คำตอบที่ 9
ขออภัยด้วยครับ
ต้นตอข่าวลือไม่ได้มาจากไหน แต่มันวนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ที่มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ต้องอาศัยวิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสารของผู้อ่าน ต้นฉบับของข่าวลือเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เริ่มแพร่กระจายเมื่อราวกลางปี 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุด
The Red Planet is about to be spectacular! This month and next, Earth is catching up with Mars in an encounter that will culminate in the closest approach between the two planets in recorded history. The next time Mars may come this close is in 2287. Due to the way Jupiter's gravity tugs on Mars and perturbs its orbit, astronomers can only be certain that Mars has not come this close to Earth in the Last 5,000 years, but it may be as long as 60,000 years before it happens again.
The encounter will culminate on August 27th when Mars comes to within 34,649,589 miles of Earth and will be (next to the moon) the brightest object in the night sky. It will attain a magnitude of -2.9 and will appear 25.11 arc seconds wide. At a modest 75-power magnification Mars will look as large as the full moon to the naked eye. Mars will be easy to spot. At the beginning of August it will rise in the east at 10p.m. and reach its azimuth at about 3 a.m.
By the end of August when the two planets are closest, Mars will rise at nightfall and reach its highest point in the sky at 12:30 a.m. That's pretty convenient to see something that no human being has seen in recorded history. So, mark your calendar at the beginning of August to see Mars grow progressively brighter and brighter throughout the month. Share this with your children and grandchildren. NO ONE ALIVE TODAY WILL EVER SEE THIS AGAIN
เนื้อหาโดยสรุปกล่าวว่าวันที่ 27 สิงหาคม ดาวอังคารจะใกล้โลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จะเห็นดาวอังคารมีขนาดเท่าดวงจันทร์เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายเพียง 75 เท่า
ในขณะนั้นเนื้อหาของข้อความล้วนเป็นข้อเท็จจริง มิได้มีส่วนใดกล่าวเกินจริง แต่การส่งต่อข้อความโดยอาจมีการตัดทอนบางส่วนออก การตัดข้อความบรรทัดเดียวกันแยกเป็นสองส่วน ผู้อ่านอาจไม่มีความรู้ในศัพท์เทคนิคทางดาราศาสตร์มากพอ การสื่อสารผิดพลาด หรือด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ทำให้ข้อความเหล่านั้นถูกบิดเบือน กลายเป็นว่าดาวอังคารจะใกล้โลกมากจนดูเหมือนเห็นดวงจันทร์สองดวง
การที่เนื้อหาในจดหมายดังกล่าวไม่ระบุปีที่ดาวอังคารใกล้โลก มันจึงถูกส่งต่อทางอีเมลอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วรวมทั้งปีนี้ โดยเฉพาะข้อความที่ชวนให้ตื่นเต้นว่าเราจะมีโอกาสเห็นดาวอังคารใหญ่เท่าดวงจันทร์ ในประเทศไทยเองก็มีผู้หวังดีสร้างไฟล์พรีเซนเทชันนำเสนอเรื่องราวของข่าวที่ถูกบิดเบือนนี้ในภาคภาษาไทย โดยมีสมาชิกสมาคมฯ ส่งไฟล์ดังกล่าวสอบถามข้อเท็จจริงเข้ามาที่สมาคมฯ ผมจึงได้รู้ว่าในเมืองไทยเองก็ส่งต่อข่าวนี้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน จากข้อความเดิมที่ไม่มีส่วนใดผิดไปจากข้อเท็จจริงกลายเป็นข้อความที่ "ไม่มีแม้แต่ประโยคเดียวที่เป็นความจริง" ดาวอังคารไม่เคยและไม่มีวันที่จะเข้าใกล้โลกจนถึงกับมีขนาดใหญ่เท่าดวงจันทร์ ตำราดาราศาสตร์บอกเราว่าดาวอังคารมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6,792 กิโลเมตร ดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร ห่างจากโลกเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร อาศัยความรู้ตรีโกณมิติระดับมัธยมก็คำนวณได้ไม่ยากว่ามันจะมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่เท่าดวงจันทร์ก็ต่อเมื่ออยู่ห่างจากโลกเพียง 780,000 กิโลเมตร หรือไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 2 เท่า ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย และหากเป็นจริงแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจะทำให้ระดับน้ำในโลกสูงขึ้นอย่างมาก
เรื่องจริงของดาวอังคารใกล้โลก
โลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรเกือบเป็นวงกลม โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวอังคารจึงเคลื่อนที่เร็วกว่า เมื่อถึงจังหวะเวลาที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร มาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เราเรียกช่วงเวลานั้นว่าดาวอังคารกำลังอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ใช้โลกเป็นจุดอ้างอิง) และมักจะเป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดด้วย โดยเฉลี่ยดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุกๆ ประมาณ 2 ปีเศษ
ดาวอังคารไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลมสมบูรณ์แต่เป็นวงรีที่มีความรีเล็กน้อย ระยะห่างระหว่างดาวอังคารกับดวงอาทิตย์แปรผันอยู่ระหว่าง 207-249 ล้านกิโลเมตร แต่ละครั้งที่มันเข้าใกล้โลกจึงมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน (ดูภาพประกอบ) ดาวอังคารเคยเข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ขณะนั้นอยู่ห่าง 56 ล้านกิโลเมตร ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกในเดือนธันวาคม 2550 และ มกราคม 2553
ข้อมูลจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย - http://thaiastro.nectec.or.th