คำตอบที่ 33
fiogf49gjkf0d
ประเทศมีน้ำมันมาก ทำไมถึงเจ๊ง? (3) โดย.. นิติภูมิ นวรัตน์
เดิมเวเนซุเอลาเป็นประเทศสังคมเกษตรกรรม ประเทศไม่มีเงินมาก แต่ทุกคนมีความสุข เวเนซุเอลาเริ่มแย่เมื่อพบน้ำมัน ในสมัยแรกของประธานาธิบดีเปเรซ แกพยายามเปลี่ยนเวเนซุเอลาจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม พัฒนาแต่อุตสาหกรรม แต่ไม่ได้พัฒนาคน ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ เพราะไม่มีความรู้และทักษะ ทำได้อย่างเดียวคือเข้ามาเป็นคนงานตามเหมืองและตามโรงงานอุตสาหกรรมพวกนี้
เมื่อมีนโยบายให้ต่างชาติเข้ามาเช่าและซื้อที่ดินได้ คนในชนบทก็ขายที่ดินให้กับบริษัทเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ เมื่อขายที่ดินได้แล้วก็อพยพเข้ามาทำงานในเมือง ผู้อ่านท่านเชื่อไหมครับ ว่าเวเนซุเอลามีพลเมือง 26 ล้านคน แต่ พ.ศ. 2549 นี้ ผู้คน 87% ของประชากรเหล่านี้แออัดยัดเยียดกันอยู่แต่ในเมือง
นับตั้งแต่ปีแรกที่ผู้คนย้ายเข้าเมืองจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้เป็นเวลา 40 ปีแล้ว เดี๋ยวนี้คนเวเนซุเอลาทำการเกษตรไม่เป็น ต้องอิมพอร์ตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทุกประเภท ผัก ผลไม้ หมู เห็ด เป็ด ไก่ ซื้อจากต่างประเทศทั้งหมด ทั้งๆที่มีพื้นที่มากกว่าเมืองไทยเกือบ 2 เท่า แต่ผู้คนไม่ทำเกษตรกรรม
ผู้อ่านท่านลองเปรียบเทียบซีครับ ก่อนเจอน้ำมัน มูลค่าของเกษตรกรรมในจีดีพีมีมากกว่า 60% เดี๋ยวนี้เหลือเพียง 6% และที่แย่ไปกว่านั้น น้ำมันทำให้ค่าเงินของเวเนซุเอลาแข็งโป๊ก อันนี้ทำให้ผลผลิตภายในประเทศไปขายแข่งราคาในต่างประเทศไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตจากภาคเกษตรกรรม หรือแม้แต่ อุตสาหกรรม
ผู้อ่านท่านอาจจะถามผมว่า ใครทำให้เวเนซุเอลาเจ๊ง? ขออนุญาตตอบทันทีเลยครับว่า อดีตประธานาธิบดี คาร์ลอส อัน�เดรส เปเรซ ผู้นำคนนี้เป็นไอ้บ้าทุนนิยม บ้าตะวันตกโดยไม่ได้มองโครงสร้างของประเทศตัวเอง เป็นผู้นำครั้งแรกก็นำนโยบายประชานิยมเข้ามาใช้ ประชาชนคนส่วนใหญ่ที่เคยขยัน ก็เลยกลายเป็นพวกขี้เกียจ นั่งคอยนอนคอยคิดแต่ว่าเมื่อไรรัฐบาลจะเอาอาหารมาป้อนปากกู เมื่อไรจะเอาเงินมาให้กู
เปเรซเป็นประธานาธิบดีได้ซักระยะประเทศก็เจ๊ง ผู้คนก็จึงหันไปเลือกนายลูอิส แอร์เรรา ขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ ระยะแรก แอร์เรรา เลิกนโยบายประชานิยม แต่เลิกได้พักเดียวคนก็เริ่มบ่น และปากก็ถวิลหาแต่ผู้นำคนที่แล้ว นายแอร์เรราจึงตัดสินใจว่า งั้นข้าขอเอาใจประชาชนดีกว่า ประเทศจะเจ๊งยังไงช่างมัน
แอร์เรราสั่งให้คณะรัฐมนตรีทั้งหมด แถวตรง กลับหลังหัน หันไปหาทุนนิยมและประชานิยมเพื่อสร้างคะแนนดีกว่า แกลดภาษีนำเข้าโครมเดียวเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ ของเดิมเก็บ 300% เปลี่ยน มาเก็บไม่ถึง 100% คนเฮกันน่าดู เพราะซื้อสินค้าต่างชาติได้ ในราคาถูก แต่เฮได้เพียงปีสองปี ก็เริ่มหน้าเขียว พวกนายทุนท้องถิ่น พวกผู้คนชนชั้นกลางเจ๊งหมด จะไม่เจ๊งได้ยังไงละครับ ผลิตสินค้าอะไรออกมาก็ขายไม่ได้ คนไม่ซื้อหันไปซื้อสินค้านอกที่ราคาเท่ากันหรือถูกกว่า เพราะมีต้นทุนภาษีขาเข้าน้อยมาก
ยิ่งเอาใจประชาชน ประชาชนก็ยิ่งแย่ บั้นปลายท้ายที่สุด คนก็คิดถึงประธานาธิบดีคนเดิมคือนายเปเรซ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2532 ผู้คนจึงล้วงเอานายเปเรซกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีใหม่
นายเปเรซเข้ามาสมัยที่ 2 ตอนนั้นประเทศแย่แล้ว ต้องไปกู้เงินจากธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟเยอะแยะ ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกสั่งให้ลดกำแพงภาษีลงเรื่อยๆสุดท้ายประเทศเจ๊ง เจ๊งสนิท
ไอเอ็มเอฟสั่งให้แปรรูป รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ตกเป็นของต่างชาติ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 พวกรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นบริษัทเอกชน แล้วก็ชุมนุมสุมศีรษะรวมหัวกันขึ้นราคา น้ำมันราคาขึ้นไป 10% ค่าโดยสารรถขนส่งมวลชนเพิ่มค่าบริการขึ้น 30% ฯลฯ
คนจนทนไม่ไหวจึงประท้วง ประท้วงเพียง 5 วัน คนตายไปกว่า 2,000 คน บาดเจ็บสาหัสหลายพันคน
ตอนนั้น ฮูโก ชาเวซ อายุ 35 ปีแล้ว
ได้เห็นความทุกข์ของประชาชน
ฮูโกทนไม่ไหว เริ่มคิดปฏิวัติ!
ท่านคิดว่าถ้าเราไม่อยู่แบบ เศรษฐกิจพอเพียง ใช้จ่ายมากเกินพอดีเป็นอย่างนี้กัันทั้งประเทศ เราก็จะเป็นอย่างเขา