จาก Terrano2
เสาร์ที่ , 16/7/2554
เวลา : 14:49
อ่านแล้ว = 3367 ครั้ง
IP:58.8.224.71
IP:58.8.224.71
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
เด็กกำพร้า วัดโบสถ์วรดิตถ์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง รอการแบ่งปันน้ำใจจากพวกเรา
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1157.0=
'ของเหลือจากคนเมืองอันมีจะกิน เป็นสิ่งมีค่าเหลือหลายสำหรับเด็กที่ไม่เคยได้ใช้ 'เงิน' แม้แต่บาทเดียว . . .' คำพูดนี้กลั่นออกมาจากปากของ
'พระครูวุฒิธรรมาทร' เจ้าอาวาสวัดโบสถ์วรดิตถ์ วัดแห่งหนึ่งใน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ในขณะที่ทุกคนเข้าวัดเพื่อทำบุญหรือหาที่พึ่งทางใจ แต่ ณ วัดป่าโมก วัดเล็กๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก กลับเป็นสถานที่ชุบเลี้ยงเด็กอีกหลายร้อยชีวิต
พวกเขาคิดว่า 'วัด' คือบ้านที่ให้ชีวิตพวกเขา ให้แหล่งพักพิงอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่คนไร้ญาติ ขาดคนเหลียวแล และคนจนเช่นพวกเขาจะได้รับ
หลวงพ่อพระครูวุฒิธรรมาทร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์วรดิตถ์ เล่าถึงความเป็นมาของวัดว่า เมื่อประมาณ 30 ปี ที่แล้ว พวกทหารพรานนำเด็กกว่า 30 คนมาฝากให้
ท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนดูแล ส่งเงินให้เดือนละ 500 บาท เด็กๆ ที่นำมาฝากส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้า เพราะพ่อแม่เป็นพวกคอมมิวนิวส์ หลังพ่อแม่ถูกฆ่า ถูกกวาดล้าง
ก็มาขอพึ่งพาอาศัยใบบุญวัดเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด
'ต่อมาชาวเขาทางภาคเหนือที่มีฐานะยากจนรู้เรื่องก็ส่งลูกๆ มาให้ทางวัดดูแลอีก เขาบอกว่าอย่างน้อยก็ยังดีกว่าอดตายอยู่บนเขา และก็มีมาอีกเรื่อยๆ เกือบ
ทุกจังหวัด จนถึงปัจจุบันก็กลาย เป็นกว่า 400 คนแล้ว ก็ต้องดูแลกันไป จำชื่อได้บ้างไม่ได้บ้าง ดื้อบ้างซนบ้าง แต่อาตมาก็ดูแล ไม่ให้ทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกัน
จะไม่ถามเลยว่าใครผิดใครถูก จะตีทั้งคู่ เด็กๆ เขาก็ซนตามประสาเด็กๆ' หลวงพ่อกล่าว พร้อมด้วยรอยยิ้มเล็กๆ ที่แฝงไว้ซึ่งความเมตตาต่อเด็กๆ
พร้อมกันนี้ท่านยังบอกอีกว่า ทางวัดก็มีโรงเรียนให้เด็กๆ ได้เรียนหนังสือ เป็นโรงเรียนประจำแต่ก็เป็นไปตามอัตภาพที่จะทำได้ มีตั้งแต่ชั้นระดับอนุบาล
จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เด็กเป็นร้อยคนดูแลเด็กก็ต้องไปบิณฑบาตรข้าวของเครื่องเรียนต่างๆ เพื่อนำมาให้เด็กๆ เขาใช้ ส่วนครูที่สอนหนังสืออยู่ที่นี่
ก็เป็นระบบกึ่งข้าราชการ มีเงินเดือนมีสวัสดิการให้จากภาครัฐ แต่เงินเดือนจะไม่ขึ้น ที่เขาเสียสละมาอยู่กับเด็กๆ ก็เพราะรัก
'ทุกวันนี้หลวงพ่อไม่เคยมีปัญหาอะไร มีแต่ทุกข์ ขนาดเป็นพระก็ยังมีทุกข์ ทุกข์ที่ว่ากลัวจะมีไม่พอเลี้ยงเขา จะอยู่กันไปตลอดได้อย่างไร บางคนเรียนจบ
ก็กลับมาช่วย บางคนก็ไม่กล้ามา เขาคงละอายใจตัวเองที่ยังช่วยวัดไม่ได้ เพราะในแต่ละเดือนภาระค่าใช้จ่ายของทางวัด เฉพาะค่าไฟก็ไม่น้อย
ไปกว่า 3 หมื่นบาท รายได้ก็มาจากการบริจาค ส่วนใหญ่ก็ต้องไปขอบิณฑบาตรเอาปัจจัยบ้าง และของที่บริจาคจะเป็นจำพวกข้าวสารอาหารแห้ง
แต่บางทีข้าวสารไม่พอ วัดก็ไปขอหยิบยืมมาจากโรงสี พอมีผ้าป่ากฐินมาวัดก็เอาเงินไปใช้เขา ถ้าไม่มีหรือไม่พอเขาก็ไม่ทวงทางวัด ก็ถือว่าเป็นการทำบุญไป' หลวงพ่อ กล่าว
... ในขณะที่หลายคนเกิดมาบนกองเงินกองทอง เรียนบ้างเล่นบ้างตามประสา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตามสมัยนิยม แต่ในวัดเล็กๆ แห่งนี้ยังมีเด็กอีกหลายร้อยชีวิตที่
ไม่เคยได้สัมผัส 'เงิน' ที่กลายเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต หรือไม่มีเสื้อผ้าใหม่ๆ ดีๆ สวมใส่
|