คำตอบที่ 17
ปริมาณแกสที่จะผลิตได้นั้น ขึ้นอยู่กับ COD ที่ถูกกำจัด
ก็คือค่า COD ขาเข้า ลบออกด้วย CODขาออกจากบ่อ นั่นเอง
ระบบบำบัดที่ประสิทฺธิภาพสูง ๆ ก็คงได้อย่างมากซัก 90% ถ้าเกินก็เกินกว่านี้นิดหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น COD ของน้ำเสียขาเข้าอยู่ที่ 10000 ,COD ของน้ำเสียขาออกก็จะอยู่ที่ 1000
คือถูกกำจัดทิ้งไป 9000
คราวนี้สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียนั้นบางอย่างเชื้อก็ไม่สามารถย่อยได้หรือใช้เวลาในการย่อยนานมาก
อาจใช้เวลาเป็นหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ เช่นจำพวกเซลลูโลส
ค่าทีบอกว่าได้ 350 ลิตรต่อน้ำเสีย 1 ลบม ต่อ ค่า COD ที่ถูกกำจัดลงไป 1000
เป็นค่าทางทฤษฏี ซึ่งในทางปฏิบัติจะได้น้อยกว่านั้น ก็คงประมาณ 80-90% ของค่านี้
คราวนี้มาลองคิดคร่าว ๆ กันว่าโรงปาล์มซักโรงจะผลิตแกสได้ซักกี่มากน้อย
คิดโดยประมาณโรงปาล์มขนาด 90 ตันปาล์ม /ชม
เฉลี่ยโดยประมาณ 1 วัน จะมีน้ำเสีย 400 ลบม.
ที่น่าสนใจคือน้ำเสียของโรงปาล์ม ค่า COD ประมาณ 80,000-100,000
ดังนั้น 1 วันจะผลิตแกสได้สูงสุด
ที่ COD 80,000 ===>0.35 x 80000/1000 x400 = 11,200 ลบม / วัน
ที่ COD 100,000 ==>0.35 x 100,000/1000x400 = 14,000 ลบม /วัน
ตามบอกไว้ข้างต้นว่าระบบอย่างเก่งกำจัด COD ได้ประมาณ 90%
และแกสชีวภาพที่ได้ประมาณ 80-90% ของค่าที่เกิดตามทฤษฎี
ดังนั้นจะมีแกสโดยประมาณ 11,200x0.9x0.8 = 8,064 ลบม /วัน
ถึง 14,000x0.9x0.8 = 10,080 ลบม / วัน
ถึงตอนนี้ตามทันกันหรือเปล่าครับ