คำตอบที่ 2
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81_%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C
รัชนก ศรีโลพันธุ์ เป็นนักร้องลูกทุ่งชาวใต้หน้าใหม่ ที่เพิ่งมีผลงานเดี่ยวออกแค่ชุดเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในชื่อ "เขียนฝันไว้ข้างฝา" แต่ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงในระดับที่น่าพอใจ
เนื้อหา
[ซ่อน]
* 1 ดีกรี นักร้องถ้วยพระราชทาน
* 2 ลูกศิษย์ครูจูเลี่ยม - ครูสลา
* 3 ผลงาน
* 4 ผลงานการแสดง
* 5 เกียรติยศ
[แก้] ดีกรี นักร้องถ้วยพระราชทาน
รัชนก ศรีโลพันธุ์ เป็นบุตรเกษตรกรสวนแตงชาว อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะมาเป็นนักร้องอาชีพ และออกผลงาน เธอเคยคว้าตำแหน่งชนะเลิศ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ปี 2546 เธอมาพักอาศัยและร้องเพลงกับวงดนตรีอิเล็กโทนเล็กๆของ อ.ประสพสุข รัตนสุภา ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้น ม.5 ที่ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชเ พื่อหาเงินส่งตัวเองเรียนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
[แก้] ลูกศิษย์ครูจูเลี่ยม - ครูสลา
หลังการปลุกปั้นอยู่นานถึง 2 ปีของครูเพลงชื่อดังแห่งยุคอย่าง ครูสลา คุณวุฒิ ผู้ชักนำรัชนกเข้าสู่ค่าย แกรมมี่ โกลด์เมื่อ ได้เห็นแววจากการประกวด เธอก็จึงได้ผลมีงานชิ้นแรก คือ "เขียนฝันไว้ ข้างฝา" ออกมา โดยตอนแรก มีการบันทึกเสียง 4-5 เพลง เพื่อนำไปสุ่มสำรวจความนิยมของแฟนๆทางภาคใต้ เพราะทางแกรมมี่โกลด์หวังจะให้เธอเป็นนักร้องสำเนียงใต้อีกคนหนึ่ง ตามแบบ ดวงจันทร์ สุวรรณี ที่ได้สร้างชื่อจากเพลง "โชว์เบอร์ไม่โชว์ใจ" มาแล้ว แต่เมื่อร่อนแผ่นร่อนเพลงกันไปสักพักหนึ่ง จึงเปลี่ยนแผนมาให้เธอร้องสำเนียงลูกทุ่งทั่วไปตามแนวถนัดของเธอ
นอกจากเพลง "เขียนฝันไว้ข้างฝา" ที่เป็นเพลงเอก และเพลง"ขอเจ็บครึ่งใจ"ที่ได้รับความนิยม เพลงที่น่าสนใจอีกเพลงก็คือ"เพลงรอที่พุมเรียง"ซึ่งเป็นเพลงแก้ของ "นิราศรักพุมเรียง" ที่สาริกา กิ่งทอง นักร้องสาวหัวใจชายจากแดนใต้อีกคน เคยขับร้องไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน โดยเพลงนี้ ครูจูเลี่ยม กิ่งทอง บิดาของสาริกา กิ่งทอง ซึ่งประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนอง "นิราศรักพุมเรียง" ได้ ฝากฝีมือประพันธ์เพลงแก้คือ"เพลงรอที่พุมเรียง" ไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต นอกจาก ครูเพลง 2 ท่านดังกล่าวแล้ว ผู้ที่ร่วมเขียนเพลงให้รัชนก ก็ยังมีทั้ง วสุ ห้าวหาญ และชัย มหาชน
งานเพลงชุดแรกของรัชนก ไม่ได้ออกมาในแนวลูกทุ่งสำเนียงใต้ตามสมัยนิยม หากแต่เป็นลูกทุ่งสำเนียงทั่วไป
แก้ไขเมื่อ : 28/8/2553 21:31:29