WeekendHobby.com


KIA Sportage ใครยังใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ 10W-40 อยู่บ้าง

จาก KIA#254
พุธที่ , 22/4/2552
เวลา : 17:41

อ่าน = 2228
203.144.240.229
       KIA Sportage ใครยังใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ 10W-40 อยู่บ้าง ของผมปี 96 เจ้าของเดิมใช้ 20W-50 มาหลายปีแล้ว ผมอยากจะเปลี่ยนไปใช้ 10W-40 จะมีปัญหาหรือไม่ครับ เขาว่ากันว่าน้ำมันเบอร์ 40 ลื่นกว่าเบอร์ 50 และทำให้ประหยัดน้ำมันกว่าด้วย

เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


   
   

คำตอบที่ 1
       กระผมใช้อยู่ครับ

zero eight six three seven four zero two nine nine



wannamat จาก siaperm  203.144.218.205  พุธ, 22/4/2552 เวลา : 18:12   


คำตอบที่ 2
       อธิบายหน่อยครับ
มันแตกต่างกันยังงัย ข้อดี,ข้อเสีย



จาก Kia414  115.67.202.173  พุธ, 22/4/2552 เวลา : 18:41   


คำตอบที่ 3
       ถ้าเครืองสมบูรณ์ก็ไม่มีปัญหาครับถ้าเครืองหลวมอย่างรถผมมันจะหายเร็วกว่าเพื่อนเลยรถเก๋งผมใช้0-40wไหลลื่นเหยียบมันกว่าเบอร์หนืดครับไม่รู้จะเป็นที่ความรู้สึกหรือเปล่าแต่ใช้แล้วดีกว่าทางใจครับสำหรับเครื่องสมบูรณ์ๆ



trinop_n จาก น้องตอ  125.25.143.64  พุธ, 22/4/2552 เวลา : 18:53   


คำตอบที่ 4
       ค่ากำหนดที่แตกต่างกันไป เช่น 0W-40
5W-30,5W-40,5W-50,10w-30,15W-30 เป็นต้น ซึ่งผมอยากจะถามท่านผู้รู้ว่า สูตรและค่าต่างๆที่กำหนดมานั้นมีความหมายอย่างไร ?? ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าน้ำมันทุกชนิดจะมีความหนืด หรือที่เราเรียกว่า ความข้นเหนียว โดยธรรมชาติ ความหนืดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น ความหนืดของน้ำมันจะมีหน่วยวัดเป็น เซนติสโตรก โดยหลักการวัดค่าความหนืดนั้น ถ้าพูดกันอย่างง่ายๆ จะนำน้ำมันปริมาณ 60 cc. มาทำให้ร้อนที่ 100 C แล้วบรรจุใส่ในหลอดแก้วที่มีรูขนาดเล็กทางด้านปลายหลอด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม เพื่อปล่อยให้น้ำมันไหลแล้วจับเวลาว่าปริมาณน้ำมัน 60 cc . นั้นจะไหลหมดภายในกี่วินาที จากนั้นจึงนำไปคำนวณเพื่อหาค่าออกมาเป็นเซนติสโตรก แล้วเทียบว่าเป็นน้ำมันเบอร์ความหนืด SAE อะไร

SAE ย่อมาจาก The Soceity of Automotive Engineer ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาโดยที่ SAE จะเป็นผู้กำหนดเบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่อง
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย เบอร์ความหนืดในกลุ่มนี้ ได้แก่ 0W,5W,10W,15W,20W,25W และวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง - 5 C เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

ส่วนใหญ่ความหนืดสำหรับน้ำมันในกลุ่มฤดูร้อนได้แก่ SAE 20,30,40,50,60 โดยวัดค่าความหนืดที่ 100 C เช่นเดียวกัน เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากจะข้นในอดีตนั้นผู้ใช้รถจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อถึงฤดูหนาวก็จะต้องใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ที่มี W ต่อท้าย ซึ่งเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับฤดูหนาวและเมื่อถึงฤดูร้อนก็ต้องถ่ายน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวออกเนื่องจากน้ำมันจะใสเกินไปไม่เหมาะกับการใช้งานในฤดูร้อน และเปลี่ยนมาใช้น้ำมันสำหรับฤดูร้อนแทน ซึ่งเป็นการยุ่งยาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันมัลติเกรดขึ้นมาเพื่อให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี

สำหรับในบ้านเราเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมนั้นมีหลายเบอร์ด้วยกันสามารถใช้ได้ทั้งนั้น แต่ที่
นิยมใช้กันมาก ได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 แต่ถ้าจะใช้เบอร์ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรขอให้เบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อนเป็นเบอร์ 30 ขึ้นไปก็ใช้ได้


