WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ดับเครื่องประหยัดน้ำมัน เรื่องกังขา ที่ต้องมาปรับความเข้าใจ เกร็ดความรู้
tqm_broker
จาก tqmbroker
IP:118.174.17.98

ศุกร์ที่ , 17/8/2555
เวลา : 09:27

อ่านแล้ว = 658 ครั้ง
แจ้งตรวจสอบกระทู้ แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       หาก พูดถึงการขับรถยนต์ให้ประหยัดแล้ว ปัจจุบันราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ เราหลายคนต้องปรับตัวกับสถานการณ์ที่รังแต่จะแย่ลง ทว่าการขับรถให้ประหยัดนั้นก็ยังเป็นหนทางที่ดีที่สุดเสมอแม้จะมีเทคโนโลยี ใหม่ๆเข้ามาช่วยก็ตาม
การขับรถ ให้ประหยัดเป็นเรื่องที่กล่าวถึงมากในยุคน้ำมันแพง และหนึ่งในหลายคำแนะนำที่เราเคยได้กล่าวไป ก็มีข้อคำถามข้องใจโดยเฉพาะเรื่องราวการดับเครื่องยนต์ชั่วคราวเพื่อประหยัด น้ำมัน จนหลายคนไม่เชื่อว่ามันจะทำได้จริง ด้วยแนวคิดว่าทุกครั้งที่ติดเครื่องยนต์จะต้องมีการจ่ายน้ำมันมากกว่าที่ เดินเครื่องทั่วไปๆ
เทคนิคดับ เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันไม่ใช่ของใหม่ในโลกยานยนต์ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องรู้ดีว่าติดเครื่องยนต์รถต้องทานน้ำมัน แต่สำหรับใครที่ไม่เชื่อว่าการติดๆดับๆ เครื่องยนต์นั้นจะทำให้ประหยัดได้ไง วันนี้ เราจะพาเพื่อนๆไปล้วงแคะ แกะเกาแนวคิดนี้ ในคอลัมน์ใหม่
เข้าใจในการสตาร์ทเครื่อง ..เรื่องที่ทำทุกวัน แต่คุณอาจไม่เคยรู้
เรา ทุกคนเคยสตาร์ทเครื่องยนต์กันมาแล้วและมันเป็นเรื่องที่เราทำกันทุกวันเพื่อ ให้รถขับเคลื่อนไปได้ ทว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่า เบื้องหลังการบิดกุญแจ แชะๆ..แล้ว บรึ้นเป็นเสียงเครื่องยนต์เดินเบา ต้องประกอบด้วยการทำงานจากหลายองค์ประกอบสำคัญ
การสตาร์ท เครื่องยนต์ให้ทำงานเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย ถ้าไม่ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ซึ่งพื้นฐานช่างยนต์ทุกคน ต้องเรียนรู้ส่วนผสมของอากาศและน้ำมัน และสำหรับเครื่องยนต์เบนซินนั้น อาจจะมีไฟจากหัวเทียนเป็นส่วนประกอบในการทำให้เกิดการจุดระเบิด ซึ่งเป็นต้นกำลังให้เครื่องยนต์ทำงาน
บิดกุญแจ แล้วเครื่องติดคือพื้นฐานที่เกิดขึ้นในด้านคนใช้รถ แต่เบื้องหลังของการสตาร์ทนั้น เมื่อเราบิดกุญแจ ไฟฟ้าจากสวิทช์กุญแจ จะถูกส่งต่อไปยังมอเตอร์สตาร์ท หรือ ที่ช่างไทยเรียกว่าไดร์สตาร์ท เพื่อทำหน้าที่ในการติดเครื่องยนต์และมันทำงานทุกครั้งที่คุณสตาร์ทเครื่อง
มอเตอร์ สตาร์ทมีมากมายหลายแบบ แต่ที่เราคุ้นเคยคือมอเตอร์สตาร์ทไฟฟ้า ซึ่งใช้ไฟฟ้ามากระตุ้นโซลินอยด์ในตัวดันฟันเฟืองจิ๋วๆในตัว เข้าไปยังล้อช่วยแรงหรือที่เรียกว่า Flywheel ซึ่ง ต่อตรงมาจากชุดข้อเหวี่ยงฐานของลูกสูบ โดยจะหมุนฟลายวีลเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเกิดการจุดระเบิดเครื่องยนต์ก็ติดและเดินเบาพร้อมใช้งาน
ดั้งเดิม การสตาร์ทรถใช้วิธีการมือหมุนหรือเท้าถีบ ซึ่งยังเห็นได้ในมอเตอร์ไซค์หลายรุ่น แต่สิ่งที่ทุกคนเข้าใจว่า สตาร์ทรถยนต์นั้นต้องใช้น้ำมันมากนั้น มาจากเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ ที่ใช้การผสมแบบคงที่จาก ตัวผสมน้ำมันกับอากาศในชุดคาร์บู หรือที่เรียกว่า "นมหนู" ทำให้ทุกครั้งที่ติดเครื่องยนต์ อาจจะซดน้ำมันมากกว่าปกติ
ปัจจุบัน การสั่งจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์ถูกพัฒนาไปสู่ระบบหัวฉีดที่ให้ความแม่นยำ ยิ่งขึ้นในการจ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยสั่งกำหนดค่าประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จากกล่อง ECU (Electronic Control Unit) ซึ่งจะวัดค่าต่างๆ เช่นความร้อนหม้อน้ำ ความร้อนเครื่อง และ น้ำมันเครื่องรวมถึงปริมาตรอากาศ แต่ทั้งหมดนั้นแบ่งการสตาร์ทเป็นเพียง 2 ลักษณะ คือ สตาร์ทเย็น กับสตาร์ทร้อน
การสตาร์ท เย็นและสตาร์ทร้อน เป็นการแบ่งภาวะอุณหภูมิของเครื่องยนต์ในขณะนั้นว่ามีลักษณะทางกายภาพเป็น อย่างไรบ้าง โดยการสตาร์ทเย็นจะมีขึ้นเมื่อเราไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานานๆ ทำให้เครื่องยนต์สูญเสียความร้อนที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่งอยู่ในช่วง 85-92 องศา เซลเซียส โดยประมาณ ทำให้การจุดระเบิดทำได้ยากกว่า จึงต้องมีการจ่ายน้ำมันเพิ่มจากอัตราปกติ ตรงนี้เองคือสิ่งที่ทุกคนเข้าใจเรื่องการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าทุกครั้ง ที่สตาร์ทเครื่อง
กลับกัน การสตาร์ทร้อนเป็นการทำให้เครื่องยนต์ติดในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว ทำให้เพียงจ่ายน้ำมันตามปกติ เครื่องยนต์ก็จะสามารถติดได้ง่าย โดยไม่สิ้นเปลือง และคือจุดที่วิศวกรหรือกูรูมักจะพูดว่าการดับเครื่องยนต์แล้วสตาร์ทใหม่อีก ครั้งจะมีความประหยัดมากกว่า

ที่มา่ http://www.tqmbroker.com ประกันภัยรถยนต์

 แก้ไขเมื่อ : 17/8/2555 9:38:36




website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่


Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,28 พฤศจิกายน 2567 (Online 8867 คน)