จาก otto
พฤหัสบดีที่ , 19/6/2551
เวลา : 09:42
อ่าน = 3244
58.8.117.197
|
สั่งปรับ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ โฆษณาประหยัดน้ำมันเกินจริง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจพบการโฆษณารถยนต์กระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ทางสื่อสิ่งพิมพ์ใช้ข้อความว่า
...เพราะวีโก้ทำให้เงินของคนไทยเหลือเก็บมากขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยเครื่องยนต์คอมมอนเรลที่ช่วยประหยัดนํ้ามัน...
...เพราะอุ่นใจกับวีโก้ที่พุ่งทะยานไปอย่างนิ่มนวล เป็นอันดับ 1.. ...เพราะทุกสายตาที่ให้การยอมรับรูปลักษณ์ที่เป็นอันดับ 1...
...เพราะความภูมิใจกับรถกระบะที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพอันดับ 1...การันตีด้วยรางวัลจากสถาบัน เจ.ดี.พาวเวอร์ ทุกรุ่น ในรางวัลรถยนต์ใหม่คุณภาพยอดเยี่ยม (IQS) 2 ปี ซ้อน...
อันดับ 1 รถกระบะประจำปี 2549 .. และ อันดับ 1 รถเชิงพาณิชย์ ประจำปี 2549 .. ทางสื่อป้ายโฆษณา บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งออกเมือง
และบริเวณถนนมิตรภาพ บริเวณสี่แยกทางเข้าอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้ข้อความว่า ...ไฮลักซ์ วีโก้ เป็นแชมป์ รถกระบะปี 2549 ... และ HILUX VIGO ยอดขายอันดับ 1 คุณภาพอันดับ 1
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อความว่า ...เพราะวีโก้ทำให้เงินของคนไทยเหลือเก็บมากขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยเครื่องยนต์คอมมอลเรลที่ช่วยประหยัด นํ้ามัน... อาจทำให้เข้าใจได้ว่ารถยนต์กระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ที่ใช้เครื่องยนต์คอมมอนเรลทุกรุ่นเป็นรถประหยัดน้ำมัน เนื่องจากบริษัทฯ มิได้ระบุรายละเอียดของรุ่นและขนาดเครื่องยนต์อย่างชัดเจนและปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ จัดจำหน่ายรถยนต์กระบะโตโยต้า ไฮลักษ์ วีโก้ เครื่องยนต์คอมมอนเรล ทั้ง รุ่น 2,500 ซีซี และรุ่น 3,000 ซีซี แต่มีเพียงรถยนต์กระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ รุ่น 3,000 ซีซี เท่านั้น ที่ได้รับรางวัลประหยัดน้ำมันยอดเยี่ยม Car of the year ประจำปี2548 และ 2549 จากการสำรวจอัตราการประหยัดน้ำมันของบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
จึงเห็นว่าการโฆษณาของบริษัทฯ ใช้ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการตามมาตรา 22 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม และต้องห้ามตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา
จึงมีคำสั่งห้ามบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดใช้ข้อความว่า ...เพราะวีโก้ทำให้เงินของคนไทยเหลือเก็บมากขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยสุดยอดเครื่องยนต์คอมมอนเรลที่ช่วยประหยัดนํ้ามัน... ในการโฆษณารถยนต์กระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ครั้งต่อไปในทุกสื่อ
สั่งปรับ นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา โฆษณาประหยัดน้ำมันเกินจริง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจพบการโฆษณารถยนต์กระบะนิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ของบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัดทางสื่อสิ่งพิมพ์โดย ใช้ข้อความดังนี้ ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิตร และใช้ข้อความตัวอักษรขนาดเล็กว่า ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิตร ทดสอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ความเร็ว 50 กม./ชม. ในสภาพปิดแอร์และมีผ้าใบคลุมกระบะท้าย (ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. จะมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 17.45 กม./ลิตร)...