Re: ค่าน้ำมันเครื่อง 15w 40 มีความหมายอย่างไรจ๊ะ
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2007, 16:48:50 »

--------------------------------------------------------------------------------
Q การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องจะพิจารณาจากอะไร
A การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถของท่านจะต้องพิจารณาก่อนว่ารถของท่านเป็นรถประเภทไหนเครื่องยนต์ชนิดใด เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถมอเตอร์ไซด์ฯลฯเพราะรถแต่ละชนิดแต่ละประเภทก็จะมีน้ำมันหล่อลื่นเฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
Q น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก๋งและน้ำมันเครื่อง สำหรับรถกระบะแตกต่างกันหรือไม่
A โดยทั่วไปแล้วรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตามจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยอาศัยการแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ คือ เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเครื่องยนต์แต่ละประเภท ก็ต้องการน้ำมันเครื่องที่แตกต่างกัน
Q น้ำมันเครื่องที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภทมีหรือไม่
A น้ำมันเครื่องทั่วไปสามารถใช้ได้ทั้งกับเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลเพียงแต่ว่าหากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเครื่องยนต์ชนิดนั้นๆ
Q จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันเครื่องชนิดใดเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล
A สังเกตุได้จากมาตรฐาน API น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะมีมาตรฐานขึ้นต้น S เช่น API SG หรือ SH ส่วนน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีตัว C ขึ้นต้นเช่น CD หรือ CE หรือตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่อง API SH/CD หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CD แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่า ในทำนองเดียวกัน น้ำมันเครื่องมาตรฐาน API CF4/SG หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขั้น CF4 และสามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้ด้วย เช่นเดียวกันแต่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเหมาะกว่า

Re: ค่าน้ำมันเครื่อง 15w 40 มีความหมายอย่างไรจ๊ะ
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2007, 16:51:48 »

--------------------------------------------------------------------------------
Q API หมายถึงอะไร
A API ย่อมาจากคำว่า The American Petroleum หมายถึงสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่กำหนดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง
Q API กำหนดคุณภาพอย่างไร
A API กำหนดคุณภาพของน้ำมันเครื่องโดยแบ่งน้ำมันเครื่องออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
Q กำหนดอย่างไร
Q มาตรฐานของน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะมีคำว่า S ขึ้นต้นแล้วต่อด้วยตัวอักษร A,B,C,D,...เช่น SA, SB, SC, SD...โดยมีคุณภาพดีขึ้นเป็นลำดับขั้น ในปัจจุบันมาตรฐานสูงสุดคือ API SJ
มาตรฐานของน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลจะมีตัวอักษร C ขึ้นต้นและต่อท้ายด้วย A,B,C,D ...เช่นเดียวกับมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบันคือ API CG4
Q สำหรับรถยนต์สมัยใหม่ควรเลือกใช้น้ำมันมาตรฐานใด
A รถยนต์สมัยใหม่มีวิวัฒนาการของเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลงไปมากดังนั้นสำหรับเครื่องยนต์เบนซินควร
เลือกใช้น้ำมันที่มีมาตรฐาน SG หรือ SH ขึ้นไปและเครื่องยนต์ดีเซลควรเลือกใช้น้ำมันที่มีมาตรฐาน CD,CE หรือ CF4
Q ความหนืดของน้ำมันมีผลดีผลเสียอย่างไร
A ความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มากดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเหมาะสมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
Q มีวิธีในการเลือกอย่างไร
A น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในภูมิอากาศของบ้านเราควรจะเป็นเบอร์ SAE 30,40 หรือ SAE 10W/40 , 15W/40 หรือ 20W/50
Q SAE หมายถึงอะไร
A SAE ย่อมาจากคำว่า The Society of Automotive Engineer สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้กำหนดความหนืดของน้ำมันเครื่องโดยแบ่งออกเป็นน้ำมันเกรดเดี่ยว Monograde และน้ำมันเกรดรวม
Multigrade
Q น้ำมันโมโนเกรดและน้ำมันมัลติเกรดต่างกันอย่างไร
A น้ำมันมัลติเกรดจะสามารถใช้งานที่อุณหภูมิกว้างกว่าน้ำมันโมโนเกรด และสามารถปรับค่าความหนืด
ให้เหมาะสมได้ แม้ว่าอุณหภูมิของบรรยากาศ หรืออุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์จะเปลี่ยนไป ทำให้เครื่องยนต์ได้รับการหล่อลื่นและป้องกันตลอดการทำงาน บางคนเคยกล่าวว่าน้ำมันชนิดมัลติเกรดไม่มีความจำเป็น สำหรับการใช้งานในบ้านเรา ถึงแม้ว่าในประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดอย่างใน ยุโรป หรือ อเมริกา แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันเครื่องมัลติเกรดก็เหมาะสมกว่าน้ำมันโมโนเกรด สำหรับการใช้งานในบ้านเรา เพราะน้ำมันมัลติเกรด จะใสกว่าเมื่ออุณหภูมิต่ำ ทำให้ไหลไปหล่อลื่นได้ดีกว่าและจะข้นกว่า น้ำมันโมโนเกรด เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 100 C ทำให้มีฟิล์มน้ำมันไปหล่อลื่นและลดการสึกหรอได้ดีกว่า
Q น้ำมันเครื่องชนิดสังเคราะห์แตกต่างจากน้ำมันเครื่องธรรมดาอย่างไร
A น้ำมันเครื่องธรรมดาที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปผลิตขึ้นมาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมซึ่งมีข้อดีคือหาได้ง่ายและราคาถูกนอกจากนี้ก็ยังมีคุณภาพที่ดีพอสมควรส่วนน้ำมันเครื่องสังเคราะห์เป็นน้ำมันเครื่องที่มนุษย์คิดค้นขึ้นจากขบวนการทางปิโตรเคมี ทำให้มีคุณภาพเหนือกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไปในหลายๆด้าน แต่มีข้อเสีย คือ ราคาแพง ขอบคุณ www.bikeloves.com/ คุณประชา

