คำตอบที่ 17
เรื่องต่อมาคือเรื่อง ต้นตะกู
เมื่อสามสี่เดือนก่อน จ้าวป้าได้โทรถามผมถึงความเป็นไปได้
เพราะจ้าวป้าจะเอาเงินจากการสะสมตัวเลขมาหลายปี ไปลงทุนใหญ่หลายสิบไร่
หาเงินไว้เลี้ยงลูกตอนแก่
ผมได้บอกจ้าวป้าว่าเอามาให้ผมกู้หรือไม่ก็ไปปลูกมะนาวโคนมะขวิดน่าจะมีอนาคตดีกว่า
เพราะไม้ตะกูจะไปทำอะไรได้ เอาเข้าจริงมันคงหายหัวไปอย่างไม่มีวันจะเจอ
สามเดือนที่แล้วก็มี บ. หนึ่งนิวาศสถานใกล้ ๆ ห้างโลตัส ปักธงชัย ไปโพสต์โฆษณาชวนเชื่อให้ลงทุน
ปลูกต้นจะกู ในบอร์ดจี๊บ แต่ WM ของบอร์ดจี๊บรู้แกว ลบกระทู้นั้นทิ้งไป
ตอนนี้หางแดงเริ่มโผล่แล้วครับ
"อดีตกำนันตำบลชัยพร บึงกาฬ จ.หนองคาย นําชาวบ้านกว่า 30 ร้องดีเอสไอ ถูกบริษัท ยูนิโก้ จำกัด
หลอกให้ปลูกต้นตะกู รับปากจะซื้อคืนในราคาสูง ชาวบ้านปลูกจนโตกลับบ่ายเบี่ยงไม่รับซื้อ
ทำให้เสียหายกว่า 300 ล้านบาท
วันนี้ (19 มิ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ชาวบ้านจากจังหวัดมหาสารคาม อุดรธานี หนองคาย และขอนแก่น กว่า 30 คน
นำโดย นายเดชศักดา วงศ์สาแก้ว อายุ 55 ปี อดีตกำนันตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
เดินทางมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผอ.สำนักคดีอาญาพิเศษ
กรณีถูกหลอกลวงให้ลงทุนปลูกต้นตะกู ไม้เศรษฐกิจตัวใหม่ บางรายต้องสูญเงินไปเกือบ 10 ล้านบาท
คาดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
นายเดชศักดา กล่าวว่า บริษัท ยูนิโก้ จํากัด ได้เชิญชวนชาวบ้านจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการปลูกไม้ตะกู ทำให้ชาวบ้านหลงเชื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก กว่า 8,000 คน
โดยโครงการนี้ทางบริษัทได้ให้ชาวบ้านปลูกต้นตะกู ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่
และเมื่อปลูกแล้วทางบริษัทรับปากว่าจะรับซื้อคืนไม้ทั้งหมดจากชาวบ้านในราคาสูง
แต่เมื่อชาวบ้านปลูกไม้จนโตแล้วบริษัทกลับบ่ายเบี่ยงไม่รับซื้อคืน
ทำให้ชาวบ้านที่ลงทุนไปกับโครงการนี้ถึงกับหมดตัว จากการนำเงินมาร่วมลงทุนไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านบาท
คาดว่าความเสียหายครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ชาวบ้านจึงรวมตัวมาขอความเป็นธรรมกับดีเอสไอ
ให้เข้าตรวจสอบโครงการดังกล่าวว่าเป็นการหลอกลวงชาวบ้านหรือไม่
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า มีชาวบ้านเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการปลูกไม้ตะกูกว่า 8,000 คน
ดีเอสไอจะตรวจสอบถึงที่มาของโครงการว่าบุคคลใดเป็นผู้รับดำเนินโครงการ
รวมทั้งมีการสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนอย่างไร โดยชาวบ้านบางรายลงทุนไป 4-10 ล้านบาท
พอลงทุนปลูกไปแล้วกลับไม่มีการรับซื้อคืนทำให้ชาวบ้านต่างเดือดร้อน
ต้องหาเงินมาใช้หนี้ที่กู้ยืมมาลงทุน ทั้งนี้ หากชุดสืบสวนดีเอสไอตรวจสอบ พบว่า
เป็นการหลอกลวงฉ้อโกงประชาชน จะดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป"