คำตอบที่ 73
fiogf49gjkf0d
ตะลอนตะลุยตะลุมพุก
สมัยก่อนบ้านเมืองเราใช้หอยเบี้ยจากทะเล เอามาสมมุติเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เกิดคำพูดเบี้ยน้อยหอยน้อยตามมาให้ลูกหลานพอหาฟังได้ในปัจจุบัน ก่อนที่หอยเบี้ยเหล่านั้นจะเปลี่ยนมาเป็นกระดาษในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เบี้ยซัดเป็นชื่อเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทยอันถูกโอบล้อมอีกฟากฝั่งด้วยผืนป่าสนที่ทอดยาวไปตามแหลมรูปเสี้ยวพระจันทร์ ชื่อ เมืองเบี้ยซัด คงจะหมายถึงอากัปกริยาอาการของทะเลที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยขึ้นมากองรวมกัน ราวปี พ.ศ.2544 ล้นเกล้ารัชกาลที่5 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ให้นามว่า อำเภอปากพัง
จะเหนือกลางอีสานใต้บักขี้ดื้อคนนี้ไปมาหาสู่ได้ทุกที่ครับท่านผู้อ่าน เมื่อไม่ช้านานนี้ผมขับรถลงแดนใต้อีกครั้งตามคำเชิญสหายแดนใต้นามลุงแหวง สุนทร กรดแก้วเพื่อไล่ตะลอนสนับสนุนการช่วยเหลือฟื้นฟูแผ่นดินด้ามขวานที่โดนมรสุมฤดูร้อนถล่มจนอ่วมอรทัยถ้วนหน้ากัน จากนั้นก็ขับรถตะลอนไปเรื่อยไม่สนใจใยดีอะไรกับใครคลื้มอกคลื้มใจอยากไปเหยียบแผ่นดินสุดปลายแหลม ที่ตะลุมพุกซึ่งเมื่อความก่อนครั้งโน้นเคยมาหนแต่ไม่ได้สนใจใยดีกับเมืองเล็กๆแห่งนี้ ทั้งที่มีเพื่อนรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่องค์กรเดียวกันถิ่นฐานบ้านช่องของพวกเขาอยู่ที่ลุ่มน้ำปากพนังแห่งนี้มีหลายคนเคยชวนผมลงมาเยี่ยมเยือนก็หลายครั้งหลายหน จนคราวนี้ผมลงมาโดยไม่ได้แจ้งเจ้าถิ่นด้วยได้อาศัยลุงแหวงสหายแดนใต้ใช้ภาษชนถิ่นฟังภาษากลางรู้นิดหน่อยเล่นเอาผมแทบเพี้ยนคอยให้การต้อนรับขับสู้ตามอัถตภาพที่พึงมีของเขา วันนี้นั่งเขียนต้นฉบับห้องแอร์เย็นฉ่ำที่ออฟฟิตในเมืองหลวงให้นึกถึงเรื่องราวของชาวบ้านที่ปากพนังครับท่านผู้อ่าน
เมืองปากพนังเมืองที่นกนางแอ่นยกพลขึ้นบกมายึดเอาตึกรามบ้านช่องของชาวบ้านที่นี่เป็นถิ่นที่อาศัยค่าเช่าสิ่งตอบแทนก็คือน้ำลายที่สำรอกออกมาเพื่อทำรัง แต่มนุษย์อย่างเราเสาะสรรหา ล่ำลือกันว่าที่ว่ากันว่ามีสรรพคุณมีประโยชน์กับผู้ห่วงใยสุขภาพกรอปกับมูลค่าตีราคาแปรเปลี่ยนเป็นสมบัติได้ เมื่อผลประโยชน์ลงตัวอะไรก็ง่ายไปหมด วันนี้เกิดมีธุรกิจรับเหมาสร้างบ้านให้นกนางแอ่นเกลื่อนเมืองลิกอร์หรือนครศรีธรรมราชครับท่านผู้อ่าน
สภาพบ้านเมืองร้านรวงถนนหนทางคับแคบผู้คนขวักไขว่ทำให้ผมไม่มีโอกาสลงเยี่ยมชมตลาดเมื่อพอหาที่จอดรถเก็บภาพสามสี่ภาพอุดหนุนแม่ค้า8กระป๋อง จึงออกเดินทางจากชุมชนที่ในอดีตเคยเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้าขายพ่อค้าวานิชล่องเรือตามแม่น้ำปากพนังกันมากมายจนปากอ่าวแทบแตก จุดหักเหเมื่อหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลง ไทยได้ทำสนธิสัญญาหลายฉบับกับชาติตะวันตกสิทธิ์ที่เคยพึงมีจึงถูกจำกัดหลายเรื่องรวมทั้งการปิดเมืองท่าต่างๆห้ามส่งสินค้าออกทำให้เมืองท่าแห่งนี้ซบเซามายาวนาน วันนี้ที่ผมมองเห็นหาได้เป็นเช่นเรื่องราวที่เล่าเลยเหตุเพราะพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยได้พระราชทานโครงการพระราชดำริต่างๆมาที่ลุ่มน้ำปากพนังแห่งนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นี่พลิกฟื้นคืนกลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเช่นวันวานที่หวานอยู่ ก่อนที่ผมจะดุ๊ยดุ่ยสู่ปลายแหลมตะลุมพุกครับท่านผู้อ่าน
แหลมตะลุมพุก แหลมทรายรูปทรงจันทร์เสี้ยวที่ยื่นไปในอ่าวไทย บริเวณตอนบนสุดของอำเภอปากพนัง ด้านที่ติดกับทะเลในหรืออ่าวนคร ผมแวะดูชมชุมชนชาวประมงวิถีชีวิตความเป็นอยู่หากสงสัยใคร่รู้ก็สอบถามเอาจากสหายแดนใต้ผู้ที่ไม่เคยย่างกรายออกนอกจากพื้นที่เมืองลิกอร์เลยซักครั้งถามคำตอบคำด้วยภาษถิ่นพอกระดกกระป๋องที่ห้าลงคอเสียงมาโซดาหมดทันที สภาพพื้นที่โดยรวมส่วนใหญ่ด้านอ่าวไทยเป็นหาดทรายยาวขนานไปกับทิวสนลมแรงทรายขาวหยอกเหย้ากับฟองคลื่นจากทะเล สถานที่ท่องเที่ยวย่อมมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก อาหารทะเลแปรรูป ร้านอาหารริมหาด ผมแวะชิมอาหารทะเลสดๆ กับบรรยากาศชิวๆสบายๆชายทะเลเติมพลังหมดโซดาไปอีก6ขวดก่อนที่จะขับมุดป่าสนผ่านหน่วยพิทักษ์ป่าปลายสุดแหลมมองเห็นฝูงวัวแดงฝูงใหญ่หลายฝูงเดินเล็มหญ้าทั่วหน่วยพิทักษ์ป่าให้นึกถึงวลีหญ้าติดปากมันเห็นภาพชัดขึ้นช่างสรรหามาล้อเลียนกันจริงๆนะมนุษย์นะ
ลัดเลาะตามเส้นทางในป่าสนมาเรื่อยสิ้นสุดตรงผืนทรายจรดปลายน้ำข้างหน้าตรงนี้แหล่ะครับท่านผู้อ่านคือปลายแหลมตะลุมพุกคนที่นี่ลมแรงฝนมาพวกเขาจะรีบเผ่นคงยังเข็ดขยาดกับเรื่องราวที่เจ้า แฮเรียต ได้ก่อวีรกรรมสร้างไว้ เมื่อ 25 ตุลาคม 2505 ว่ากันว่าพายุหมุนปั่นติ้วรอบตัวเองด้วยความเร็วเกือบ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมุนควงเป็นโดนัทลูกใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางคลุมพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชทั้งจังหวัด ความสูงของโดนัทลมร่วม 100 เมตรหมุนหอบเอาน้ำทะเลคลื่นสูงมากกว่า 20 เมตร ยกขโยงหกโมงเย็นกว่าๆยกพลขึ้นบกเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว 92 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าโจมตีเมืองลิกอร์ความซวยมาเยือนชาวบ้านตะลุมพุกอย่างจั๋งหนับเพราะปลายวงรอบหมุนของเจ้าแฮเรียตมันดันหอบเอาน้ำทะเลสาดทับถาถมใส่ผู้คนบ้านช่องพอดี และพี่น้องชาวแหลมตะลุมพุกต้องพบกับดับเบิ้ลความพอดีอีกรอบตอนวงรอบหมุนขึ้นบก ทะลึ่งหมุนกลับมากวาดต้อนเอาบ้านช่องเรือนชานผู้คนหมุนวนลงทะเลไปจมหายล้มตายมากมายก่ายกองในคราวนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนน้ำใจการเสียสละของพี่น้องร่วมชาติต่างระดมกันเข้าช่วยเหลือความเสียประมาณค่าในสมัยนั้นมากถึง 377 ล้านบาท และเป็นจุดเริ่มต้นของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ นี้คือเรื่องราวของแหลมตะลุมพุกที่วันนี้มองเห็นน้ำห่างออกจากฝั่งไปเรื่อยๆเหมือนทะเลแล้งจะเป็นด้วยเหตุผลกลใดยังเป็นที่โจทย์ขานกันอยู่
มืดค่ำผมออกจากปลายแหลมตะลุมพุก ลาเมืองปากพนังเพื่อขึ้นมาสมทบกับขบวนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีก่อนที่จะกลับมาสัมมาชีพที่เมืองหลวงทิ้งเรื่องราวลุ่มน้ำปากพนังสายน้ำที่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลจากใต้ขึ้นเหนือก่อนที่จะเบนสายเทลงทะเลฝั่งอ่าวนครศรีธรรมราช ขนานนามว่า ปากพนัง เรื่องราวยังฝังใจของผู้คน