บันทึกการเข้า



kaiyann
แรงงานบอร์ด

ออฟไลน์

เพศ:
กระทู้: 1,082


Something about me it's so strong_oo00xx


Re: ค่าน้ำมันเครื่อง 15w 40 มีความหมายอย่างไรจ๊ะ
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2007, 16:59:20 »

--------------------------------------------------------------------------------
API SM
มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 พร้อมกันทั่วโลก ซึ่งกำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดย API SM เป็นมาตรฐานหล่อลื่นที่ใช้กับรถรุ่นใหม่ ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติหล่อลื่นให้สูงขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้

ประสิทธิภาพในการักษาความสะอาดชิ้นส่วนเครื่องยนต์สูงสุด
ป้องกันการสึกหรอของชุดขันเคลื่อนวาล์ว (Valve Train) ดีขึ้น
ลดการระเหยและการเติมพร่อง
ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ช่วยยืดอายุกรองไอเสีย (Catalytic converter)
API SL
ประกาศใช้แล้วในปี 2001

API SJ
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1977 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้ทดสอบตามข้อกำหนดของ CMA Product Approval Code of Practice, API Base Oil Interchange และ Viscosity Grade Engine Testing สามารถป้องกันการเกิดตมในอ่างน้ำมันเครื่องต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนและการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน ลดคราบจับลูกสูบที่เกิดขึ้นขณะอุณหภูมิสูง ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องและการเกิดฟอง

API SH
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง รถตู้ และรถบรรทุกขนาดเล็ก ปี 1994 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้มีคุณสมบัติสูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของ API SH โดยทดสอบตามข้อกำหนดของ Chemical Manufacturers Association (CMA) Product Approval Code of Practice , API Base Oil Interchange และ Viscosity Grade Engine Testing สามารถป้องกันการเกิดตมในอ่างน้ำมันเครื่องต้านการรวมตัวกับออกซิเจนและการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน

API SG
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง รถตู้ และรถบรรทุกขนาดเล็ก ปี 1989 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากมาตรฐาน SF ในด้านป้องกันการเกิดตม (Sludge) ในอ่างน้ำมันเครื่องต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนและป้องกันการสึกหรอ นอกจากนี้ยังป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ดีอีกด้วย สามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ใช้มาตรฐาน SF, SE, SF/CC หรือ SE/CC ด้วย

API SF
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่งและรถบรรทุกบางชนิด ตั้งแต่ปี 1980-1988 หรือรุ่นที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์แนะนำให้ใช้ มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SE นอกจากนี้ยังรักษาความสะอาด ป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ดี

API SE
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง และรถบรรทุกรุ่นเล็ก ตั้งแต่ปี 1971 (บางรุ่น) และปี 1972-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SD และ SC เพื่อป้องกันการรวมตัวกับออกซิเจนต้านทานการรวมตัวของเขม่าและตะกอนที่อุณหภูมิสูง ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน สามารถใช้แทนมาตรฐานเกรด SD และ SC ได้

API SD
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่งและรถบรรทุกเล็ก ปี 1968-1970 และรถปี 1971 บางรุ่น มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SC เพื่อต้านทานการรวมตัวของเขม่าและตะกอนที่อุณหภูมิสูงและต่ำ ป้องกันการสึกหรอ สนิมและการกัดกร่อนสามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ใช้น้ำมันหล่อลื่นเกรด SC ได้

