คำตอบที่ 37
http://www.internetfreedom.us/showthread.php?tid=12334
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม...
สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดยังคงน่าเป็นห่วง สาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้ เนื่องจากเกิดภาวะฝนตกหนัก ติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้าขั้นวิกฤติ มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บไว้ได้ และจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อน ทำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนทางภาคเหนือไหลลงมายังแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับช่วงวันที่ 23-26 ตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุน ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้กรุงเทพฯ จมอยู่ใต้บาดาลได้
สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด คือ รัชดาภิเษก ลาดพร้าว บางนา ศรีนครินทร์ ส่วนพื้นที่เสี่ยงหลังแม่น้ำเหนือไหลทะลักลงมากรุงเทพฯ คือ ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหหาสวัสดิ์ ทั้งหมด 13 เขต ดังนี้
1. เขตบางซื่อ ได้แก่ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหญ่
2. เขตดุสิต ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 13) และชุมชนวัดเทวราชกุญชร (ถนนศรีอยุธยา)
3. เขตพระนคร ได้แก่ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน
4. เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดิ์) และชุมชนตลาดน้อย
5. เขตบางคอแหลม ได้แก่ ชุมชนวัดบางโคล่นอกชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์และชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
6. เขตยานนาวา ได้แก่ ชุมชนโรงสี (ถนนพระราม 3)
7. เขตคลองเตย ได้แก่ ชุมชนสวนไทรริมคลอง พระโขนง
8. เขตบางพลัด ได้แก่ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว
9. เขตบางกอกน้อย ได้แก่ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนครอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่
10. เขตธนบุรี ได้แก่ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่
11. เขตคลองสาน ได้แก่ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2
12. เขตราษฎร์บูรณะ ได้แก่ ชุมชนดาวคะนอง
13. เขตทวีวัฒนา ได้แก่ ชุมชนวัดปรุณาวาส
ขณะที่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจการเรียงกระสอบทราย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนทรงวาด และตรวจงานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม ริมคลองบางกอกน้อย บริเวณชุมชนสันติชนสงเคราะห์ พร้อมระบุว่า กรุงเทพฯ มีความพร้อมเต็มที่ในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมชลประทาน ได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 รวม 3,655 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากแนวป้องกันน้ำท่วมที่มีอยู่ สามารถรับน้ำได้ที่ระดับความสูงประมาณ 2.5 เมตร จากระดับน้ำทะเล และจากการตรวจวัดปริมาณน้ำ ในช่วงเช้ามีความสูงประมาณ 1.5 เมตร ยังสามารถรับน้ำเพิ่มได้อีก 1 เมตร โดยโครงการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวรวม 77 กิโลเมตร ก่อสร้างเสร็จแล้วกว่า 75 กิโลเมตร
ส่วนที่เหลือคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554 โดยจุดที่ยังไม่เสร็จทางกรุงเทพฯ ได้นำกระสอบทรายกว่า 2 แสนใบ มาวางเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวที่ความสูง 2.5 เมตร เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งเตรียมเครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ได้เตรียมเวชภัณฑ์ ยา และสถานที่พักชั่วคราว บรรเทาความเดือดร้อน ให้ประชาชนหากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม จากการพยากรณ์อากาศและคาดการสถานการณ์น้ำ ในระหว่างวันที่ 26 - 27 ต.ค. คาดว่า จะมีน้ำเหนือไหลบ่าและน้ำทะเลหนุนสูง จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่เชื่อว่ายังสามารถรับมือได้
ล่าสุด ผอ.สำนักระบาดวิทยา ได้ออกมาเตือนประชาชนลงเล่นน้ำท่วม หวั่นติดเชื้อที่มากับน้ำ หรืออุบัติเหตุ อาทิ ตาแดง จมน้ำ ไฟฟ้าดูด
20.24 น้ำทะเลหนุน เริ่มท่วมบ้านชาวบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่า 1.95 เมตรแล้ว นนทบุรี เริ่มประสบอุทกภัยหนักแล้ว
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โทร.1555 และ 0 2248 5115 ตลอด 24 ชั่วโมง
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24
การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม
1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
13. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
14. เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
15. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
16. หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง ๆ