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ได้พิจารณาการโฆษณารถยนต์กระบะ นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ประกอบคำชี้แจงของผู้แทนบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิสถาบันยานยนต์ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังแล้ว เห็นว่าสถิติอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 27.30 กิโลเมตร/ลิตร ที่บริษัทฯ นำมาใช้ในการโฆษณานั้น เป็นสถิติที่ได้มาจากการทดสอบขับขี่รถยนต์กระบะ นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา เครื่องยนต์ YD-144 คอมมอนเรล ซึ่งมีการควบคุมปัจจัยของสภาพรถและสภาพแวดล้อมในการขับขี่รถยนต์เพื่อการทดสอบโดยใช้ค่าเฉลี่ยอัตราการสิน้ เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 3 ครั้ง จากทั้ง หมด 5 ครั้ง ในการขับขี่ใช้ความเร็วคงที่ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปิดเครื่องปรับอากาศ
มีผ้าใบคลุมปิดกระบะท้าย ในเส้นทางบูรพาวิถี รวมทั้ง สิ้น 81.4 กิโลเมตร
และการทดสอบขับขี่รถยนต์ดังกล่าว มิได้ทดสอบในลักษณะการขับขี่รถยนต์ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้รถยนต์โดยทั่วไป แต่เป็นการขับขี่บนถนนทางด่วนที่เป็นถนนทางเรียบ ซึ่งขัดแย้งกับภาพที่ใช้ในการโฆษณาที่แสดงให้เห็นถึงการขับขี่รถยนต์ในสภาพแวดล้อมชนบทด้วยสภาวะสมบุกสมบัน บนถนนที่มีผิวถนนเป็นหินขรุขระ ผ่านโคลนเลน และน้ำขัง
ประกอบกับบริษัทฯ ใช้ข้อความโฆษณาว่า ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิตร* และระบุเงื่อนไขในการทดสอบด้วยตัวอักษรที่มีขนาดเล็กว่า ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิตร ทดสอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ความเร็ว 50 กม./ชม. ในสภาพปิ ดแอร์และมีผ้าใบคลุมกระบะท้าย (ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. จะมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 17.45 กม./ลิตร)...
โดยมิได้ระบุหมายเหตุว่า เป็นผลการทดสอบที่ได้มาจากการขับขี่รถยนต์บนถนนทางด่วนซึ่งเป็นถนนทางเรียบจึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่า แม้จะขับขี่รถยนต์กระบะ นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ในสภาพแวดล้อมชนบทด้วยสภาวะสมบุกสมบันบนถนนที่มีผิวถนนเป็นหินขรุขระ ผ่านโคลนเลน และน้ำขัง ยังประหยัดน้ำมันได้สูงสุดถึง 27.30 กิโลเมตร/ลิตร คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ตามมาตรา 22 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
จึงใช้อำนาจห้ามบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด ใช้ข้อความว่า ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิต* และระบุเงื่อนไขด้วยตัวอักษรขนาดเล็กว่า ...ประหยัดนํ้ามันสูงสุด 27.30 กม./ลิตร ทดสอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ความเร็ว 50 กม./ชม. ในสภาพปิดแอร์และมีผ้าใบคลุมกระบะท้าย (ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. จะมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 17.45 กม./ลิตร)... ประกอบกับภาพแสดงการขับขี่รถยนต์ในสภาพแวดล้อมชนบท ด้วยสภาวะสมบุกสมบัน บนถนนที่มีผิวถนนเป็นหินขรุขระ ผ่านโคลนเลน และน้ำขัง ในการโฆษณารถยนต์กระบะ นิสสัน ฟรอนเทียรนาวารา ครั้ง ต่อไปในทุกสื่อโฆษณา
สั่ง มิตซูบิชิ ไทรทัน ห้ามโฆษณาเท็จ-เกินจริง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจพบการโฆษณารถยนต์กระบะมิตซูบิชิ ไทรทัน ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ทางสื่อสิ่งพิมพ์ดังนี้
พิสูจน์จากการใช้งานจริง บรรทุกเป็ นตัน เหยียบเต็ม ๆ เปิดแอร์ตลอด 19.44 กม./ลิตร... มิตซูบิชิ ไทรทัน รถกระบะรายแรก ประหยัดสุดพิสูจน์แล้ว... ตลอดช่วงระยะทางรวมกว่า 5,000 กม. ทั่วไทย มิตซูบิชิ ไทรทัน เมกะแค็บ 2 WD 2.5 GLX เกียร์ธรรมดา บรรทุกสัมภาระ 1 ตัน วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 100-200 กม./ชม. ขับโดยสื่อมวลชนจากนิตยสารรถยนต์ชื่อดัง 26 ฉบับ ไต่เขาสูง เร่งแซงทางชัน เปิดแอร์เย็นฉ่ำ เหยียบตลอด เพื่อทดสอบเครื่องยนต์พลังจัดประหยัดเป็นยอด... สู่บทสรุปการใช้งานจริง 19.44 กม./ลิตร... ฉลอง 4 รางวัล เกียรติยศนานาชาติ...