API SC
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นปี 1964-1967 ของรถยนต์ และรถบรรทุก (บางรุ่น) มีสารต้านการรวมตัวของเขม่าตะกอนที่อุณหภูมิสูงและต่ำ ป้องกันการสึกหรอ สนิมและการกัดกร่อนในเครื่องยนต์เบนซิน

API SB
สำหรับเครื่องยนต์สภาพงานเบา ประกาศใช้ปี 1930 มีสารเพิ่มคุณภาพประเภทป้องกันการสึกหรอ การรวมตัวกับออกซิเจน และกัดกร่อนแบริ่งผสมเล็กน้อย น้ำมันนี้ไม่ควรใช้กับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้นๆ แนะนำให้ใช้

API SA
สำหรับเครื่องยนต์รุ่นเก่าและสภาพงานเบา น้ำมันหล่อลื่นชนิดนี้ไม่มีสารเพิ่มคุณภาพใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ควรใช้กับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้นๆ แนะนำให้ใช้

มาตรฐาน API ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ API SJ, API SH และ API SM
ส่วนมาตรฐานที่ต่ำกว่านี้เป็นมาตรฐานที่ API ยกเลิกแล้วทั้งสิ้น แต่ยังมีขายและใช้อยู่เนื่องจากใช้กับรถเก่าหรือรถที่มีคู่มือระบุให้ใช้ เช่น API SG และ SF เป็นต้น

ส่วนน้ำมันชั้นคุณภาพ API SA และ SB ไม่ควรใช้กับรถปัจจุบัน และกระทรวงพาณิชย์ไม่อนุญาตให้จำหน่ายในท้องตลาด


ขอบคุณ ปตท.

zero eight six three seven four zero two nine nine






wannamat จาก siaperm  203.144.218.205  พุธ, 22/4/2552 เวลา : 18:57   


คำตอบที่ 5
       น้ำมันเครื่อง ตอนที่3 การเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง
สนับสนุนโดย thaispeedcar.com 15/01/08 13:07.12
มาถึงตอนที่ 3 นี้หลังจากที่เราได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของน้ำมันเครื่อง ชนิดต่างๆของน้ำมันเครื่อง หน้าที่ต่างๆ ต่อไปจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญคือการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง ให้เหมาะกับรถของเรา ก่อนที่ตอนหน้าจะเป็นวิธีเล่นแรงกับสารหล่อลื่น และมาเรียนรู้ว่าของเล่นเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องนั้นมีอะไรกันบ้าง
การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์ แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์มีปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อดังนี้
1.ค่าความหนืด หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่อง
2.เกรดของน้ำมันเครื่อง
3.มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง



ค่าความหนืด Viscosity
ของเหลวทุกชนิดต่างก็มีตัวแปรที่แตกต่างกัน คือค่าความหนืด (Viscosity) หรือความต้านทานการไหล โดยมีตัวแปรอยู่ที่อุณหภูมิ มีหลายหน่วยการวัด เช่นระบบเมตริก cSt เซนติกโตส, หน่วย SUS, SSU วินาทีเซย์โบลต์,
การวัดความหนืดของน้ำมันเครื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล จึงมีหลายๆสถาบันวิจัย วัดค่าความหนืด และทำออกมาเป็นมาตรฐานตามชื่อเรียกของสถาบันต่างๆ เช่น
API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
US MILITARY CLASSIFICATION - สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

เบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60)
การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number)เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ


ค่า W คืออะไร
น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข


เกรดของน้ำมันเครื่อง Single Grad & Multi Grad
น้ำมันเครื่องในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 เกรดด้วยกันคือ
1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว Single Grad หรือ Mono Grad คือน้ำมันเครื่องที่มีความค่าความหนืดเหมาะสมกับเฉพาะอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะอุณหภูมิสูง พออุณหภูมิเริ่มต่ำลง ความหนืดก็จะเพิ่มขึ้น รับรองโดยสถาบันเดียวคือ SAE เช่นน้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 50 หรือ SAE 40 ปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีขายอยู่ แต่หาซื้อได้น้อยมาก เหมาะกับเครื่องยนต์รอบต่ำ เครื่องยนต์รุ่นเก่าๆ และประเทศเขตร้อน
2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม Multi Grad น้ำมันเครื่องมัลติเกรด เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่นในอุณหภูมิสูง จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เรียกได้ว่ามีช่วงอุรหภุมิการใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ทุกอุณหภูมิ ซึ่งจะระบุเป็น 2 ตัวเลข มีอักษร W เป็นตัวคั่นกลางเช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ปัจจุบันน้ำมันเครื่องแบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้ และมีขายในท้องตลาดทั่วๆไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่ และประเทศในเขตหนาวเย็น และยังสามารถใช้งานได้ทุกสภาวะอากาศ



มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง เบนซิล (S) & ดีเซล (C)
น้ำมันเครื่องที่ใช้กับรถยนต์ แบ่งได้ออกเป็น 2 มาตรฐาน ตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ว่าเป็นชนิด แก๊สโซลีน หรือ ดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เพราะเครื่องยนต์ทั้งสองชนิด จะมีการออกแบบที่แตกต่างกัน อีกทั้งการเผาไหม้ของทั้งสองเชื้อเพลิง ต่างก็ได้เขม่า และสารตกค้างหลังการเผาไหม้ที่ไม่เหมือนกัน น้ำมันเครื่องจึงต้องผสมสารปรุงแต่ง หรือ Additive ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละประเภท ซึ่งสัญลักษณ์การกำหนดมาตรฐานก็จะต่างกัน แล้วแต่ละสถาบันจะเป็นผู้กำหนด
ยกตัวอย่างมาตรฐาน API เพราะถือว่าน้ำมันเครื่องที่วางขายในบ้านเรากว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะใช้มาตรฐานนี้ โดยแสดงเครื่องหมายในรูปของวงกลม (โดนัท) ไว้ข้างกระป๋อง หรือแสดงเครื่องหมายให้เห็นอย่างชัดเจน

มาตรฐาน API
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะมีอักษรนำหน้าว่า S (Service Stations Classifications) เริ่มจาก SA เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องรุ่นเก่าๆสมัยแรกๆ ต่อมาได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนมาตรฐานให้สูงมากขึ้นตามเทคโนโลยี่จนปัจจุบัน SM ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด

น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะมีอักษรนำหน้าว่า C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เริ่มจากมาตรฐาน CA – CB จนในปัจจุบันมาตรฐานสูงสุดของน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคือ CI-4
ส่วนเลข 4 จะหมายถึงกับใช้เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ
ดังนั้นการแสดงค่ามาตรฐานข้างกระป๋อง จะมีการระบุค่าขึ้นต้นด้วย หน่วยงานรับรองมาตรฐาน เช่น API แล้วตามท้ายด้วย อักษรค่ามาตรฐาน เช่นถ้าเป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซิล อักษรนำหน้าจะเป็นตัว S… แล้วตามด้วยว่าถ้านำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีค่ามาตรฐานเป็น C… เป็นต้น อักษรใดขึ้นก่อน ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เชื้อเพลิงนั้น
น้ำมันเครื่องแต่ละชั้นคุณภาพจะถูกพัฒนามาให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละรุ่น ดังต่อไปนี้

API เบนซิน เครื่องยนต์ ปี พ.ศ. API ดีเซล เครื่องยนต์ ปี พ.ศ.
SA ใช้กับเครื่องยนต์รุ่นเก่า
ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว CA ใช้กับเครื่องยนต์รุ่นเก่า
ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
SB CB
SC 2507 – 2510 และเครื่องยนต์การเกษตรบางรุ่น CC
ยังใช้กับเครื่องยนต์การเกษตรบางรุ่น
SD 2511 – 2513 CD ใช้กับเครื่องยนต์ติดเทอร์โบชาร์จ หรืองานหนักได้ ขณะนั้นใช้กับ น้ำมันดีเซลกำมะถันสูง
SE 2514 – 2522
การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลง กำลังอัด ความเร็วรอบ และอุณหภูมิสูงขึ้น CE 2526
เริ่มลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง
SF 2523 – 2531 CF-4 2533
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด และ เริ่มเน้นการประหยัดเชื้อเพลิง
SG 2532 – 2536
เริ่มเน้นการประหยัดเชื้อเพลิง CF 2537
ใช้กับเครื่องยนต์ INDIRECT INJECTION และน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถันสูง
SH 2537 – 2539 CG-4 2537
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด งานหนัก ความเร็วรอบสูง น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ
SJ 2540 – 2544 CH-4 2541
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด งานหนัก ความเร็วรอบสูงขึ้น และใช้น้ำมันดีเซลที่มี กำมะถันต่ำ ( ปัจจุบันกำหนดไม่สูงกว่า 0.05 %)
SL
ชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ เบนซินรุ่นใหม่
ประกาศใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2544 CI-4 ชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล รุ่นใหม่ ที่ผ่านมาตรฐานมลพิษที่เข้มงวดขึ้น
ประกาศใช้เมื่อ 5 ก.ย. 2545

(ขอขอบคุณข้อมูลส่วนนี้จากกรมธุรกิจพลังงาน)




