 13:44:57 [58.8.25.114] |
แสดงความคิดเห็นย่อย
|
|