คำตอบที่ 15
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรกัดไม่ปล่อย ก้เลยไปหาข้อมูลเพิ่ม สรุปด้วยตัวเองว่า มี2ประเด็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ในการดูแลเครื่องยนต์ ที่จะส่งผลให้ฝาสูบโก่งได้
1. ฝาสูบอลูมิเนียม อลูมิเนียมทนทานต่อการกัดกร่อน เข้าใจง่ายๆว่ามันจะไม่ผุไม่เกิดสนิมแน่นอน และมันสามารถถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำหล่อเย็นได้ดี แต่นั่นก็แปลว่าระบบการหมุนเวียนน้ำ และถ่ายเทความร้อนที่หม้อน้ำต้องดีด้วย เมื่อเอาจุดหลอมเหลวของอลุมิเนียมที่ประมาณ 660C (เหล็กหล่อทีประมาณ >1000 C) มาพิจารณา จะเห็นว่า เมื่อเกิดความบกพร่องกับการระบายความร้อนขึ้น ฝาสูบก็จะสะสมความร้อนที่เกิดในห้องเผาไหม้ รู้ไหมครับว่ามันร้อนแค่ไหน ในจังหวะอัดประมาณ500C-800C และความร้อนจะเพิ่มขึ้นไปอีกจนถึงประมาณ1,400-1,700Cในจังหวะระเบิด ดังนั้นเมื่อการระบายความร้อนผิดปกติเมื่อไหร่ เมื่อนั้นอุณหภูมิของฝาสูบก็สูงขึ้นมากจนใกล้กับอุณหภูมิจุดหลอมเหลว ฝาสูบก็จะเริ่มอ่อนตัว และไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงดันในห้องเผาไหม้ได้ ซึ่งมันเกินกว่าค่าความเค้นแรงดึงของอลุมิเนียม เมื่อนั้นอาการฝาสูบโก่งก็จะเกิดขึ้น
2. อลูมิเนียมที่ใช้ทำฝาสูบ เป็นอลูมิเนียมประสมชนิดเหนียว มีค่าความเค้นแรงดึงประมาณ 35-42 kp/mm2 ขึ้นอยู่กับประเภทโลหะประสม ให้เหมาะแก่การนำไปใช้งาน ที่มีค่าความเค้นแตกต่างกัน ตรงนี้ก็จะไปเกี่ยวข้องกับ การปรับจูนเครื่องยนต์ที่ผิดเพี้ยนเกินกว่าค่ากำหนดที่ผู้ผลิตได้ออกแบบมันมา รวมทั้งการปรับจูนใดๆที่ทำให้เครื่องต้องรับภาระเกินกว่าที่ออกแบบมาด้วย
ถ้าพูดกันแบบบ้านๆ ให้เข้าใจง่ายๆก็คือ
1. ระบบน้ำระบายความร้อนต้องสมบูรณ์
2. อย่าปรับแต่งเครื่องยนต์ เกินกว่าสเตนดาร์ด เดิมๆที่โรงงานผลิตมา