กว่าจะได้เป็นมาตรฐานเขาต้องวัดอะไรกันบ้าง
1.ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity @ 60o/60oF) ของน้ำมันเครื่องเมื่อใช้แล้ว กับน้ำมันเครื่องก่อนใช้
2.ค่าความหนืด Viscosity Kinematic @ 40oC, cSt. และ Viscosity Kinematic @ 100oC, cSt. เป็นการวัดค่าความหนืดเริ่มต้นที่ 40 องศาเซลเซียส จนถึงอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เทียบค่าออกเมาเป็น Number หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่องต่างๆ
3.ค่าดัชนีความหนืด (Viscosity Index - VI) โดยทดสอบดูว่าสารเคมีเพิ่มดัชนีความหนืด ยังคงความสามารถทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดมากขึ้น หรือความหนืดน้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เปรียบเทียบน้ำมันเครื่องก่อนใช้งาน และหลังใช้งาน
4.จุดวาบไฟ (Flash Point ) น้ำมันเครื่องต้องคงสภาพ ไม่ระเหยเป็นไอ และลุกติดไฟก่อนที่อุณหภูมิกำหนด อยู่ในราว 160 -320 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องเบอร์ใส จะมีจุดวาบไฟ และระเหยกลายเป็นไอ ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นเหตุที่น้ำมันเครื่องระเหยตัวเร็ว จุดวาบไฟยังขึ้นอยู่กับฐานการผลิต ของน้ำมันเครื่องพื้นฐานด้วย
5.ปริมาณน้ำ (Water Content) ในน้ำมันเครื่องทั่วไปจะมีน้ำผสมอยู่ เป็นตัวการก่อให้เกิด การทำปฏิกิริยากับ สารป้องกันการสึกหรอ (ZDDP) ทำปฏิกิริยากลายเป็นเชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ความหนืดของน้ำมันเครื่องเปลี่ยนแปลงเองได้ มาตรฐานน้ำที่ปะปนอยู่ต้องไม่เกินร้อยละ 0.2
6.ค่าความเป็นด่าง (Total Base Number - TBN) ในน้ำมันเครื่องทั่วๆไปจะมีค่าเป็นกรดอยู่เล็กน้อย และเมื่อใช้งานจะเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจน (Oxidation) กลายเป็นกรดเพิ่มขึ้น และกรดก็มีความอันตรายต่อชิ้นส่วนของโลหะ ดังนั้นสารเคมีเพิ่มคุณภาพ จึงจะมีลักษณะเป็นด่าง และเมื่อใช้งานแล้ว ปริมาณความเป็นด่างจะลดลง เป็นผลโดยตรงกับอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง เรียกว่าค่า TBN (Total Base Number)
7.ปริมาณกากไม่ละลายในเพนเทน (n - Pentane Insoluble) คือค่าการรวมตัวกับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบยางเหนียว ความหนืดของน้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสารเพิ่มคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง

มาดูตัวอย่างการอ่านฉลากข้างกระป๋องน้ำมันเครื่อง



คำอธิบาย
Fully Synthetic = น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แบบเต็มขั้น
SAE 5W-30 = มาตรฐานความข้นใส รับรองโดยสถาบัน SAE เบอร์ 30 ค่าต้านทานความเป็นไข 5W หรือ – 30 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ามาตรฐานรับรองโดยสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM ส่วนถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในระดับ CF เท่านั้น


คำอธิบาย
SAE 10W-40 = มาตรฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -20 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ารับรองมาตรฐานจากสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM และดีเซลในระดับ CF
PREMIUM GRADE SEMI – Synthetic = เป็นน้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ เกรดดีเยี่ยม
FOR NGV, LPG & GASOLINE = ใช้ได้กับเครื่องยนต์ แบบใช้แก๊ส NGV หรือ LPG และเครื่องยนต์เบนซิลทั่วไป


คำอธิบาย
SAE 15W-40 = มาตาฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -10 องศเซลเซียส
API CH4/SL = มาตารฐาน API สำหรับเครื่ยนต์ดีเซล ระดับ CH4 และเครื่องยนต์เบนซิลระดับ SL
GOBAL DHD1 = มาตรฐานสากลทั่วโลก DHD1
PREMIME GRADE HEAVY DUTY DESEL ENGINE Oil = เป็นเกรดสูง เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลใช้งานหนัก
อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานจะเริ่มเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ เนื่องจากการสะสมของกรด ที่เข้ามาทำลายด่างในน้ำมันเครื่อง การสะสมของน้ำ การปะปนกับฝุ่นผงที่เล็ดลอดมาจากไส้กรองอากาศ คราบเขม่าในการเผาไหม้ และเศษโลหะจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ ดังนั้นน้ำมันเครื่องจึงต้องได้รับการเปลี่ยนถ่าย ก่อนที่คุณสมบัติในการหล่อลื่น และคุณสมบัติอื่นจะเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับเครื่องยนต์ แต่ด้วยคุณสมบัติ และชนิดของน้ำมันเครื่องที่แตกต่างกัน จึงได้มีการตั้งระยะการเปลี่ยนถ่ายไว้ในรูปแบบของค่าเฉลี่ยดังนี้