...ซื้อรถกระบะมิตซูบิชิ ไทรทัน วันนี้ ประหยัดคุ้มสองต่อ ทั้งประหยัดนํ้ามันถึง 19.44 กม./ลิตร... **
ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นว่า การโฆษณาดังกล่าวอาจใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หรือข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) หรือ (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ได้พิจารณาการโฆษณารถยนต์กระบะมิตซูบิชิไทรทันดังกล่าว ประกอบคำชี้แจงของผู้แทนบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิสถาบันยานยนต์ แล้ว เห็นว่าสถิติประหยัดน้ำ มันที่บริษัทฯ นำมาใช้ในการโฆษณาเป็นสถิติที่ได้มาจากการทดสอบแข่งขันประหยัดน้ำมันมิใช่เป็นการใช้งานจริง เป็นสถิติที่ได้มาจากการขับขี่ของผู้เข้าร่วมแข่งขันทดสอบ จำนวน 43 คน เป็นระยะทางรวมกว่า 5,000 กิโลเมตร และสถิติอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 19.44 กิโลเมตร/ลิตรนั้น เป็นการนำเอาสถิติที่ดีที่สุดในช่วงหนึ่งของการแข่งขันที่ได้จากรถยนต์เพียงคันเดียว มิใช่เป็นสถิติค่าเฉลี่ยของอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันทั้งหมดตลอดเส้นทาง
และการที่บริษัทฯ ใช้ข้อความว่า ...รถกระบะรายแรก ประหยัดสุด... นั้น บริษัทฯ มิได้มีการทดสอบเปรียบเทียบกับรถกระบะยี่ห้ออื่น ซึ่งต้องทดสอบด้วยการบรรทุกน้ำหนักและวิ่งในสภาวะแวดล้อมลักษณะเดียวกัน กรณีบริษัทฯ ทดสอบเกี่ยวกับประหยัดน้ำมันของรถยนต์กระบะ มิตซูบิชิ ไทรทัน โดยเป็นรายแรกที่ใช้วิธีการทดสอบแตกต่างจากรถกระบะยี่ห้ออื่นโดยมีการบรรทุกน้ำหนัก 500-1,000 กิโลกรัมจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นรถกระบะรายแรก ประหยัดสุดได้
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาว่า พิสูจน์จากการใช้งานจริง... ...รถกระบะรายแรก ประหยัดสุด พิสูจน์แล้ว...ตลอดช่วงระยะทางรวมกว่า 5,000 กม. ทั่วไทย... เป็นข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริงตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และการที่บริษัทฯ ใช้ข้อความว่า ...วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 100-120 กม./ชม... นั้น โดยที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คณะกรรมการฯ
จึงเห็นว่า บริษัทฯใช้ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย ตามมาตรา 22 วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม และต้องห้ามตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงใช้อำนาจตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ห้ามบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ข้อความว่า พิสูจน์จากการใช้งานจริง... ...รถกระบะรายแรก ประหยัดสุด พิสูจน์แล้ว...ตลอดช่วงระยะทางรวมกว่า 5,000 กม.ทั่วไทย... และ ...วิ่งด้วยความเร็ว เฉลี่ย 100-120 กม./ชม... ในการโฆษณารถยนต์กระบะ มิตซูบิชิ ไทรทัน ครั้งต่อไปในทุกสื่อโฆษณา
สั่งปรับ กระบะฟอร์ด โฆษณาเกินจริง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจพบการโฆษณารถยนต์กระบะ ฟอร์ด ของบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ทางสื่อสิ่งพิมพ์ใช้ข้อความว่า
สถิติธรรมดาๆของ ฟอร์ด เรนเจอร์ 28.70 กม./ลิตร! โดยลูกค้าตัวจริงความเร็วใช้งานจริงกับ เรนเจอร์ รุ่นโอเพ่นแค็บขับเคลื่อน 2 ล้อ
แชมป์ ตัวจริงจากการแข่งทั้งหมด 5 สนาม 4 ภาค พิชิตรางวัลชนะเลิศ ฟอร์ดเรนเจอร์ ใหม่ รุ่น 2.5 XLS ไฮไรเดอร์ มูลค่า 619,000 บาท ฟอร์ดท้าคนแกร่งแข่งประหยัดนํ้ามันกล้าให้ลูกค้าตัวจริงลงแข่งขัน โดยไม่จำเป็ นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาขับด้วยความเร็วใช้งานจริง 90 กม./ชม. เปิ ดแอร์ตลอดเส้นทาง เครื่องยนต์ ดูราทอร์ค คอมมอนเรล ใน ฟอร์ดเรนเจอร์ใหม่ ทำให้สถิติประหยัดนํ้ามันเป็ นเรื่องที่ใครก็ทำได้ทุกวัน
รุ่นไฮไรเดอร์ สถิติสูงสุด 26.41 กม./ลิตร...
