คำตอบที่ 5
พระพุทธเจ้าได้ทรงให้หลักการคิดในการป้องกันการ "สับสน" ในการฟังจากเรื่อง "โดนเป่าหู" กับ "เรื่องจริง" ไว้ดังนี้ครับ
พระสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)
1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา Be not led by report)
2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา Be not led by tradition)
3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ Be not led by hearsay)
4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ Be not led by the authority of texts)
5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก Be not led by mere logic)
6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน Be not led by inference)
7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล Be not led by considering appearances)
8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว Be not led by the agreement with a considered and approved theory)
9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ -- Be not led by seeming possibilities)
10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา -- ฺBe led not by the idea, This is our teacher)
ซึ่งแปลเป็นภาษาชาวบ้านนอกวัดว่า สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น สิบตาเห็นไม่หนึ่งมือคลำ สิบมือคลำไม่เท่ากับหนึ่งทำเอง