น้ำมันเครื่องที่ไม่ได้ใช้มีอายุหรือไม่
น้ำมันเครื่องส่วนมากมีวัตถุดิบ มาจากน้ำมันแร่ที่ได้มาจากธรรมชาติ แม้จะมีสารเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ แต่ก็สามารถบูดเสียได้ น้ำมันเครื่องที่บรรจุอยู่ในแกลลอนวางขาย และยังไม่ได้เปิดใช้ จะมีอายุการคงสภาพอยู่ที่ 1- 3 ปี ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝาแล้ว จะมีอายุการใช้งานอยู่หลักเดือน ราว 2 – 6 เดือน ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝา แล้วไม่ได้ปิดฝาจะถือว่าใช้งานไม่ได้
สังเกตอย่างไรว่าน้ำมันเครื่องที่ใช้อยู่เริ่มหมดสภาพ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งต้องมีการจดบันทึก วันที่ เดือน ปี และเลขไมล์กิโลเมตร ไว้ด้วยทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นการคำนวณกำหนดการเปลี่ยนถ่าย แต่เราเองยังสามารถสังเกตการณ์ทำงานที่เปลี่ยนไปของ ความหล่อลื่นน้ำมันเครื่องที่เริ่มเสื่อมสภาพได้เช่น
1 เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้น
2. อัตราเร่งแย่ลง อืดลงอย่างต่อเนื่อง
3. กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น
4. สีของน้ำมันเครื่องเปลี่ยนไป
5. น้ำมันเครื่องมีลักษณะข้นขึ้น หรือใสขึ้น

กำหนดการเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเครื่องที่ปลอดภัย
น้ำมันเครื่องธรรมดา เกรด SA – SC / CA – CE
จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 3,000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 5,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกรด SG – SM / CF4 – CG4
จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 5,000 กิโลเมตร ถึง 1,0000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 15,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องธรรมดา และกึ่งสังเคราะห์ + หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเกรดสูง
น้ำมันเครื่องที่ผสมหัวเชื้อ อาจมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน อายุน้ำมันเครื่องจะเพิ่มจาก 5,000 กิโลเมตร ได้เป็นกว่า 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าเป็นกึ่งสังเคราะห์จะเพิ่มอายุการเปลี่ยนถ่าย ที่ 10,000 กิโลเมตร เป็นได้กว่า 20,000 กิโลเมตร แต่ด้วยอายุของไส้กรอง จึงมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เกรด SJ - SM / CH4 - CI4
จริงแล้วน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีอายุการใช้งานยาวนานนับแสนกิโลเมตร แต่อายุการใช้งานของไส้กรองน้ำมันเครื่องแบบมาตรฐานทั่วๆไป จะอยู่ได้ราว 15,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร จึงทำให้กำหนดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ควรอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร

ค่าเฉลี่ยกำหนดการเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเครื่อง อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เร็วกว่ากำหนด ตามสภาพการใช้งานดังนี้
1.ขับรถลุยน้ำในระดับที่สูง ซึ่งอาจคาดว่าจะมีน้ำปะปนเข้าสู่เครื่องยนต์ได้
2.ใช้งานประเภทสมบุกสมบัน รถยนต์ในที่ใช้ในทางฝุ่น อยู่เป็นประจำ
3.ในหน้าฝน ที่ต้องใช้รถขับลุยสายฝนอยู่เป็นประจำ หรือขับรถลุยน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
4.เครื่องยนต์หลวม ซึ่งมีการระเหยของน้ำมันเครื่องสูง และมีเขม่าเล็ดลอดเข้ามาปะปนอยู่มาก
5.เครื่องยนต์รอบจัด ที่ต้องใช้งานรอบจัดอยู่เสมอ ความร้อนสูง และต้องการให้ชิ้นส่วนสึกหรอน้อยที่สุด
6.เครื่องยนต์ที่ติดตั้งกรองเปลือย ที่คาดว่าจะฝุ่นผงปะปนเข้าสู่เครื่องยนต์ได้มากกว่าปกติ
7.เครื่องยนต์ที่ต้องการความเร็วสูงสุด อย่างพวกรถแข่ง ซึ่งต้องมั่นใจได้ว่า คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องต้องไม่ลดลงแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว


zero eight six three seven four zero two nine nine



wannamat จาก siaperm  203.144.218.205  พุธ, 22/4/2552 เวลา : 19:00   


คำตอบที่ 6
       ผมก็ใช้อยู่ครับ เบอร์ 10 w 40 มีพร่องแต่ไม่มาก ใช้เบอร์นี้มาตลอด รถทุกคัน