10 สุดยอดสถิติประหยัดนํ้ามันสูงสุดในประเทศไทย จากทั้งหมด 5 สนาม 4 ภาค จากผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 129 คน ทั่วประเทศ อันดับหนึ่ง 28.70 กม./ลิตร...อันดับสอง 27.39 กม./ลิตร...อันดับสาม 26.65 กม./ลิตร...อันดับสี่ 26.41 กม./ลิตร...อันดับห้า 25.93 กม./ลิตร...อันดับหก 35.65 กม./ลิตร...อันดับเจ็ด 25.32 กม./ลิตร...อันดับแปด 25.18 กม./ลิตร...อันดับเก้า 24.00 กม./ลิตร...อันดับสิบ 23.70กม./ลิตร
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ได้พิจารณาการโฆษณารถยนต์กระบะฟอร์ด ประกอบคำชี้แจงของผู้แทนบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยานยนต์ สแควร์ จำกัด และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันยานยนต์ แล้ว เห็นว่าสถิติอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 28.70 กิโลเมตร/ลิตร ที่บริษัทฯ นำมาใช้ในการโฆษณาเป็นสถิติที่ได้มาจากการแข่งขันมิใช่เป็นการใช้งานจริง โดยคัดเลือกสถิติที่ดีที่สุดของผู้เข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศรวมทัง้ สิ้น 43 คน ซึ่งเป็นสถิติของผู้ชนะเลิศมิใช่สถิติเฉลี่ยของทุกคนที่เข้าแข่งขัน และการแข่งขันดังกล่าวมิได้มีการบรรทุกสัมภาระหรือผู้โดยสารเหมือนที่ผู้บริโภคใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
เพราะฉะนั้น การที่บริษัทฯ ใช้ข้อความว่า สถิติธรรมดาๆ... จึงเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ มาตรา 22 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และข้อความว่า ...ความเร็วใช้งานจริง... และ สถิติประหยัดนํ้ามันเป็ นเรื่องที่ใครๆ ก็ทำได้ทุกวัน... เห็นว่าความเร็วที่ใช้ในการโฆษณาเป็นความเร็วจากการแข่งขันมิได้เป็นความเร็วจากการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันและสถิติประหยัดน้ำมัน 28.70 กิโลเมตร/ลิตร เป็นสถิติของผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันเท่านั้นที่ทำได้ มิได้สามารถทำได้ทุกคน
จึงเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม และต้องห้ามตามมาตรา 22 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา จึงมีคำสั่งห้ามบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ข้อความว่า สถิติธรรมดาๆ......ความเร็วใช้งานจริง... และ ...สถิติประหยัดนํ้ามันเป็ นเรื่องที่ใครๆ ก็ทำได้ทุกวัน... ในการโฆษณารถยนต์กระบะ ฟอร์ด ครัง้ ต่อไปในทุกสื่อโฆษณาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ฟ้องแพ่ง เมอร์เซเดส-เบนซ์ฯ ขายรถใหม่-ส่งซ่อมต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับหนังสือจากสำนักงานตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องร้องเรียนของนายวิชัย ปิยชาติวงศ์ สรุปได้ว่าเมื่อประมาณ เดือนมีนาคม 2548 ผู้ร้องได้ซื้อ รถยนต์ ยี่ห้อ MERCEDES-BENZ รุ่น E 200 K หมายเลขตัวถัง WDB 211042-6A-681858 หมายเลขเครื่องยนต์ 2719-30-463336 จากบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด
เมื่อนำรถยนต์มาใช้งาน ประมาณ 1 ปี ปรากฏว่าเกิดข้อบกพร่องในระบบหล่อเย็นรั่วไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ต้องนำรถยนต์เข้า ซ่อมปัญหาดังกล่าว ในวันที่ 15 ธันวาคม 2549, 15 กุมภาพันธ์ 2550 และ 22 กุมภาพันธ์ 2550 รวมใช้ระยะเวลาซ่อม 3 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ผู้ร้องเสนอขอคืนรถยนต์ แต่บริษัทฯ แจ้งว่าจะขยายระยะเวลารับประกันออกไปอีก 1 ปี เท่านั้น จากข้อเท็จจริงเบื่องต้นเป็นผลทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงขอความเป็นธรรม
คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ได้พิจารณาเอกสารหลักฐานต่างๆ ประกอบคำชี้แจงของผู้แทนบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด ผู้แทนบริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และความเห็นเรื่องนี้ของนายศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข เลขาธิการราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญแล้ว มีความเห็นว่าเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ร้องเรียน ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผู้ร้องได้นำรถยนต์เข้าซ่อม ปรากฏว่าความชำรุดบกพร่องยังคงเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาการใช้งาน ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้รถยนต์ได้ตามปกติ อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ
จึงถือได้ว่าบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด และบริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กระทำการละเมิดสิทธิผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริโภค การดำเนินคดีแก่บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด และบริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
จึงมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนำเรื่องเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาแล้วมีมติใช้อำนาจตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดีแก่บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด ในฐานะผู้ขายฐานผิดสัญญา และบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องรับผิดด้วย เพื่อบังคับให้ บริษัทฯทัง้ สองชดใช้เงินค่ารถยนต์คันดังกล่าว จำนวน 3,730,000 บาท พร้อมดอกเบีย้ ตามกฎหมาย และค่าเสียหายจากการติดตัง้ อุปกรณ์รถยนต์ให้แก่ผู้ร้อง
\
สั่งปรับ แครี่บอย ชุดล็อกไม่กันขโมย
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าได้ติดตั้ง ชุดล็อกกันขโมย ยี่ห้อ แครี่บอย ของบริษัท ทึ เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด โดยหลงเชื่อการโฆษณาคุณสมบัติของชุดล็อกกันขโมยด้วยการล็อกถึง 3 ชั้น ทั้ง ชุดล็อกเบรก-คลัชท์ และล็อกแกนพวงมาลัย ทางสื่อหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ ซึ่งใช้ข้อความว่า
ชุดล็อกกันขโมยที่ดีที่สุด พิสูจน์แล้วว่าดีจริงจากยอดขายอันดับ 1 ...ด้วยระบบกุญแจวงแหวน 9 ชั้น ป้ องกันกุญแจผีและการไขเขี่ย 100% โครงสร้างผลิตจากเหล็กกล้าชั้นดีชุบแข็งเสื้อกุญแจผลิตด้วยระบบฟอสซิ่ง เช่นเดียวกับการผลิตปื น รูกุญแจออกแบบพิเศษ หมุนตามเมื่อเจาะทำลายด้วยสว่าน ชุดแม่กุญแจงวงชุบแข็ง ป้องกันการเลื่อยทำลาย...
ต่อมาผู้ร้องได้ขับรถยนต์จอดไว้ที่บ้าน และล็อกชุดกันขโมยดังกล่าว เมื่อผู้ร้องตื่นนอนในตอนเช้าของวันต่อมาปรากฏว่ารถยนต์ที่จอดไว้ภายในบ้านได้สูญหายไป ผู้ร้องเห็นว่า การโฆษณาคุณสมบัติชุดล็อกกันขโมยของบริษัทฯเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคจึงขอให้พิจารณาดำเนินการ
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาพิจารณาแล้วเห็นว่า การโฆษณาของบริษัทฯใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงและใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม จึงมีคำสั่งห้ามบริษัทฯ ใช้ข้อความว่า ชุดล็อกกันขโมยที่ดีที่สุด พิสูจน์แล้วว่าดีจริงจากยอดขายอันดับ 1 และข้อความว่า ป้องกันกุญแจผีและการไขเขี่ย 100% ในการโฆษณาชุดล็อกกันขโมย ยี่ห้อ แครี่บอย ของบริษัทฯ ครั้ง ต่อไปในทุกสื่อโฆษณา
|