จาก เอ็ม ทอ.  210.246.192.35  พฤหัสบดี, 23/4/2552 เวลา : 12:12   


คำตอบที่ 7
       http://www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V7651744/V7651744.html

หากจะเปลี่ยนน้ำมันเบอร์ใหม่ เปลี่ยนได้เลยไหมครับ ต้องทำไรต่อหรือเปล่าหลังจากเปลี่ยน

พยายามจะนั่งหน้าห้องวิชาเครื่องยนต์



จาก สุจริต Usto  203.144.198.247  พฤหัสบดี, 23/4/2552 เวลา : 12:51   


คำตอบที่ 8
       ตามความเห็นของผม ผมว่าใช้น้ำมันเครื่องตามคู่มือรถดีที่สุดแล้วครับ ถ้าไม่ได้ไปแต่งเติมเพิ่มปรับอะไรกับเครื่องยนต์ เพราะตามความคิดเห็นของผมช่างจากโรงงานหรือบริษัทรถต่างๆเขาคงคิดมาดีแล้วว่าควรใช้น้ำมันอะไรกับส่วนไหน เพราะเขาทั้งหลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น ส่วนตัวผมใช่น้ำมันเครื่องของ CALTEX HAVOLINE ฝาน้ำเงินครับ เพราะข้างกระป๋องบอกค่าไว้ว่า SAE 20W-50 API SG/CD(ตามคู่มือเป็น 20W-50 API SG ครับ)
ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับ ผู้ชมทุกท่านควรใช้วิจารณาญาณในการตัดสินใจตามอัธยาศัย



จาก เกียแปด  118.174.185.136  พฤหัสบดี, 23/4/2552 เวลา : 15:46   


คำตอบที่ 9
       อืม....รถของผมใช้ เชลล์ เฮลิกส์ พลัส 15W 50 น่าจะใข้ได้ (ใกล้บ้าน) ช่างถามจะเอา 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตรครับ ผมก็งบน้อยเลยเลือก 5000 แต่ตอนนี้ 6600 แล้วยังไม่เปลี่ยน รถยังปรูดปราดเหมือนเดิม กะว่าจะซัก 7000 ค่อยเปลี่ยน เพราะตัวกรอง(Mishubishi)คงน่าจะทำงานได้ประมานี้
''น้ำมันเครื่องที่ผสมหัวเชื้อ อาจมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน อายุน้ำมันเครื่องจะเพิ่มจาก 5,000 กิโลเมตร ได้เป็นกว่า 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าเป็นกึ่งสังเคราะห์จะเพิ่มอายุการเปลี่ยนถ่าย ที่ 10,000 กิโลเมตร เป็นได้กว่า 20,000 กิโลเมตร แต่ด้วยอายุของไส้กรอง จึงมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร ''
ขออนุญาตเสี่ยเพิ่มคัดลอกข้อความ



sudjarid จาก back สุจริต Usto  203.144.198.247  ศุกร์, 24/4/2552 เวลา : 13:14   


คำตอบที่ 10
       ผมใช้โมบิล 15W50สังเคราะห์แท้100%อยู่ครับ โอเคดี ส่วนเรื่องเบอร์40ผมว่าน่าจะลื่นกว่า แต่อาจมีปัญหากินน้ำมันเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเริ่มเก่าแล้วครับ



อนุบาลออฟโรด จาก อนุบาลออฟโรด  222.123.107.201  อาทิตย์, 26/4/2552 เวลา : 17:34   


      

Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วัน<%=WeekdayName(Weekday(Date))%>,<%=formatdatetime(date(),1)%> (Online <%=Application("OnlineUsers")%> คน)
                                       

เพื่อลดภาระของ ฐานข้อมูล ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพราะเวบเปิดมากว่า 10 ปี
จึงทำให้เวบช้าลงมาก ทีมงานจึงขออนุญาต แปลงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลหลักเป็น SHTML File
เพื่อลดภาระการทำงานของ ฐานข้อมูลหลักครับ การแปลงฐานข้อมูลนี้ จะทำให้กระทู้นี้
ไม่สามารถตอบคำถามได้อีกต่อไปครับ แต่จะสามารถค้นหาชื่อกระทู้ และ Link ตรงมาที่หน้านี้ได้เหมือนเดิมครับ

ด้วยความนับถืออย่างสูง ทีมงาน Weekendhobby.com


Convert on : 23/8/2554 6:03:57

Error processing SSI file